ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

NFT จากงานศิลป์สู่อัญมณีและเครื่องประดับ

Apr 22, 2022
2824 views
6 shares

        จากความผันผวนของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดกระแสการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกหลายชนิดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยประเภทโลหะมีค่าอย่างทองคำหรือโลหะเงิน ที่เป็นที่นิยมมาแต่เดิม ยังมีสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างคริปโทเคอร์เรนซีสกุลหลักอย่างบิตคอยน์ (BTC) อีเทอเรียม (ETH) หรือไบแนนซ์ (BNB) ที่สามารถสร้างความสนใจได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า NFT ซึ่งคนทั่วโลกให้ความสนใจและเป็นกระแสที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  

ทำความรู้จักกับ NFT 

NFT หรือ Non-Fungible Tokens เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่ไม่สามารถทดแทนหรือแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งอื่นได้ และสร้างขึ้นบนระบบบล็อกเชน ต่างจากสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งเป็น Fungible ที่สามารถทดแทนแลกเปลี่ยนกับเงินดิจิทัลสกุลอื่นหรือสิ่งอื่นๆ ได้ แต่ NFT แต่ละชิ้นจะมีเพียงชิ้นเดียว โดยสิทธิ์ของการถือครองผลงานแต่ละชิ้น เป็นของเจ้าของผลงานแต่เพียงผู้เดียว (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขข้อตกลงการซื้อขายด้วย) โดยจุดเริ่มต้นของ NFT ย้อนไปในปี 2014 จากงานศิลปะชื่อว่า "Quantum" ของ Kevin McCoy ที่วางขายผลงานในแพลตฟอร์มซื้อขายศิลปะของ Sotheby's สามารถทำเงินได้ 140,000 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นงาน NFT ไม่เพียงได้รับความนิยมในงานศิลปะ ยังขยายไปสู่การสร้างผลงานดิจิทัลทั้งภาพถ่าย เพลง คลิปวีดิโอสั้นๆ เกมส์ ของสะสม หรือมีม (Meme) ต่างๆ กระทั่งปัจจุบันบริษัทชั้นนำและแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงต่างก็เริ่มเข้าสู่ NFT อย่างจริงจังแล้ว

ข้อมูลจาก DappRadar แพลตฟอร์มยอดนิยมที่วิเคราะห์และนำเสนอข่าวสารในวงการคริปโทเคอเรนซี, NFT เกม หรือการทำธุรกรรมผ่านบล็อกเชน ระบุว่า ในปี 2021 ตลาด NFT มีมูลค่ากว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2020 ปัจจุบันมีบัญชีกระเป๋าเงินซื้อขาย NFT ที่มีการใช้งานราว 28.6 ล้านบัญชี โดยตลาดซื้อขายงาน NFT 3 อันดับแรกอย่าง OpenSea, LooksRare และ Axie Infinity มีมูลค่าการซื้อขายรวมกันมากกว่า 42,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีรายละเอียดดังรูป


ตลาด NFT 10 อันดับแรก จาก dappradar.com

การขายงาน NFT นับเป็นทางเลือกที่หลายศิลปินทั้งมืออาชีพและสมัครเล่นใช้เป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเพื่อแสดงงานและขาย โดยไม่จำเป็นต้องผ่านสถานที่จัดแสดงจริง แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT จึงตอบโจทย์ในช่วงที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงอยู่ ทำให้ตลาดนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการสร้างผลงานนั้นส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นบนระบบบล็อกเชนของอีเธอเรียม ทำให้คริปโทเคอร์เรนซีสกุลอีเธอเรียม (ETH) เป็นสกุลหลักในการซื้อขาย นอกจากนี้ ผู้สร้างผลงานต้องคำนึงถึงรายละเอียด เงื่อนไขต่างๆ หรือค่าธรรมเนียม (Gas Fee) ในแต่ละแพลตฟอร์มที่มีความแตกต่างกัน รวมทั้งวิธีการการสร้างผลงาน (Mint) วิธีรับค่าตอบแทน กระเป๋าเงินดิจิทัลที่รองรับ หรือวิธีการแลกเปลี่ยนโอนเงินจากสกุลคริปโทเคอร์เรนซีเป็นสกุลเงินที่ใช้กันในชีวิตประจำวันด้วย

งาน NFT นั้น แม้ว่าจะมีวิธีการขายเหมือนกับงานศิลปะทั่วไป คือ ขายโดยการตั้งราคาหรือผ่านการประมูล แต่มีความแตกต่าง ในแง่ของกรรมสิทธิ์เพราะงานทุกชิ้นจะถูกบันทึกบนระบบบล็อกเชนถึงสิทธิผู้ครอบครองเอาไว้เป็นทอดๆ ไม่ว่างานนั้นจะถูกขายมากี่ครั้ง ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลผู้ถือครองแต่ละครั้งในระบบได้ อีกทั้งเมื่องานถูกนำมาขายต่อเป็นทอดๆ เจ้าของดั้งเดิมคนแรกยังได้รับส่วนแบ่ง (Royalty Fee) ราว 5-10% ของการขายแต่ละครั้งด้วย ทั้งนี้ งาน NFT ส่วนใหญ่ในตลาดมีราคาเฉลี่ยราว 150-4,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังมีงานอีกหลายชิ้นที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน โดย 5 อันดับผลงาน NFT ที่มีราคาสูงสุด มีดังนี้ 

หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐ

1. The Merge ($91.8M)



2. Everydays: The First 5000 Days ($69.3M)



3. Clock ($52.7M)



4. Human One ($28.9M)



5. CryptoPunk #5822 ($23.7M)


ภาพผลงานที่ทำเงินสูงสุด 5 อันดับแรก จาก www.dexerto.com

ความนิยมใน NFT ยังขยายวงกว้างไปยังบริษัทประมูลชั้นนำของโลกทั้งสองแห่ง อย่าง Christie’s ที่เริ่มนำงาน NFT มาขายในเดือนตุลาคม ปี 2020 ทั้งยังร่วมมือกับ OpenSea แพลตฟอร์มชั้นนำในการค้า NFT โดยในปี 2021 สามารถทำรายได้จากการขาย NFT ได้ราว 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ Sotheby's เริ่มขายงาน NFT ชิ้นแรกในเดือนเมษายน 2021 ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันยังขยายธุรกิจด้วยการเปิดตัว Sotheby’s Metaverse เพื่อเป็นตลาดซื้อขายงาน NFT โดยเฉพาะ ในปี 2021 บริษัทประมูลรายนี้ทำรายได้จากการขาย NFT ไปได้ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โอกาสของสินค้าหรูใน NFT และการทำตลาดของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ

กระแสความนิยม NFT ที่แทรกซึมเข้าไปในหลายวงการ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานดิจิทัลในรูปแบบใหม่ๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างแรงดึงดูดใจและโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาสู่แวดวงนี้ ขณะที่ในแวดวงสินค้าหรูหรา มีแบรนด์ชั้นนำของโลกหลายแบรนด์ให้ความสนใจก้าวเข้าสู่ตลาดนี้ ดังเช่น Burberry ที่เปิดขาย NFT ที่ใช้เป็นไอเท็มในเกม Blankos Block Party โดยชุดสะสมนี้มีทั้งแจ็กเกต กำไลข้อมือ รองเท้าว่ายน้ำ รวมทั้งตัวละคร Sharky B ที่ให้ผู้เล่นเกมไปแต่งองค์ทรงเครื่องได้ ซึ่งสามารถทำราคาไปได้เกือบ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่แบรนด์ Dolce & Gabbana สามารถขายคอลเลกชัน Collezione Genesi ซึ่งมีอยู่ 9 ชิ้น ในรูปแบบ NFT ได้ในราคา 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือแบรนด์หรูที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอย่าง Gucci ที่นำเสนอผลงาน NFT ในรูปแบบคลิปวีดิโอสั้น 4 นาที ในชื่อ “PROOF OF SOVEREIGNTY: A Curated NFT Sale by Lady PheOnix” ผ่านการประมูลออนไลน์ของ Christie’s ที่ทำราคาไปได้ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ภาพคอลเลกชัน NFT ของ Dolce & Gabbana จาก runwaymagazines.com

จากแนวโน้มการเติบโตของ NFT ที่เกิดขึ้น Morgan Stanley บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินระดับโลก ได้ประมาณการว่า ในปี 2021 NFT สินค้าหรูมีมูลค่าราว 1% ของตลาด NFT ทั้งหมด แต่ด้วยอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ในปี 2030 NFT สินค้าหรูมีสัดส่วนราว 8% ของตลาด หรือคิดเป็นมูลค่าราว 56,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ มีแบรนด์ที่เริ่มเข้าสู่วงการ NFT โดยมีตัวอย่างดังนี้

Ambush

แบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับแนวสตรีทแฟชั่นจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่นิยมในระดับโลกอย่าง  Ambush ยังก้าวเข้าสู่โลกของ NFT ด้วยการนำแหวน Pow หนึ่งในคอลเลกชันสุดฮิตที่เคยออกวางจำหน่ายในปี 2008 กลับมาจัดจำหน่ายในรูปแบบ NFT คอลเลกชัน Pow Reboot เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2022 ซึ่งนอกจากผู้ซื้อจะได้รับผลงานแล้วยังได้รับสิทธิในการเข้าถึงสินค้าและงานอีเวนท์ต่างๆ ของแบรนด์อีกด้วย โดย Yoon Ahn หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ ได้ให้ความเห็นว่า คุณต้องคิดให้ใหญ่กว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เทคโนโลยี Web 3.0 (รูปแบบเว็บไซต์ที่จะเป็นยุคใหม่ของอินเทอร์เน็ต สามารถทำสิ่งต่างๆ อย่างเช่นวิเคราะห์ข้อมูลได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น โดยมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Machine Learning (ML), Big Data, Artificial Intelligence (AI) และ Blockchain ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น) จะเข้ามาช่วยผู้สร้างสรรค์งานให้ขยายการเชื่อมต่อกับลูกค้าเพิ่มมากขึ้นจากรูปแบบกายภาพ การที่แบรนด์ก้าวเข้ามาในตลาดนี้ก่อนคู่แข่ง ทำให้มีโอกาสเพิ่มขึ้นในการโน้มน้าวลูกค้าได้ก่อน 

  

  

ภาพแหวน Pow ที่แบรนด์ Ambush นำมาทำในรูปแบบ NFT จาก www.wallpaper.com

Icecap

จากแนวคิดที่ Jacques Voorhees ประธานกรรมการบริหาร Icecap ได้มองเห็นปัญหาในอุตสาหกรรมเพชรที่ว่า เพชรนั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องในการค้าน้อยกว่าโลหะมีค่าอย่างทองคำหรือโลหะเงิน ที่นักลงทุนใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง อีกทั้งเมื่อเพชรถูกซื้อออกไปจากร้าน ราคาขายต่อก็จะลดลงกว่า 50% ของราคาซื้อ แต่หากเป็นการซื้อขายผ่านระบบบล็อกเชนที่เพชรแต่ละชิ้นถูกแปลงเป็น NFT ทำให้คงมูลค่าเดิมไว้ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ Icecap ที่เป็น Startup ที่ก่อตั้งมาเพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเพชรที่อยู่ในระดับน่าลงทุน (Investment Grade) สนนราคาอยู่ในช่วง 5,000-15,000 ดอลลาร์สหรัฐ และยังมีระดับที่เป็นของหายากด้วย อย่างเช่นแหวนเพชรสีแดงชมพูที่มีราคาราว 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


 ภาพแหวนเพชร NFT ของ Icecap จาก icecap.diamonds

ทั้งนี้ เพชรที่เป็นของจริงทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในตู้เซฟซึ่งมีการรับประกันและตรวจสอบเป็นระยะๆ โดยผู้ซื้อสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อขายในรูปแบบงาน NFT หรือต้องการแลกเปลี่ยนเป็นของจริง ด้วยการส่งงาน NFT ชิ้นนั้น กลับมาที่ Icecap จากนั้นทางบริษัทจะจัดส่งสินค้าตัวจริงไปให้ลูกค้า ส่วนงานที่ถูกแลกเปลี่ยนแล้วก็สามารถนำกลับมาขายในรูปแบบ NFT อีกครั้ง

สำหรับในประเทศไทยที่ผ่านมา มีทั้งศิลปินไทยชื่อดังและศิลปินอิสระหลายคนได้นำงานขึ้นสู่ระบบบล็อกเชนผ่านแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT ในต่างประเทศ ขณะที่ในช่วงปลายปี 2021 เริ่มมีตลาดซื้อขาย NFT (NFT Marketplace) สัญชาติไทยเกิดขึ้น 4 ราย คือ NFT1, Bitkub NFT, Coral และ JNFT แม้ว่าจะยังมีปริมาณซื้อขายไม่มากนัก แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างการรับรู้ในเทคโนโลยีนี้ เพื่อรองรับผู้สร้างสรรค์งานชาวไทยให้ได้รับความสะดวกมากขึ้นในการซื้อขายผลงาน 

เทคโนโลยีดิจิทัลในหลายรูปแบบที่ก่อกำเนิดและพัฒนาจนเติบโตมากขึ้นในยุคเว้นระยะห่างทางสังคม มีจำนวนไม่น้อยที่กลายเป็นเทรนด์กระแสหลักในสังคม ดังนั้น ภาคธุรกิจ รวมทั้งวงการแฟชั่น สินค้าหรูหรา และอัญมณีและเครื่องประดับ ต่างต้องปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิทัล โดย NFT เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดใจให้กับเหล่าศิลปิน นักออกแบบ ช่างเจียระไน หรือผู้ผลิตเครื่องประดับ เพื่อสามารถขยายโอกาสไปสู่โลกของเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่มีผู้คนจากทั่วโลกก้าวเข้าสู่โลกมิตินี้เพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง


1) The Ascent. 2022. The NFT Market: Average NFT Prices, Largest Marketplaces, and More. [Online]. Available at: www.fool.com/the-ascent/research/nft-market. (Retrieved February 15,2022).
2) Kimberly Parker. Most artists are not making money off NFTs and here are some graphs to prove it. [Online]. Available at: thatkimparker.medium.com. (Retrieved February 21,2022).
3) DappRadar. 2022.NFT Marketplaces. [Online]. Available at: dappradar.com/nft/marketplaces/1. (Retrieved February 21,2022).
4) Dexerto. 2022. Top 10 most expensive NFTs ever sold. [Online]. Available at: www.dexerto.com. (Retrieved February 21,2022).
5) Hypebeast. 2021. Christie's Has Sold $150 Million USD Worth of NFTs in 2021. [Online]. Available at: hypebeast.com. (Retrieved February 22,2022).
6) Express. 2021. Sotheby's sells £75million worth of NFTs. [Online]. Available at: www.express.co.uk. (Retrieved February 22,2022).
7) Fortune. 2021. Sotheby’s posted its highest-grossing year ever, boosted by millennials and NFTs. [Online]. Available at: fortune.com. (Retrieved February 22,2022).
8) Forbes. 2022. How Luxury Brands Are Making Money In The Metaverse. [Online]. Available at: www.forbes.com. (Retrieved February 22,2022).
9) Magzoid. 2021. Gucci sells its first NFT for $25,000 in an online auction hosted by Christie’s. [Online]. Available at: magzoid.com. (Retrieved February 24,2022).
10) VogueBusiness. 2021. Can NFTs work for luxury jewellery?. [Online]. Available at: www.voguebusiness.com. (Retrieved February 24,2022).
11) 2022. Pow wow: Ambush joins the metaverse with NFT jewellery. [Online]. Available at: www.wallpaper.com. (Retrieved February 24,2022).
12) Workpointtoday. 2565. รวมตลาดซื้อขาย NFT สัญชาติไทย ใครเปิดแล้วบ้าง-กำลังจะเปิด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: workpointtoday.com/nft-marketplace. (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

NFT จากงานศิลป์สู่อัญมณีและเครื่องประดับ

Apr 22, 2022
2824 views
6 shares

        จากความผันผวนของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดกระแสการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกหลายชนิดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยประเภทโลหะมีค่าอย่างทองคำหรือโลหะเงิน ที่เป็นที่นิยมมาแต่เดิม ยังมีสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างคริปโทเคอร์เรนซีสกุลหลักอย่างบิตคอยน์ (BTC) อีเทอเรียม (ETH) หรือไบแนนซ์ (BNB) ที่สามารถสร้างความสนใจได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า NFT ซึ่งคนทั่วโลกให้ความสนใจและเป็นกระแสที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  

ทำความรู้จักกับ NFT 

NFT หรือ Non-Fungible Tokens เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่ไม่สามารถทดแทนหรือแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งอื่นได้ และสร้างขึ้นบนระบบบล็อกเชน ต่างจากสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งเป็น Fungible ที่สามารถทดแทนแลกเปลี่ยนกับเงินดิจิทัลสกุลอื่นหรือสิ่งอื่นๆ ได้ แต่ NFT แต่ละชิ้นจะมีเพียงชิ้นเดียว โดยสิทธิ์ของการถือครองผลงานแต่ละชิ้น เป็นของเจ้าของผลงานแต่เพียงผู้เดียว (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขข้อตกลงการซื้อขายด้วย) โดยจุดเริ่มต้นของ NFT ย้อนไปในปี 2014 จากงานศิลปะชื่อว่า "Quantum" ของ Kevin McCoy ที่วางขายผลงานในแพลตฟอร์มซื้อขายศิลปะของ Sotheby's สามารถทำเงินได้ 140,000 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นงาน NFT ไม่เพียงได้รับความนิยมในงานศิลปะ ยังขยายไปสู่การสร้างผลงานดิจิทัลทั้งภาพถ่าย เพลง คลิปวีดิโอสั้นๆ เกมส์ ของสะสม หรือมีม (Meme) ต่างๆ กระทั่งปัจจุบันบริษัทชั้นนำและแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงต่างก็เริ่มเข้าสู่ NFT อย่างจริงจังแล้ว

ข้อมูลจาก DappRadar แพลตฟอร์มยอดนิยมที่วิเคราะห์และนำเสนอข่าวสารในวงการคริปโทเคอเรนซี, NFT เกม หรือการทำธุรกรรมผ่านบล็อกเชน ระบุว่า ในปี 2021 ตลาด NFT มีมูลค่ากว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2020 ปัจจุบันมีบัญชีกระเป๋าเงินซื้อขาย NFT ที่มีการใช้งานราว 28.6 ล้านบัญชี โดยตลาดซื้อขายงาน NFT 3 อันดับแรกอย่าง OpenSea, LooksRare และ Axie Infinity มีมูลค่าการซื้อขายรวมกันมากกว่า 42,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีรายละเอียดดังรูป


ตลาด NFT 10 อันดับแรก จาก dappradar.com

การขายงาน NFT นับเป็นทางเลือกที่หลายศิลปินทั้งมืออาชีพและสมัครเล่นใช้เป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเพื่อแสดงงานและขาย โดยไม่จำเป็นต้องผ่านสถานที่จัดแสดงจริง แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT จึงตอบโจทย์ในช่วงที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงอยู่ ทำให้ตลาดนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการสร้างผลงานนั้นส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นบนระบบบล็อกเชนของอีเธอเรียม ทำให้คริปโทเคอร์เรนซีสกุลอีเธอเรียม (ETH) เป็นสกุลหลักในการซื้อขาย นอกจากนี้ ผู้สร้างผลงานต้องคำนึงถึงรายละเอียด เงื่อนไขต่างๆ หรือค่าธรรมเนียม (Gas Fee) ในแต่ละแพลตฟอร์มที่มีความแตกต่างกัน รวมทั้งวิธีการการสร้างผลงาน (Mint) วิธีรับค่าตอบแทน กระเป๋าเงินดิจิทัลที่รองรับ หรือวิธีการแลกเปลี่ยนโอนเงินจากสกุลคริปโทเคอร์เรนซีเป็นสกุลเงินที่ใช้กันในชีวิตประจำวันด้วย

งาน NFT นั้น แม้ว่าจะมีวิธีการขายเหมือนกับงานศิลปะทั่วไป คือ ขายโดยการตั้งราคาหรือผ่านการประมูล แต่มีความแตกต่าง ในแง่ของกรรมสิทธิ์เพราะงานทุกชิ้นจะถูกบันทึกบนระบบบล็อกเชนถึงสิทธิผู้ครอบครองเอาไว้เป็นทอดๆ ไม่ว่างานนั้นจะถูกขายมากี่ครั้ง ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลผู้ถือครองแต่ละครั้งในระบบได้ อีกทั้งเมื่องานถูกนำมาขายต่อเป็นทอดๆ เจ้าของดั้งเดิมคนแรกยังได้รับส่วนแบ่ง (Royalty Fee) ราว 5-10% ของการขายแต่ละครั้งด้วย ทั้งนี้ งาน NFT ส่วนใหญ่ในตลาดมีราคาเฉลี่ยราว 150-4,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังมีงานอีกหลายชิ้นที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน โดย 5 อันดับผลงาน NFT ที่มีราคาสูงสุด มีดังนี้ 

หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐ

1. The Merge ($91.8M)



2. Everydays: The First 5000 Days ($69.3M)



3. Clock ($52.7M)



4. Human One ($28.9M)



5. CryptoPunk #5822 ($23.7M)


ภาพผลงานที่ทำเงินสูงสุด 5 อันดับแรก จาก www.dexerto.com

ความนิยมใน NFT ยังขยายวงกว้างไปยังบริษัทประมูลชั้นนำของโลกทั้งสองแห่ง อย่าง Christie’s ที่เริ่มนำงาน NFT มาขายในเดือนตุลาคม ปี 2020 ทั้งยังร่วมมือกับ OpenSea แพลตฟอร์มชั้นนำในการค้า NFT โดยในปี 2021 สามารถทำรายได้จากการขาย NFT ได้ราว 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ Sotheby's เริ่มขายงาน NFT ชิ้นแรกในเดือนเมษายน 2021 ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันยังขยายธุรกิจด้วยการเปิดตัว Sotheby’s Metaverse เพื่อเป็นตลาดซื้อขายงาน NFT โดยเฉพาะ ในปี 2021 บริษัทประมูลรายนี้ทำรายได้จากการขาย NFT ไปได้ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โอกาสของสินค้าหรูใน NFT และการทำตลาดของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ

กระแสความนิยม NFT ที่แทรกซึมเข้าไปในหลายวงการ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานดิจิทัลในรูปแบบใหม่ๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างแรงดึงดูดใจและโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาสู่แวดวงนี้ ขณะที่ในแวดวงสินค้าหรูหรา มีแบรนด์ชั้นนำของโลกหลายแบรนด์ให้ความสนใจก้าวเข้าสู่ตลาดนี้ ดังเช่น Burberry ที่เปิดขาย NFT ที่ใช้เป็นไอเท็มในเกม Blankos Block Party โดยชุดสะสมนี้มีทั้งแจ็กเกต กำไลข้อมือ รองเท้าว่ายน้ำ รวมทั้งตัวละคร Sharky B ที่ให้ผู้เล่นเกมไปแต่งองค์ทรงเครื่องได้ ซึ่งสามารถทำราคาไปได้เกือบ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่แบรนด์ Dolce & Gabbana สามารถขายคอลเลกชัน Collezione Genesi ซึ่งมีอยู่ 9 ชิ้น ในรูปแบบ NFT ได้ในราคา 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือแบรนด์หรูที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอย่าง Gucci ที่นำเสนอผลงาน NFT ในรูปแบบคลิปวีดิโอสั้น 4 นาที ในชื่อ “PROOF OF SOVEREIGNTY: A Curated NFT Sale by Lady PheOnix” ผ่านการประมูลออนไลน์ของ Christie’s ที่ทำราคาไปได้ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ภาพคอลเลกชัน NFT ของ Dolce & Gabbana จาก runwaymagazines.com

จากแนวโน้มการเติบโตของ NFT ที่เกิดขึ้น Morgan Stanley บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินระดับโลก ได้ประมาณการว่า ในปี 2021 NFT สินค้าหรูมีมูลค่าราว 1% ของตลาด NFT ทั้งหมด แต่ด้วยอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ในปี 2030 NFT สินค้าหรูมีสัดส่วนราว 8% ของตลาด หรือคิดเป็นมูลค่าราว 56,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ มีแบรนด์ที่เริ่มเข้าสู่วงการ NFT โดยมีตัวอย่างดังนี้

Ambush

แบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับแนวสตรีทแฟชั่นจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่นิยมในระดับโลกอย่าง  Ambush ยังก้าวเข้าสู่โลกของ NFT ด้วยการนำแหวน Pow หนึ่งในคอลเลกชันสุดฮิตที่เคยออกวางจำหน่ายในปี 2008 กลับมาจัดจำหน่ายในรูปแบบ NFT คอลเลกชัน Pow Reboot เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2022 ซึ่งนอกจากผู้ซื้อจะได้รับผลงานแล้วยังได้รับสิทธิในการเข้าถึงสินค้าและงานอีเวนท์ต่างๆ ของแบรนด์อีกด้วย โดย Yoon Ahn หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ ได้ให้ความเห็นว่า คุณต้องคิดให้ใหญ่กว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เทคโนโลยี Web 3.0 (รูปแบบเว็บไซต์ที่จะเป็นยุคใหม่ของอินเทอร์เน็ต สามารถทำสิ่งต่างๆ อย่างเช่นวิเคราะห์ข้อมูลได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น โดยมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Machine Learning (ML), Big Data, Artificial Intelligence (AI) และ Blockchain ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น) จะเข้ามาช่วยผู้สร้างสรรค์งานให้ขยายการเชื่อมต่อกับลูกค้าเพิ่มมากขึ้นจากรูปแบบกายภาพ การที่แบรนด์ก้าวเข้ามาในตลาดนี้ก่อนคู่แข่ง ทำให้มีโอกาสเพิ่มขึ้นในการโน้มน้าวลูกค้าได้ก่อน 

  

  

ภาพแหวน Pow ที่แบรนด์ Ambush นำมาทำในรูปแบบ NFT จาก www.wallpaper.com

Icecap

จากแนวคิดที่ Jacques Voorhees ประธานกรรมการบริหาร Icecap ได้มองเห็นปัญหาในอุตสาหกรรมเพชรที่ว่า เพชรนั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องในการค้าน้อยกว่าโลหะมีค่าอย่างทองคำหรือโลหะเงิน ที่นักลงทุนใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง อีกทั้งเมื่อเพชรถูกซื้อออกไปจากร้าน ราคาขายต่อก็จะลดลงกว่า 50% ของราคาซื้อ แต่หากเป็นการซื้อขายผ่านระบบบล็อกเชนที่เพชรแต่ละชิ้นถูกแปลงเป็น NFT ทำให้คงมูลค่าเดิมไว้ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ Icecap ที่เป็น Startup ที่ก่อตั้งมาเพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเพชรที่อยู่ในระดับน่าลงทุน (Investment Grade) สนนราคาอยู่ในช่วง 5,000-15,000 ดอลลาร์สหรัฐ และยังมีระดับที่เป็นของหายากด้วย อย่างเช่นแหวนเพชรสีแดงชมพูที่มีราคาราว 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


 ภาพแหวนเพชร NFT ของ Icecap จาก icecap.diamonds

ทั้งนี้ เพชรที่เป็นของจริงทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในตู้เซฟซึ่งมีการรับประกันและตรวจสอบเป็นระยะๆ โดยผู้ซื้อสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อขายในรูปแบบงาน NFT หรือต้องการแลกเปลี่ยนเป็นของจริง ด้วยการส่งงาน NFT ชิ้นนั้น กลับมาที่ Icecap จากนั้นทางบริษัทจะจัดส่งสินค้าตัวจริงไปให้ลูกค้า ส่วนงานที่ถูกแลกเปลี่ยนแล้วก็สามารถนำกลับมาขายในรูปแบบ NFT อีกครั้ง

สำหรับในประเทศไทยที่ผ่านมา มีทั้งศิลปินไทยชื่อดังและศิลปินอิสระหลายคนได้นำงานขึ้นสู่ระบบบล็อกเชนผ่านแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT ในต่างประเทศ ขณะที่ในช่วงปลายปี 2021 เริ่มมีตลาดซื้อขาย NFT (NFT Marketplace) สัญชาติไทยเกิดขึ้น 4 ราย คือ NFT1, Bitkub NFT, Coral และ JNFT แม้ว่าจะยังมีปริมาณซื้อขายไม่มากนัก แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างการรับรู้ในเทคโนโลยีนี้ เพื่อรองรับผู้สร้างสรรค์งานชาวไทยให้ได้รับความสะดวกมากขึ้นในการซื้อขายผลงาน 

เทคโนโลยีดิจิทัลในหลายรูปแบบที่ก่อกำเนิดและพัฒนาจนเติบโตมากขึ้นในยุคเว้นระยะห่างทางสังคม มีจำนวนไม่น้อยที่กลายเป็นเทรนด์กระแสหลักในสังคม ดังนั้น ภาคธุรกิจ รวมทั้งวงการแฟชั่น สินค้าหรูหรา และอัญมณีและเครื่องประดับ ต่างต้องปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิทัล โดย NFT เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดใจให้กับเหล่าศิลปิน นักออกแบบ ช่างเจียระไน หรือผู้ผลิตเครื่องประดับ เพื่อสามารถขยายโอกาสไปสู่โลกของเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่มีผู้คนจากทั่วโลกก้าวเข้าสู่โลกมิตินี้เพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง


1) The Ascent. 2022. The NFT Market: Average NFT Prices, Largest Marketplaces, and More. [Online]. Available at: www.fool.com/the-ascent/research/nft-market. (Retrieved February 15,2022).
2) Kimberly Parker. Most artists are not making money off NFTs and here are some graphs to prove it. [Online]. Available at: thatkimparker.medium.com. (Retrieved February 21,2022).
3) DappRadar. 2022.NFT Marketplaces. [Online]. Available at: dappradar.com/nft/marketplaces/1. (Retrieved February 21,2022).
4) Dexerto. 2022. Top 10 most expensive NFTs ever sold. [Online]. Available at: www.dexerto.com. (Retrieved February 21,2022).
5) Hypebeast. 2021. Christie's Has Sold $150 Million USD Worth of NFTs in 2021. [Online]. Available at: hypebeast.com. (Retrieved February 22,2022).
6) Express. 2021. Sotheby's sells £75million worth of NFTs. [Online]. Available at: www.express.co.uk. (Retrieved February 22,2022).
7) Fortune. 2021. Sotheby’s posted its highest-grossing year ever, boosted by millennials and NFTs. [Online]. Available at: fortune.com. (Retrieved February 22,2022).
8) Forbes. 2022. How Luxury Brands Are Making Money In The Metaverse. [Online]. Available at: www.forbes.com. (Retrieved February 22,2022).
9) Magzoid. 2021. Gucci sells its first NFT for $25,000 in an online auction hosted by Christie’s. [Online]. Available at: magzoid.com. (Retrieved February 24,2022).
10) VogueBusiness. 2021. Can NFTs work for luxury jewellery?. [Online]. Available at: www.voguebusiness.com. (Retrieved February 24,2022).
11) 2022. Pow wow: Ambush joins the metaverse with NFT jewellery. [Online]. Available at: www.wallpaper.com. (Retrieved February 24,2022).
12) Workpointtoday. 2565. รวมตลาดซื้อขาย NFT สัญชาติไทย ใครเปิดแล้วบ้าง-กำลังจะเปิด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: workpointtoday.com/nft-marketplace. (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970