บทความวิชาการอัญมณี

RCEP เป็นความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นที่คาดหวังของหลายประเทศสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลัง COVID-19 โดยสถานการณ์ล่าสุดมีประเทศสมาชิกเกินกว่ากึ่งหนึ่งได้ลงนามเรียบร้อยแล้ว ทำให้ RCEP จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2565 หากเปรียบเทียบกับเขตการค้าเสรีอาเซียนจะเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความ

ปัจจุบันผู้บริโภคตื่นตัวต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับจึงต้องปรับตัวหันมาให้ความสำคัญในการเลือกใช้วัสดุและการผลิตที่ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ กลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นตลาดหลักที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาก ติดตามอ่านอัญมณีเครื่องประดับรักษ์โลกได้ในบทความนี้

การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ซึ่งเรียกกันว่า “เศรษฐกิจสูงวัย” (Silver Economy) ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนกลุ่ม YOLD ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงอันดับต้นๆ ในตลาดโลก และถือเป็นตลาดใหม่ที่จะนำมาซึ่งรายได้มหาศาลต่อเศรษฐกิจโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการระดับพรีเมียมมากขึ้น ตลอดจนสินค้าหรูหราอย่างอัญมณีและเครื่องประดับด้วย พฤติกรรมของคนกลุ่ม YOLD เป็นอย่างไร สินค้าอัญมณีเครื่องประดับแบบไหนที่ตอบสนองคนกลุ่มนี้ติดตามรายละเอียดได้ในบทความนี้

เดิมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการตอบสนองการบริโภคนั้น ก่อให้เกิดปัญหาของเสียและมลพิษต่อโลกใบนี้ติดตามมา จากปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่การนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ซึ่งนอกจากสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแล้วยังก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีและสร้างสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับนั้น จะมีการนำมาใช้อย่างไร ตามอ่านได้ที่

หลังเกิดวิกฤติโควิด-19 พฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มอุตสาหกรรมฟุ่มเฟือยจะเปลี่ยนโฉม คนทุกวัยจะหันมาให้ความสำคัญกับการครอบครองสินทรัพย์เพื่อเป็นหลักประกันระยะยาวมากขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากอัญมณีทองคำและโลหะเงินที่นักลงทุนเข้าเก็งกำไรมากขึ้นแล้ว อัญมณีเพชรและพลอยสีก็ถือเป็นสินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่นักลงทุนและนักสะสมทั่วโลกให้ความสนใจในการลงทุนด้วยคุณสมบัติที่เป็นสินทรัพย์คงทน มูลค่าคงอยู่ไม่ลดลงไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังสามารถนำมาช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้ หากสนใจลงทุนติดตามรายละเอียดได้ในบทความนี้

การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นในทุกวันและทุกเวลา อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนมีความเชื่อมโยงกันในทางใดทางหนึ่ง และย่อมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอีกสิ่งหนึ่ง ดังเช่นการเปลี่ยนแปลงของโลกเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกายย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกของอัญมณีและเครื่องประดับไปด้วย สำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับแล้วมีการเปลี่ยนใดบ้างที่น่าสนใจ ติดตามอ่านได้จากบทความนี้

ในช่วงแพร่กระจายของโควิด-19 ทำให้บรรดานักธุรกิจและนักลงทุนต่างก็ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่งการลงทุนในรูปแบบเดิมอาจจะไม่ตอบโจทย์ในแง่ผลตอบแทนแล้วยังมีความเสี่ยงสูงขึ้นด้วย การเฟ้นหาสินทรัพย์ปลอดภัยเช่น อัญมณีและเครื่องประดับเพื่อกระจายความเสี่ยงในช่วงเวลานี้จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจ จะมีสินทรัพย์ใดบ้างตามอ่านได้ในบทความนี้

ชิลีประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาที่มีศักยภาพน่าสนใจในการค้าและการลงทุนอัญมณีและเครื่องประดับ มีบรรยากาศการค้าที่ดีต่อกันมายาวนาน อีกทั้งยังมีความตกลงการค้าเสรีกับไทย โดยล่าสุดเมื่อ 15 มิถุนายน 2564 ทั้งสองประเทศเพิ่งบรรลุข้อตกลงการนำระบบลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (ESS) ในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้ามาใช้ร่วมกัน แล้วประเทศชิลีมีความน่าสนใจอย่างไร สินค้าหมวดไหนที่ควรทำตลาด มาทำความรู้จักได้ในบทความนี้

การรัฐประหารในเมียนมาตั้งแต่ 1 ก.พ. 64 เป็นต้นมา นานาชาตินำโดยสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปได้คว่ำบาตรเมียนมา โดยได้ขึ้นบัญชีดำบริษัทอัญมณีที่เป็นของกองทัพ อย่างไรก็ดี กองทัพเมียนมายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือออกมาตรการจำกัดการนำเข้าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างไทย-เมียนมา จึงทำให้ยังค้าขายพลอยสีระหว่างกันเป็นปกติ และแม้ว่าไทยจะไม่สามารถส่งออกต่อไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปได้ แต่มีความเป็นไปได้สูงที่พ่อค้าจากตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงและนิยมทับทิมจากเมียนมาก็พร้อมที่จะรับซื้อพลอยสำเร็จเหล่านี้เข้าประเทศ

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา และเป็นหนึ่งในสามอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้เข้าสู่ประเทศอินเดียอย่างมหาศาล ปัจจุบันอินเดียเป็นผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ในอับดับที่ 6 ของโลก เป็นผู้ส่งออกอัญมณีเพชรและเครื่องประดับเงินเป็นอันดับที่ 1 ของโลก ส่งออกเครื่องประดับทองเป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกอัญมณีพลอยสีในอันดับที่ 5 ของโลก แต่กว่าอินเดียจะประสบความสำเร็จได้จนถึงทุกวันนี้อินเดียได้ทำอย่างไรบ้าง

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดอีกระลอก การกลับมาเปิดร้านอัญมณีและเครื่องประดับจึงต้องยึดหลักการพื้นฐานทางการตลาดไว้เป็นสำคัญ โดยสิ่งสำคัญคือการสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอในช่วงวิกฤติ ซึ่งผู้ขายอัญมณีและเครื่องประดับบางรายทำการตลาดผ่านอีเมลและโซเชียลมีเดียอยู่แล้ว และใช้ช่องทางเหล่านี้เพื่อรักษาสายสัมพันธ์กับลูกค้า สำหรับร้านค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่ได้วางแผนการตลาดเหล่านี้ไว้ตั้งแต่แรก ควรเริ่มต้นศึกษาและดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดตอนนี้ก็ยังไม่สายเกินไป

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบไปจนถึงการขนส่งสินค้าอัญมณีเครื่องประดับถึงมือผู้บริโภค วงจรการผลิตอัญมณีที่ทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพรินท์ที่สูงส่วนใหญ่เกิดจากการทำเหมืองแร่อัญมณีและโลหะมีค่า ตลอดจนกระบวนการผลิตขั้นตอนต่างๆ จนกลายเป็นชิ้นงานเครื่องประดับ ซึ่งทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันหลายบริษัท/องค์กรในภาคอุตสาหกรรมนี้ได้หันมาให้ความสำคัญกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยการปรับกระบวนการผลิตและหันมาใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970