ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

การค้าที่คำนึงถึงความถูกต้องในธุรกิจอัญมณี เพชร พลอยสี ไข่มุก และปะการัง...ข้อควรปฏิบัติและข้อควรหลีกเลี่ยง

Dec 31, 2019
1965 views
2 shares

ความโปร่งใสและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในการขายเพชร พลอยสี ไข่มุก และปะการัง

คู่มือเบื้องต้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ขายเพชร พลอยสี ปะการัง ไข่มุก และ/หรือสินค้าประดิษฐ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าใจถึงภาระความรับผิดชอบที่มีต่อลูกค้า ตลอดจนแนวทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้จัดหาสินค้า

เนื้อหาในคู่มือนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทดแทนข้อกำหนดและนิยามที่ได้ระบุไว้ใน CIBJO Blue Books (http://www.cibjo.org/introduction-to-the-blue-books/) ตลอดจนกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์ภายในประเทศและในระดับสากล ผู้อ่านควรดาวน์โหลด Blue Book ที่เกี่ยวข้องจากเว็บไซต์ของ CIBJO เพื่อเข้าใจภาพรวมว่าด้วยความรับผิดชอบที่อุตสาหกรรมเพชร พลอยสี ปะการัง และไข่มุกควรปฏิบัติต่อลูกค้า
 

 
 ข้อควรปฏิบัติ

 - ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้จัดหาสินค้าได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่คุณว่าด้วยคุณลักษณะของสินค้าตามที่ได้อธิบายด้านล่าง
 - ตรวจสอบว่าสินค้าทั้งหมดตามคำอธิบายด้านล่างมีป้ายแสดงข้อมูลอย่างถูกต้องในคลังสินค้าของคุณ
 - ตรวจสอบว่าพนักงานขายทุกคนได้รับทราบข้อมูลสินค้าอย่างครบถ้วน
 - ดำเนินการขายสินค้าทุกชิ้นตามคำอธิบายด้านล่างโดยให้ข้อมูลอย่างถูกต้องแม่นยำและไม่คลุมเครือ
 - แสดงลักษณะของสินค้า ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์ ให้ปรากฏอย่างชัดเจน ทั้งในช่วงก่อนและระหว่างขายสินค้า
 - ออกใบแจ้งราคาสินค้า/ใบเสร็จให้แก่ผู้ซื้อเพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าชิ้นดังกล่าวได้ผ่านการขายโดยแสดงข้อมูลอย่างถูกต้องและไม่คลุมเครืออ
 - ใช้คำว่า “ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ” (treated) หรือ “สังเคราะห์” (synthetic) โดยเน้นให้เห็นเด่นชัด เท่าเทียมกับคำอื่นๆ ที่ใช้บรรยายลักษณะของอัญมณี เมื่อใดก็ตามที่ใช้คำเหล่านี้ในข้อมูลที่ระบุเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพชรที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ทับทิมที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ เพชรสังเคราะห์ แซปไฟร์สังเคราะห์
 - ให้ความรู้แก่พนักงานขายเรื่องการใช้คำเรียกชื่อให้ถูกต้องและไม่กำกวม โดยอ้างอิง CIBJO Blue Books เมื่อต้องการความชัดเจน
 - ตรวจสอบการโฆษณาหรือการทำการตลาดทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ให้สอดคล้องกับคำแนะนำที่ได้ระบุไว้ในคู่มือนี้และกฎเกณฑ์ของ CIBJO
 - สำหรับเพชร ให้ระบุการจัดระดับคุณภาพ (สี ความใส และการเจียระไน) ตลอดจนน้ำหนักแยกหรือน้ำหนักรวมให้ชัดเจน
 - สำหรับเพชรสังเคราะห์ ให้ใช้คำระบุชื่อที่กำหนดไว้สำหรับการกล่าวถึงเพชรสังเคราะห์ ได้แก่ “สังเคราะห์” (synthetic) “ผลิตจากห้องปฏิบัติการ” (laboratory-grown) หรือ “สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ” (laboratory-created)
 - ศึกษาประเด็นสำคัญที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค เช่น ความยั่งยืน การจัดหาวัตถุดิบอย่างถูกต้อง เพชรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้ง แล้ววางแนวทางเชิงรุกสำหรับตอบคำถามในประเด็นเหล่านี้
 - ให้ข้อมูลแก่ลูกค้าเกี่ยวกับบริการหลังการขายและบริการซ่อมบำรุงที่จำเป็นสำหรับอัญมณีบางประเภท
      

ข้อควรหลีกเลี่ยง

 - อย่าใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียนที่ไม่ถูกต้องหรือกำกวมในการแสดงคุณสมบัติและ/หรือสภาพที่แท้จริงของสินค้าที่กล่าวถึง อย่าใช้ตัวย่อหรือดอกจันหมายเหตุในการแจ้งว่าอัญมณีไข่มุก หรือไข่มุกเลี้ยงได้ผ่านการปรับปรุงคุณภาพหรือเป็นวัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้น
 - อย่าใช้คำย่อเช่น “ผลิตจากห้องแล็บ” (lab-grown) หรือ “สร้างขึ้นในห้องแล็บ” (lab-created)
 - อย่าใช้คำว่า “เลี้ยง” (cultured) และ “เพาะ” (cultivated) ในการกล่าวถึงอัญมณีสังเคราะห์ เนื่องจากทั้งสองคำนี้ใช้เอ่ยถึงสินค้าอัญมณีอินทรีย์เท่านั้น
 - อย่าใช้คำคุณศัพท์ “จริง” (real) “แท้” (genuine) “มีค่า” (precious) “ขนานแท้” (authentic) และ “ธรรมชาติ” (natural) เมื่อเอ่ยถึงสินค้าที่ประดิษฐ์ขึ้น เพราะคำดังกล่าวใช้สำหรับแร่และอัญมณีตามธรรมชาติเท่านั้น
 - อย่าใช้คำว่า “ธรรมชาติ” กับเพชรที่ปรับปรุงคุณภาพ อาทิ  “เพชร (หรืออัญมณีอื่นๆ) ปรับปรุงคุณภาพตามธรรมชาติ” (natural treated diamonds) และ “เพชร (หรืออัญมณีอื่นๆ) ธรรมชาติที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ” (treated natural diamonds) แต่ให้ใช้เพียงแค่ว่า “เพชรที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ (treated diamonds) มรกตที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ (treated emeralds) (หรืออัญมณีอื่นๆ)”
 - อย่ารอจนกระทั่งปิดการขายเสร็จแล้วค่อยมาบอกข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติอัญมณีในตัวสินค้า
 - อย่าสร้างความสับสนระหว่างน้ำหนักรวมกับน้ำหนักแยก
 - อย่ารับซื้อสินค้าหากขาดเอกสารซึ่งระบุคุณสมบัติของสินค้าอย่างถูกต้องเป็นลายลักษณ์อักษร
 - อย่าปฏิเสธหรือหลบเลี่ยงคำถามจากลูกค้าเกี่ยวกับแวดวงการค้าอัญมณี เช่น เพชรที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง การจัดหาวัตถุดิบอย่างถูกต้อง การใช้แรงงานเด็ก
 - อย่าเรียกรายงานไข่มุก หรือเพชรว่า “ใบรับรอง” (certificates) เนื่องจากรายงาน (Reports) เป็นเพียงเอกสารแสดงการตรวจสอบความถูกต้องจากบุคคลที่สามหรือแสดงความเห็นเชิงวิชาชีพจากห้องปฏิบัติการด้านอัญมณีวิทยาเท่านั้น
 - อย่าเอ่ยถึงอัญมณีว่าเป็นอัญมณี “กึ่งมีค่า” (semi-precious) เนื่องจากอัญมณีทุกชนิดล้วนมีค่าเพียงแต่บางชนิดมีราคาสูงกว่าชนิดอื่นๆ เท่านั้น
 - อย่าหลีกเลี่ยงการแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงประเด็นเรื่องความทนทานและ/หรือความเสถียรของอัญมณีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัญมณีนั้นผ่านการปรับปรุงคุณภาพมาแล้ว

เพชร พลอยสี และปะการัง

      เพชร พลอยสี และปะการังเป็นวัสดุธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติโดยสมบูรณ์และไม่มีมนุษย์เข้าไป
ก้าวก่ายในกระบวนการเกิด
อัญมณีเหล่านี้อาจได้รับการปรับปรุงภายหลังด้วยกระบวนการเจียระไนตามปกติ แร่อัญมณีที่เกิดตามธรรมชาติมักถูกนำมาใช้ในเครื่องประดับเนื่องจากมีคุณสมบัติต่างๆ ที่ช่วยใหอัญมณีนั้นมีความงาม ความหายาก และความทนทานกว่าวัสดุอื่น แร่/อัญมณีกลุ่มนี้ได้แก่
       แร่ ตัวอย่างเช่น เพชร อะความารีน มรกต การ์เนต ทับทิม แซปไฟร์ โทแพซ
       แก้วธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ออบซิเดียน โมลดาไวต์
       หิน ตัวอย่างเช่น ลาพิสลาซูลี โอปอแมทริกซ์
      
อัญมณีที่เป็นสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น อำพัน และกระดองเต่า
      
อัญมณีอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น ไข่มุก เปลือกมุก และปะการัง
แร่/
อัญมณีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยสมบูรณ์เท่านั้นที่สามารถใช้คำบรรยายว่า “ธรรมชาติ” ได้ คำที่
บ่งบอกชัดเจนอยู่ในตัวเอง เช่น “เพชร” “ทับทิม” “มรกต” และชื่อ
อัญมณีอื่นๆ ใช้สำหรับบรรยายถึงอัญมณีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้น ส่วนคำคุณศัพท์ “จริง” (real) “มีค่า” (precious) “แท้” (genuine) หรือ “ธรรมชาติ” (natural) จะใช้สำหรับอ้างถึงหรือบรรยายถึงแร่/อัญมณีตามธรรมชาติเท่านั้น
      ปะการัง - ปะการังแบ่งออกเป็นสองหมวด คือ ปะการังมีค่าและปะการังทั่วไป ปะการังมีค่า คือปะการังที่นำมาใช้ทำเครื่องประดับและสินค้าตกแต่งร่างกาย กล่าวคือปะการังสีแดง ชมพู และขาว ซึ่งเมื่อเจียระไนแล้วจะมีผิวแวววาวคล้ายกระเบื้องเคลือบ ส่วนปะการังทั่วไป ได้แก่ ปะการังฟองน้ำ ปะการังไม้ไผ่ ปะการังสีน้ำเงิน รวมถึงปะการังที่มีโครงสร้างอ่อน เช่น ปะการังสีดำและสีทอง หลังจากผ่านกระบวนการปรับปรุงแล้ว ปะการังบาง
สายพันธุ์ในกลุ่มนี้ถูกนำมาใช้เป็นของประดับตกแต่ง
     สำหรับเพชร ให้ดูที่ ISO 18323

ไข่มุก

ไข่มุก - ไข่มุกก่อตัวขึ้นตามธรรมชาติในหอยมุกโดยปราศจากการแทรกแซงจากมนุษย์ สร้างขึ้นในตัวหอยภายในถุงไข่มุกซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไข่มุกประกอบด้วยสเคลอโรโปรตีนเชิงซ้อนซึ่งมีชื่อว่าคอนไคโอลินและจากแคลเซียมคาร์บอเนตในรูปของแร่อราโกไนต์และ/หรือแคลไซต์ซึ่งเรียงกันเป็นชั้นโดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน ไข่มุกมีทั้งแบบไข่มุกที่มีชั้นเนเคอร์ (nacreous) และไข่มุกที่ไม่ได้ประกอบด้วยชั้นเนเคอร์ (non-nacreous) ซึ่งมีทั้งไข่มุกน้ำจืดและไข่มุกน้ำเค็ม
ไข่มุกและผลิตภัณฑ์คล้ายไข่มุกที่มีอยู่ในตลาดแบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ
      
       ไข่มุกธรรมชาติ
คือไข่มุกที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ภายในถุงไข่มุกซึ่งสร้างขึ้นตามธรรมชาติภายในตัวหอยมุก


      - ไข่มุกน้ำจืดหรือน้ำเค็ม
      - ไข่มุกบลิสเตอร์น้ำจืดหรือน้ำเค็ม
      
       ไข่มุกเลี้ยง
คือไข่มุกที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโดยมนุษย์และเกิดภายในถุงไข่มุกเลี้ยงภายในตัวหอยมุก มีทั้งแบบที่ใช้ลูกปัด (beaded) และไม่ใช้ลูกปัด (non-beaded)


      - ไข่มุกเลี้ยงน้ำจืดหรือน้ำเค็ม
      - ไข่มุกบลิสเตอร์เลี้ยงน้ำจืดหรือน้ำเค็ม
      
ไข่มุกเทียม
คือ ผลิตภัณฑ์คล้ายมุกที่มนุษย์ผลิตขึ้นเองทั้งหมด

การปรับปรุงคุณภาพ

โปรดดู CIBJO Blue Book สำหรับอัญมณีแต่ละประเภทหากต้องการแนวทางที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ข้อมูลในที่นี้เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ เท่านั้น

เพชร พลอยสี ปะการัง ไข่มุก และไข่มุกเลี้ยงอาจได้รับการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งโดยปกติแล้วมีจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสีสัน ความทนทาน ความเสถียร และ/หรือความใสของ
อัญมณี
ข้อมูลการปรับปรุงคุณภาพบางประเภทจะต้องได้รับการเปิดเผยแบบทั่วไป (general disclosure) การปรับปรุงคุณภาพดังกล่าวนั้นจะต้องได้รับการบอกกล่าวโดยวาจาโดยใช้ภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่ายทั้งก่อนและ/หรือเมื่อสรุปการขาย นอกจากนี้ เอกสารเชิงพาณิชย์ที่แนบไปกับ
อัญมณี ปะการัง ไข่มุก และไข่มุกเลี้ยงจะต้องระบุข้อมูลว่าใช้การปรับปรุงคุณภาพประเภทใดด้วย


การปรับปรุงคุณภาพบางประเภทจำเป็นต้องได้รับการเปิดเผยข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (specific disclosure) โดยจะต้องบอกกล่าวโดยวาจาด้วยภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่ายก่อนและ/หรือเมื่อสรุปการขาย รวมทั้งต้องมีการเปิดเผยข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรแบบสมบูรณ์ ซึ่งจะต้องปรากฏอย่างเด่นชัดอยู่ในเอกสารเชิงพาณิชย์ทั้งหมดโดยใช้ภาษาที่ชัดเจนและเรียบง่าย

หมายเหตุ - การปรับปรุงคุณภาพในพลอยสีบางประเภทยังไม่สามารถระบุบ่งชี้ได้ในปัจจุบัน เช่น
อะความารีนและทัวร์มาลีนที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน หรือเบริลและทัวร์มาลีนที่ผ่านการฉายรังสี ในกรณีเช่นนี้ นับเป็นการปลอดภัยหากจะแสดงการปรับปรุงคุณภาพที่เป็นไปได้ทั้งหมดเอาไว้ก่อน

 
 
สินค้าประดิษฐ์

สินค้ากลุ่มนี้ได้แก่วัสดุต่างๆ ซึ่งมนุษย์ผลิตขึ้นเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด
 
สินค้าประดิษฐ์ซึ่งมนุษย์ผลิตขึ้นเป็นบางส่วน

สินค้ากลุ่มนี้ ได้แก่
อัญมณีประกบ (composite stones) ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นอัญมณี ตัวอย่างเช่น “การ์เนตประกบ” (garnet-topped-doublets), “มรกตประกบบนแก้ว” (emerald on glass-doublets),“แซปไฟร์ธรรมชาติประกบบนทับทิมสังเคราะห์” (natural sapphire on synthetic ruby-doublets) รวมถึง “ทับทิมประกบแก้ว” (ruby-glass composites) “อำพันอัด” (pressed amber) และ “มรกตประกบบนมรกต” (emerald on emerald-doublets) หรือ “เพชรประกบ” (composite diamonds - เพชรแท้บนเพชรสังเคราะห์)
 
สินค้าประดิษฐ์ที่มนุษย์ผลิตขึ้นเองทั้งหมด

อัญมณีสังเคราะห์ คือ วัสดุเนื้อผลึกซึ่งได้รับการระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ และโครงสร้าง เช่นเดียวกันกับวัสดุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตัวอย่างสินค้าที่มีวางขาย ได้แก่ “เพชรสังเคราะห์” “ทับทิมสังเคราะห์” “แซปไฟร์สังเคราะห์” “มรกตสังเคราะห์” และ “แอเมทิสต์สังเคราะห์”

หมายเหตุ-คำว่า “สังเคราะห์” (synthetic) “สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ” (laboratory-created) และ “ผลิตจากห้องปฏิบัติการ” (laboratory-grown) นั้นมีความหมายเดียวกัน

ผลิตภัณฑ์เนื้อผลึกที่เกิดจากการประดิษฐ์และไม่มีวัสดุตามธรรมชาติที่เทียบเคียงกัน วัสดุในกลุ่มนี้ได้แก่ อิตเทรียมอลูมิเนียมการ์เนต (yttrium aluminium garnet หรือที่รู้จักกันในชื่อ YAG) และแกโดลิเนียมแกลเลียมการ์เนต (gadolinium gallium garnet หรือที่รู้จักกันในชื่อ GGG)

ผลิตภัณฑ์ไม่มีผลึกที่เกิดจากการประดิษฐ์ วัสดุในกลุ่มนี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเลียนแบบลักษณะของอัญมณี เช่น แก้วที่มนุษย์ผลิตขึ้น แก้วตะกั่ว พลาสติก รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบหลากหลาย เช่น วัสดุที่ผ่านการบีบอัด (pressed materials) ตัวอย่างเช่น เทอร์คอยส์อัด

 

ข้อมูลอ้างอิง


“Ethically responsible trading in diamonds, coloured gemstones, pearls & corals.” CIBJO, The world jewellery confederation.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

การค้าที่คำนึงถึงความถูกต้องในธุรกิจอัญมณี เพชร พลอยสี ไข่มุก และปะการัง...ข้อควรปฏิบัติและข้อควรหลีกเลี่ยง

Dec 31, 2019
1965 views
2 shares

ความโปร่งใสและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในการขายเพชร พลอยสี ไข่มุก และปะการัง

คู่มือเบื้องต้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ขายเพชร พลอยสี ปะการัง ไข่มุก และ/หรือสินค้าประดิษฐ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าใจถึงภาระความรับผิดชอบที่มีต่อลูกค้า ตลอดจนแนวทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้จัดหาสินค้า

เนื้อหาในคู่มือนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทดแทนข้อกำหนดและนิยามที่ได้ระบุไว้ใน CIBJO Blue Books (http://www.cibjo.org/introduction-to-the-blue-books/) ตลอดจนกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์ภายในประเทศและในระดับสากล ผู้อ่านควรดาวน์โหลด Blue Book ที่เกี่ยวข้องจากเว็บไซต์ของ CIBJO เพื่อเข้าใจภาพรวมว่าด้วยความรับผิดชอบที่อุตสาหกรรมเพชร พลอยสี ปะการัง และไข่มุกควรปฏิบัติต่อลูกค้า
 

 
 ข้อควรปฏิบัติ

 - ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้จัดหาสินค้าได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่คุณว่าด้วยคุณลักษณะของสินค้าตามที่ได้อธิบายด้านล่าง
 - ตรวจสอบว่าสินค้าทั้งหมดตามคำอธิบายด้านล่างมีป้ายแสดงข้อมูลอย่างถูกต้องในคลังสินค้าของคุณ
 - ตรวจสอบว่าพนักงานขายทุกคนได้รับทราบข้อมูลสินค้าอย่างครบถ้วน
 - ดำเนินการขายสินค้าทุกชิ้นตามคำอธิบายด้านล่างโดยให้ข้อมูลอย่างถูกต้องแม่นยำและไม่คลุมเครือ
 - แสดงลักษณะของสินค้า ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์ ให้ปรากฏอย่างชัดเจน ทั้งในช่วงก่อนและระหว่างขายสินค้า
 - ออกใบแจ้งราคาสินค้า/ใบเสร็จให้แก่ผู้ซื้อเพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าชิ้นดังกล่าวได้ผ่านการขายโดยแสดงข้อมูลอย่างถูกต้องและไม่คลุมเครืออ
 - ใช้คำว่า “ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ” (treated) หรือ “สังเคราะห์” (synthetic) โดยเน้นให้เห็นเด่นชัด เท่าเทียมกับคำอื่นๆ ที่ใช้บรรยายลักษณะของอัญมณี เมื่อใดก็ตามที่ใช้คำเหล่านี้ในข้อมูลที่ระบุเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพชรที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ทับทิมที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ เพชรสังเคราะห์ แซปไฟร์สังเคราะห์
 - ให้ความรู้แก่พนักงานขายเรื่องการใช้คำเรียกชื่อให้ถูกต้องและไม่กำกวม โดยอ้างอิง CIBJO Blue Books เมื่อต้องการความชัดเจน
 - ตรวจสอบการโฆษณาหรือการทำการตลาดทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ให้สอดคล้องกับคำแนะนำที่ได้ระบุไว้ในคู่มือนี้และกฎเกณฑ์ของ CIBJO
 - สำหรับเพชร ให้ระบุการจัดระดับคุณภาพ (สี ความใส และการเจียระไน) ตลอดจนน้ำหนักแยกหรือน้ำหนักรวมให้ชัดเจน
 - สำหรับเพชรสังเคราะห์ ให้ใช้คำระบุชื่อที่กำหนดไว้สำหรับการกล่าวถึงเพชรสังเคราะห์ ได้แก่ “สังเคราะห์” (synthetic) “ผลิตจากห้องปฏิบัติการ” (laboratory-grown) หรือ “สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ” (laboratory-created)
 - ศึกษาประเด็นสำคัญที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค เช่น ความยั่งยืน การจัดหาวัตถุดิบอย่างถูกต้อง เพชรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้ง แล้ววางแนวทางเชิงรุกสำหรับตอบคำถามในประเด็นเหล่านี้
 - ให้ข้อมูลแก่ลูกค้าเกี่ยวกับบริการหลังการขายและบริการซ่อมบำรุงที่จำเป็นสำหรับอัญมณีบางประเภท
      

ข้อควรหลีกเลี่ยง

 - อย่าใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียนที่ไม่ถูกต้องหรือกำกวมในการแสดงคุณสมบัติและ/หรือสภาพที่แท้จริงของสินค้าที่กล่าวถึง อย่าใช้ตัวย่อหรือดอกจันหมายเหตุในการแจ้งว่าอัญมณีไข่มุก หรือไข่มุกเลี้ยงได้ผ่านการปรับปรุงคุณภาพหรือเป็นวัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้น
 - อย่าใช้คำย่อเช่น “ผลิตจากห้องแล็บ” (lab-grown) หรือ “สร้างขึ้นในห้องแล็บ” (lab-created)
 - อย่าใช้คำว่า “เลี้ยง” (cultured) และ “เพาะ” (cultivated) ในการกล่าวถึงอัญมณีสังเคราะห์ เนื่องจากทั้งสองคำนี้ใช้เอ่ยถึงสินค้าอัญมณีอินทรีย์เท่านั้น
 - อย่าใช้คำคุณศัพท์ “จริง” (real) “แท้” (genuine) “มีค่า” (precious) “ขนานแท้” (authentic) และ “ธรรมชาติ” (natural) เมื่อเอ่ยถึงสินค้าที่ประดิษฐ์ขึ้น เพราะคำดังกล่าวใช้สำหรับแร่และอัญมณีตามธรรมชาติเท่านั้น
 - อย่าใช้คำว่า “ธรรมชาติ” กับเพชรที่ปรับปรุงคุณภาพ อาทิ  “เพชร (หรืออัญมณีอื่นๆ) ปรับปรุงคุณภาพตามธรรมชาติ” (natural treated diamonds) และ “เพชร (หรืออัญมณีอื่นๆ) ธรรมชาติที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ” (treated natural diamonds) แต่ให้ใช้เพียงแค่ว่า “เพชรที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ (treated diamonds) มรกตที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ (treated emeralds) (หรืออัญมณีอื่นๆ)”
 - อย่ารอจนกระทั่งปิดการขายเสร็จแล้วค่อยมาบอกข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติอัญมณีในตัวสินค้า
 - อย่าสร้างความสับสนระหว่างน้ำหนักรวมกับน้ำหนักแยก
 - อย่ารับซื้อสินค้าหากขาดเอกสารซึ่งระบุคุณสมบัติของสินค้าอย่างถูกต้องเป็นลายลักษณ์อักษร
 - อย่าปฏิเสธหรือหลบเลี่ยงคำถามจากลูกค้าเกี่ยวกับแวดวงการค้าอัญมณี เช่น เพชรที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง การจัดหาวัตถุดิบอย่างถูกต้อง การใช้แรงงานเด็ก
 - อย่าเรียกรายงานไข่มุก หรือเพชรว่า “ใบรับรอง” (certificates) เนื่องจากรายงาน (Reports) เป็นเพียงเอกสารแสดงการตรวจสอบความถูกต้องจากบุคคลที่สามหรือแสดงความเห็นเชิงวิชาชีพจากห้องปฏิบัติการด้านอัญมณีวิทยาเท่านั้น
 - อย่าเอ่ยถึงอัญมณีว่าเป็นอัญมณี “กึ่งมีค่า” (semi-precious) เนื่องจากอัญมณีทุกชนิดล้วนมีค่าเพียงแต่บางชนิดมีราคาสูงกว่าชนิดอื่นๆ เท่านั้น
 - อย่าหลีกเลี่ยงการแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงประเด็นเรื่องความทนทานและ/หรือความเสถียรของอัญมณีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัญมณีนั้นผ่านการปรับปรุงคุณภาพมาแล้ว

เพชร พลอยสี และปะการัง

      เพชร พลอยสี และปะการังเป็นวัสดุธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติโดยสมบูรณ์และไม่มีมนุษย์เข้าไป
ก้าวก่ายในกระบวนการเกิด
อัญมณีเหล่านี้อาจได้รับการปรับปรุงภายหลังด้วยกระบวนการเจียระไนตามปกติ แร่อัญมณีที่เกิดตามธรรมชาติมักถูกนำมาใช้ในเครื่องประดับเนื่องจากมีคุณสมบัติต่างๆ ที่ช่วยใหอัญมณีนั้นมีความงาม ความหายาก และความทนทานกว่าวัสดุอื่น แร่/อัญมณีกลุ่มนี้ได้แก่
       แร่ ตัวอย่างเช่น เพชร อะความารีน มรกต การ์เนต ทับทิม แซปไฟร์ โทแพซ
       แก้วธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ออบซิเดียน โมลดาไวต์
       หิน ตัวอย่างเช่น ลาพิสลาซูลี โอปอแมทริกซ์
      
อัญมณีที่เป็นสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น อำพัน และกระดองเต่า
      
อัญมณีอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น ไข่มุก เปลือกมุก และปะการัง
แร่/
อัญมณีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยสมบูรณ์เท่านั้นที่สามารถใช้คำบรรยายว่า “ธรรมชาติ” ได้ คำที่
บ่งบอกชัดเจนอยู่ในตัวเอง เช่น “เพชร” “ทับทิม” “มรกต” และชื่อ
อัญมณีอื่นๆ ใช้สำหรับบรรยายถึงอัญมณีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้น ส่วนคำคุณศัพท์ “จริง” (real) “มีค่า” (precious) “แท้” (genuine) หรือ “ธรรมชาติ” (natural) จะใช้สำหรับอ้างถึงหรือบรรยายถึงแร่/อัญมณีตามธรรมชาติเท่านั้น
      ปะการัง - ปะการังแบ่งออกเป็นสองหมวด คือ ปะการังมีค่าและปะการังทั่วไป ปะการังมีค่า คือปะการังที่นำมาใช้ทำเครื่องประดับและสินค้าตกแต่งร่างกาย กล่าวคือปะการังสีแดง ชมพู และขาว ซึ่งเมื่อเจียระไนแล้วจะมีผิวแวววาวคล้ายกระเบื้องเคลือบ ส่วนปะการังทั่วไป ได้แก่ ปะการังฟองน้ำ ปะการังไม้ไผ่ ปะการังสีน้ำเงิน รวมถึงปะการังที่มีโครงสร้างอ่อน เช่น ปะการังสีดำและสีทอง หลังจากผ่านกระบวนการปรับปรุงแล้ว ปะการังบาง
สายพันธุ์ในกลุ่มนี้ถูกนำมาใช้เป็นของประดับตกแต่ง
     สำหรับเพชร ให้ดูที่ ISO 18323

ไข่มุก

ไข่มุก - ไข่มุกก่อตัวขึ้นตามธรรมชาติในหอยมุกโดยปราศจากการแทรกแซงจากมนุษย์ สร้างขึ้นในตัวหอยภายในถุงไข่มุกซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไข่มุกประกอบด้วยสเคลอโรโปรตีนเชิงซ้อนซึ่งมีชื่อว่าคอนไคโอลินและจากแคลเซียมคาร์บอเนตในรูปของแร่อราโกไนต์และ/หรือแคลไซต์ซึ่งเรียงกันเป็นชั้นโดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน ไข่มุกมีทั้งแบบไข่มุกที่มีชั้นเนเคอร์ (nacreous) และไข่มุกที่ไม่ได้ประกอบด้วยชั้นเนเคอร์ (non-nacreous) ซึ่งมีทั้งไข่มุกน้ำจืดและไข่มุกน้ำเค็ม
ไข่มุกและผลิตภัณฑ์คล้ายไข่มุกที่มีอยู่ในตลาดแบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ
      
       ไข่มุกธรรมชาติ
คือไข่มุกที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ภายในถุงไข่มุกซึ่งสร้างขึ้นตามธรรมชาติภายในตัวหอยมุก


      - ไข่มุกน้ำจืดหรือน้ำเค็ม
      - ไข่มุกบลิสเตอร์น้ำจืดหรือน้ำเค็ม
      
       ไข่มุกเลี้ยง
คือไข่มุกที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโดยมนุษย์และเกิดภายในถุงไข่มุกเลี้ยงภายในตัวหอยมุก มีทั้งแบบที่ใช้ลูกปัด (beaded) และไม่ใช้ลูกปัด (non-beaded)


      - ไข่มุกเลี้ยงน้ำจืดหรือน้ำเค็ม
      - ไข่มุกบลิสเตอร์เลี้ยงน้ำจืดหรือน้ำเค็ม
      
ไข่มุกเทียม
คือ ผลิตภัณฑ์คล้ายมุกที่มนุษย์ผลิตขึ้นเองทั้งหมด

การปรับปรุงคุณภาพ

โปรดดู CIBJO Blue Book สำหรับอัญมณีแต่ละประเภทหากต้องการแนวทางที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ข้อมูลในที่นี้เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ เท่านั้น

เพชร พลอยสี ปะการัง ไข่มุก และไข่มุกเลี้ยงอาจได้รับการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งโดยปกติแล้วมีจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสีสัน ความทนทาน ความเสถียร และ/หรือความใสของ
อัญมณี
ข้อมูลการปรับปรุงคุณภาพบางประเภทจะต้องได้รับการเปิดเผยแบบทั่วไป (general disclosure) การปรับปรุงคุณภาพดังกล่าวนั้นจะต้องได้รับการบอกกล่าวโดยวาจาโดยใช้ภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่ายทั้งก่อนและ/หรือเมื่อสรุปการขาย นอกจากนี้ เอกสารเชิงพาณิชย์ที่แนบไปกับ
อัญมณี ปะการัง ไข่มุก และไข่มุกเลี้ยงจะต้องระบุข้อมูลว่าใช้การปรับปรุงคุณภาพประเภทใดด้วย


การปรับปรุงคุณภาพบางประเภทจำเป็นต้องได้รับการเปิดเผยข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (specific disclosure) โดยจะต้องบอกกล่าวโดยวาจาด้วยภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่ายก่อนและ/หรือเมื่อสรุปการขาย รวมทั้งต้องมีการเปิดเผยข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรแบบสมบูรณ์ ซึ่งจะต้องปรากฏอย่างเด่นชัดอยู่ในเอกสารเชิงพาณิชย์ทั้งหมดโดยใช้ภาษาที่ชัดเจนและเรียบง่าย

หมายเหตุ - การปรับปรุงคุณภาพในพลอยสีบางประเภทยังไม่สามารถระบุบ่งชี้ได้ในปัจจุบัน เช่น
อะความารีนและทัวร์มาลีนที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน หรือเบริลและทัวร์มาลีนที่ผ่านการฉายรังสี ในกรณีเช่นนี้ นับเป็นการปลอดภัยหากจะแสดงการปรับปรุงคุณภาพที่เป็นไปได้ทั้งหมดเอาไว้ก่อน

 
 
สินค้าประดิษฐ์

สินค้ากลุ่มนี้ได้แก่วัสดุต่างๆ ซึ่งมนุษย์ผลิตขึ้นเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด
 
สินค้าประดิษฐ์ซึ่งมนุษย์ผลิตขึ้นเป็นบางส่วน

สินค้ากลุ่มนี้ ได้แก่
อัญมณีประกบ (composite stones) ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นอัญมณี ตัวอย่างเช่น “การ์เนตประกบ” (garnet-topped-doublets), “มรกตประกบบนแก้ว” (emerald on glass-doublets),“แซปไฟร์ธรรมชาติประกบบนทับทิมสังเคราะห์” (natural sapphire on synthetic ruby-doublets) รวมถึง “ทับทิมประกบแก้ว” (ruby-glass composites) “อำพันอัด” (pressed amber) และ “มรกตประกบบนมรกต” (emerald on emerald-doublets) หรือ “เพชรประกบ” (composite diamonds - เพชรแท้บนเพชรสังเคราะห์)
 
สินค้าประดิษฐ์ที่มนุษย์ผลิตขึ้นเองทั้งหมด

อัญมณีสังเคราะห์ คือ วัสดุเนื้อผลึกซึ่งได้รับการระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ และโครงสร้าง เช่นเดียวกันกับวัสดุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตัวอย่างสินค้าที่มีวางขาย ได้แก่ “เพชรสังเคราะห์” “ทับทิมสังเคราะห์” “แซปไฟร์สังเคราะห์” “มรกตสังเคราะห์” และ “แอเมทิสต์สังเคราะห์”

หมายเหตุ-คำว่า “สังเคราะห์” (synthetic) “สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ” (laboratory-created) และ “ผลิตจากห้องปฏิบัติการ” (laboratory-grown) นั้นมีความหมายเดียวกัน

ผลิตภัณฑ์เนื้อผลึกที่เกิดจากการประดิษฐ์และไม่มีวัสดุตามธรรมชาติที่เทียบเคียงกัน วัสดุในกลุ่มนี้ได้แก่ อิตเทรียมอลูมิเนียมการ์เนต (yttrium aluminium garnet หรือที่รู้จักกันในชื่อ YAG) และแกโดลิเนียมแกลเลียมการ์เนต (gadolinium gallium garnet หรือที่รู้จักกันในชื่อ GGG)

ผลิตภัณฑ์ไม่มีผลึกที่เกิดจากการประดิษฐ์ วัสดุในกลุ่มนี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเลียนแบบลักษณะของอัญมณี เช่น แก้วที่มนุษย์ผลิตขึ้น แก้วตะกั่ว พลาสติก รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบหลากหลาย เช่น วัสดุที่ผ่านการบีบอัด (pressed materials) ตัวอย่างเช่น เทอร์คอยส์อัด

 

ข้อมูลอ้างอิง


“Ethically responsible trading in diamonds, coloured gemstones, pearls & corals.” CIBJO, The world jewellery confederation.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970