บทความวิชาการอัญมณี

อินโดนีเซีย…อีกหนึ่งฐานการผลิตเครื่องประดับสำคัญของอาเซียน

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) นับเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในกลุ่มอาเซียน โดยอยู่ในอันดับที่ 5 ของเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 16 ของโลก ด้วยขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) 9.32 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (World Bank, 17 April 2017) ในปี 2559 โดยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจประกอบด้วยภาคเกษตร 32% ภาคอุตสาหกรรม 21% และภาคบริการ 47% ซึ่งภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่สร้างรายได้มหาศาล ทั้งนี้ การผลิตเครื่องประดับก็เป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนาซึ่งสามารถทำรายได้ทั้งในประเทศและจากการส่งออกไปต่างประเทศในแต่ละปีไม่น้อย ส่งผลให้รัฐบาลอินโดนีเซียเล็งเห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้และพยายายามจะสร้างอินโดนีเซียให้เป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องประดับของภูมิภาคและเชื่อมโยงเครือข่ายกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ประเทศไทย เป็นต้น

โอกาสทางการค้าอัญมณีจากการขยายความร่วมมือกับศรีลังกา...เกาะแห่งอัญมณี

ศรีลังกามีลักษณะเป็นเกาะขนาดเล็กและตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสลับกับภูเขา มีประชากรราว 21 ล้านคน ภายหลังจากสงครามกลางเมืองอันยาวนานกว่า 30 ปี ได้สิ้นสุดลง รัฐบาลศรีลังกาได้พยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านตลาดการค้าและการลงทุนให้เป็นระบบยิ่งขึ้น จนปัจจุบันมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจราวร้อยละ 6-8 ต่อปี ได้ส่วนหนึ่งมาจากการค้าอัญมณีหลากหลายชนิดที่มีอยู่ภายในประเทศ จนก่อให้เกิดรายได้สำหรับนำมาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ ตลอดจนทำให้ศรีลังกาเริ่มเป็นที่สนใจแก่ผู้ประกอบการอัญมณีทั่วโลกในฐานะที่เป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีสำคัญที่มี ความอุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของโลก

ตลาดค้าเครื่องประดับใจกลางกรุงโซล

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับเกาหลีใต้มีมูลค่าการค้าปลีกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่าทศวรรษ โดยในปี 2017 ยอดขายเครื่องประดับเติบโตขึ้นร้อยละ 3 มีมูลค่าสูงถึง 4.6 ล้านล้านวอน ซึ่งปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากยอดขายเครื่องประดับแท้โดยเฉพาะจากแบรนด์เครื่องประดับในประเทศที่ต่างพัฒนาดีไซน์และคุณภาพสินค้า ให้ตอบโจทย์ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการเพิ่มไลน์ประเภทสินค้าใหม่ๆ และปรับรูปแบบเครื่องประดับจากเดิมที่เน้นขายเครื่องประดับสำหรับสวมใส่ในชีวิตประจำวันมาสู่คอลเลกชั่นเครื่องประดับแต่งงานมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองคู่แต่งงานชาวเกาหลีใต้ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและความต้องการซื้อสูงมากในตลาดนี้ ปัจจุบันสินค้าเครื่องประดับแต่งงานจึงมีส่วนแบ่งในตลาดนี้ค่อนข้างมาก ส่วนมากเป็นเครื่องประดับทองหรือเครื่องประดับแพลทินัมตกแต่งด้วยเพชร 0.5-1 กะรัต ซึ่งคู่บ่าวสาวมักเลือกซื้อแหวนและต่างหูเพชรเป็นหลัก

ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเร่งปรับตัวให้ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ไทย

หนึ่งในความท้าทายที่ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยต้องเผชิญในการทำตลาดภายในประเทศคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากพลวัตในมิติต่างๆ ของโลกที่เข้ามามีผลต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของผู้คนในประเทศ และยังมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงไปอีกในอนาคตข้างหน้า ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่หรือเมกะเทรนด์ (Megatrends) ของตลาดในประเทศนี้ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและผลประกอบการของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระยะต่อไป ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องเติมความรู้ให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของตลาดผู้บริโภคในประเทศ เพื่อจะได้ดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดให้ตอบโจทย์ได้ตรงใจลูกค้า และจะยังสามารถคงพื้นที่ส่วนแบ่งตลาดในประเทศต่อไปได้ในอนาคต

เข้าใจชาว Gen Y อาเซียน...สื่อสารกลยุทธ์โดนใจ

ปัจจุบันนี้กลุ่มคนชนชั้นกลางหรือวัยแรงงานเป็นคนในยุค Generation Y หรือยุคมิลเลนเนียล (Millennials) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนับเป็นกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายสำหรับนักการตลาดทั่วโลก คนกลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งมีความเป็นตัวเองสูง มีความคิดความเชื่อที่แปลกใหม่ และมีความคล่องแคล่วในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากคนรุ่นก่อนๆ และยากจะเข้าถึงด้วยวิธีการทำการตลาดแบบเดิมๆ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียนซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประชากรกลุ่มนี้สูงมาก

ไทยวางเป้าหมายสู่การเป็นฮับการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมศักยภาพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเกือบ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการจ้างงานตลอดห่วงโซ่อุปทานถึง 800,000 คน ด้วยภูมิปัญญาการปรับปรุงคุณภาพพลอยสีให้มีความสวยงามเพิ่มขึ้น อีกทั้งช่างฝีมือเจียระไนอัญมณี รวมถึงช่างฝีมือผลิตเครื่องประดับมีทักษะความชำนาญเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่งผลให้ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับใน 10 อันดับแรกของโลก ส่วนการค้าในประเทศเองก็คึกคักจากแรงซื้อของคนในประเทศและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยปีละกว่า 30 ล้านคน รวมถึงนักธุรกิจต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่เดินทางเข้ามาซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในไทย คาดว่าจะมีมูลค่าการค้าในประเทศสูงเกือบเท่ากับมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยรวม รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์โดยวางเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกภายในอีก 5 ปีข้างหน้า

รู้ทันกฎหมาย Hallmark และการจัดเก็บ VAT ใน UAE

อุตสาหกรรมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับจัดเป็นตัวจักรสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE แต่ละปีคาดว่ามีมูลค่าการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในประเทศราว 6 หมื่นล้านเดอร์แฮม (AED) หรือประมาณ 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 40% ของภาคการค้าที่มิใช่น้ำมัน (non-oil trade) ในด้านความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทยนั้น UAE จัดเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง โดยสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าส่งออกของไทยไปยัง UAE ที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 3 คิดเป็นเป็นมูลค่าราว 340 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 12% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site