ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับสหรัฐฯ ฟื้น เน้นเจาะตลาดมิลเลนเนียล

May 2, 2022
3981 views
4 shares

            สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ไม่ว่าจะด้านการบริโภค ภาคครัวเรือน การลงทุน การใช้จ่ายของรัฐบาล การส่งออกและนำเข้า การเปลี่ยนแปลงทุกส่วนนี้มีความสำคัญต่อภายในประเทศและประเทศคู่ค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

            ในปี 2020 เป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด-19 ทำให้รัฐบาลประกาศล็อคดาวน์ ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างมาก ผู้ประกอบการที่มีภาระหนี้สินจำนวนมากจำต้องปรับขนาดหรือปิดกิจการ ทำให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ในปี 2020 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบ 2.51 รายได้ต่อหัวของประชากรลดลงเหลือ 64,530 ดอลลาร์สหรัฐ การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับต่อคนลดลงจาก 95.89 ดอลลาร์สหรัฐ เหลือ 62.12 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 35.22 สะท้อนให้เห็นว่าสินค้าหมวดอัญมณีและเครื่องประดับมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงรายได้ของผู้บริโภคอย่างมาก


ตารางที่ 1 ข้อมูลทางเศรษฐกิจและมูลค่าการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับของสหรัฐอเมริกาปี 2019 ถึง 2022


ที่มา : World Bank, Statista, The Federal Reserve System และ Trading Economics

            ขณะที่ในปี 2021 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทุเลาลง ทำให้หลายอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาฟื้นตัว แต่ระดับราคาสินค้าในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นจากการผลิตสินค้าและบริการไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 7.04 (ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2021) ในปี 2022 หากรัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐยังไม่แก้ไขอาจจะนำไปสู่เงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation) และส่งผลเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจของอเมริกา เพราะอัตราเงินเฟ้อที่สูง ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง จึงมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะจัดสรรเงินไว้สำหรับการบริโภคสินค้าจำเป็นและรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคตเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคอาจจะชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย นั่นรวมไปถึงสินค้าหมวดอัญมณีและเครื่องประดับด้วย

            นอกจากอัตราเงินเฟ้อแล้วนั้น อัตราการว่างงานในสหรัฐก็เป็นอีกปัจจัยที่ควรถูกจับตามองด้วย เนื่องจากปี 2020 อัตราการว่างงานเฉลี่ยของคนอเมริกาคิดเป็นร้อยละ 6.7 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการว่างงานที่สูง ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะทุเลาลง ทำให้ปี 2021 อัตราการว่างงานเฉลี่ยลดลงเป็น 4.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่อัตราเงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานที่สูงอาจนำไปสู่ภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ (Stagflation) ได้ด้วย

            ทั้งนี้สำนักข่าว The Washington Post ได้ให้ข้อมูลว่า นักเศรษฐศาสตร์จากหลากหลายสำนักคาดการณ์ว่าในปี 2022 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะทุเลาลงและมีการยกเลิกนโยบายสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา อัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงานจะลดลง หากไม่มีปัจจัยอื่นที่เปลี่ยนแปลงไปภายในปีนี้

อุปสงค์ของอัญมณีและเครื่องประดับในสหรัฐอเมริกา

            สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีรายได้ต่อประชากรสูง ทั้งยังนิยมบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยมาก ดังนั้นอัญมณีและเครื่องประดับจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาวอเมริกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับที่สวมใส่ในชีวิตประจำวัน ในพิธีแต่งงาน หรือในงานพิธีต่างๆ จึงทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับประเทศผู้ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งประเทศไทย ดังตารางที่ 2 


ที่มา : Global Trade Atlas

            จากตารางข้างต้น จะเห็นว่าในปี 2020 สหรัฐอเมริกามีการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยลดลง จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อมาในปี 2021 เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นการบริโภคเริ่มฟื้นตัว ทำให้การนำเข้าเกือบทุกรายการข้างต้นเพิ่มขึ้น ยกเว้นพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนที่ลดลง ซึ่งมีข้อมูลจาก U.S. Geological Survey รายงานว่าปัญหาหลักเกิดมาจากปริมาณพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนในตลาดตั้งแต่ปี 2019 มีมากจนล้นตลาด กอปรกับในปี 2020 เกิดการแพร่ระบาดหนักของโควิด-19 จึงทำให้มีความต้องการนำเข้าพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนลดลง 

การทำตลาดในสหรัฐอเมริกา 
            จากแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดเป็นโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากเป็นตลาดที่สำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งยังมีกำลังซื้อสูง ดังนั้นรายได้ที่เพิ่มขึ้นย่อมทำให้การบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับฟื้นตัวตามไปด้วย นอกจากนั้นจะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทยเพิ่มขึ้นหลายรายการ ได้แก่ เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเทียม ดังนั้นผู้ส่งออกควรวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสม เพราะยังมีปัจจัยกดดันตลาดอย่างอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ในสายตาผู้บริโภคในอเมริกามองว่าราคาสินค้าที่นำเข้าราคาสูงขึ้นและอาจจะลดการบริโภคสินค้านำเข้าลง นั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ส่งออกควรเตรียมความพร้อม เพื่อให้สามารถเข้าแข่งขันในสหรัฐอเมริกาได้ โดยการเลือกทำตลาดเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่ง
            กลุ่มมิลเลนเนียลในสหรัฐอเมริกา
            ในสหรัฐอเมริกามีกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง คือ กลุ่มคนมิลเลนเนียล ข้อมูลจาก Brookings.com รายงานว่า กลุ่มคนมิลเลนเนียลคิดเป็นร้อยละ 22 ของประชากรของสหรัฐอเมริกา โดยมีการบริโภคเฉลี่ยต่อคน 59,866 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งมีความพึงพอใจในการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับเป็นลำดับต้นๆ โดย MediaPost และ Pew Research Center ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นกลุ่มคนมิลเลนเนียล สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 3

ที่มา : https://www.ipsos.com/en/5-truths-define-millennials


            จากตารางข้างต้นแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลจำนวนมากให้ความสำคัญกับการใช้อินเทอร์เน็ตหาข้อมูลที่สนใจและติดการใช้สมาร์ทโฟนตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอน ซึ่งกลุ่มมิลเลนเนียลมากกว่าร้อยละ 50 นิยมรับชมคลิปวิดีโอบนยูทูป (YouTube) และแบ่งปันเนื้อหาข้อมูลที่ตนเองชื่นชอบบนโลกออนไลน์ไปยังแพลตฟอร์มอื่น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 6 ครั้งต่อวัน หากผู้ประกอบการวางกลยุทธ์ที่เหมาะสม โดยใช้ประโยชน์จากการนำเสนอด้วยวีดีโอและรูปภาพผ่านช่องทางออนไลน์ จะสามารถดึงดูดคนกลุ่มนี้ให้มาเลือกซื้อสินค้ามากขึ้นด้วย
            นอกจากนั้นตลาดของสะสมรวมอัญมณีและเครื่องประดับก็เป็นสิ่งที่ชาวอเมริกาให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะการนำของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เป็นการช่วยลดการผลิตสินค้า และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีแนวโน้มการบริโภคของสะสมเพิ่มขึ้น 
กราฟแสดงมูลค่าตลาดของสะสมและตลาดสินค้ามือสองในสหรัฐอเมริกา ปี 2012 ถึง 2022

ที่มา : IBISWorld ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

            ทั้งนี้ โดยทั่วไปผู้บริโภคสินค้ามือสองและของสะสมมักเห็นว่าเป็นการช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและมีการใช้เชื้อเพลิงปริมาณมาก และยินดีจ่ายเงินให้กับสินค้าที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดของสะสมและตลาดสินค้ามือสองในสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจาก IBISWorld คาดการณ์ว่าในปี 2022 ตลาดของสะสมและตลาดสินค้ามือสองจะมีมูลค่า 1,666.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้นร้อยละ 3.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน และเติบโตขึ้นร้อยละ 9.64 เมื่อเทียบกับปี 2019 ช่วงก่อนเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมือสองกังวลเรื่องของข้อมูลแหล่งที่มาของสินค้าและจริยธรรมในกระบวนการผลิตในอดีต (Asymmetric Information) โดยสินค้ากลุ่มนี้อาจมีบางส่วนมาจากประเทศโลกที่สาม และยังใช้แรงงานเด็กในกระบวนการผลิต ซึ่งผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ นอกจากนั้นฝั่งผู้จำหน่ายสินค้าบางครั้งต้องเผชิญกับปริมาณสินค้าบางชนิดผลิตออกมาน้อย ทำให้ในปัจจุบันหาสินค้ามาจำหน่ายได้ยาก ในที่สุดแล้วเกิดภาวะสินค้าขาดตลาด ดังนั้นผู้ประกอบการที่จะเข้าไปในตลาดนี้อาจต้องรวบรวมข้อมูลของสินค้าและปริมาณสินค้าที่ผลิตออกมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทันท่วงที
            สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจ จนเป็นสาเหตุให้เกิดอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นผลดีและผลเสียต่อธุรกิจในเวลาเดียวกัน เมื่อความต้องการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับในสหรัฐอเมริกามีมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการส่งออกสินค้าได้จำนวนมากขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น อาจส่งผลให้ในอนาคตสินค้าที่นำเข้าจากไทยมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการอาจจะต้องเตรียมกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งเน้นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้ออย่างกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง



ข้อมูลอ้างอิง


1. Market Watch. December 14, 2021. Industrial Garnet Market 2021: Detailed Analysis of Top Manufacturers, Size, Share, Emerging Technologies, Trends and Forecast to 2026 with Dominant Sectors and Countries Data. [Online]. Available at: https://www.marketwatch.com/press-release/industrial-garnet-market-2021-detailed-analysis-of-top-manufacturers-size-share-emerging-technologies-trends-and-forecast-to-2026-with-dominant-sectors-and-countries-data-2021-12-14. (Retrieved December 15, 2021).
2. NATIONAL MINERALS INFORMATION CENTER. Garnet Statistics and Information. [Online]. Available at: https://www.usgs.gov/centers/national-minerals-information-center/garnet-statistics-and-information. (Retrieved December 10, 2021).
3. Global Trade Atlas. Import Statistic. [Online]. Available at: https://www.gtis.com/gta/. (Retrieved December 10, 2021).
4. Flexport. U.S. Import and Export Data. [Online]. Available at: https://www.flexport.com/data/hs-code/710391-rubies-sapphires-and-emeralds-otherwise-worked. (Retrieved December 11, 2021).
5. Statista. March 31, 2021. State comparisons in the United States - Statistics & Facts. [Online]. Available at: https://www.statista.com/topics/3839/us-states/#dossierKeyfigures. (Retrieved December 11, 2021).
6. Economic Research. National Accounts. [Online]. Available at: https://fred.stlouisfed.org/categories/32992. (Retrieved December 12, 2021).
7. The World Bank Data. GDP (current US$). [Online]. Available at: https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD. (Retrieved December 12, 2021).
8. ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ. 2564. อัญมณีและเครื่องประดับรักษ์โลก เทรนด์ใหม่ ผู้บริโภคใส่ใจสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://infocenter.git.or.th/storage/files/3QrgGDZb2lMEQc97lF62O7KocBGHaXHkZJnSiFIE.pdf.
9. IBISWorld. November 24, 2020. Online Antiques & Collectibles Sales in the US - Market Size 2002–2026. [Online]. Available at: www.ibisworld.com/industry-statistics/market-size/online-antiques-collectibles-sales-united-states/. (Retrieved January 18, 2022).
10. Ipsos. June 30, 2015. The 5 Truths That Define Millennials. [Online]. Available at: https://www.ipsos.com/en/5-truths-define-millennials. (Retrieved January 18, 2022).
11. The Washington Post. December 29, 2021. Inflation emerging as top economic challenge in 2022. [Online]. Available at: https://www.washingtonpost.com/business/2021/12/29/inflation-2022-price-fed/. (Retrieved January 24, 2022).
12. Bankrate. January 6, 2022. Survey: Economists see unemployment sinking to near 50-year low in 2022. [Online]. Available at: https://www.bankrate.com/banking/federal-reserve/economic-indicator-survey-jobs-january-2022/. (Retrieved January 24, 2022).
13. Statista. Mean annual household expenditures in the United States in 2019, by generation. [Online]. Available at: https://www.statista.com/statistics/825887/us-annual-household-expenditures-by-generation/. (Retrieved January 24, 2022).
14. BAIN & COMPANY. January 20, 2022. Secondhand Luxury Goods: A First-Rate Strategic Opportunity. [Online]. Available at: https://www.bain.com/insights/secondhand-luxury-goods-a-first-rate-strategic-opportunity-snap-chart/#. (Retrieved February 2, 2022).
15. BAIN & COMPANY. December 20, 2021. From Surging Recovery to Elegant Advance: The Evolving Future of Luxury. [Online]. Available at: https://www.bain.com/insights/from-surging-recovery-to-elegant-advance-the-evolving-future-of-luxury/. (Retrieved February 2, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับสหรัฐฯ ฟื้น เน้นเจาะตลาดมิลเลนเนียล

May 2, 2022
3981 views
4 shares

            สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ไม่ว่าจะด้านการบริโภค ภาคครัวเรือน การลงทุน การใช้จ่ายของรัฐบาล การส่งออกและนำเข้า การเปลี่ยนแปลงทุกส่วนนี้มีความสำคัญต่อภายในประเทศและประเทศคู่ค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

            ในปี 2020 เป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด-19 ทำให้รัฐบาลประกาศล็อคดาวน์ ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างมาก ผู้ประกอบการที่มีภาระหนี้สินจำนวนมากจำต้องปรับขนาดหรือปิดกิจการ ทำให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ในปี 2020 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบ 2.51 รายได้ต่อหัวของประชากรลดลงเหลือ 64,530 ดอลลาร์สหรัฐ การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับต่อคนลดลงจาก 95.89 ดอลลาร์สหรัฐ เหลือ 62.12 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 35.22 สะท้อนให้เห็นว่าสินค้าหมวดอัญมณีและเครื่องประดับมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงรายได้ของผู้บริโภคอย่างมาก


ตารางที่ 1 ข้อมูลทางเศรษฐกิจและมูลค่าการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับของสหรัฐอเมริกาปี 2019 ถึง 2022


ที่มา : World Bank, Statista, The Federal Reserve System และ Trading Economics

            ขณะที่ในปี 2021 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทุเลาลง ทำให้หลายอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาฟื้นตัว แต่ระดับราคาสินค้าในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นจากการผลิตสินค้าและบริการไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 7.04 (ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2021) ในปี 2022 หากรัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐยังไม่แก้ไขอาจจะนำไปสู่เงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation) และส่งผลเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจของอเมริกา เพราะอัตราเงินเฟ้อที่สูง ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง จึงมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะจัดสรรเงินไว้สำหรับการบริโภคสินค้าจำเป็นและรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคตเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคอาจจะชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย นั่นรวมไปถึงสินค้าหมวดอัญมณีและเครื่องประดับด้วย

            นอกจากอัตราเงินเฟ้อแล้วนั้น อัตราการว่างงานในสหรัฐก็เป็นอีกปัจจัยที่ควรถูกจับตามองด้วย เนื่องจากปี 2020 อัตราการว่างงานเฉลี่ยของคนอเมริกาคิดเป็นร้อยละ 6.7 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการว่างงานที่สูง ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะทุเลาลง ทำให้ปี 2021 อัตราการว่างงานเฉลี่ยลดลงเป็น 4.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่อัตราเงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานที่สูงอาจนำไปสู่ภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ (Stagflation) ได้ด้วย

            ทั้งนี้สำนักข่าว The Washington Post ได้ให้ข้อมูลว่า นักเศรษฐศาสตร์จากหลากหลายสำนักคาดการณ์ว่าในปี 2022 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะทุเลาลงและมีการยกเลิกนโยบายสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา อัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงานจะลดลง หากไม่มีปัจจัยอื่นที่เปลี่ยนแปลงไปภายในปีนี้

อุปสงค์ของอัญมณีและเครื่องประดับในสหรัฐอเมริกา

            สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีรายได้ต่อประชากรสูง ทั้งยังนิยมบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยมาก ดังนั้นอัญมณีและเครื่องประดับจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาวอเมริกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับที่สวมใส่ในชีวิตประจำวัน ในพิธีแต่งงาน หรือในงานพิธีต่างๆ จึงทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับประเทศผู้ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งประเทศไทย ดังตารางที่ 2 


ที่มา : Global Trade Atlas

            จากตารางข้างต้น จะเห็นว่าในปี 2020 สหรัฐอเมริกามีการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยลดลง จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อมาในปี 2021 เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นการบริโภคเริ่มฟื้นตัว ทำให้การนำเข้าเกือบทุกรายการข้างต้นเพิ่มขึ้น ยกเว้นพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนที่ลดลง ซึ่งมีข้อมูลจาก U.S. Geological Survey รายงานว่าปัญหาหลักเกิดมาจากปริมาณพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนในตลาดตั้งแต่ปี 2019 มีมากจนล้นตลาด กอปรกับในปี 2020 เกิดการแพร่ระบาดหนักของโควิด-19 จึงทำให้มีความต้องการนำเข้าพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนลดลง 

การทำตลาดในสหรัฐอเมริกา 
            จากแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดเป็นโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากเป็นตลาดที่สำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งยังมีกำลังซื้อสูง ดังนั้นรายได้ที่เพิ่มขึ้นย่อมทำให้การบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับฟื้นตัวตามไปด้วย นอกจากนั้นจะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทยเพิ่มขึ้นหลายรายการ ได้แก่ เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเทียม ดังนั้นผู้ส่งออกควรวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสม เพราะยังมีปัจจัยกดดันตลาดอย่างอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ในสายตาผู้บริโภคในอเมริกามองว่าราคาสินค้าที่นำเข้าราคาสูงขึ้นและอาจจะลดการบริโภคสินค้านำเข้าลง นั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ส่งออกควรเตรียมความพร้อม เพื่อให้สามารถเข้าแข่งขันในสหรัฐอเมริกาได้ โดยการเลือกทำตลาดเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่ง
            กลุ่มมิลเลนเนียลในสหรัฐอเมริกา
            ในสหรัฐอเมริกามีกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง คือ กลุ่มคนมิลเลนเนียล ข้อมูลจาก Brookings.com รายงานว่า กลุ่มคนมิลเลนเนียลคิดเป็นร้อยละ 22 ของประชากรของสหรัฐอเมริกา โดยมีการบริโภคเฉลี่ยต่อคน 59,866 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งมีความพึงพอใจในการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับเป็นลำดับต้นๆ โดย MediaPost และ Pew Research Center ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นกลุ่มคนมิลเลนเนียล สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 3

ที่มา : https://www.ipsos.com/en/5-truths-define-millennials


            จากตารางข้างต้นแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลจำนวนมากให้ความสำคัญกับการใช้อินเทอร์เน็ตหาข้อมูลที่สนใจและติดการใช้สมาร์ทโฟนตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอน ซึ่งกลุ่มมิลเลนเนียลมากกว่าร้อยละ 50 นิยมรับชมคลิปวิดีโอบนยูทูป (YouTube) และแบ่งปันเนื้อหาข้อมูลที่ตนเองชื่นชอบบนโลกออนไลน์ไปยังแพลตฟอร์มอื่น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 6 ครั้งต่อวัน หากผู้ประกอบการวางกลยุทธ์ที่เหมาะสม โดยใช้ประโยชน์จากการนำเสนอด้วยวีดีโอและรูปภาพผ่านช่องทางออนไลน์ จะสามารถดึงดูดคนกลุ่มนี้ให้มาเลือกซื้อสินค้ามากขึ้นด้วย
            นอกจากนั้นตลาดของสะสมรวมอัญมณีและเครื่องประดับก็เป็นสิ่งที่ชาวอเมริกาให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะการนำของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เป็นการช่วยลดการผลิตสินค้า และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีแนวโน้มการบริโภคของสะสมเพิ่มขึ้น 
กราฟแสดงมูลค่าตลาดของสะสมและตลาดสินค้ามือสองในสหรัฐอเมริกา ปี 2012 ถึง 2022

ที่มา : IBISWorld ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

            ทั้งนี้ โดยทั่วไปผู้บริโภคสินค้ามือสองและของสะสมมักเห็นว่าเป็นการช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและมีการใช้เชื้อเพลิงปริมาณมาก และยินดีจ่ายเงินให้กับสินค้าที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดของสะสมและตลาดสินค้ามือสองในสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจาก IBISWorld คาดการณ์ว่าในปี 2022 ตลาดของสะสมและตลาดสินค้ามือสองจะมีมูลค่า 1,666.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้นร้อยละ 3.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน และเติบโตขึ้นร้อยละ 9.64 เมื่อเทียบกับปี 2019 ช่วงก่อนเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมือสองกังวลเรื่องของข้อมูลแหล่งที่มาของสินค้าและจริยธรรมในกระบวนการผลิตในอดีต (Asymmetric Information) โดยสินค้ากลุ่มนี้อาจมีบางส่วนมาจากประเทศโลกที่สาม และยังใช้แรงงานเด็กในกระบวนการผลิต ซึ่งผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ นอกจากนั้นฝั่งผู้จำหน่ายสินค้าบางครั้งต้องเผชิญกับปริมาณสินค้าบางชนิดผลิตออกมาน้อย ทำให้ในปัจจุบันหาสินค้ามาจำหน่ายได้ยาก ในที่สุดแล้วเกิดภาวะสินค้าขาดตลาด ดังนั้นผู้ประกอบการที่จะเข้าไปในตลาดนี้อาจต้องรวบรวมข้อมูลของสินค้าและปริมาณสินค้าที่ผลิตออกมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทันท่วงที
            สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจ จนเป็นสาเหตุให้เกิดอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นผลดีและผลเสียต่อธุรกิจในเวลาเดียวกัน เมื่อความต้องการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับในสหรัฐอเมริกามีมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการส่งออกสินค้าได้จำนวนมากขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น อาจส่งผลให้ในอนาคตสินค้าที่นำเข้าจากไทยมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการอาจจะต้องเตรียมกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งเน้นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้ออย่างกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง



ข้อมูลอ้างอิง


1. Market Watch. December 14, 2021. Industrial Garnet Market 2021: Detailed Analysis of Top Manufacturers, Size, Share, Emerging Technologies, Trends and Forecast to 2026 with Dominant Sectors and Countries Data. [Online]. Available at: https://www.marketwatch.com/press-release/industrial-garnet-market-2021-detailed-analysis-of-top-manufacturers-size-share-emerging-technologies-trends-and-forecast-to-2026-with-dominant-sectors-and-countries-data-2021-12-14. (Retrieved December 15, 2021).
2. NATIONAL MINERALS INFORMATION CENTER. Garnet Statistics and Information. [Online]. Available at: https://www.usgs.gov/centers/national-minerals-information-center/garnet-statistics-and-information. (Retrieved December 10, 2021).
3. Global Trade Atlas. Import Statistic. [Online]. Available at: https://www.gtis.com/gta/. (Retrieved December 10, 2021).
4. Flexport. U.S. Import and Export Data. [Online]. Available at: https://www.flexport.com/data/hs-code/710391-rubies-sapphires-and-emeralds-otherwise-worked. (Retrieved December 11, 2021).
5. Statista. March 31, 2021. State comparisons in the United States - Statistics & Facts. [Online]. Available at: https://www.statista.com/topics/3839/us-states/#dossierKeyfigures. (Retrieved December 11, 2021).
6. Economic Research. National Accounts. [Online]. Available at: https://fred.stlouisfed.org/categories/32992. (Retrieved December 12, 2021).
7. The World Bank Data. GDP (current US$). [Online]. Available at: https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD. (Retrieved December 12, 2021).
8. ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ. 2564. อัญมณีและเครื่องประดับรักษ์โลก เทรนด์ใหม่ ผู้บริโภคใส่ใจสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://infocenter.git.or.th/storage/files/3QrgGDZb2lMEQc97lF62O7KocBGHaXHkZJnSiFIE.pdf.
9. IBISWorld. November 24, 2020. Online Antiques & Collectibles Sales in the US - Market Size 2002–2026. [Online]. Available at: www.ibisworld.com/industry-statistics/market-size/online-antiques-collectibles-sales-united-states/. (Retrieved January 18, 2022).
10. Ipsos. June 30, 2015. The 5 Truths That Define Millennials. [Online]. Available at: https://www.ipsos.com/en/5-truths-define-millennials. (Retrieved January 18, 2022).
11. The Washington Post. December 29, 2021. Inflation emerging as top economic challenge in 2022. [Online]. Available at: https://www.washingtonpost.com/business/2021/12/29/inflation-2022-price-fed/. (Retrieved January 24, 2022).
12. Bankrate. January 6, 2022. Survey: Economists see unemployment sinking to near 50-year low in 2022. [Online]. Available at: https://www.bankrate.com/banking/federal-reserve/economic-indicator-survey-jobs-january-2022/. (Retrieved January 24, 2022).
13. Statista. Mean annual household expenditures in the United States in 2019, by generation. [Online]. Available at: https://www.statista.com/statistics/825887/us-annual-household-expenditures-by-generation/. (Retrieved January 24, 2022).
14. BAIN & COMPANY. January 20, 2022. Secondhand Luxury Goods: A First-Rate Strategic Opportunity. [Online]. Available at: https://www.bain.com/insights/secondhand-luxury-goods-a-first-rate-strategic-opportunity-snap-chart/#. (Retrieved February 2, 2022).
15. BAIN & COMPANY. December 20, 2021. From Surging Recovery to Elegant Advance: The Evolving Future of Luxury. [Online]. Available at: https://www.bain.com/insights/from-surging-recovery-to-elegant-advance-the-evolving-future-of-luxury/. (Retrieved February 2, 2022).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site