บทความวิชาการอัญมณี

รู้เขารู้เรา เคล็ด (ไม่) ลับพิชิตการลงทุนธุรกิจเครื่องประดับในอาเซียน

อาเซียน เป็นกลุ่มประเทศดาวเด่นที่บริษัทต่างชาติจำนวนไม่น้อยต่างจับจ้องและแย่งชิงกันเข้าไปลงทุนอยู่ในขณะนี้ เพื่อใช้โอกาสจากแรงงานมีฝีมือและไม่มีฝีมือจำนวนมากและค่าจ้างที่ค่อนข้างต่ำ รวมถึงสิทธิประโยชน์จากภาครัฐที่เอื้อต่อนักลงทุนต่างประเทศ นอกจากนี้ การเปิดเสรีอาเซียนยังช่วยให้นักลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันต่างพากันโยกย้ายฐานการผลิตและเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุน ไม่เว้นแม้แต่บริษัททุนไทยตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว อย่างไรก็ดี การลงทุนมิได้มีมิติของโอกาสเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่จะต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วย ซึ่งมิติเหล่านี้จะส่งผลให้อาเซียนน่าสนใจสำหรับการลงทุนทำธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับมากน้อยเพียงใด ท่านผู้อ่านสามารถติดตามได้จากรายละเอียดที่จะกล่าวในบทความนี้

อัญมณีคู่รักในสหรัฐอเมริกา

ในแต่ละปีเทศกาลที่สามารถทำยอดขายอัญมณีและเครื่องประดับในสหรัฐอเมริกาได้มากที่สุดมีอยู่ 2 ช่วงช่วงแรกคือเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมเนื่องจากเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองและการให้ของขวัญ (Gift Giving Period) โดยอัญมณีและเครื่องประดับนอกจากจะเป็นของขวัญที่มีคุณค่าต่อจิตใจทั้งผู้ให้และผู้รับแล้ว ยังสามารถสะสมมูลค่าในตัวเองได้ ช่วงที่สองคือเทศกาลแห่งการแต่งงาน โดยในแต่ละปีมีคู่รักชาวอเมริกันแต่งงานกันราว 2.3 ล้านคู่ ทำให้มีการประมาณการไว้ว่ายอดขายอัญมณีและเครื่องประดับสำหรับคู่รักไม่ว่าจะเป็น แหวนแต่งงาน สร้อยคอ จี้ ต่างหู ฯลฯ นั้นมีส่วนแบ่งตลาดถึง 35% ของยอดขายอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาที่ในปี 2016 มีมูลค่าถึง 61.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (Euromonitor, 2016)

สหรัฐฯ เตรียมยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรเมียนมา นัยยะต่อธุรกิจอัญมณีไทย

การเลือกตั้งในเมียนมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางอองซาน ซูจี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาล ทำให้สหรัฐฯ เริ่มกลับมาฟื้นฟูความสัมพันธ์กับเมียนมาและมีท่าทียินดีที่จะปลดล็อคมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแก่เมียนมา ซึ่งรวมถึงการยกเลิกกฎหมาย Jade Act 2008 ที่ได้บังคับใช้มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 ซึ่งมีสาระสำคัญห้ามนำทับทิมและหยกจากเมียนมารวมถึงเครื่องประดับที่มีทับทิมและหยกจากเมียนมาเข้ามายังสหรัฐฯ ทั้งจากเมียนมาโดยตรงและผ่านประเทศที่สาม เนื่องจากธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับของเมียนมาถูกมองว่าเป็นแหล่งระดมทุนของรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศแบบเผด็จการ และมีส่วนสนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ

นโยบายโดนัลด์ ทรัมป์กับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย

ระยะเวลาเกือบทศวรรษที่เศรษฐกิจและการเมืองของสหรัฐอเมริกาถูกบริหารโดยประธานาธิบดีที่มาจากพรรคการเมืองฟากเดโมแครต การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 45 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมาจึงเป็นการเปลี่ยนขั้วอำนาจไปยังนายโดนัลด์ ทรัมป์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่รวยติดอันดับ 156 ของสหรัฐฯ ด้วยวัย 70 ปี จากรีพับลิกัน ที่มาพร้อมนโยบายหาเสียง American First ที่ต่างไปจากประธานาธิบดีคนก่อน เช่น การไม่สนับสนุนการค้าเสรี เน้นเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยการปกป้องอุตสาหกรรมภายในจากการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าจากจีนและเม็กซิโก การปฏิรูปแรงงานต่างชาติ รวมทั้งการปรับลดทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ นโยบายหาเสียงดังกล่าวได้ถูกจับตาจากทั่วโลกว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงมากน้อยเพียงใด เนื่องจากสหรัฐฯ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกราว 30% ของจีดีพีโลก การปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจและการเมืองย่อมส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก

Alibaba เครื่องมือออนไลน์เจาะตลาดอัญมณีและเครื่องประดับจีน

จีนประเทศใหญ่ที่นักธุรกิจต่างแสวงหาโอกาสเข้ามาลงทุน โดยนอกจากมีผู้บริโภคจำนวนมหาศาลแล้วยังมีขนาดเศรษฐกิจหรือที่เราเรียกว่าจีดีพีถึง 10.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของจีนยังสามารถเข้าถึงอินเตอร์เนตได้ ยิ่งไปกว่านั้นจากรายงานสถิติการพัฒนาอินเตอร์เน็ตของจีน พบว่ามีผู้ใช้อินเตอร์เนตผ่านมือถือกว่า 90% และชาวชนบทสามารถเข้าถึงอินเตอร์เนตได้เพิ่มขึ้นราว 16.9% ทำให้โลกการค้าไร้พรมแดนสามารถเจาะเข้าไปยังหัวเมืองรองรวมทั้งชาวชนบทของจีนได้ ส่งผลให้จีนมีมูลค่าการค้าปลีกในโลกออนไลน์สูงถึง 440.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

พลังสาวโสดในต่างประเทศกับโอกาสธุรกิจเครื่องประดับของไทย

ปรากฎการณ์การครองตัวเป็นโสดของบรรดาสาวๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงหลายปีมานี้ ไม่ได้เป็นเพียงกระแสแฟชั่นหรือค่านิยมที่เปลี่ยนไป แต่ด้วยการศึกษาที่สูงขึ้น ทำให้พวกเธอมีงานทำ หาเลี้ยงตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร รวมถึงไลฟ์สไตล์ที่ชอบการไปไหนมาไหนคนเดียว การทำอะไรด้วยตัวเองมากขึ้น ผู้หญิงเหล่านี้จึงไม่ให้ความสำคัญกับการแต่งงานหรือใช้ชีวิตคู่สักเท่าไหร่ จึงไม่แปลกที่จะมีสาวโสดเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี

โอกาสการค้าและการลงทุนอัญมณีและเครื่องประดับในเวียดนาม

เวียดนามนับเป็นประเทศหนึ่งที่น่าสนใจรุกเจาะตลาดเครื่องประดับ เนื่องด้วยเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรกว่า 94 ล้านคน อีกทั้งเศรษฐกิจขยายตัวสูงต่อเนื่องแม้ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวก็ตาม โดยในปี 2558 เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตถึงร้อยละ 6.68 และไอเอ็มเอฟคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 6.10 ในปี 2559 ส่งผลให้ชาวเวียดนามมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น จำนวนชนชั้นกลางและเศรษฐีขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยชาวเวียดนามมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวราว 6,036 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 5 ปีก่อนถึงร้อยละ 37 แม้ว่าปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบอัญมณีโดยเฉพาะทับทิมและแซปไฟร์ในแหล่งผลิตต่างๆ ของเวียดนามจะลดน้อยลง รวมถึงตลาดเครื่องประดับในเวียดนามจะยังมีขนาดไม่ใหญ่นัก หากแต่มีศักยภาพขยายตัวได้สูงในอนาคต ดังนั้น เวียดนามจึงเป็นตลาดที่ไทยไม่ควรมองข้าม และควรเร่งหาช่องทางเจาะตลาดขยายฐานลูกค้า รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียนในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับผ่านตัวแทนจำหน่าย/ผู้นำเข้า/คู่ค้าไปยังเวียดนาม ก็น่าจะทำให้ไทยได้เปรียบคู่แข่งนอกอาเซียนไม่น้อยทีเดียว

เครื่องประดับแท้ของไทยยังแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้หรือไม่?

ไทยถือเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกเครื่องประดับแท้ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศมานาน ด้วยจุดเด่นของชิ้นงานที่มีความประณีตซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นจากฝีมือช่างทักษะสูง การรักษาคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรมอันเป็นจุดเด่นของผู้ประกอบการไทย ทำให้เครื่องประดับแท้ของไทยไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงินหรือเครื่องประดับทอง สามารถทำรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยตลาดสำคัญที่มีความต้องการนำเข้าเครื่องประดับแท้จากไทยเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออก รายใหญ่อันดับ 1 สำหรับการส่งออกเครื่องประดับเงิน และเป็นอันดับ 2 สำหรับการส่งออกเครื่องประดับทองของไทย

ต้องมนต์เสน่ห์ "กาตาร์" ดินแดนไข่มุกแห่งเปอร์เซีย

เนื่องจากมีภูมิประเทศแบบแหลมที่ยื่นออกไปในอ่าวเปอร์เซีย กาตาร์จึงถูกขนานนามว่าเป็น "ไข่มุกแห่งเปอร์เซีย" โดยอาณาเขตด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตกล้อมรอบด้วยทะเล ส่วนด้านทิศใต้ติดประเทศซาอุดิอาระเบีย กาตาร์เป็นสมาชิก 1 ใน 6 ประเทศของกลุ่มคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) ซึ่งถือเป็นกลุ่มประเทศในย่านตะวันออกกลางที่มีความมั่งคั่งไปด้วยขุมทรัพย์ใต้พื้นดินอย่างน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ กาตาร์มีพื้นที่ทั้งหมดเพียง 11,571 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งประเทศราว 2.58 ล้านคน ซึ่งประมาณกันว่าเป็นชาวกาตาร์ร้อยละ 20 ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่หรือราวร้อยละ 80 เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยชาวอาหรับอื่นๆ ร้อยละ 20 อินเดียร้อยละ 20 เนปาลร้อยละ 13 ฟิลิปปินส์ร้อยละ 10 ปากีสถานร้อยละ 7 ศรีลังการ้อยละ 5 และอื่นๆ ราวร้อยละ 5

นีกะห์ งานวิวาห์มาเลเซีย

"นีกะห์" (Nikah) หรือพิธีแต่งงานของชาวมาเลเซียที่เป็นมุสลิม จะจัดโดยยึดแนวปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลามผสมผสานกับขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น โดยพิธีสมรสนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นพิธีการทางศาสนา โดยศาสนาอิสลามถือว่าการแต่งงานเป็นการทำสัญญาระหว่างคนสองคนและเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างกัน ส่วนที่สองเป็นงานเลี้ยงแสดงความยินดีอย่างเป็นทางการโดยครอบครัว ญาติและแขกผู้ร่วมงานจะให้พรโดยการโรยบุหงารัมปัย พรมน้ำอบ รวมไปถึงอาจมีการป้อนข้าวเหนียวเหลือง

เทรนด์เครื่องประดับอัญมณีปี 2017

ด้วยปัจจุบันการกำหนดเทรนด์การออกแบบเครื่องประดับที่เผยแพร่ออกมาในแต่ละปีก่อนล่วงหน้าของบรรดาเหล่ากูรูในแวดวงธุรกิจแฟชั่นและเครื่องประดับนั้นได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการวางแนวทางในการดีไซน์สินค้าของผู้ประกอบการในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับค่อนข้างมาก ทางทีมกูรูด้านการออกแบบรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณีและเครื่องประดับของ Swarovski Gemstone จึงได้กำหนดเทรนด์การออกแบบเครื่องประดับในปี 2017 ตาม Gem Visions Trend Directions 2017 ภายใต้ธีมแนวคิด 4 เทรนด์หลัก เพื่อเป็นแนวทางแก่นักออกแบบและผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับสำหรับเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์สินค้า คัดสรรวัตถุดิบในการผลิต เตรียมพร้อมเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นชิ้นงานเครื่องประดับเพื่อเปิดตัวเป็นคอลเลคชั่นใหม่ๆ ตามฤดูกาล

เจาะตลาดเครื่องประดับเมืองหน้าด่านการค้าชายแดนไทย-ประเทศเพื่อนบ้าน

ด้วยไทยมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ลาว เมียนมา และมาเลเซีย (CLMM) จึงทำให้บริเวณชายแดนเป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันบริเวณชายแดนมีความคึกคักมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับสูง เส้นทางคมนาคมที่พัฒนาจนทำให้การเดินทางไปมาหาสู่กัน ตลอดจนการขนส่งสินค้าระหว่างกันมีความสะดวกมากขึ้น หลากหลายกิจการต่างเห็นโอกาสและได้เข้าไปดำเนินธุรกิจในบริเวณชายแดนเป็นจำนวนมาก ผลักดันให้ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ขยับสูงขึ้นหลายเท่าตัว เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่นของทั้งสองฝั่งประเทศเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มูลค่าการค้าชายแดนขยายตัวเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่า ที่ผ่านมาการค้าของไทยชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก แต่การค้าชายแดนกลับมีอัตราเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตได้ต่อไป

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970