ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

นานาทรรศนะจากผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภคชาวไทยที่มีต่อเพชรสังเคราะห์

Jun 21, 2021
3504 views
2 shares


เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชนก ภาสกรจรัส

รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


            ข้อมูลของ Diamond Registry ได้แสดงว่ายอดขายเพชรแท้จากธรรมชาติ (Natural Diamonds) ในปี 2021 มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ กระแสรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม ก็ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้บริโภค (โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการศึกษาสูง) มีข้อกังวลในเรื่องของการทำเหมืองเพชรธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย และการนำรายได้ไปใช้ในทางผิดๆ เช่น การนำไปสนับสนุนการก่อการร้าย การจุดประกายสงครามกลางเมือง หรือที่เรียกว่า Blood Diamond ด้วยเหตุนี้ เพชรสังเคราะห์ (Laboratory Grown Diamonds หรือ LGDs) จึงนับเป็นหนึ่งทางเลือกให้กับผู้บริโภค เนื่องจากมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเพชรธรรมชาติทางเคมีและทางกายภาพทุกประการ ด้วยราคาที่จับต้องได้ ต่างกันแค่เพียงแหล่งกำเนิดเท่านั้น และยังไม่ทำร้าย ทำลาย สิ่งแวดล้อม และไม่มีประเด็นในเรื่องจริยธรรมอีกด้วย

ภาพจาก Pinterest

            ปัจจุบัน เพชรสังเคราะห์เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการสำรวจของ MVI ในปี 2010 พบว่ามีผู้รู้จัก LGDs เพียง 9% แต่ในปี 2018 มีผู้รู้จัก LGDs เพิ่มขึ้นเป็น 51% เลยทีเดียว ส่วนฐานข้อมูล Statista ก็ได้พยากรณ์ไว้ว่าในปี 2030 จะมีปริมาณ LGDs ในตลาดสูงถึง 19.2 ล้านกะรัต ซึ่งนับว่าความต้องการเพชรสังเคราะห์ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากปี 2010 ที่มีเพียง 0.95 ล้านกะรัตเท่านั้น และที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือ ความสนใจซื้อ LGDs ก็ยังคงเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่าราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาสนใจ LGDs ความนิยมที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งก็ได้รับอานิสงส์จากบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการแฟชั่นที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของหลายคนเป็นอย่างมาก เช่น นางแบบของ Victoria’s Secret ที่สวมใส่ชุดชั้นในที่ทำจาก LGDs ที่มีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในงานแฟชั่นโชว์ Lady Gaga ก็ใส่ต่างหูที่ทำจาก LGDs มาร่วมงานเปิดตัวภาพยนต์ในกรุงลอนดอน 

            จากงานวิจัยของ นางสาวพิชญา โล่ห์ปีติ นิสิต MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคในประเทศไทยที่มีต่อเพชรสังเคราะห์ โดยทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ 205 ราย และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 14 ราย พบคำตอบที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น ดังนี้

                กลุ่มเป้าหมายหลักของเพชรสังเคราะห์คือ Gen Y จากแบบสอบถามพบว่า คน Gen Y มีแนวโน้มที่จะซื้อเพชรสังเคราะห์มากถึง 91.9% โดยเหตุผลหลักในการตัดสินใจซื้อคือ คุณสมบัติที่ไม่แตกต่างจากเพชรธรรมชาติ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ทั้งนี้ เนื่องจากคน Gen Y จะให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของเงินที่ต้องจ่ายไป โดยทั่วไปแล้วคน Gen Y มักให้ความสำคัญกับสินค้ากลุ่ม IT มากกว่าเครื่องประดับ พฤติกรรมการบริโภคที่เด่นชัดของคน Gen นี้ คือการซื้อสินค้าที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด นิยมการช้อปออนไลน์ ชอบสั่งสินค้าที่มีคุณลักษณะเฉพาะที่แสดงความเป็นตัวตนของเขา และจัดเป็นผู้บริโภคที่ใจร้อน นิยมสินค้าที่ดึงดูดใจ ดูดี แปลกใหม่ และอินเทรนด์ ส่วน Gen X ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายรอง คน Gen X ยังมีความลังเลใจในการซื้อเพชรสังเคราะห์ เพราะถูกปลูกฝังจากคนรุ่นพ่อแม่ที่เป็น Baby Boomer ในเรื่องการซื้อเครื่องประดับเพื่อลงทุนในระยะยาว เพื่อเป็นมรดกตกทอด 

                - เพศชายมีแนวโน้มซื้อเพชรสังเคราะห์เพิ่มขึ้น ตามรายได้เฉลี่ยที่สูงขึ้น ในขณะที่เพศหญิง เมื่อมีรายได้สูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง จะนิยมเพชรธรรมชาติมากกว่า จากผลการสำรวจ พบว่าผู้ชายที่มีช่วงรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,000 บาทขึ้นไปมีแนวโน้มการตัดสินใจที่อาจจะซื้อและซื้อเพชรสังเคราะห์สูงมากกว่าผู้ชายที่มีช่วงรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 50,000 บาทต่อเดือน และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามรายได้เฉลี่ยที่เพิ่มมากขึ้น แม้จะมีรายได้มากกว่า 300,000 บาทต่อเดือนก็ตาม ส่วนในกลุ่มผู้หญิงที่ตอบแบบสอบถามพบว่า ในช่วงรายได้เฉลี่ย 50,000-75,000 บาทต่อเดือน จะมีแนวโน้มตัดสินใจที่อาจจะซื้อและซื้อเพชรสังเคราะห์สูงที่สุดกว่ากลุ่มรายได้อื่นๆ แต่เมื่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงนี้ แนวโน้มการตัดสินใจซื้อเพชรสังเคราะห์จะลดลง ส่วนผู้หญิงที่มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 300,000 บาทต่อเดือนนั้น จะตัดสินใจเลือกซื้อเฉพาะเพชรธรรมชาติเท่านั้น 

            จากสิ่งที่ Ruth Hayden เขียนไว้ในหนังสือของเขา “For Richer, Not Poorer: The Money Book for Couples” ว่า “ผู้หญิงมักจะซื้อของเพื่อการใช้ชีวิต ส่วนผู้ชายมักจะลงทุนในสิ่งของที่มีมูลค่า และผู้หญิงมักชอบใช้จ่ายทีละน้อยตามช่วงเวลา ในขณะที่ผู้ชายมักใช้จ่ายเป็นก้อนใหญ่” นอกจากนี้ ผู้หญิงมักจะซื้อของโดยไม่ได้สนใจว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่ดีหรือไม่ก็ตาม ส่วนผู้ชายมักจะให้ความสำคัญกับการลงทุนระยะยาว เพราะผู้ชายมีอัตตาสูงกว่าผู้หญิง และชอบโอ้อวดทรัพย์สินหรือจำนวนเงินที่ทำมาหาได้ เมื่อนำมาตีความผลการวิจัย ก็อาจแปลได้ว่า ผู้หญิง (ซึ่งตัดสินใจซื้อเครื่องประดับด้วยตนเอง) มองว่าการซื้อเพชรสังเคราะห์นั้นตอบสนองความต้องการของเขาอย่างเต็มที่ ถึงแม้มูลค่าเพชรสังเคราะห์จะลดลงในระยะยาวก็ตาม แต่หากรายได้สูงถึงระดับหนึ่งแล้ว ผู้หญิงก็จะมองหาสิ่งที่ดีที่คุ้มกับการลงทุนมากกว่า ส่วนผู้ชาย (ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อเพื่อเป็นของขวัญให้กับผู้หญิง) อาจไม่ได้มองเห็นคุณค่าของเพชรธรรมชาติเท่ากับผู้หญิง และไม่ได้ถือเป็นสินทรัพย์ที่ดีในการลงทุนในระยะยาว จึงทำให้ผู้ชายมีแนวโน้มซื้อเพชรสังเคราะห์เพิ่มขึ้นตามรายได้ไปเรื่อยๆ 


แหวนประดับ LGDs แบรนด์ Sky Diamonds

            นอกจากนี้ ผลการวิจัยอีกส่วนหนึ่งของนางสาวพิชญา โล่ห์ปีติ ที่ได้มีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ 14 ราย ทั้งผู้ผลิต ผู้ค้าส่งเพชร ผู้ค้าปลีก พบว่าทัศนคติของผู้ประกอบการมีทั้งบวกและลบต่อการเข้ามาของเพชรสังเคราะห์ ในส่วนของผู้ผลิต และผู้ค้าส่งนั้น ไม่ค่อยตื่นเต้นกับการเข้ามาของเพชรสังเคราะห์เท่าไรนัก เพราะเชื่อว่าลูกค้าเป็นคนละกลุ่ม แต่ก็ยังมีความกังวลอยู่บ้าง เนื่องจากเกรงว่ากลุ่มลูกค้า Gen หนุ่มสาวที่มีขนาดเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จะมีค่านิยมที่เปลี่ยนไปจากรุ่นพ่อแม่ที่นิยมเพชรธรรมชาติ ซึ่งตรงกับผลการสำรวจข้างต้นที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของเพชรสังเคราะห์น่าจะเป็น Gen Y แต่ในส่วนของผู้ค้าปลีก เห็นได้ชัดว่าผู้ที่ยังไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรอัญมณีศาสตร์มาจะรู้สึกกลัวกับการเข้ามาของเพชรสังเคราะห์ เพราะไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า แต่ผู้ค้าปลีกที่ผ่านการอบรมหลักสูตรอัญมณีศาสตร์มาแล้วจะไม่กลัวการเข้ามาของเพชรสังเคราะห์ เพราะกลุ่มนี้จะมีความรู้ดีว่าในใบรับรองสามารถแยกแยะการกำเนิดของเพชรได้

            เมื่อสอบถามผู้ประกอบการถึงความเป็นไปได้ในการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกค้าเห็นคุณค่าของเพชรสังเคราะห์ว่ามีข้อดีเหนือเพชรธรรมชาติตรงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Friendly) และไม่มีปัญหาเรื่องจริยธรรมหรือไม่ได้เป็นเพชรที่มีแหล่งที่มาจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายหรือกบฏในประเทศที่มีสงครามกลางเมือง เรียกได้ว่าเป็นเพชรที่ปราศจากความขัดแย้ง (Conflict Free) ความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์แยกออกได้เป็นสองส่วน คือ ผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางเห็นว่าน่าจะใช้เป็นข้อมูลประชาสัมพันธ์เพชรสังเคราะห์ได้ดี เพราะสอดคล้องกับค่านิยมรักษ์โลก รักสิ่งแวดล้อม ของกลุ่มคน Gen Y และ Gen Z ที่พวกเขาเห็นว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของเพชรสังเคราะห์ ในขณะที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ด้วยข้อความดังกล่าวก็อาจจะเกินจริงได้ เพราะก็ยังไม่ได้มีรายงาน Carbon Footprint จากการผลิตเพชรสังเคราะห์ออกมาแต่อย่างใด ส่วนในเรื่องการใช้แรงงานนั้น ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะยังมีแรงงานผิดกฎหมายในงานเจียระไนอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงขอเสนอแนะว่าการประชาสัมพันธ์เพชรสังเคราะห์ควรเน้นไปที่คุณสมบัติ ความสวยงาม และความคุ้มค่า จับต้องได้ของเพชรสังเคราะห์มากกว่า เพราะการโฆษณาว่าเพชรสังเคราะห์มีคุณสมบัติ Eco Friendly, Conflict Free และใช้แรงงานถูกกฎหมาย อาจเกินความเป็นจริงไปก็ได้

            นอกจากนี้ ก็ได้มีการสอบถามผู้ประกอบการถึงความคิดเห็นที่มีต่อการเข้ามาในธุรกิจเพชรสังเคราะห์ของ De Beers ภายใต้แบรนด์ Light Box พบว่า มีความคิดเห็นทั้งในเชิงบวกและเชิงลบเช่นกัน โดยผู้ประกอบการที่ให้ความเห็นในเชิงบวก มองว่าการที่ De Beers เข้ามาเล่นในตลาดเพชรสังเคราะห์นับเป็นสิ่งดีต่ออุตสาหกรรมโดยรวม เพราะถือว่า De Beers ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้กับเพชรสังเคราะห์ไปแล้ว ซึ่งไม่ต้องมาปกปิดข้อมูลกับผู้บริโภค เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและส่งผลดีต่อภาพรวมของอุตสาหกรรม แต่ผู้ประกอบการน้อยรายซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กแสดงความกังวลว่า หากผู้เล่นรายใหญ่ลงมาเล่นเพชรสังเคราะห์เสียเองแล้ว ก็จะทำให้คนหันไปหาเพชรสังเคราะห์หมด 

แหวนประดับ LGDs แบรนด์ Light Box

            ผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์ก็ยังมีความเห็นเช่นเดียวกับผู้ตอบแบบสอบถามในเรื่องของกลุ่มเป้าหมาย นั่นคือ Gen Y และ Gen Z น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก เพราะเป็นกลุ่มที่นิยมซื้อสินค้าที่คุ้มค่า และไม่ได้มองว่าเพชรธรรมชาติเหมาะกับการซื้อลงทุนเหมือนรุ่นพ่อแม่ ในขณะที่ Gen X ก็เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ ถึงแม้ว่าคนกลุ่มนี้จะยังนิยมซื้อเพชรธรรมชาติอยู่ เพราะมองในเรื่องมูลค่าในอนาคตของเพชรธรรมชาติที่น่าจะสูงขึ้น เหมาะกับซื้อเพื่อเป็นการลงทุนในระยะยาว แต่เนื่องจากคน Gen X ซึ่งโดยอายุจัดเป็นผู้บริหารระดับกลางถึงสูงในองค์กร เป็นคนมีหน้ามีตาในสังคม ในบางโอกาสก็มีแนวโน้มหันมาซื้อเพชรสังเคราะห์ได้บ้างเช่นกัน เพราะต้องออกงานสังคมบ่อยครั้ง และไม่อยากให้ผู้คนจดจำสิ่งที่พวกเขาสวมใส่ได้ ส่วนคนที่เป็น Baby Boomer นั้น ผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์เห็นพ้องกันว่าไม่น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะเลือกซื้อเพชรธรรมชาติ หรือไม่ก็ของปลอมไปเลย เช่น คริสตัล เพราะเพชรสังเคราะห์จัดเป็นสินค้าที่อยู่ในระดับกลาง ราคาก็ไม่ได้เรียกว่าถูกเท่าไรนัก ในสายตาของคนกลุ่มนี้จึงเห็นว่าไม่คุ้มหากซื้อเพชรสังเคราะห์ เพราะมูลค่าในอนาคตก็มีแนวโน้มต่ำลง เนื่องจากผลิตได้มากขึ้น

            กล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่จัดว่ามีความรู้เกี่ยวกับเพชรสังเคราะห์ และสามารถรับมือกับเทรนด์การบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับได้ แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายเล็กยังขาดความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับเพชรสังเคราะห์อยู่ ซึ่งคงจะต้องเตรียมตัว เพิ่มเติม เสริมความรู้เกี่ยวกับด้านอัญมณีศาสตร์ต่อไป และต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับเทรนด์ของเพชรสังเคราะห์ที่จะมาตามการขยายตัวของกลุ่มคน Gen Y และ Gen Z อีกด้วย ยิ่งในปัจจุบันการโฆษณาแบบปากต่อปาก (Word of Mouth) จัดเป็นการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด หากเทรนด์ของเพชรสังเคราะห์มาจริง ก็คงหยุดยั้งความนิยมของเพชรสังเคราะห์ได้ยาก ซึ่งเพชรสังเคราะห์ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็น “New Normal” ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในอนาคต



เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

นานาทรรศนะจากผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภคชาวไทยที่มีต่อเพชรสังเคราะห์

Jun 21, 2021
3504 views
2 shares


เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชนก ภาสกรจรัส

รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


            ข้อมูลของ Diamond Registry ได้แสดงว่ายอดขายเพชรแท้จากธรรมชาติ (Natural Diamonds) ในปี 2021 มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ กระแสรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม ก็ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้บริโภค (โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการศึกษาสูง) มีข้อกังวลในเรื่องของการทำเหมืองเพชรธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย และการนำรายได้ไปใช้ในทางผิดๆ เช่น การนำไปสนับสนุนการก่อการร้าย การจุดประกายสงครามกลางเมือง หรือที่เรียกว่า Blood Diamond ด้วยเหตุนี้ เพชรสังเคราะห์ (Laboratory Grown Diamonds หรือ LGDs) จึงนับเป็นหนึ่งทางเลือกให้กับผู้บริโภค เนื่องจากมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเพชรธรรมชาติทางเคมีและทางกายภาพทุกประการ ด้วยราคาที่จับต้องได้ ต่างกันแค่เพียงแหล่งกำเนิดเท่านั้น และยังไม่ทำร้าย ทำลาย สิ่งแวดล้อม และไม่มีประเด็นในเรื่องจริยธรรมอีกด้วย

ภาพจาก Pinterest

            ปัจจุบัน เพชรสังเคราะห์เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการสำรวจของ MVI ในปี 2010 พบว่ามีผู้รู้จัก LGDs เพียง 9% แต่ในปี 2018 มีผู้รู้จัก LGDs เพิ่มขึ้นเป็น 51% เลยทีเดียว ส่วนฐานข้อมูล Statista ก็ได้พยากรณ์ไว้ว่าในปี 2030 จะมีปริมาณ LGDs ในตลาดสูงถึง 19.2 ล้านกะรัต ซึ่งนับว่าความต้องการเพชรสังเคราะห์ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากปี 2010 ที่มีเพียง 0.95 ล้านกะรัตเท่านั้น และที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือ ความสนใจซื้อ LGDs ก็ยังคงเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่าราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาสนใจ LGDs ความนิยมที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งก็ได้รับอานิสงส์จากบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการแฟชั่นที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของหลายคนเป็นอย่างมาก เช่น นางแบบของ Victoria’s Secret ที่สวมใส่ชุดชั้นในที่ทำจาก LGDs ที่มีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในงานแฟชั่นโชว์ Lady Gaga ก็ใส่ต่างหูที่ทำจาก LGDs มาร่วมงานเปิดตัวภาพยนต์ในกรุงลอนดอน 

            จากงานวิจัยของ นางสาวพิชญา โล่ห์ปีติ นิสิต MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคในประเทศไทยที่มีต่อเพชรสังเคราะห์ โดยทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ 205 ราย และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 14 ราย พบคำตอบที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น ดังนี้

                กลุ่มเป้าหมายหลักของเพชรสังเคราะห์คือ Gen Y จากแบบสอบถามพบว่า คน Gen Y มีแนวโน้มที่จะซื้อเพชรสังเคราะห์มากถึง 91.9% โดยเหตุผลหลักในการตัดสินใจซื้อคือ คุณสมบัติที่ไม่แตกต่างจากเพชรธรรมชาติ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ทั้งนี้ เนื่องจากคน Gen Y จะให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของเงินที่ต้องจ่ายไป โดยทั่วไปแล้วคน Gen Y มักให้ความสำคัญกับสินค้ากลุ่ม IT มากกว่าเครื่องประดับ พฤติกรรมการบริโภคที่เด่นชัดของคน Gen นี้ คือการซื้อสินค้าที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด นิยมการช้อปออนไลน์ ชอบสั่งสินค้าที่มีคุณลักษณะเฉพาะที่แสดงความเป็นตัวตนของเขา และจัดเป็นผู้บริโภคที่ใจร้อน นิยมสินค้าที่ดึงดูดใจ ดูดี แปลกใหม่ และอินเทรนด์ ส่วน Gen X ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายรอง คน Gen X ยังมีความลังเลใจในการซื้อเพชรสังเคราะห์ เพราะถูกปลูกฝังจากคนรุ่นพ่อแม่ที่เป็น Baby Boomer ในเรื่องการซื้อเครื่องประดับเพื่อลงทุนในระยะยาว เพื่อเป็นมรดกตกทอด 

                - เพศชายมีแนวโน้มซื้อเพชรสังเคราะห์เพิ่มขึ้น ตามรายได้เฉลี่ยที่สูงขึ้น ในขณะที่เพศหญิง เมื่อมีรายได้สูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง จะนิยมเพชรธรรมชาติมากกว่า จากผลการสำรวจ พบว่าผู้ชายที่มีช่วงรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,000 บาทขึ้นไปมีแนวโน้มการตัดสินใจที่อาจจะซื้อและซื้อเพชรสังเคราะห์สูงมากกว่าผู้ชายที่มีช่วงรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 50,000 บาทต่อเดือน และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามรายได้เฉลี่ยที่เพิ่มมากขึ้น แม้จะมีรายได้มากกว่า 300,000 บาทต่อเดือนก็ตาม ส่วนในกลุ่มผู้หญิงที่ตอบแบบสอบถามพบว่า ในช่วงรายได้เฉลี่ย 50,000-75,000 บาทต่อเดือน จะมีแนวโน้มตัดสินใจที่อาจจะซื้อและซื้อเพชรสังเคราะห์สูงที่สุดกว่ากลุ่มรายได้อื่นๆ แต่เมื่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงนี้ แนวโน้มการตัดสินใจซื้อเพชรสังเคราะห์จะลดลง ส่วนผู้หญิงที่มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 300,000 บาทต่อเดือนนั้น จะตัดสินใจเลือกซื้อเฉพาะเพชรธรรมชาติเท่านั้น 

            จากสิ่งที่ Ruth Hayden เขียนไว้ในหนังสือของเขา “For Richer, Not Poorer: The Money Book for Couples” ว่า “ผู้หญิงมักจะซื้อของเพื่อการใช้ชีวิต ส่วนผู้ชายมักจะลงทุนในสิ่งของที่มีมูลค่า และผู้หญิงมักชอบใช้จ่ายทีละน้อยตามช่วงเวลา ในขณะที่ผู้ชายมักใช้จ่ายเป็นก้อนใหญ่” นอกจากนี้ ผู้หญิงมักจะซื้อของโดยไม่ได้สนใจว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่ดีหรือไม่ก็ตาม ส่วนผู้ชายมักจะให้ความสำคัญกับการลงทุนระยะยาว เพราะผู้ชายมีอัตตาสูงกว่าผู้หญิง และชอบโอ้อวดทรัพย์สินหรือจำนวนเงินที่ทำมาหาได้ เมื่อนำมาตีความผลการวิจัย ก็อาจแปลได้ว่า ผู้หญิง (ซึ่งตัดสินใจซื้อเครื่องประดับด้วยตนเอง) มองว่าการซื้อเพชรสังเคราะห์นั้นตอบสนองความต้องการของเขาอย่างเต็มที่ ถึงแม้มูลค่าเพชรสังเคราะห์จะลดลงในระยะยาวก็ตาม แต่หากรายได้สูงถึงระดับหนึ่งแล้ว ผู้หญิงก็จะมองหาสิ่งที่ดีที่คุ้มกับการลงทุนมากกว่า ส่วนผู้ชาย (ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อเพื่อเป็นของขวัญให้กับผู้หญิง) อาจไม่ได้มองเห็นคุณค่าของเพชรธรรมชาติเท่ากับผู้หญิง และไม่ได้ถือเป็นสินทรัพย์ที่ดีในการลงทุนในระยะยาว จึงทำให้ผู้ชายมีแนวโน้มซื้อเพชรสังเคราะห์เพิ่มขึ้นตามรายได้ไปเรื่อยๆ 


แหวนประดับ LGDs แบรนด์ Sky Diamonds

            นอกจากนี้ ผลการวิจัยอีกส่วนหนึ่งของนางสาวพิชญา โล่ห์ปีติ ที่ได้มีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ 14 ราย ทั้งผู้ผลิต ผู้ค้าส่งเพชร ผู้ค้าปลีก พบว่าทัศนคติของผู้ประกอบการมีทั้งบวกและลบต่อการเข้ามาของเพชรสังเคราะห์ ในส่วนของผู้ผลิต และผู้ค้าส่งนั้น ไม่ค่อยตื่นเต้นกับการเข้ามาของเพชรสังเคราะห์เท่าไรนัก เพราะเชื่อว่าลูกค้าเป็นคนละกลุ่ม แต่ก็ยังมีความกังวลอยู่บ้าง เนื่องจากเกรงว่ากลุ่มลูกค้า Gen หนุ่มสาวที่มีขนาดเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จะมีค่านิยมที่เปลี่ยนไปจากรุ่นพ่อแม่ที่นิยมเพชรธรรมชาติ ซึ่งตรงกับผลการสำรวจข้างต้นที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของเพชรสังเคราะห์น่าจะเป็น Gen Y แต่ในส่วนของผู้ค้าปลีก เห็นได้ชัดว่าผู้ที่ยังไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรอัญมณีศาสตร์มาจะรู้สึกกลัวกับการเข้ามาของเพชรสังเคราะห์ เพราะไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า แต่ผู้ค้าปลีกที่ผ่านการอบรมหลักสูตรอัญมณีศาสตร์มาแล้วจะไม่กลัวการเข้ามาของเพชรสังเคราะห์ เพราะกลุ่มนี้จะมีความรู้ดีว่าในใบรับรองสามารถแยกแยะการกำเนิดของเพชรได้

            เมื่อสอบถามผู้ประกอบการถึงความเป็นไปได้ในการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกค้าเห็นคุณค่าของเพชรสังเคราะห์ว่ามีข้อดีเหนือเพชรธรรมชาติตรงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Friendly) และไม่มีปัญหาเรื่องจริยธรรมหรือไม่ได้เป็นเพชรที่มีแหล่งที่มาจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายหรือกบฏในประเทศที่มีสงครามกลางเมือง เรียกได้ว่าเป็นเพชรที่ปราศจากความขัดแย้ง (Conflict Free) ความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์แยกออกได้เป็นสองส่วน คือ ผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางเห็นว่าน่าจะใช้เป็นข้อมูลประชาสัมพันธ์เพชรสังเคราะห์ได้ดี เพราะสอดคล้องกับค่านิยมรักษ์โลก รักสิ่งแวดล้อม ของกลุ่มคน Gen Y และ Gen Z ที่พวกเขาเห็นว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของเพชรสังเคราะห์ ในขณะที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ด้วยข้อความดังกล่าวก็อาจจะเกินจริงได้ เพราะก็ยังไม่ได้มีรายงาน Carbon Footprint จากการผลิตเพชรสังเคราะห์ออกมาแต่อย่างใด ส่วนในเรื่องการใช้แรงงานนั้น ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะยังมีแรงงานผิดกฎหมายในงานเจียระไนอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงขอเสนอแนะว่าการประชาสัมพันธ์เพชรสังเคราะห์ควรเน้นไปที่คุณสมบัติ ความสวยงาม และความคุ้มค่า จับต้องได้ของเพชรสังเคราะห์มากกว่า เพราะการโฆษณาว่าเพชรสังเคราะห์มีคุณสมบัติ Eco Friendly, Conflict Free และใช้แรงงานถูกกฎหมาย อาจเกินความเป็นจริงไปก็ได้

            นอกจากนี้ ก็ได้มีการสอบถามผู้ประกอบการถึงความคิดเห็นที่มีต่อการเข้ามาในธุรกิจเพชรสังเคราะห์ของ De Beers ภายใต้แบรนด์ Light Box พบว่า มีความคิดเห็นทั้งในเชิงบวกและเชิงลบเช่นกัน โดยผู้ประกอบการที่ให้ความเห็นในเชิงบวก มองว่าการที่ De Beers เข้ามาเล่นในตลาดเพชรสังเคราะห์นับเป็นสิ่งดีต่ออุตสาหกรรมโดยรวม เพราะถือว่า De Beers ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้กับเพชรสังเคราะห์ไปแล้ว ซึ่งไม่ต้องมาปกปิดข้อมูลกับผู้บริโภค เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและส่งผลดีต่อภาพรวมของอุตสาหกรรม แต่ผู้ประกอบการน้อยรายซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กแสดงความกังวลว่า หากผู้เล่นรายใหญ่ลงมาเล่นเพชรสังเคราะห์เสียเองแล้ว ก็จะทำให้คนหันไปหาเพชรสังเคราะห์หมด 

แหวนประดับ LGDs แบรนด์ Light Box

            ผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์ก็ยังมีความเห็นเช่นเดียวกับผู้ตอบแบบสอบถามในเรื่องของกลุ่มเป้าหมาย นั่นคือ Gen Y และ Gen Z น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก เพราะเป็นกลุ่มที่นิยมซื้อสินค้าที่คุ้มค่า และไม่ได้มองว่าเพชรธรรมชาติเหมาะกับการซื้อลงทุนเหมือนรุ่นพ่อแม่ ในขณะที่ Gen X ก็เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ ถึงแม้ว่าคนกลุ่มนี้จะยังนิยมซื้อเพชรธรรมชาติอยู่ เพราะมองในเรื่องมูลค่าในอนาคตของเพชรธรรมชาติที่น่าจะสูงขึ้น เหมาะกับซื้อเพื่อเป็นการลงทุนในระยะยาว แต่เนื่องจากคน Gen X ซึ่งโดยอายุจัดเป็นผู้บริหารระดับกลางถึงสูงในองค์กร เป็นคนมีหน้ามีตาในสังคม ในบางโอกาสก็มีแนวโน้มหันมาซื้อเพชรสังเคราะห์ได้บ้างเช่นกัน เพราะต้องออกงานสังคมบ่อยครั้ง และไม่อยากให้ผู้คนจดจำสิ่งที่พวกเขาสวมใส่ได้ ส่วนคนที่เป็น Baby Boomer นั้น ผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์เห็นพ้องกันว่าไม่น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะเลือกซื้อเพชรธรรมชาติ หรือไม่ก็ของปลอมไปเลย เช่น คริสตัล เพราะเพชรสังเคราะห์จัดเป็นสินค้าที่อยู่ในระดับกลาง ราคาก็ไม่ได้เรียกว่าถูกเท่าไรนัก ในสายตาของคนกลุ่มนี้จึงเห็นว่าไม่คุ้มหากซื้อเพชรสังเคราะห์ เพราะมูลค่าในอนาคตก็มีแนวโน้มต่ำลง เนื่องจากผลิตได้มากขึ้น

            กล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่จัดว่ามีความรู้เกี่ยวกับเพชรสังเคราะห์ และสามารถรับมือกับเทรนด์การบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับได้ แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายเล็กยังขาดความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับเพชรสังเคราะห์อยู่ ซึ่งคงจะต้องเตรียมตัว เพิ่มเติม เสริมความรู้เกี่ยวกับด้านอัญมณีศาสตร์ต่อไป และต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับเทรนด์ของเพชรสังเคราะห์ที่จะมาตามการขยายตัวของกลุ่มคน Gen Y และ Gen Z อีกด้วย ยิ่งในปัจจุบันการโฆษณาแบบปากต่อปาก (Word of Mouth) จัดเป็นการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด หากเทรนด์ของเพชรสังเคราะห์มาจริง ก็คงหยุดยั้งความนิยมของเพชรสังเคราะห์ได้ยาก ซึ่งเพชรสังเคราะห์ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็น “New Normal” ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในอนาคต



เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site