บทความวิชาการอัญมณี

ส่องย่านค้าอัญมณีและเครื่องประดับหนองคาย...ประตูเชื่อมสู่ลาว

หนองคายเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคอีสานที่มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ สปป. ลาว จึงมีการค้าขายสินค้าระหว่างคนไทยและคนลาวมาโดยตลอดเนื่องด้วยไทยมีสินค้าคุณภาพดีหลากหลายประเภทและมีราคาไม่สูงมากนัก คนลาวจึงมักเดินทางเข้ามายังจังหวัดหนองคายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ซึ่งรวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับในย่านการค้าปลีกตามแนวถนนสำคัญ หรือในห้างสรรพสินค้า อีกทั้งหนองคายยังเป็นเส้นทางส่งผ่านสินค้าไทยเข้าสู่ลาวและเป็นประตูเชื่อมโยงการค้าระหว่างลาวและจังหวัดชายแดนอีสานอื่นๆ โดยเฉพาะจังหวัดอุดรธานี ซึ่งคนลาวที่มีฐานะดีมักขับรถส่วนตัวข้ามมายังฝั่งไทยผ่านจังหวัดหนองคายเข้ามายังตัวเมืองจังหวัดอุดรธานี เพื่อจับจ่ายใช้สอยสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าเครื่องประดับแบรนด์เนมชื่อดังดีไซน์หรูหราในห้างสรรพสินค้าหรือเครื่องประดับทองรูปพรรณและเครื่องประดับเพชรจากร้านค้าปลีกชั้นนำในย่านการค้าสำคัญช่วงวันหยุดเสาร์และอาทิตย์

อุดรธานี...ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับศักยภาพสูงในภาคอีสานตอนบน

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดอุดรธานีมีขนาดค่อนข้างใหญ่และคึกคัก สังเกตได้จากการมีร้านค้าเครื่องประดับจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วจังหวัด

เหมืองพลอยแพร่ แหล่งอัญมณีล้ำค่าในไทย

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีทรัพยากรแร่ธรรมชาติหลากหลายชนิดกระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งแร่ทองคำ และแร่รัตนชาติ ซึ่งแหล่งแร่รัตนชาติพบได้ทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณมากพบได้ในจังหวัดจันทบุรี กาญจนบุรี และแพร่

บาห์เรนประตูการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตะวันออกกลาง

ตะวันออกกลางเป็นหนึ่งในตลาดศักยภาพสำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เนื่องด้วยในช่วงหลายปีมานี้มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีเมืองดูไบในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม เมื่อถนนทุกสายต่างมุ่งสู่ดูไบ ย่อมทำให้การแข่งขันในตลาดเข้มข้นขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยที่สนใจรุกตลาดอัญมณีและเครื่องประดับตะวันออกกลางอาจหันไปพิจารณาประเทศเล็กๆ อย่างบาห์เรน ซึ่งมีบรรยากาศการค้าการลงทุนที่เป็นมิตรกับชาวต่างชาติ มีระบบเศรษฐกิจการค้าแบบเสรี ผู้บริโภคในประเทศมีกำลังซื้อสูง อีกทั้งยังมีเส้นทางการคมนาคมเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้โดยสะดวก จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยจะใช้เป็นประตูรุกตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในดินแดนอาหรับแห่งนี้

ตลาดเช้าชอปปิ้งมอลล์ ศูนย์กลางค้าเครื่องประดับในเวียงจันทน์

ตลาดเช้าชอปปิ้งมอลล์ เป็นอาคารห้างสรรพสินค้าที่มีความทันสมัย สูงราว 5 ชั้น ตั้งอยู่บนถนนล้านช้างไม่ไกลจากประตูชัยของนครเวียงจันทน์มากนัก ชั้นล่างสุดของอาคารแห่งนี้เปิดจำหน่ายสินค้าทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าแฟชั่น รวมทั้งของที่ระลึกต่างๆ ส่วนบริเวณชั้น 2 จะคลาคล่ำไปด้วยร้านจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับจำนวนมาก ซึ่งหากนับรวมทั้งร้านที่เปิดให้บริการแล้ว และร้านที่กำลังอยู่ระหว่างเตรียมการที่จะเปิดให้บริการมีจำนวนทั้งหมดเกือบ 100 ร้าน ทำให้ตลาดเช้ามอลล์กลายเป็นศูนย์กลางค้าเครื่องประดับทองแห่งใหม่ของกรุง เวียงจันทน์ในปัจจุบัน

มหัศจรรย์แหวนกลปริศนา ศิลปะจากทองคำ หนึ่งเดียวในโลก

เครื่องประดับทองคำเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ด้วยเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความมั่งคั่ง ความมั่งมี และความเป็นสิริมงคล คนไทยจึงนิยมนำมาสวมใส่ติดกายเพื่อแสดงสถานะทางสังคมตลอดจนใช้ในงานมงคลต่างๆ เช่น มอบเป็นของขวัญให้แก่ลูกหลานหรือใช้เป็นสินสอดทองหมั้นของคู่แต่งงาน เป็นต้น เครื่องประดับทองคำจึงกลายเป็นสินค้าอันดับแรกที่คนไทยส่วนใหญ่มักเลือกซื้อตลอดมา ทั้งนี้ ในอดีตรูปแบบและวิธีการผลิตเครื่องประดับทองคำในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันตามวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือทุกชิ้นงานถูกรังสรรค์ด้วยมือโดยช่างทองที่มีความชำนาญชั้นสูงแม้ปัจจุบันร้านค้าทองคำจำนวนมากจะนำเครื่องจักรมาใช้ผลิตเครื่องประดับมากขึ้นหากแต่หลายพื้นที่ยังคงสืบทอดเอกลักษณ์การผลิตของท้องถิ่นตนเองไว้พร้อมทั้งยังได้พัฒนารูปแบบให้มีความทันสมัยตามยุคที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย

แต่งดอง : งานวิวาห์ชาวลาว

การแต่งดอง หรือการแต่งงานในภาษาลาว เกิดขึ้นหลังจากที่หนุ่มสาวชอบพอผูกสมัครรักใคร่ อาจจะเจอกันตามงานบุญประเพณีต่างๆ โดยทั่วไปสาวลาวเมื่อตกลงคบหาดูใจกับชายใดแล้ว จะไม่ยอมให้ชายหนุ่มแตะเนื้อต้องตัว (ผิดผี) ก่อนเข้าพิธีแต่งดอง เนื่องจากจะเป็นการไม่รักษาหน้าตาของบิดามารดา และจะเป็นที่ติฉินนินทาของคนทั่วไป

สำรวจตลาดอัญมณีและเครื่องประดับอีสานตอนบน ประตูสู่ สปป.ลาว

อุดรธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณภาคอีสานตอนบนที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยถือเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ และมีถนนหนทางที่สะดวกสบายเชื่อมผ่านหนองคายไปยังกรุงเวียงจันทน์ของ สปป. ลาว ได้อีกด้วย ขณะที่หนองคายถือเป็นเส้นทางส่งผ่านสินค้าไทยเข้าสู่ลาวและเป็นประตูที่เชื่อมโยงการค้าระหว่างไทยและลาว ซึ่งคนลาวที่มีฐานะดีมักขับรถส่วนตัวข้ามมายังฝั่งไทยผ่านจังหวัดหนองคายเข้ามายังตัวเมืองจังหวัดอุดรธานีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อจับจ่ายสินค้าต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่สินค้าแบรนด์เนมหรูหรา รวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับ

เยือนแหล่งผลิตและย่านการค้าเครื่องประดับในบาหลี อินโดนีเซีย

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่โดดเด่นในฐานะแหล่งผลิตเครื่องประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะเครื่องประดับเงินที่ผลิตด้วยมือที่เกาะบาหลีนั้นถือว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในฝีมือการผลิตเชิงศิลป์เป็นอย่างมาก จนทำให้ในแต่ละปีสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกเข้าสู่ประเทศได้ปีละหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าไฮเทคโนโลยีกับอัญมณีและเครื่องประดับ “เสริมแรง” หรือ “แข่งขัน”

ในยุคก่อนสิ่งหนึ่งที่บ่งบอก "ฐานะ" หรือ "ชนชั้นทางสังคม" คือ การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถยนต์ รวมทั้งการสวมใส่อัญมณีและเครื่องประดับ โดยทรัพย์สินแต่ละชนิด แต่ละขนาด ก็จะแสดงความสามารถทางเศรษฐกิจ และรสนิยมของผู้ใช้ที่แตกต่างกันไป แต่สำหรับคนรุ่นใหม่แล้ว อุปกรณ์สื่อสารไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือหรือบรรดาสมาร์ทแก็ตเจ็ตทั้งหลายที่มีให้เลือกเป็นเจ้าของในหลายระดับราคา ก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกฐานะทางเศรษฐกิจ และรสนิยมของผู้ใช้ได้เช่นกัน โดยในทางสังคมศาสตร์เรียกรูปแบบการบริโภคเช่นนี้ว่า 'Conspicuous Consumption' หรือ การบริโภคเพื่อแสดงฐานะทางสังคม

ข้ามวิกฤติ คว้าโอกาสเครื่องประดับทองไทยในตลาดเวียดนาม

ไทยและอีก 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังจะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปลายปี 2558 นี้แล้ว ซึ่งอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันกำลังจะหมดไป เชื่อว่าผู้ประกอบการต่างกำลังเตรียมใช้โอกาสนี้ในการรุกเข้าสู่ตลาดประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีเวียดนามเป็นตัวเลือกในอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่มีประชากรกว่า 94 ล้านคน ประชาชนมีรายได้และกำลังซื้อสูงตามการเติบโตของเศรษฐกิจซึ่งขยายตัวอย่างโดดเด่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

แหล่งผลิตเครื่องเงินทำมือที่ประเทศกัมพูชา

กัมพูชาเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรไม่สูงนักราว 1,007 เหรียญสหรัฐต่อปี และยังมีความเป็นเมืองอยู่ต่ำโดยมีสัดส่วนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองเพียง 20% ของประชากรทั้งหมดเท่านั้น แม้ว่ากัมพูชาจะยังคงรั้งตำแหน่งประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย แต่อัตราความยากจนก็เริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากในปี 2547 มีประชากรที่รายได้ต่ำกว่า 2 เหรียญสหรัฐต่อวัน ถึง 64% ก็ได้ลดลงมาเหลือ 41% ในปี 2554

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site