บทความวิชาการอัญมณี

รุกตลาดแดนจิงโจ้ ขยายโอกาสส่งออกเครื่องประดับไทย

ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในไมกี่ประเทศที่ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งตลาดอัญมณีและเครื่องประดับยังมีการขยายตัวต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยเครื่องประดับเงินถือเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง จึงถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบ รวมทั้งการใช้สิทธิจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ก็เป็นอีกทางในการเจาะตลาดนี้

เกณฑ์การใช้นิกเกิลในเครื่องประดับส่งออกตลาด EU

นิกเกิลนั้นนอกจากสามารถช่วยเพิ่มความแข็งและคงทนให้โละ ยังเพิ่มความขาวและความวาวอีกด้วย แต่ขณะเดียวกันผู้บริโภคบงรายอาจมีอาการแพ้สารดังกล่าว EU จึงได้มีการออกกฎหมายกำหนดมาตรฐานการใช้นิกเกิลเป็นส่วนประกอบเพื่อความปลอดภัยขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรตรวจสอบและควบคุมการใช้สารดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการส่งออกด้วย

อุตสาหกรรมเครื่องประดับปรับตัวรับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลกสร้างความตื่นตัวให้ประชาคมโลกหันมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคในหลายอุตสาหกรรมรวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การสร้างความเชื่อมั่นด้วยการรักษ์โลก เป็นมิตรกับธรรมชาติ จึงเป็นแนวทางที่จะรักษาส่วนแบ่งและลดอุปสรรคทางการค้าได้

ข้อจำกัดปริมาณสารตะกั่วในเครื่องประดับเทียม

เครื่องประดับเทียม ถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในลำดับที่ 3 รองจากเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงิน ซึ่งเติบโตได้ในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป แต่ขณะเดียวกันประเทศคู่ค้าเหล่านี้ล้วนมีมาตรการควบคุมสารตะกั่วที่เข้มงวด การควบคุมคุณภาพให้อยู่ในเกณฑ์จึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อรักษาตลาดและสร้างสินค้าที่มีมาตรฐานได้ต่อไป

ยุคทองของส่วนตลาดเครื่องประดับสำหรับคู่แต่งงานใหม่ในแดนมังกร

ท่ามกลางสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ การแสวงหาตลาดใหม่ๆ หรือกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ ล้วนเป็นกลยุทธ์ที่พูดถึง ซึ่งตลาดทางเลือกที่น่าสนใจอย่าง ตลาดคู่แต่งงานใหม่ ในประเทศจีนที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นยุคทองของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการแต่งงาน ซึ่งผู้ประกอบการไม่ควรพลาด

สถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2553 และแนวโน้มปี 2554

อัญมณีและเครื่องประดับถือเป็นสินค้าส่งออกสำคัญในลำดับที่ 3 มีสัดส่วนราวร้อยละ 5.93 ของการส่งออกโดยรวม โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย ขณะที่มีปัจจัยท้าทายการแข่งขันหลายประการ ทั้งก่ารแข็งค่าของค่าเงินบาทหรือกรณีประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ

เงินบาทแข็งค่า ผลกระทบต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย

เมื่อ 29 ตุลาคม 2553 ค่าเงินบาทแข็งค่าทะลุ 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแข็งค่ามากที่สุดนับแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 อีกทั้งยังแข็งเป็นอันดับที่ 2 รองจากญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจะเน้นการส่งออกมากกว่าร้อยละ 80 แต่ยังไม่กระทบมากนัก

นักลงทุนเหมืองพลอยสีในแทนซาเนียเตรียมรับมือพระราชบัญญัติเหมืองแร่ฉบับใหม่ปี 2553

แทนซาเนียประเทศเดียวในโลกที่มีแร่แทนซาไนต์ สร้างรายได้เข้าประเทศอย่างเป็นกอบเป็นกำ ภายใต้พระราชบัญญัติเหมืองแร่ที่่ใช้มาต่อเนื่องยาวนาน กระทั่งล่าสุดประธานาธิบดีแห่งแทนซาเนียได้อนุมัติพระราชบัญญัติเหมืองแร่ฉบับใหม่เพื่อให้มีการคำนึงถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970