ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

จากพลาสติกสู่เครื่องประดับรักษ์โลก

Sep 2, 2022
1675 views
1 share

            พลาสติกเป็นวัสดุที่มีความทนทาน ทั้งยังราคาถูก จึงมีการนำมาใช้ในหลายภาคส่วนตั้งแต่เป็นถุงพลาสติกใส่ของ ขวดบรรจุภัณฑ์ หรือในโรงงานอุตสาหกรรม แต่สิ่งที่ตามมาจากการนำพลาสติกมาใช้คือ การกำจัดทำลายที่ใช้เวลาย่อยสลายนานและการกำจัดทิ้งไม่ถูกวิธี จนทำให้กลายเป็นขยะจำนวนมหาศาลที่สร้างผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในทุกภาคส่วน รวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

ปัญหาขยะพลาสติก 

            พลาสติกนั้นถือเป็นวัสดุสารพัดประโยชน์ที่ถูกนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย ซึ่งเรามักคุ้นเคยกับพลาสติกใช้ครั้งเดียวหรือพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณการณ์ว่า ทั่วโลกทุก 1 นาที มีการซื้อขวดน้ำพลาสติก 1 ล้านขวด ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกมีมากกว่า 5 พันล้านใบต่อปี ซึ่งราวครึ่งหนึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้เพียงครั้งเดียว โดยปริมาณการผลิตพลาสติกทั่วโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 90 มีปริมาณพลาสติกเพิ่มขึ้นมากขึ้นกว่า 3 เท่าของทศวรรษก่อน 


ประมาณการว่า ในปี 2022 มีการผลิตพลาสติกราว 400 ล้านตัน ขณะที่ปี 1950 มีเพียง 1.5 ล้านตัน

            ขยะพลาสติกเหล่านี้ถูกนำมารีไซเคิลเพียง 9% เผาทำลาย 12% และที่เหลือ 79% ถูกฝังกลบ ทิ้ง หรือถูกทิ้งอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลานานในการย่อยสลาย การผลิตพลาสติกและการเผาล้วนก่อให้เกิดมลพิษและก๊าซเรือนกระจก แม้แต่การฝังกลบหรือเผาที่ไม่ถูกวิธีก็จะก่อให้เกิดมลภาวะเช่นเดียวกับพลาสติกที่ปะปนในสิ่งแวดล้อม พลาสติกจากการทิ้งตามบ้านเรือน ในเมือง โรงงานอุตสาหกรรม หรือนักท่องเที่ยว ที่ถูกทิ้งขว้างอย่างไม่ถูกต้องเหล่านี้มีบางส่วนไหลไปรวมลงแม่น้ำก่อนออกสู่ทะเล ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกราว 8 ล้านตันถูกส่งออกไปยังมหาสมุทรและมีปริมาณสะสมเพิ่มมากขึ้นทุกปี 

            จากปัญหาดังกล่าวที่ทั่วโลกกำลังเผชิญในแบบเดียวกัน จึงมีการนำหลักการ Extended Producer Responsibility (EPR) ซึ่งหมายถึง การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต ให้ครอบคลุมตลอดทั้งวงจรผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ผลิตไปจนถึงขั้นตอนหลังการบริโภค ที่ผู้ผลิตต้องเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว โดยหลักการของ EPR คือ เพิ่มสัดส่วนการนำวัสดุจากซากผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ ทั้งการใช้ซ้ำ (Reuse) รีไซเคิล (Recycle) และการแปรรูปเป็นพลังงาน (Energy Recovery) ซึ่งแต่ละประเทศเริ่มตระหนักถึงปัญหามีการออกมาตรการบังคับใช้ รวมถึงคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการขยะพลาสติกกันเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้เป็นรูปธรรม 

เครื่องประดับรักษ์โลกผลิตจากพลาสติก

            อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในปัจจุบันมุ่งเน้นการดำเนินการตามแนวทางความโปร่งใสและมีความรับผิดชอบในแหล่งผลิตและการใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำด้วยการนำรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ตั้งแต่การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต การลดการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไปให้ลดลง คำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบที่มีความโปร่งใส เน้นการใช้เพชรพลอยจากแหล่งที่มีจริยธรรม มีกระบวนการผลิตที่เน้นควบคุมการสูญเสียทั้งด้านพลังงานและการเกิดของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ให้น้อยที่สุด รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ ซึ่งเป็นแนวทางที่แบรนด์เครื่องประดับทั่วโลกนำมาใช้ และแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการใช้พลาสติกในภาคอุตสาหกรรมนี้ไม่มากนัก หากแต่มีแบรนด์จำนวนหนึ่งที่ให้ความสนใจในการลดขยะพลาสติกด้วยการนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับ  


 

            YagoEco หนึ่งในแบรนด์เครื่องประดับจากสหราชอาณาจักร ที่มุ่งเน้นการผลิตเครื่องประดับที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรมและความยั่งยืน ด้วยการนำพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งมาสร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับรักษ์โลก เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาขยะพลาสติกให้ชุมชนในลอนดอนด้วยแนวทาง Reduce, Reuse และ Recycle ด้วยการนำถุงพลาสติกที่ได้มาจากชุมชนโดยรอบมาเปลี่ยนให้เป็นเครื่องประดับ Jagoda Jay Keshani ผู้ก่อตั้งแบรนด์ได้เริ่มต้นจากการทำเครื่องประดับหนังเป็นงานอดิเรกและค้นหาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระทั่งได้ไอเดียจากการได้เห็นถุงพลาสติกที่ถูกลมพัดลอยไปจึงนำมาสู่การนำพลาสติกเหล่านี้มาผ่านการแปรรูปเพื่อผลิตเป็นเครื่องประดับรวมทั้งยังเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลเพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



ภาพเครื่องประดับพลาสติกของแบรนด์ YagoEco จาก https://yagoeco.com/


            4Ocean เป็นอีกหนึ่งเครื่องประดับสายรักษ์โลกที่เกิดขึ้นจาก Alex และ Andrew ผู้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการว่ายน้ำ ดำน้ำ เล่นเซิร์ฟ วันหนึ่งทั้งสองคนได้ไปชายหาดที่บาหลีเพื่อชื่นชมความงามของธรรมชาติ แต่กลับได้พบพลาสติกและขยะชนิดอื่นๆ จำนวนมากบริเวณชายหาด จึงเกิดความตระหนักถึงปัญหาพลาสติกในมหาสมุทรที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตสัตว์น้ำและระบบนิเวศน์ทางทะเล ยังส่งผลต่อชุมชนที่อยู่ริมชายหาด ทั้งคู่จึงตัดสินใจร่วมกันตั้งบริษัทขึ้น โดยว่าจ้างชาวประมงในชุมชนริมหาดในการทำหน้าที่จัดเก็บพลาสติกและขยะประเภทอื่นๆ ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากนั้นจึงนำพลาสติกที่ได้มาสร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับ ปัจจุบัน 4Ocean มีหน่วยจัดเก็บขยะที่ฟลอริด้า (สหรัฐอเมริกา) บาหลี (อินโดนีเซีย) เฮติ และกัวเตมาลา คิดเป็นปริมาณขยะที่เก็บได้มากกว่า 1 ล้านปอนด์ 


ภาพเครื่องประดับพลาสติกของแบรนด์ 4Ocean จาก www.4ocean.com


            หรือแบรนด์เครื่องประดับที่เกิดขึ้นจากความหลงใหลในความงามของท้องทะเลเมืองไทยอย่างเกาะเต่า จนถือกำเนิดเป็นแบรนด์ Amy Jennifer Jewellery หรือ AJJ ขึ้นที่เกาะแห่งนี้ Amy เติบโตขึ้นในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมีโอกาสคลุกคลีอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมเครื่องประดับมาตั้งแต่ยังเล็ก เนื่องจากพ่อของเธอเปิดร้านขายเครื่องประดับและเธอก็หลงใหลในความสวยงามของเครื่องประดับเหล่านั้น ทั้งยังมีโอกาสได้ฝึกงานเป็นผู้ช่วยช่างทองและเรียนต่อจนจบด้านงานโลหะและเครื่องประดับ โดยเธอมักใช้เวลาในการเดินทางท่องเที่ยวไปที่ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจและซึมซับในวัฒนธรรมต่างๆ กระทั่งการเดินทางมายังประเทศในอาเซียน และเกาะเต่า ในประเทศไทย เป็นที่ที่เธอตัดสินใจก่อตั้งแบรนด์เครื่องประดับขึ้น โดยเลือกใช้โลหะรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน พลอยสีจากแหล่งที่มีจริยธรรม รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ปราศจากพลาสติกด้วย     

 

ภาพเครื่องประดับของแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ที่ปราศจากการใช้พลาสติก จาก https://amyjenniferjewellery.com

นอกจากนี้ ยังมีการนำแนวคิดจาก Dave Hakkens นักออกแบบชาวดัตช์ ที่ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกตั้งแต่เรียนอยู่ที่สถาบันออกแบบในเมือง Eindhoven ในปี 2012 ด้วยการสร้างเครื่องรีไซเคิลพลาสติกระดับครัวเรือน และก่อตั้งชุมชนออนไลน์ Precious Plastic ที่ให้ความรู้เรื่องพลาสติก แบ่งปันพิมพ์เขียวเครื่องย่อยพลาสติกที่สามารถดาวน์โหลดเพื่อไปสร้างเองได้ และเทคนิคในการรีไซเคิลพลาสติก โดยในเว็บไซต์มีการแชร์การรีไซเคิลพลาสติกเพื่อทำเป็นวัสดุของใช้ต่างๆ รวมทั้งเครื่องประดับที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณพลาสติกเหลือใช้แล้วสามารถสร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใครได้อีกด้วย ปัจจุบัน Precious Plastic มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย


ภาพเครื่องประดับพลาสติกจาก community.preciousplastic.com

ทุกวันนี้มีพลาสติกเหลือใช้เกิดขึ้นตลอดเวลา การรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจัง ประกอบกับการใช้มาตรการในการจัดการขยะพลาสติกที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องคำนึงถึง แม้ว่าการลดการใช้พลาสติก หรือการนำกลับมาทำเป็นเครื่องประดับพลาสติก จะเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในการลดปัญหา แต่ที่สำคัญคือ การเริ่มต้นลงมือทำเพื่อช่วยกันลดขยะพลาสติก แล้ววันนี้เราได้เริ่มแล้วหรือยัง

ผู้เขียน: นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข


ข้อมูลอ้างอิง


1) Our planet is drowning in plastic pollution. Retrieved September 10, 2021. From https://www.unep.org
2) The Countries Banning Plastic Bags. Retrieved September 20, 2021. From https://www.statista.com
3) 7 Brands Making Eco-Conscious Ocean Plastic Jewelry. Retrieved September 20, 2021. From https://www.trvst.world/waste-recycling
4) Recycled Plastic Jewellery and Accessories. Retrieved September 24, 2021. From https://yagoeco.com/
5) 4ocean. Retrieved September 24, 2021. From https://www.4ocean.com
6) AMY JENNIFER JEWELLERY. Retrieved September 30, 2021. From https://amyjenniferjewellery.com
7) Top 25 recycling facts and statistics for 2022. Retrieved August 30, 2022. From https://www.weforum.org/agenda/2022/06
8) https://preciousplastic.com

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

จากพลาสติกสู่เครื่องประดับรักษ์โลก

Sep 2, 2022
1675 views
1 share

            พลาสติกเป็นวัสดุที่มีความทนทาน ทั้งยังราคาถูก จึงมีการนำมาใช้ในหลายภาคส่วนตั้งแต่เป็นถุงพลาสติกใส่ของ ขวดบรรจุภัณฑ์ หรือในโรงงานอุตสาหกรรม แต่สิ่งที่ตามมาจากการนำพลาสติกมาใช้คือ การกำจัดทำลายที่ใช้เวลาย่อยสลายนานและการกำจัดทิ้งไม่ถูกวิธี จนทำให้กลายเป็นขยะจำนวนมหาศาลที่สร้างผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในทุกภาคส่วน รวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

ปัญหาขยะพลาสติก 

            พลาสติกนั้นถือเป็นวัสดุสารพัดประโยชน์ที่ถูกนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย ซึ่งเรามักคุ้นเคยกับพลาสติกใช้ครั้งเดียวหรือพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณการณ์ว่า ทั่วโลกทุก 1 นาที มีการซื้อขวดน้ำพลาสติก 1 ล้านขวด ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกมีมากกว่า 5 พันล้านใบต่อปี ซึ่งราวครึ่งหนึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้เพียงครั้งเดียว โดยปริมาณการผลิตพลาสติกทั่วโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 90 มีปริมาณพลาสติกเพิ่มขึ้นมากขึ้นกว่า 3 เท่าของทศวรรษก่อน 


ประมาณการว่า ในปี 2022 มีการผลิตพลาสติกราว 400 ล้านตัน ขณะที่ปี 1950 มีเพียง 1.5 ล้านตัน

            ขยะพลาสติกเหล่านี้ถูกนำมารีไซเคิลเพียง 9% เผาทำลาย 12% และที่เหลือ 79% ถูกฝังกลบ ทิ้ง หรือถูกทิ้งอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลานานในการย่อยสลาย การผลิตพลาสติกและการเผาล้วนก่อให้เกิดมลพิษและก๊าซเรือนกระจก แม้แต่การฝังกลบหรือเผาที่ไม่ถูกวิธีก็จะก่อให้เกิดมลภาวะเช่นเดียวกับพลาสติกที่ปะปนในสิ่งแวดล้อม พลาสติกจากการทิ้งตามบ้านเรือน ในเมือง โรงงานอุตสาหกรรม หรือนักท่องเที่ยว ที่ถูกทิ้งขว้างอย่างไม่ถูกต้องเหล่านี้มีบางส่วนไหลไปรวมลงแม่น้ำก่อนออกสู่ทะเล ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกราว 8 ล้านตันถูกส่งออกไปยังมหาสมุทรและมีปริมาณสะสมเพิ่มมากขึ้นทุกปี 

            จากปัญหาดังกล่าวที่ทั่วโลกกำลังเผชิญในแบบเดียวกัน จึงมีการนำหลักการ Extended Producer Responsibility (EPR) ซึ่งหมายถึง การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต ให้ครอบคลุมตลอดทั้งวงจรผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ผลิตไปจนถึงขั้นตอนหลังการบริโภค ที่ผู้ผลิตต้องเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว โดยหลักการของ EPR คือ เพิ่มสัดส่วนการนำวัสดุจากซากผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ ทั้งการใช้ซ้ำ (Reuse) รีไซเคิล (Recycle) และการแปรรูปเป็นพลังงาน (Energy Recovery) ซึ่งแต่ละประเทศเริ่มตระหนักถึงปัญหามีการออกมาตรการบังคับใช้ รวมถึงคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการขยะพลาสติกกันเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้เป็นรูปธรรม 

เครื่องประดับรักษ์โลกผลิตจากพลาสติก

            อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในปัจจุบันมุ่งเน้นการดำเนินการตามแนวทางความโปร่งใสและมีความรับผิดชอบในแหล่งผลิตและการใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำด้วยการนำรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ตั้งแต่การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต การลดการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไปให้ลดลง คำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบที่มีความโปร่งใส เน้นการใช้เพชรพลอยจากแหล่งที่มีจริยธรรม มีกระบวนการผลิตที่เน้นควบคุมการสูญเสียทั้งด้านพลังงานและการเกิดของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ให้น้อยที่สุด รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ ซึ่งเป็นแนวทางที่แบรนด์เครื่องประดับทั่วโลกนำมาใช้ และแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการใช้พลาสติกในภาคอุตสาหกรรมนี้ไม่มากนัก หากแต่มีแบรนด์จำนวนหนึ่งที่ให้ความสนใจในการลดขยะพลาสติกด้วยการนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับ  


 

            YagoEco หนึ่งในแบรนด์เครื่องประดับจากสหราชอาณาจักร ที่มุ่งเน้นการผลิตเครื่องประดับที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรมและความยั่งยืน ด้วยการนำพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งมาสร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับรักษ์โลก เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาขยะพลาสติกให้ชุมชนในลอนดอนด้วยแนวทาง Reduce, Reuse และ Recycle ด้วยการนำถุงพลาสติกที่ได้มาจากชุมชนโดยรอบมาเปลี่ยนให้เป็นเครื่องประดับ Jagoda Jay Keshani ผู้ก่อตั้งแบรนด์ได้เริ่มต้นจากการทำเครื่องประดับหนังเป็นงานอดิเรกและค้นหาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระทั่งได้ไอเดียจากการได้เห็นถุงพลาสติกที่ถูกลมพัดลอยไปจึงนำมาสู่การนำพลาสติกเหล่านี้มาผ่านการแปรรูปเพื่อผลิตเป็นเครื่องประดับรวมทั้งยังเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลเพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



ภาพเครื่องประดับพลาสติกของแบรนด์ YagoEco จาก https://yagoeco.com/


            4Ocean เป็นอีกหนึ่งเครื่องประดับสายรักษ์โลกที่เกิดขึ้นจาก Alex และ Andrew ผู้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการว่ายน้ำ ดำน้ำ เล่นเซิร์ฟ วันหนึ่งทั้งสองคนได้ไปชายหาดที่บาหลีเพื่อชื่นชมความงามของธรรมชาติ แต่กลับได้พบพลาสติกและขยะชนิดอื่นๆ จำนวนมากบริเวณชายหาด จึงเกิดความตระหนักถึงปัญหาพลาสติกในมหาสมุทรที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตสัตว์น้ำและระบบนิเวศน์ทางทะเล ยังส่งผลต่อชุมชนที่อยู่ริมชายหาด ทั้งคู่จึงตัดสินใจร่วมกันตั้งบริษัทขึ้น โดยว่าจ้างชาวประมงในชุมชนริมหาดในการทำหน้าที่จัดเก็บพลาสติกและขยะประเภทอื่นๆ ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากนั้นจึงนำพลาสติกที่ได้มาสร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับ ปัจจุบัน 4Ocean มีหน่วยจัดเก็บขยะที่ฟลอริด้า (สหรัฐอเมริกา) บาหลี (อินโดนีเซีย) เฮติ และกัวเตมาลา คิดเป็นปริมาณขยะที่เก็บได้มากกว่า 1 ล้านปอนด์ 


ภาพเครื่องประดับพลาสติกของแบรนด์ 4Ocean จาก www.4ocean.com


            หรือแบรนด์เครื่องประดับที่เกิดขึ้นจากความหลงใหลในความงามของท้องทะเลเมืองไทยอย่างเกาะเต่า จนถือกำเนิดเป็นแบรนด์ Amy Jennifer Jewellery หรือ AJJ ขึ้นที่เกาะแห่งนี้ Amy เติบโตขึ้นในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมีโอกาสคลุกคลีอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมเครื่องประดับมาตั้งแต่ยังเล็ก เนื่องจากพ่อของเธอเปิดร้านขายเครื่องประดับและเธอก็หลงใหลในความสวยงามของเครื่องประดับเหล่านั้น ทั้งยังมีโอกาสได้ฝึกงานเป็นผู้ช่วยช่างทองและเรียนต่อจนจบด้านงานโลหะและเครื่องประดับ โดยเธอมักใช้เวลาในการเดินทางท่องเที่ยวไปที่ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจและซึมซับในวัฒนธรรมต่างๆ กระทั่งการเดินทางมายังประเทศในอาเซียน และเกาะเต่า ในประเทศไทย เป็นที่ที่เธอตัดสินใจก่อตั้งแบรนด์เครื่องประดับขึ้น โดยเลือกใช้โลหะรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน พลอยสีจากแหล่งที่มีจริยธรรม รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ปราศจากพลาสติกด้วย     

 

ภาพเครื่องประดับของแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ที่ปราศจากการใช้พลาสติก จาก https://amyjenniferjewellery.com

นอกจากนี้ ยังมีการนำแนวคิดจาก Dave Hakkens นักออกแบบชาวดัตช์ ที่ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกตั้งแต่เรียนอยู่ที่สถาบันออกแบบในเมือง Eindhoven ในปี 2012 ด้วยการสร้างเครื่องรีไซเคิลพลาสติกระดับครัวเรือน และก่อตั้งชุมชนออนไลน์ Precious Plastic ที่ให้ความรู้เรื่องพลาสติก แบ่งปันพิมพ์เขียวเครื่องย่อยพลาสติกที่สามารถดาวน์โหลดเพื่อไปสร้างเองได้ และเทคนิคในการรีไซเคิลพลาสติก โดยในเว็บไซต์มีการแชร์การรีไซเคิลพลาสติกเพื่อทำเป็นวัสดุของใช้ต่างๆ รวมทั้งเครื่องประดับที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณพลาสติกเหลือใช้แล้วสามารถสร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใครได้อีกด้วย ปัจจุบัน Precious Plastic มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย


ภาพเครื่องประดับพลาสติกจาก community.preciousplastic.com

ทุกวันนี้มีพลาสติกเหลือใช้เกิดขึ้นตลอดเวลา การรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจัง ประกอบกับการใช้มาตรการในการจัดการขยะพลาสติกที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องคำนึงถึง แม้ว่าการลดการใช้พลาสติก หรือการนำกลับมาทำเป็นเครื่องประดับพลาสติก จะเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในการลดปัญหา แต่ที่สำคัญคือ การเริ่มต้นลงมือทำเพื่อช่วยกันลดขยะพลาสติก แล้ววันนี้เราได้เริ่มแล้วหรือยัง

ผู้เขียน: นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข


ข้อมูลอ้างอิง


1) Our planet is drowning in plastic pollution. Retrieved September 10, 2021. From https://www.unep.org
2) The Countries Banning Plastic Bags. Retrieved September 20, 2021. From https://www.statista.com
3) 7 Brands Making Eco-Conscious Ocean Plastic Jewelry. Retrieved September 20, 2021. From https://www.trvst.world/waste-recycling
4) Recycled Plastic Jewellery and Accessories. Retrieved September 24, 2021. From https://yagoeco.com/
5) 4ocean. Retrieved September 24, 2021. From https://www.4ocean.com
6) AMY JENNIFER JEWELLERY. Retrieved September 30, 2021. From https://amyjenniferjewellery.com
7) Top 25 recycling facts and statistics for 2022. Retrieved August 30, 2022. From https://www.weforum.org/agenda/2022/06
8) https://preciousplastic.com

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site