บทความวิชาการอัญมณี

โอกาสการค้าเครื่องประดับเทียมท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจใน EU

ด้วยสถานการณ์ที่สหภาพยุโรปต้องเผชิญในปัจจุบัน ทั้งประเด็นการแข่งขันทางการเมือง สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา และปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นจากการก่อการร้าย โดยเฉพาะปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมานานอย่างเรื้อรัง ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพความเป็นอยู่ของชาวยุโรป จนก่อให้เกิดมุมมองและพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยในส่วนของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสินค้าฟุ่มเฟือย พบว่าผู้บริโภคมีความระมัดระวัง และใช้เวลาในการตัดสินใจเลือกซื้อ จนทำให้ขนาดตลาดผู้บริโภคเล็กลงกว่าแต่ก่อน รวมถึงมูลค่าการนำเข้าในภาพรวมก็ลดลงกว่าในปีที่ผ่านๆ มาด้วย แต่ถึงกระนั้น ผู้ประกอบการไทยก็ไม่ควรที่จะมองข้ามตลาดยุโรปไป เพราะถือเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ และยังคงมีความต้องการที่จะบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ เพียงแต่ผู้ประกอบการไทยจำเป็นที่จะต้องปรับตัวและมองหาลู่ทางที่เหมาะสม

อาร์เมเนีย...อุตสาหกรรมเจียระไนเพชรกำลังเดินหน้า

สาธารณรัฐอาร์เมเนีย ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปและเอเชียกลาง เป็นรัฐสมาชิกของสภายุโรปและเป็นประเทศในกลุ่มเครือรัฐเอกราช ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต มีจำนวนประชากรประมาณ 3 ล้านคน และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 1.05 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 อาร์เมเนียอาจเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจไม่ใหญ่นัก กอปรกับรายได้ประชากรยังอยู่ในระดับต่ำราว 3,500 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี แต่กลับเป็นประเทศหนึ่งที่มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจากการเป็นผู้เจียระไนเพชรที่มีชื่อเสียงในกลุ่ม CIS จนส่งผลให้ภาคธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของประเทศในปัจจุบัน อีกทั้งรัฐบาลอาร์เมเนียยังเร่งสนับสนุนให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและดึงดูดการลงทุนจากผู้ประกอบการต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับภายในประเทศ

การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากความตกลงการค้าเสรีไทย-อาเซียน

อาเซียนถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่มีความใกล้ชิดกับไทย ทั้งในแง่ของตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และผลจากการรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็ทำให้แต่ละประเทศมีมุมมองในการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA) ถือเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะเอื้อประโยชน์ทางการค้าโดยการลดภาษี และขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ซี่งเมื่อพิจารณาในแง่ของการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย พบว่าไทยสามารถพึ่งพาประโยชน์จากความตกลง AFTA มาใช้ในการเพิ่มมูลค่าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไปยังคู่ค้าในตลาดอาเซียนได้ โดยเฉพาะด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการขนส่งสินค้าข้ามแดน เป็นต้น

เชื่อมต่อช่องว่างระหว่างคนต่างรุ่นเพิ่มยอดขายเครื่องประดับในออสเตรเลีย

ธุรกิจค้าปลีกเครื่องประดับมูลค่า 4 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย (จากรายงานของ Euromonitor International, 2016) ได้รับการขับเคลื่อนโดยความต้องการและความชื่นชอบของประชากรกลุ่มหลักสองกลุ่มนั่นก็คือ กลุ่มที่ร่ำรวยแต่กำลังเข้าสู่วัยชราอย่างกลุ่ม Baby Boomer และกลุ่ม Millennial คนรุ่นใหม่ที่อยู่ในวัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในออสเตรเลีย

เครื่องประดับ Unisex ทางเลือกสำหรับคนยุคใหม่

ปัจจุบันกระแสการแต่งกายของผู้หญิงได้เปลี่ยนจากสไตล์วินเทจสีพาสเทล ไปสู่ความเรียบง่าย-เก๋-ใส่สบาย ตอบสนองต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่แสนวุ่นวายและทุกนาทีมีค่า ทำให้รูปแบบของเครื่องประดับที่ผู้หญิงสวมใส่ในชีวิตประจำวันมีความคล่องตัว ไม่ได้ห้อยระย้าลงมาแบบคุณผู้หญิงในละคร ขณะที่ผู้ชายก็หันมาใส่ใจตัวเองมากขึ้นทั้งดูดีจากภายในโดยการสร้างกล้ามเนื้ออวดความแข็งแรงของรูปร่าง และดูดีจากรูปลักษณ์ภายนอกโดยการแต่งกายและการเลือกเครื่องประดับที่จะทำให้คุณผู้ชายดูเรียบหรู มีสไตล์ แล้วจะดีกว่าหรือไม่หากเครื่องประดับที่วางขายมีความเป็น Gender-Neutral หรือเรียกตามศัพท์สมัยใหม่ว่า Unisex ที่ไม่ว่าหญิงหรือชายก็สามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไม่ขัดเขิน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าสีน้ำเงินเป็นของผู้ชาย สีชมพูเป็นของผู้หญิง อย่างในร้านขายสินค้าสำหรับเด็ก ซึ่งจะเป็นการชูจุดขายและจุดแข็งของแบรนด์ในยุคที่คู่แข่งทางการค้าล้นตลาดได้อีกทางหนึ่ง ที่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็ได้ปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นน้ำหอม เสื้อผ้า หรือแม้กระทั่งเครื่องประดับก็หันมาใช้กลยุทธ์ดังกล่าวเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น

ขยายฐานลูกค้าเครื่องประดับในยุคดิจิทัลผ่าน Amazon

ยุคดิจิทัลหรือยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยซื้อสินค้าหน้าร้านมาเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ทำให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นมากในอนาคต จากสถิติเว็บไซต์ statista.com พบว่าในปี 2559 ยอดขายปลีกออนไลน์ของโลกอยู่ที่ 1,915 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์ว่าในปี 2560 และ 2563 ทั่วโลกจะมียอดขายปลีกเพิ่มขึ้นถึง 23% และ 112% เมื่อเทียบกับปี 2559 โดย Amazon.com เป็นตลาดค้าปลีกออนไลน์ที่ครองส่วนแบ่งสูงที่สุดในโลกในขณะนี้

อนาคตการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยกับการเชื่อมโยงเส้นทาง OBOR

การประกาศยุทธศาสตร์สำคัญของจีนผ่านโครงการ One Belt and One Road (OBOR) เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของปี 2017 ที่ประชาคมโลกต่างให้ความสนใจ เนื่องจากเห็นว่าจะกลายมาเป็นตัวกำหนดทิศทางโลก ที่มีผลต่อรูปแบบการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งมิติด้านการเมืองและเศรษฐกิจในอนาคตซึ่งถึงแม้ว่านโยบาย OBOR จะไม่ใช่สิ่งที่จีนเพิ่งริเริ่ม หากแต่การออกมาประกาศให้ทั่วโลกรับรู้อย่างเป็นทางการก็เท่ากับเป็นการแสดงให้เห็นถึงความจริงจังของจีนที่จะผลักดันนโยบายดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์

ไลฟ์สไตล์หนุ่มสาวรุ่นใหม่ชาวขแมร์

หนุ่มสาวชาวขแมร์ (กัมพูชา) ปัจจุบันให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกและการแต่งกายที่ทันสมัยตามกระแสวัฒนธรรมที่ได้รับจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่คล้ายๆ กับดาราเกาหลีจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ เนื่องจากหนุ่มสาวเหล่านี้ชื่นชอบการดูซีรีย์เกาหลี การแต่งกายของดาราเกาหลีจึงมีอิทธิพลต่อหนุ่มสาวชาวขแมร์ค่อนข้างมาก

เจาะโอกาสธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจากเมกะเทรนด์โลก

การปรับตัวของธุรกิจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้เมกะเทรนด์ (Megatrends) กำลังอยู่ในกระแสและเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำธุรกิจในยุคสมัยนี้ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายมิติ และได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและผลประกอบการค่อนข้างมาก อีกทั้งการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ ยิ่งผลักดันให้ผู้ประกอบการไม่อาจหยุดนิ่งอยู่กับที่ได้อีกต่อไป เพราะหากไม่ตั้งรับปรับตัวก็อาจสูญเสียพื้นที่ทางธุรกิจให้คู่แข่งได้ในไม่ช้า หากผู้ประกอบการสามารถรู้ทิศทางอนาคตในระยะข้างหน้าว่าจะต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายต่อการทำธุรกิจของตนอย่างไรบ้าง ก็จะมีส่วนช่วยให้สามารถประเมินผลกระทบที่จะมีผลต่อธุรกิจ ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือและวางแผนปรับปรุงพัฒนาธุรกิจของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที

การค้าและการบริโภคทองคำและเครื่องประดับทองใน CLMV

ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่นิยมสะสมในทุกระดับรายได้ โดยเฉพาะในช่วงที่มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการเกิดเงินเฟ้อที่ปัจจุบันทั่วโลกมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10.95% โดยประเทศที่ครองแชมป์อัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลกยังคงเป็นเวเนซุเอลาที่ 741% เมื่อหันมามองประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนนั้น เมียนมาเป็นประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงที่สุดที่ 9.94% ด้วยความไม่แน่นอนของสถานการณ์ดังกล่าวทำให้การถือครองเงินสดมีโอกาสที่จะ devalue หรือพูดง่ายๆ ว่าเงิน 100 บาทที่มีอยู่วันนี้ เมื่อเปิดกระเป๋าออกมาอาจเหลือค่าเพียง 95 บาทในวันพรุ่งนี้ก็เป็นได้ ทำให้การถือครองทองคำ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของทองคำรูปพรรณหรือทองคำแท่ง ต่างก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาระดับความมั่งคั่ง (Wealth) ที่สามารถเข้าถึงในทุกระดับรายได้และมีโอกาสน้อยที่จะสูญค่าในตัวของมันเอง แต่ในด้านการค้าระหว่างประเทศนั้นใช่ว่าทุกประเทศจะสามารถนำเข้า ส่งออก ทองคำได้อย่างเสรี เนื่องจากทองคำสามารถทำให้ค่าเงินของประเทศผันผวนได้ จึงทำให้ในกลุ่มประเทศ CLMV อย่างเวียดนาม และเมียนมาต้องจำกัดให้การนำเข้าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐบาลเท่านั้น

ย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับเมืองจาการ์ตา

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 16% ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยมูลค่าการส่งออกถึง 6,368.67 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 โดยมีเครื่องประดับแท้เป็นสินค้าที่ส่งออกเป็นอันดับที่ 1 ในหมวดอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมูลค่า 4,078.80 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือทองคำแท่งมูลค่า 1,373.48 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการบริโภคในประเทศนั้นชาวอินโดนีเซียนิยมใส่เครื่องประดับแท้ โดยแหวนเป็นเครื่องประดับที่นิยมสวมใส่มากที่สุด ขณะที่ทองคำเป็นโลหะมีค่าที่นิยมนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับมากที่สุด ทั้งนี้ย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของเมืองจาการ์ตา สามารถแบ่งเป็นห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นและศูนย์จำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ

อัญมณีและเครื่องประดับเมืองปีนัง

ปีนัง รัฐหนึ่งของมาเลเซียที่ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งตะวันออก ที่แม้ว่าจะเล็กกว่าประเทศไทยหลายเท่า แต่สามารถสร้าง GDP ให้กับประเทศมาเลเซียได้อย่างมหาศาล โดยเศรษฐกิจของปีนังขยายตัวปีละเกือบ 6% จากการพึ่งพาภาคบริการเป็นหลัก ทำให้รัฐบาลมาเลเซียเร่งส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของปีนัง ด้วยการชูคอนเซ็ปต์การท่องเที่ยวเพื่อเปิดประสบการณ์ เพื่อดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่มาปีนังเพียงเมืองเดียวแต่สามารถเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวได้อย่างหลากหลาย ทั้งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/มรดกโลก การมีรูปแบบอาหารที่หลากหลาย รวมทั้งยังเป็นย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับทองเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะตะวันออกกลางอีกด้วย

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site