เกาะติดสถานการณ์ตลาดอัญมณี

เคล็ดลับสุขภาพสำหรับช่างทำเครื่องประดับ

ช่างเครื่องประดับที่ทำงานอยู่กับโต๊ะมักมีอาการปวดคอหรือปวดหลังเรื้อรัง เนื่องจากการใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งประจำโต๊ะอยู่ในห้องทำงาน การจัดเก้าอี้และโต๊ะทำงานให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม และถือเป็นสิ่งคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป ติดตามคำแนะนำการปรับโต๊ะทำงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดึขึ้นได้ในบทความนี้

ผู้นำในการซื้อสินค้าหรูหราในตลาดอเมริกา

Unity Marketing ได้ทำการสำรวจผู้มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยอย่างน้อย 239,300 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มหลักผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจอของประเทศ ดังนั้น นักการตลาดสินค้าหรูจึงต้องพุ่งเป้าหมายไปยังประชากรกลุ่มนี้

ความต้องการเงินคุณภาพดีเพิ่มสูงขึ้น

ความสนใจเงินคุณภาพดีในอุตสาหกรรมเครื่องประดับได้เพิ่มความต้องการสูงขึ้น และยังไปสู่การพัฒนาโลหะผสมเงินประเภทต่างๆ ให้มีความเปล่งปลั่งมากกว่าเงินสเตอร์ลิง 925 โดย Sterlium เป็นเงินสเตอร์ลิงระดับสูงและได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาที่พบบ่อย เช่น ความหมองและความอ่อนของโลหะ

เครื่องประดับเพื่อสิ่งแวดล้อม

จากการที่โลกหันมาให้ความใส่ใจสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดกระแสการซื้อสินค้าทุกชนิดรวมถึงเครื่องประดับที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยลูกค้าที่สนใจสิ่งแวดล้มมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้หญิงซึ่งมีอาชีพการงานมั่นคง ฐานะดี ที่นิยมการสวมใส่สินค้าเป็นมิตรแต่สิ่งแวดล้อมและไม่ใช้วัสดุจากสัตว์

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียในปี 2015

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียมีศักยภาพที่จะเติบโตจากมูลค่า 45,000 ล้านเหรียญ เป็นหนึ่งแสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015 โดยอุตสากรรมประกอบดัวยเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเพชร 80% ของตลาดเครื่องประดับ และตลาดอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

Tiffany จัดตู้โชว์แสดงเครื่องประดับที่ไม่ (ยอม) ขาย

Tiffany and Co. ได้จัดตู้โชว์ที่สาขาใหญ่ บนถนนฟิฟธ์อเวนิว ภายใต้ธีมโลกใต้ทะเล ที่ไม่ใช่พื้นสำหรับแสดงสินค้าเพื่อขาย แต่เอาไว้อธิบายถึงสิ่งที่ไม่ได้มีขายอย่างเครื่องประดับปะการัง อีกทั้งยังได้จัดตู้โชว์ท้องทะเลในร้าน Tiffany 182 แห่งใน 121 ประเทศทั่วโลก

เทคโนโลยีใหม่กับการบริหารและติดตามสินค้า

เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับมากขึ้นในปัจจุบัน อาทิ อุตสาหกรรมเพชรใช้พัฒนาการทางเทคโนโลยีมาช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติเพื่อเจียระไนอัญมณี และการใช้โปรแกรทางอินเทอร์เน็ตเพื่อช่่วยในด้านการตลาดสินค้าเพชร

ตลาดสหรัฐแนวโน้มยังไม่น่าไว้วางใจ

แม้ว่ายอดขายเครื่องประดับสหรัฐฯ จะดีขึ้นบ้างในช่วงเทศกาลปี 2009 หลังจากย่ำแย่มากในปี 2008 แต่แนวโน้มตลาดเครื่องประดับสหรัฐฯ ในปี 2010 ยังคงไม่น่าไว้วางใจ เพราะการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัวดีนัก เนื่องจากวิกฤติเงินกู้ที่ยังคงอยู่ อัตราการว่างงานสูง และพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ปี 2010 (ตอนจบ)

สหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมเพชรและเครื่องประดับโลก ซึ่งตลาดฟื้นตัวอีกครั้งจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น นักวิเคราะห์คาดว่ายอดขายเครื่องประดับในตลาดสหรัฐฯ จะเติบโตได้ 4-5% ในทศวรรษหน้า อันมีปัจจัยผลักดันจากกลุ่ม Gen-Y จำนวนคู่แต่งงานที่เพิ่มขึ้น และรายได้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น

การตลาดผ่านไปรษณียบัตร

การส่งเอกสารโฆษณาทางอีเมลอาจถูกเปิดอ่านแล้วลืมไปหรือไม่ก็อาจไปอยู่ในอีเมลขยะได้ การนำวิธีการเก่ามาปัดฝุ่นใช้ใหม่อย่างการส่งไปรษณีย์อาจะทำให้เข้าถึงลูกค้าได้โดยตรงมากขึ้น ผู้ประกอบการอาจพิจารณาใช้ Popcard ซึ่งเป็นข้อเสนอทางไปรษณีย์ที่วัดผลได้ ติดตามได้ และคุ้มค่าในการลงทุน แตกต่างจากข้อเสนอพิเศษอื่นๆ

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ปี 2010 (ตอนที่ 1)

มีการคาดการณ์ว่ายอดขายเพชรและเครื่องประดับจะสูงขึ้่นเล็กน้อยใน 2010 แต่ความท้าทายยังคงมีอยู่ อาทิ ตลาดยุโรปอาจชะลอตัว หรือกลุ่มประเทศเอาเชีย อินเดีย ตะวันออกกลางจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจระดับปานกลาง ผู้บริโภคไม่ค่อยอยากซื้อเครื่องประดับราคาแพง และมักซื้อสินค้าที่มีคุณค่าแต่ราคาต่ำ

สร้างฐานลูกค้าเหนียวแน่นทางออนไลน์

อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งที่ควรนำมาใช้ร่วมกับองค์ประกอบอื่นๆ ในแผนการตลาด โดยผู้ค้าปลีกอาจเสริมแนวทางโฆษณาและการตลาดของบริษัทตนโดยใช้เว็บไซต์และอีเมลในการสร้างความจงรักภักดีของลูกค้า ซึ่งการวางกลยุทธ์ออนไลน์ที่ดีจะช่วยเร่งยอดขายและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970