บทวิเคราะห์การนำเข้าส่งออกอัญมณีไทย

บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2558

ไทยส่งออกปี 2558 เพิ่มขึ้น 9.27% ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 4.38% โดยทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปเป็นสินค้าหลักทั้งในการส่งออกและการนำเข้า แต่หากไม่รวมทองคำฯ พบว่า การส่งออกลดลง 1.31% เนื่องจากสินค้าหลักทั้งเครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน พลอยสี เติบโตได้ดี

บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2559

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเติบโตได้ 29.60% ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลง 12.90% โดยทองคำเป็นสินค้าหลักทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า แต่หากไม่รวมทองคำฯ จะพบว่าลดลง 3.03% จากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ได้ลดลง

บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2560

ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกไทยลดลง 9.92% ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 75.19% โดยทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปเป็นสินค้าหลักทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า แต่หากไม่รวมทองคำฯ จะพบว่าไทยส่งออกเพิ่มขึ้น 2.15% ตลาดส่งออกหลักอย่างฮ่องกง สหภาพยุโรป เติบโตได้ดี

บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2561

ไทยส่งออกไม่รวมทองคำในปี 2561 ทำรายได้ 7,604.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 6.96% โดยสินค้าส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี และตลาดหลักเดิมของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ยังคงมีมูลค่าเติบโตได้เป็นอย่างดี ส่วนตลาดตะวันออกกลาง อินเดีย และจีน มีแนวโน้มขยายตัวดี

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม ปี 2562

ในเดือนมกราคม 62 ไทยส่งออกลดลง 16.56% หรือมีมูลค่า 807.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำออก การส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 504.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.50%

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2562

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วง 2 เดือนแรก ปี 62 มีมูลค่า 2,182.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.41% ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำออก การส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 1,372.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง 3.87%

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2562

ในช่วงไตรมาสแรกปี 62 ไทยส่งออกมูลค่า 3,166.98 ล้านดอลาร์สหรัฐ ลดลง 1.18% แต่หักทองคำฯ ออก พบว่า การส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 1,958.15 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง 6.02% โดยปัจจัยสำคัญมาจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญชะลอตัว และเงินบาทแข็งค่า

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2562

ไทยส่งออกในช่วง 4 เดือนแรก ปี 62 ด้วยมูลค่า 3,792.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวลง 8.30% แต่เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 2,376.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงจ 6.21% จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2562

ในช่วง 5 เดือนแรกปี 62 การส่งออกไทยมีมูลค่า 4,605.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวลง 9.98% แต่หากไม่รวมทองคำฯ การส่งออกที่แท้จริงจะมีมูลค่า 3,043.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 2.84% อันเป็นผลกระทบจากสงครามการค้าที่ทำให้เศรษฐกิจและการค้าโลกชะลอตัว และค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2562

ในช่วง 6 เดือนแรกปี 62 ไทยส่งออกด้วยมูลค่า 7,244.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.21% จากการส่งออกทองคำฯ ได้เพิ่มขึ้นมาก ในจังหวะที่ราคาทองคำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 18 เดือนในเดือนมิถุนายน อีกทั้งพลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนก็เติบโตได้ดี

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2562

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 62 ไทยทำรายได้จากการส่งออกด้วยมูลค่า 9,025.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 30% แต่หากไม่รวมทองคำฯ พบว่าการส่งออที่แท้จริงมีมูลค่า 4,433.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 2.59% โดยตลาดที่เติบโตคือ อินเดียและอาเซียน

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2562

ทยส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกปี 62 มีมูลค่า 11,452.89 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 45.81% แต่เมื่อหักทองคำออก การส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 5,240.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.92% จากการส่งออกไปยังอินเดียและอาเซียนได้สูงขึ้นมาก

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970