บทความวิชาการอัญมณี

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับแดนหมีขาว (ตอนที่ 1)

สหพันธรัฐรัสเซียหรือดินแดนหมีขาว เป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง หลายประเทศให้ความสนใจในการทำการค้า โดยสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมมีทั้งเครื่องประดับทำด้วยทองคำและแพลทินัม ตกแต่งด้วยอัญมณีอย่างเพชร มรกต ไพลิน ขณะที่ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำชาวรัสเซียหันมาให้ความนิยมเครื่องประดับเงินมากขึ้นตามลำดับ

กลยุทธ์เครื่องประดับเงินไทย เจาะตลาดการค้าโลก

เครื่องประดับเงินไทยเป็นที่ขึ้นชื่อทั้งความประณีตและความสวยงาม มีมาตรฐานเป็นที่น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นปัจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก รวมทั้งการเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับแต่ละตลาดสำคัญจึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าทักษะด้านการผลิต ซึ่งจะทำให้เครื่องประดับเงินไทยเติบโตได้

มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ และหลักเกณฑ์ใหม่ในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณี

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าพลอยสีที่สำคัญของโลก แม้ว่าปัจจุบันจะต้องขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยการนำเข้าพลอยก้อนจากต่างประเทศเนื่องจากแหล่งผลิตที่ขุดพบลดน้อยลงไป ซึ่งารอำนวยความสะดวกทางการค้าผ่านมาตรการภาครัฐในด้านต่างๆ รวมทั้งกรณียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มการนำเข้าพลอยก้อนแก่ผู้ประกอบการรายย่อยจึงเป็นการลดอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญ

ก้าวทันธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับโลก สัมผัสสุดยอดแนวคิดจากงาน BaselWorld & JCK Show

BaselWorld & JCK Show เป็นงานแสดงนาฬิกาและเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งยังสามารถบ่งชี้เทรนด์ที่สำคัญในปีนั้นได้อีกด้วย การศึกษาแนวทางเทรนด์จากงานนี้ รวมทั้งการขจัดอุปสรรคทางการค้าจะเป็นแต้มต่อให้ธุรกิจไทย นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งของตน ปรับให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคจะช่วยให้มีเป้าหมายที่ชัดเจน

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับจีน ขุมทรัพย์ที่ผู้ประกอบการไทยต้องไขว่คว้า

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในจีนมีการขยายตัวสูงจากการที่ประชากรมีรายได้ในระดับกลางถึงบนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยคนกลุ่มนี้นิยมซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย รวมทั้งภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนการประกอบธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแรงดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ ให้เข้ามาแสวงหาโอกาสในตลาดแห่งนี้มากขึ้น

ลู่ทางการค้าและการลงทุนในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับจีน (ตอนจบ)

ช่องทางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในจีนนั้น มีหลายรูปแบบ ผู้ประกอบการควรพิจารณาให้เหมาะสมกับกิจการ โดยแต่ละมณฑลมีลักษณะตลาดที่แตกต่างกัน การเข้าร่วมออกบูธงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่จัดขึ้นในเมืองใหญ่ๆ อย่าง เซินเจิ้น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เพื่อใช้ในการสำรวจตลาด หาคู่ค้าทางธุรกิจ และดูลู่ทางจัดจำหน่าย ถือเป็นช่่องทางที่น่าสนใจเบื้องต้นในการเข้าสู่ตลาด

ลู่ทางการค้าและการลงทุนในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับจีน (ตอนแรก)

จีนเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสูง จากการที่ตลาดมีขนาดใหญ่ ประชากรมีกำลังซื้อสูง และมีการเพิ่มขึ้นของรายได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้บริโภควัยหนุ่มสาวชาวจีนนิยมซื้ออัญมณีและเครื่องประดับกันมากขึ้น โดยได้รับอิทธิพลจากกระแสแฟชั่นสมัยใหม่

กระแสนิยมเครื่องประดับเงินไทยในตลาดยุโรป (ตอนจบ)

เครื่องประดับเงินไทยได้ความนิยมมากในสหภาพยุโรปโดยเฉพาะประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และสหราชอาณาจักร ซึ่งการทำตลาดนั้นต้องคำนึงถึงกฎระเบียบด้านคุณภาพและสุขอนามัย เนื่องจากตลาดแห่งนี้มีการควบคุมปริมาณสารนิกเกิลในเครื่องประดับ ต้องได้มาตรฐานไม่เกินที่กำหนดไว้

กระแสนิยมเครื่องประดับเงินไทยในตลาดยุโรป (ตอนแรก)

จากการที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลก ทำให้กระแสความนิยมเครื่องประดับที่มีราคาย่อมเยาลงมานอกจากเครื่องประดับทองเป็นที่นิยม เครื่องประดับเงินเป็นอีกกระแสที่กำลังมาแรงโดยเครื่องประดับเงินของไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายในต่างประเทศด้วยคุณภาพที่ดีมีมาตรฐาน รูปแบบทันสมัย

พิชิตตลาดอัญมณีและเครื่องประดับแดนโสมขาว

เกาหลีใต้ประเทศที่มีบทบาททางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2552 แต่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็ว จากการขยายตัวของการส่งออกและการบริโภคในประเทสที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับส่วนใหญ่มาจากการนำเข้า

เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs

การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ผันผวนในขณะนี้ เป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกและเงินทุนไหลเข้าในประเทศ รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ผู้ส่งออกจึงต้องมีเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

เพิ่มยอดขายอัญมณีและเครื่องประดับผ่านงานแสดงสินค้า

การเติบโตของตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในหลายประเทศเริ่มมีแนวโน้มทิศทางที่ดีขึ้น การสร้างการรับรู้และติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคจึงต้องมีอย่างสม่ำเสมอ จกการวิจัยของ Center Exhibition Industry Research ระบุว่า การเข้าร่วมงานจัดแสดงสินค้าเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการตลาดอื่น

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970