ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สำรวจเหมืองเพอริโด เมืองโมกก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

Apr 18, 2022
2808 views
1 share

            เพอริโด (peridot) เป็นชื่อของอัญมณีสีเขียว จัดอยู่ในกลุ่มแร่โอลิวีน (olivine) มีองค์ประกอบทางเคมี คือ แมกนีเซียมเหล็กซิลิเกต หรือ (Mg,Fe)2SiO4) มีโครงสร้างผลึกแบบออร์โทรอมบิก (orthorhombic) สีเขียวของเพอริโดนั้นเกิดจากธาตุเหล็ก (Fe2+) ที่เจือปนอยู่ในโครงสร้างผลึก ส่งผลให้เพอริโดเป็นพลอยที่มีแต่สีเขียวเท่านั้น และส่วนมากพบในช่วงสีเขียวอมเหลือง โดยเพอริโดคุณภาพดีและมีมูลค่าสูงจะมีสีเขียวบริสุทธิ์ และมีขนาดที่ใหญ่ ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดการค้าขายอัญมณี  พลอยเพอริโดนั้นสามารถพบได้ทั่วโลก โดยมีแหล่งกำเนิดที่สำคัญในหลายประเทศ ได้แก่ เกาะซาบาร์กัด (Zabargad Island) ประเทศอียิปต์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เขตโคฮิสถาน (Kohistan District) ประเทศปากีสถาน มณฑลจี๋หลิน (Jilin Province) สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตพื้นที่สูงตอนกลาง (Central Highlands) ประเทศเวียดนาม และอีกหนึ่งแหล่งกำเนิดที่มีความโดดเด่นขึ้นชื่อเรื่องการผลิตเพอริโดคุณภาพดี ซึ่งมีอิทธิพลต่อตลาดเพอริโดของโลก คือ เมืองโมกก (Mogok Township) ประเทศเมียนมา โดยพื้นที่ที่มีการทำเหมืองเพอริโดที่สำคัญของโมกก คือ พื้นที่ Pyaung-Gaung ซึ่งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโมกก

ภาพที่ 1 เพอริโด น้ำหนัก 5.18–7.52 กะรัต จากแหล่งโมกก ประเทศเมียนมา Photos by T. Sripoonjan

            เมืองโมกก ประเทศเมียนมา มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานในเรื่องการเป็นแหล่งผลิตอัญมณีคุณภาพดีหลากหลายชนิด อาทิเช่น ทับทิม ไพลิน สปิเนล รวมถึงเพอริโด โดยเพอริโดจากแหล่งโมกกนั้นเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีลักษณะโดดเด่นในเรื่องการมีสีเขียวเข้มที่สวยงาม ซึ่งคล้ายกับเพอริโดจากแหล่งปากีสถาน และมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเพอริโดที่ค้นพบในแหล่งอื่นๆ ปัจจุบันการทำเหมืองเพอริโดในโมกกดำเนินการผลิตอยู่ในหลายพื้นที่ ประกอบด้วยพื้นที่ Pyaung-Gaung พื้นที่ Htin-Shu Taung และ พื้นที่ Bernard  โดยเฉพาะพื้นที่ Pyaung-Gaung มีการค้นพบเพอริโดคุณภาพดีจำนวนมาก ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นแหล่งเพอริโดที่สำคัญของเมืองโมกก เหมืองเพอริโดในพื้นที่ Pyaung-Gaung นั้น ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองโมกกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร โดยอยู่บริเวณสันเขา Taung Me Mountain ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโมกก บริเวณพื้นที่ดังกล่าวนั้นอุดมไปด้วยหินอัคนีประเภทอัลทราเมฟิก (ultrabasic rock) ได้แก่ หินเพริโดไทต์ (peridotite) และหินดูไนต์ (dunite) โดยหินเหล่านี้มีส่วนประกอบสำคัญ คือ แร่โอลิวีน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณีเพอริโด 

 




   ภาพที่ 2 เหมืองเพอริโดในพื้นที่ Pyaung-Gaung เมืองโมกก ประเทศเมียนมา 

เป็นการทำเหมืองพลอยแบบปฐมภูมิ บริเวณพื้นที่โดยรอบสามารถพบหินที่มีส่วนประกอบของแร่โอลิวีน  Photos by T. Sripoonjan 

            การทำเหมืองเพอริโดในพื้นที่ Pyaung-Gaung เป็นการทำเหมืองในลักษณะปฐมภูมิ (primary deposit) โดยคนงานเหมืองจะใช้ระเบิดไดนาไมต์ และเครื่องเจาะหินด้วยแรงอัดอากาศ (jackhammer) ขุดเจาะภูเขาและหินโดยรอบ เพื่อสร้างอุโมงค์หรือหลุมที่มีขนาดใหญ่พอให้คนงานเหมืองสามารถเข้าไปขุดแร่ ที่อยู่ภายในภูเขาหรือใต้พื้นดินได้ โดยคนงานเหมืองจะใช้เครื่องเจาะหิน และอุปกรณ์แบบดั้งเดิมอื่นๆ เช่น ค้อน และสิ่ว ในการสกัดเพอริโดที่ฝังตัวอยู่ในหินต้นกำเนิด (host rock) บริเวณผนังของอุโมงค์ ซึ่งการทำเหมืองในสภาวะเช่นนี้มีความเสี่ยงอย่างมากที่อุโมงค์หรือถ้ำอาจเกิดการทรุดตัวและถล่มลงมา ด้วยเหตุนี้การทำเหมืองเพอริโดในโมกกจึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบกาณ์ของคนงานเหมืองเป็นอย่างมาก จากนั้นเพอริโดที่สกัดได้จะถูกส่งต่อไปยังเมืองโมกกเพื่อทำความสะอาด คัดเกรด และเจียระไน ก่อนที่จะถูกนำไปจำหน่ายในตลาดซื้อขายอัญมณี  


 



 ภาพที่ 3 การทำเหมืองแบบปฐมภูมิในพื้นที่ Pyaung-Gaung เมืองโมกก ประเทศเมียนมา Photos by M. Seneewong-Na-Ayutthaya, T. Sripoonjan

            จากการวิเคราะห์ตัวอย่างเพอริโดจากแหล่งโมกก พบว่ามีคุณสมบัติทางกายภาพและอัญมณีวิทยาที่ใกล้เคียงกับเพอริโดจากแหล่งอื่นๆ ดังแสดงในตารางที่ 1 

            ตารางที่ 1 คุณสมบัติทางกายภาพและอัญมณีวิทยาของเพอริโดจากแหล่งโมกก ประเทศเมียนมา


            ในส่วนของมลทินภายในที่มักพบในเพอริโดจากแหล่งโมกก รวมถึงเพอริโดจากแหล่งอื่นๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพลอยเพอริโด คือ ตำหนิใบบัว หรือ lily pads เป็นลักษณะของผลึกมลทินขนาดเล็กล้อมรอบด้วยรอยแตก จนมีลักษณะคล้ายใบบัว โดยเพอริโดจากแหล่งโมกก สามารถพบแร่โครไมต์ (chromite) เป็นผลึกศูนย์กลางในตำหนิใบบัว ส่วนมลทินอื่น ๆ ที่มักพบในเพอริโดแหล่งโมกก ได้แก่ มลทินของไหล (fluid inclusions) มลทินเส้นเข็ม (needle-like inclusions) มลทินกระจุกเส้นใยของแร่ (fiber tufts) มลทินรอยแตกเชื่อมประสาน (partial healing fissures) และมลทินแร่ต่างๆ ได้แก่ โครไมต์ โอลิวีน ไบโอไทต์ (biotite) เซอร์เพนทีน (serpentine) แมกนีไซต์ (magnesite) คลอไรด์ (chloride) และทัลก์ (talc)  ในส่วนของมลทินธาตุร่องรอย (trace elements) ที่สำคัญของเพอริโดแหล่งโมกก ประกอบด้วย โครเมียม (Cr) วาเลเดียม (V) โคบอลต์ (Co) ซีเซียม (Sc) นิเกิล (Ni) และไทเทเนียม (Ti)  โดยธาตุร่องรอยเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อบ่งชี้แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของเพอริโดแหล่งโมกกได้

A.


B.

C.

D.


ภาพที่ 4 ตัวอย่างมลทินภายในที่มักพบในเพอริโดแหล่งโมกก (A) ตำหนิใบบัว หรือ lily pads(B) มลทินรอยแตกเชื่อมประสาน (C) มลทินของไหล และ (D) มลทินเส้นเข็ม

ที่มา: บทความวิชาการ เรื่อง Gemological Characterization of Peridot from Pyaung-Gaung, in Mogok, of Myanmar วารสาร Gems & Gemology (G&G) Volume 57, No. 4, 2021.


ข้อมูลอ้างอิง


ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). Gemological Characterization of Peridot from Pyaung-Gaung, in Mogok, of Myanmar. วารสาร Gems & Gemology (G&G) Volume 57, No. 4, 2021.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สำรวจเหมืองเพอริโด เมืองโมกก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

Apr 18, 2022
2808 views
1 share

            เพอริโด (peridot) เป็นชื่อของอัญมณีสีเขียว จัดอยู่ในกลุ่มแร่โอลิวีน (olivine) มีองค์ประกอบทางเคมี คือ แมกนีเซียมเหล็กซิลิเกต หรือ (Mg,Fe)2SiO4) มีโครงสร้างผลึกแบบออร์โทรอมบิก (orthorhombic) สีเขียวของเพอริโดนั้นเกิดจากธาตุเหล็ก (Fe2+) ที่เจือปนอยู่ในโครงสร้างผลึก ส่งผลให้เพอริโดเป็นพลอยที่มีแต่สีเขียวเท่านั้น และส่วนมากพบในช่วงสีเขียวอมเหลือง โดยเพอริโดคุณภาพดีและมีมูลค่าสูงจะมีสีเขียวบริสุทธิ์ และมีขนาดที่ใหญ่ ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดการค้าขายอัญมณี  พลอยเพอริโดนั้นสามารถพบได้ทั่วโลก โดยมีแหล่งกำเนิดที่สำคัญในหลายประเทศ ได้แก่ เกาะซาบาร์กัด (Zabargad Island) ประเทศอียิปต์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เขตโคฮิสถาน (Kohistan District) ประเทศปากีสถาน มณฑลจี๋หลิน (Jilin Province) สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตพื้นที่สูงตอนกลาง (Central Highlands) ประเทศเวียดนาม และอีกหนึ่งแหล่งกำเนิดที่มีความโดดเด่นขึ้นชื่อเรื่องการผลิตเพอริโดคุณภาพดี ซึ่งมีอิทธิพลต่อตลาดเพอริโดของโลก คือ เมืองโมกก (Mogok Township) ประเทศเมียนมา โดยพื้นที่ที่มีการทำเหมืองเพอริโดที่สำคัญของโมกก คือ พื้นที่ Pyaung-Gaung ซึ่งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโมกก

ภาพที่ 1 เพอริโด น้ำหนัก 5.18–7.52 กะรัต จากแหล่งโมกก ประเทศเมียนมา Photos by T. Sripoonjan

            เมืองโมกก ประเทศเมียนมา มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานในเรื่องการเป็นแหล่งผลิตอัญมณีคุณภาพดีหลากหลายชนิด อาทิเช่น ทับทิม ไพลิน สปิเนล รวมถึงเพอริโด โดยเพอริโดจากแหล่งโมกกนั้นเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีลักษณะโดดเด่นในเรื่องการมีสีเขียวเข้มที่สวยงาม ซึ่งคล้ายกับเพอริโดจากแหล่งปากีสถาน และมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเพอริโดที่ค้นพบในแหล่งอื่นๆ ปัจจุบันการทำเหมืองเพอริโดในโมกกดำเนินการผลิตอยู่ในหลายพื้นที่ ประกอบด้วยพื้นที่ Pyaung-Gaung พื้นที่ Htin-Shu Taung และ พื้นที่ Bernard  โดยเฉพาะพื้นที่ Pyaung-Gaung มีการค้นพบเพอริโดคุณภาพดีจำนวนมาก ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นแหล่งเพอริโดที่สำคัญของเมืองโมกก เหมืองเพอริโดในพื้นที่ Pyaung-Gaung นั้น ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองโมกกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร โดยอยู่บริเวณสันเขา Taung Me Mountain ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโมกก บริเวณพื้นที่ดังกล่าวนั้นอุดมไปด้วยหินอัคนีประเภทอัลทราเมฟิก (ultrabasic rock) ได้แก่ หินเพริโดไทต์ (peridotite) และหินดูไนต์ (dunite) โดยหินเหล่านี้มีส่วนประกอบสำคัญ คือ แร่โอลิวีน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณีเพอริโด 

 




   ภาพที่ 2 เหมืองเพอริโดในพื้นที่ Pyaung-Gaung เมืองโมกก ประเทศเมียนมา 

เป็นการทำเหมืองพลอยแบบปฐมภูมิ บริเวณพื้นที่โดยรอบสามารถพบหินที่มีส่วนประกอบของแร่โอลิวีน  Photos by T. Sripoonjan 

            การทำเหมืองเพอริโดในพื้นที่ Pyaung-Gaung เป็นการทำเหมืองในลักษณะปฐมภูมิ (primary deposit) โดยคนงานเหมืองจะใช้ระเบิดไดนาไมต์ และเครื่องเจาะหินด้วยแรงอัดอากาศ (jackhammer) ขุดเจาะภูเขาและหินโดยรอบ เพื่อสร้างอุโมงค์หรือหลุมที่มีขนาดใหญ่พอให้คนงานเหมืองสามารถเข้าไปขุดแร่ ที่อยู่ภายในภูเขาหรือใต้พื้นดินได้ โดยคนงานเหมืองจะใช้เครื่องเจาะหิน และอุปกรณ์แบบดั้งเดิมอื่นๆ เช่น ค้อน และสิ่ว ในการสกัดเพอริโดที่ฝังตัวอยู่ในหินต้นกำเนิด (host rock) บริเวณผนังของอุโมงค์ ซึ่งการทำเหมืองในสภาวะเช่นนี้มีความเสี่ยงอย่างมากที่อุโมงค์หรือถ้ำอาจเกิดการทรุดตัวและถล่มลงมา ด้วยเหตุนี้การทำเหมืองเพอริโดในโมกกจึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบกาณ์ของคนงานเหมืองเป็นอย่างมาก จากนั้นเพอริโดที่สกัดได้จะถูกส่งต่อไปยังเมืองโมกกเพื่อทำความสะอาด คัดเกรด และเจียระไน ก่อนที่จะถูกนำไปจำหน่ายในตลาดซื้อขายอัญมณี  


 



 ภาพที่ 3 การทำเหมืองแบบปฐมภูมิในพื้นที่ Pyaung-Gaung เมืองโมกก ประเทศเมียนมา Photos by M. Seneewong-Na-Ayutthaya, T. Sripoonjan

            จากการวิเคราะห์ตัวอย่างเพอริโดจากแหล่งโมกก พบว่ามีคุณสมบัติทางกายภาพและอัญมณีวิทยาที่ใกล้เคียงกับเพอริโดจากแหล่งอื่นๆ ดังแสดงในตารางที่ 1 

            ตารางที่ 1 คุณสมบัติทางกายภาพและอัญมณีวิทยาของเพอริโดจากแหล่งโมกก ประเทศเมียนมา


            ในส่วนของมลทินภายในที่มักพบในเพอริโดจากแหล่งโมกก รวมถึงเพอริโดจากแหล่งอื่นๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพลอยเพอริโด คือ ตำหนิใบบัว หรือ lily pads เป็นลักษณะของผลึกมลทินขนาดเล็กล้อมรอบด้วยรอยแตก จนมีลักษณะคล้ายใบบัว โดยเพอริโดจากแหล่งโมกก สามารถพบแร่โครไมต์ (chromite) เป็นผลึกศูนย์กลางในตำหนิใบบัว ส่วนมลทินอื่น ๆ ที่มักพบในเพอริโดแหล่งโมกก ได้แก่ มลทินของไหล (fluid inclusions) มลทินเส้นเข็ม (needle-like inclusions) มลทินกระจุกเส้นใยของแร่ (fiber tufts) มลทินรอยแตกเชื่อมประสาน (partial healing fissures) และมลทินแร่ต่างๆ ได้แก่ โครไมต์ โอลิวีน ไบโอไทต์ (biotite) เซอร์เพนทีน (serpentine) แมกนีไซต์ (magnesite) คลอไรด์ (chloride) และทัลก์ (talc)  ในส่วนของมลทินธาตุร่องรอย (trace elements) ที่สำคัญของเพอริโดแหล่งโมกก ประกอบด้วย โครเมียม (Cr) วาเลเดียม (V) โคบอลต์ (Co) ซีเซียม (Sc) นิเกิล (Ni) และไทเทเนียม (Ti)  โดยธาตุร่องรอยเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อบ่งชี้แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของเพอริโดแหล่งโมกกได้

A.


B.

C.

D.


ภาพที่ 4 ตัวอย่างมลทินภายในที่มักพบในเพอริโดแหล่งโมกก (A) ตำหนิใบบัว หรือ lily pads(B) มลทินรอยแตกเชื่อมประสาน (C) มลทินของไหล และ (D) มลทินเส้นเข็ม

ที่มา: บทความวิชาการ เรื่อง Gemological Characterization of Peridot from Pyaung-Gaung, in Mogok, of Myanmar วารสาร Gems & Gemology (G&G) Volume 57, No. 4, 2021.


ข้อมูลอ้างอิง


ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). Gemological Characterization of Peridot from Pyaung-Gaung, in Mogok, of Myanmar. วารสาร Gems & Gemology (G&G) Volume 57, No. 4, 2021.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


แคนาดา
15 views
0 share
กรีซ
3 views
0 share
ปากีสถาน
7 views
0 share

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site