ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

รู้ไว้ใช่ว่า...ดิสรัปชั่นในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

Jun 16, 2023
1326 views
1 share

        การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอ ยิ่งในช่วงเวลานี้เชื่อว่าทุกคนต่างต้องเคยได้ยินหรือรู้จักคำว่า  “Disruption” กันทั้งนั้น การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ของสิ่งต่างๆ รอบตัวทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีซึ่งถือเป็นกลไกหลักของการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่อง สำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับก็เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีนั้น มีทั้งเปลี่ยนเล็ก เปลี่ยนใหญ่ เปลี่ยนเร็ว เปลี่ยนช้า เปลี่ยนเงียบ เปลี่ยนดัง กำลังจะเปลี่ยน หรือไม่เปลี่ยนสักทีปะปนกันไป ลองมาดูกันว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมีอะไรบ้าง และมีความน่าสนใจอย่างไร 

  • Lab-Grown Diamonds น่าจะเป็นคำที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จากเกือบ 20 ปีก่อนที่มีการขายเพชรสังเคราะห์เป็นครั้งแรก จนมาถึงปัจจุบันที่อัตราการรับรู้การมีตัวตนของเพชรสังเคราะห์นี้มีมากกว่าร้อยละ 60 ไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนใหญ่และเปลี่ยนดังในช่วงแรก และกลายเป็นค่อยๆ เปลี่ยน ค่อยๆ สร้างการรับรู้กันมาจนตอนนี้ โดยยังมีข้อถกเถียงในประเด็นที่ไม่ได้ต่างไปจากช่วงเริ่มต้นมากนัก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของข้อจำกัดของปริมาณอุปทานเพชรแท้ การใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้อง หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการสังเคราะห์เพชร ซึ่งประเด็นเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการให้น้ำหนักของแต่ละบุคคล แต่ที่ชัดเจนคือ มูลค่าการซื้อขายเพชรสังเคราะห์มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: มูลค่าการซื้อขายเพชรสังเคราะห์มากขึ้น เท่ากับโอกาสในการสร้างรายได้จากเพชรสังเคราะห์นี้ยังมีอยู่มากขึ้นตามไปด้วย

  • Non-Fungible Token (NFT) เป็นหนึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการพูดถึงกันพอสมควรในปัจจุบัน NFT เป็นสินทรัพย์ “ที่ไม่ซ้ำ” ในโลกดิจิทัลโดยสามารถซื้อและขายไม่ต่างกับทรัพย์สินอื่นๆ เพียงไม่สามารถจับต้องได้ แต่ก็มีเสน่ห์เหมือนกับการสะสมของหายากหรือของชิ้นพิเศษ ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับก็เริ่มมีการขายอัญมณีหรือเครื่องประดับในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัลบ้างแล้ว รวมถึง Bulgari, Tiffany's และ Räthel & Wolf ก็ได้สร้างแบรนด์เครื่องประดับดิจิทัลขึ้นมาใน NFT แล้ว แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงอาจยังอยู่ในขั้นกำลังจะเปลี่ยน แต่สำหรับแบรนด์ใหญ่ต่างๆ ก็มองว่าเครื่องประดับแบรนด์เนมบนบล็อกเชนอาจจะเป็นหนึ่งในอนาคตของธุรกิจค้าปลีกได้ 

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: เรียนรู้และทำความเข้าใจ ใช้ช่วงเวลาที่ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงยังไม่ชัดเจน ทำให้เป็นช่วงเวลาของการทดลองเรียนรู้พาแบรนด์ไปท่องโลก NFT ดูบ้าง 


  • Blockchain Technology เข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นทุกวันในเรื่องของความโปร่งใสและการติดตามแหล่งที่มาของเพชร ด้วยข้อจำกัดหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และการให้ความสำคัญด้านนี้ของผู้บริโภค ทำให้ผู้ประกอบการบางรายหาหนทางที่จะรับมือกับผลกระทบของเทคโนโลยีนี้เพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภคให้ได้ อย่างเช่น แบรนด์ Wwake ของสหรัฐอเมริกาได้มีการนำรูปภาพและวิดีโอของช่างทำเครื่องประดับหญิงที่กำลังผลิตแหวนโพสต์ลงบน Instagram ทำให้เกิดความสนใจชมเป็นอย่างมาก ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคในยุคนี้ทราบถึงความโปร่งใสและความเชื่อมั่นเป็นอย่างดี

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: ทุกผลกระทบจากเทคโนโลยีย่อมมีทั้งทางบวกและทางลบ การนำผลกระทบทางลบมาพลิกให้เป็นโอกาส อาจทำให้ได้รับผลในทางบวกมากขึ้นก็เป็นได้ 

  • Zero Tolerance 4C's Consumer Guarantee บริการตรวจสอบอัญมณีด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยผลการรับรองที่ให้มากกว่าใบรับรอง เพราะรวมไปถึงการรับประกันคืนเงินด้วย ความแตกต่างของการตรวจสอบอัญมณีที่เกิดขึ้นนี้เป็นทั้งเปลี่ยนใหญ่ เปลี่ยนดัง และเปลี่ยนแน่ เนื่องจากได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างต้องรีบปรับตัวตามให้ทัน หรือแม้แต่แซงหน้า เพราะหากผู้บริโภครับรู้และต้องการมากกว่าแค่ใบรับรองอย่างชัดเจนแล้ว เมื่อนั้นอาจสายเกินไป

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: การเปลี่ยนแปลงบางอย่างไร้สัญญานเตือน และอาจดูไกลตัว แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีอยู่จริง และอาจส่งผลกระทบอย่างไม่ทันตั้งตัว ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในสภาพแวดล้อมและบริบทที่เกี่ยวข้องอาจช่วยให้อยู่รอดได้ในการเปลี่ยนแปลงยุคปัจจุบัน

  • 3D Printing การพิมพ์สามมิติ วิธีการที่ช่วยสร้างแบบจำลองเครื่องประดับสามมิติได้ง่ายขึ้น ทั้งในรูปแบบชิ้นงานที่ง่ายหรือชิ้นงานที่ซับซ้อน ลดกระบวนการในการทำงานที่ซับซ้อน ใช้ระยะเวลาในการทำงานน้อยลง และแก้ไขชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว เห็นได้ว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีทำให้การทำงานเปลี่ยนชัดและเปลี่ยนดี เพราะทำให้ต้นทุนต่ำลงและเข้าถึงผู้บริโภคได้รวดเร็วขึ้น

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: เทคโนโลยีเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบได้มากขึ้นและง่ายขึ้น ดังนั้น กระบวนการมีส่วนร่วมนี้จะกลายเป็นเรื่องปกติ อาจไม่ใช่ความพิเศษเฉพาะตัวอีกต่อไป

  • SENSORY EXPERIENCES การสร้างบรรยากาศของหน้าร้านค้าเครื่องประดับได้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ทุกแบรนด์ทำเหมือนกัน ประสบการณ์ทางการสัมผัสและความรู้สึกจึงเป็นเครื่องมือใหม่ที่เชื่อมโยงการขายให้มีความแปลกใหม่และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนดีนี้ทำให้ Swarovski ได้เปิดตัวร้านภายใต้คอนเซปต์ 'Wonderlab' เพื่อให้ได้รับรู้ถึงแรงบันดาลใจที่มีของแบรนด์เสมือนส่งตรงมาจากสำนักงานใหญ่ หรือแม้แต่ Tiffany & Co. เองก็เปิดตัว Blue Box Café ที่เป็นประสบการณ์ 'Breakfast at Tiffany's' ในชีวิตจริง เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่กระตุ้นให้ผู้บริโภคได้สัมผัสและรู้สึกเชื่อมโยงกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: การสร้างประสบการณ์ใหม่ผ่านแนวคิดและวิธีการต่างๆ สามารถเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี แต่ละแบรนด์จึงสามารถนำจุดเด่นของตนมาสร้างความเชื่อมโยงกับผู้บริโภค 


  • Website การเข้าถึงแบรนด์ผ่านสื่อออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การสร้างประสบการณ์ที่ดีผ่าน Website และสื่อต่างๆ ของแบรนด์จึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างเช่นการใช้เทคโนโลยีภาพความละเอียดสูงและวิดีโอแบบ 360 องศา สามารถสร้างการสื่อสารของเครื่องประดับให้กับลูกค้าได้เสมือนมองเห็นด้วยตา หรือว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยีเสมือนจริง (Augmented Reality - AR) ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ให้ผู้บริโภคได้รับรู้และสัมผัสสินค้าเหมือนจริงได้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ดูเหมือนเป็นการเปลี่ยนเล็กๆ แต่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: ในยุคที่เทคโนโลยีมีความหลากหลายและพัฒนาอย่างรวดเร็ว การเลือกนำบางจุดที่เหมาะสมมาใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นเรื่องที่ควรลงมือทำอย่างยิ่ง

  • Gen Z เติบโตมาในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ด้านกำลังซื้ออาจยังไม่มีมาก แต่กล่าวได้ว่าคนกลุ่มนี้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนรุ่นอื่นอย่างมาก เห็นได้จากการเปลี่ยนใหญ่ในข้อมูลของ Pew Research ในสหรัฐอเมริกาพบว่า Gen Z เปิดรับความหลากหลายในสังคม ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงค่านิยมเรื่องสีผิวที่ต่างไปจากคนรุ่นก่อน 

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ:  Gen Z จะกลายเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อในอนาคต จึงควรเตรียมความพร้อมด้วยการให้ความสำคัญ หมั่นศึกษาความคิดและค่านิยม และเข้าถึงคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ไว้บ้าง และหากสามารถสร้างแบรนด์ได้ก็จะดีมากทีเดียว

  • LGBTQIA+ การเปลี่ยนแปลงเรื่องเพศที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนใหญ่ระดับสังคม จากข้อมูลของ De Beers พบว่า คู่รักเพศเดียวกันเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยร้อยละ 72 ของคู่รักเพศเดียวกันชาวอเมริกันยกให้เพชรเป็นสิ่งสำคัญในการเฉลิมฉลองเหตุการณ์พิเศษของชีวิต อีกทั้งคู่รักเพศเดียวกันมักมีรายได้สูงกว่าคู่รักเพศตรงข้าม การโฆษณาเพื่อให้ผู้บริโภคทุกคนรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การตลาดที่ควรนำมาใช้

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: หากเชื่อว่าทุกคนเป็นลูกค้า การทำให้เห็นว่าการอยู่ร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน จะทำให้ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากสังคมได้ เพราะการตลาดสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป


  • Body-Positive การผลิตสินค้าที่เหมาะสมกับทุกคนกำลังกลายเป็นเรื่องปกติ สำหรับผู้บริโภคขนาดพลัสไซส์แล้วการหาเครื่องประดับที่เหมาะสมเป็นเรื่องยุ่งยากมาก การผลิตเครื่องประดับที่นอกจากจะเหมาะกับทุกคนแล้ว ยังสามารถเสริมสร้างความเป็นสากลของผู้บริโภคขนาดพลัสไซส์ให้รู้สึกถึงความสวยงามและการมีคุณค่ากำลังเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: นอกจากเรื่องเพศสภาพแล้ว ร่างกายก็เป็นอีกเรื่องที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นใคร รูปร่างอย่างไร ก็สามารถเป็นลูกค้าของแบรนด์ได้เสมอ

        ดิสรัปชั่นไม่ได้เกิดจากเหตุใดเหตุหนึ่งเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนจะเกิดขึ้นเมื่อหลายอย่างเปลี่ยนแปลงเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ดังนั้น การเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง เรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการรับมือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากไม่ว่าจะกับเรื่องอะไรก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของธุรกิจแล้ว การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็อาจสร้างแรงสั่นสะเทือนได้อย่างมาก “ปลอดภัยไว้ก่อน” คำนี้ไม่เคยเก่าเลย


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) https://www.matterofform.com/news/articles/jewellery-industry-trends
2) https://apviz.io/blog/us-jewelry-market-disruptors/
3) https://www.diamondsoncall.com/blog/online-technology-disrupted-retail-jewelry-industry#mcetoc_1f6jmoqgs58
4) https://imaginarium.io/the-future-of-jewellery-manufacturing-and-the-role-technology-has-to-offer/
5) https://www.professionaljeweller.com/sarine-on-the-path-to-majority-stake-in-gcal/
6) https://www.gsb.uct.ac.za/ideas-exchange/management-fundamentals/fo-diamonds-used-to-be-synonymous-with

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

รู้ไว้ใช่ว่า...ดิสรัปชั่นในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

Jun 16, 2023
1326 views
1 share

        การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอ ยิ่งในช่วงเวลานี้เชื่อว่าทุกคนต่างต้องเคยได้ยินหรือรู้จักคำว่า  “Disruption” กันทั้งนั้น การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ของสิ่งต่างๆ รอบตัวทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีซึ่งถือเป็นกลไกหลักของการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่อง สำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับก็เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีนั้น มีทั้งเปลี่ยนเล็ก เปลี่ยนใหญ่ เปลี่ยนเร็ว เปลี่ยนช้า เปลี่ยนเงียบ เปลี่ยนดัง กำลังจะเปลี่ยน หรือไม่เปลี่ยนสักทีปะปนกันไป ลองมาดูกันว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมีอะไรบ้าง และมีความน่าสนใจอย่างไร 

  • Lab-Grown Diamonds น่าจะเป็นคำที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จากเกือบ 20 ปีก่อนที่มีการขายเพชรสังเคราะห์เป็นครั้งแรก จนมาถึงปัจจุบันที่อัตราการรับรู้การมีตัวตนของเพชรสังเคราะห์นี้มีมากกว่าร้อยละ 60 ไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนใหญ่และเปลี่ยนดังในช่วงแรก และกลายเป็นค่อยๆ เปลี่ยน ค่อยๆ สร้างการรับรู้กันมาจนตอนนี้ โดยยังมีข้อถกเถียงในประเด็นที่ไม่ได้ต่างไปจากช่วงเริ่มต้นมากนัก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของข้อจำกัดของปริมาณอุปทานเพชรแท้ การใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้อง หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการสังเคราะห์เพชร ซึ่งประเด็นเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการให้น้ำหนักของแต่ละบุคคล แต่ที่ชัดเจนคือ มูลค่าการซื้อขายเพชรสังเคราะห์มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: มูลค่าการซื้อขายเพชรสังเคราะห์มากขึ้น เท่ากับโอกาสในการสร้างรายได้จากเพชรสังเคราะห์นี้ยังมีอยู่มากขึ้นตามไปด้วย

  • Non-Fungible Token (NFT) เป็นหนึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการพูดถึงกันพอสมควรในปัจจุบัน NFT เป็นสินทรัพย์ “ที่ไม่ซ้ำ” ในโลกดิจิทัลโดยสามารถซื้อและขายไม่ต่างกับทรัพย์สินอื่นๆ เพียงไม่สามารถจับต้องได้ แต่ก็มีเสน่ห์เหมือนกับการสะสมของหายากหรือของชิ้นพิเศษ ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับก็เริ่มมีการขายอัญมณีหรือเครื่องประดับในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัลบ้างแล้ว รวมถึง Bulgari, Tiffany's และ Räthel & Wolf ก็ได้สร้างแบรนด์เครื่องประดับดิจิทัลขึ้นมาใน NFT แล้ว แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงอาจยังอยู่ในขั้นกำลังจะเปลี่ยน แต่สำหรับแบรนด์ใหญ่ต่างๆ ก็มองว่าเครื่องประดับแบรนด์เนมบนบล็อกเชนอาจจะเป็นหนึ่งในอนาคตของธุรกิจค้าปลีกได้ 

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: เรียนรู้และทำความเข้าใจ ใช้ช่วงเวลาที่ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงยังไม่ชัดเจน ทำให้เป็นช่วงเวลาของการทดลองเรียนรู้พาแบรนด์ไปท่องโลก NFT ดูบ้าง 


  • Blockchain Technology เข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นทุกวันในเรื่องของความโปร่งใสและการติดตามแหล่งที่มาของเพชร ด้วยข้อจำกัดหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และการให้ความสำคัญด้านนี้ของผู้บริโภค ทำให้ผู้ประกอบการบางรายหาหนทางที่จะรับมือกับผลกระทบของเทคโนโลยีนี้เพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภคให้ได้ อย่างเช่น แบรนด์ Wwake ของสหรัฐอเมริกาได้มีการนำรูปภาพและวิดีโอของช่างทำเครื่องประดับหญิงที่กำลังผลิตแหวนโพสต์ลงบน Instagram ทำให้เกิดความสนใจชมเป็นอย่างมาก ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคในยุคนี้ทราบถึงความโปร่งใสและความเชื่อมั่นเป็นอย่างดี

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: ทุกผลกระทบจากเทคโนโลยีย่อมมีทั้งทางบวกและทางลบ การนำผลกระทบทางลบมาพลิกให้เป็นโอกาส อาจทำให้ได้รับผลในทางบวกมากขึ้นก็เป็นได้ 

  • Zero Tolerance 4C's Consumer Guarantee บริการตรวจสอบอัญมณีด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยผลการรับรองที่ให้มากกว่าใบรับรอง เพราะรวมไปถึงการรับประกันคืนเงินด้วย ความแตกต่างของการตรวจสอบอัญมณีที่เกิดขึ้นนี้เป็นทั้งเปลี่ยนใหญ่ เปลี่ยนดัง และเปลี่ยนแน่ เนื่องจากได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างต้องรีบปรับตัวตามให้ทัน หรือแม้แต่แซงหน้า เพราะหากผู้บริโภครับรู้และต้องการมากกว่าแค่ใบรับรองอย่างชัดเจนแล้ว เมื่อนั้นอาจสายเกินไป

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: การเปลี่ยนแปลงบางอย่างไร้สัญญานเตือน และอาจดูไกลตัว แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีอยู่จริง และอาจส่งผลกระทบอย่างไม่ทันตั้งตัว ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในสภาพแวดล้อมและบริบทที่เกี่ยวข้องอาจช่วยให้อยู่รอดได้ในการเปลี่ยนแปลงยุคปัจจุบัน

  • 3D Printing การพิมพ์สามมิติ วิธีการที่ช่วยสร้างแบบจำลองเครื่องประดับสามมิติได้ง่ายขึ้น ทั้งในรูปแบบชิ้นงานที่ง่ายหรือชิ้นงานที่ซับซ้อน ลดกระบวนการในการทำงานที่ซับซ้อน ใช้ระยะเวลาในการทำงานน้อยลง และแก้ไขชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว เห็นได้ว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีทำให้การทำงานเปลี่ยนชัดและเปลี่ยนดี เพราะทำให้ต้นทุนต่ำลงและเข้าถึงผู้บริโภคได้รวดเร็วขึ้น

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: เทคโนโลยีเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบได้มากขึ้นและง่ายขึ้น ดังนั้น กระบวนการมีส่วนร่วมนี้จะกลายเป็นเรื่องปกติ อาจไม่ใช่ความพิเศษเฉพาะตัวอีกต่อไป

  • SENSORY EXPERIENCES การสร้างบรรยากาศของหน้าร้านค้าเครื่องประดับได้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ทุกแบรนด์ทำเหมือนกัน ประสบการณ์ทางการสัมผัสและความรู้สึกจึงเป็นเครื่องมือใหม่ที่เชื่อมโยงการขายให้มีความแปลกใหม่และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนดีนี้ทำให้ Swarovski ได้เปิดตัวร้านภายใต้คอนเซปต์ 'Wonderlab' เพื่อให้ได้รับรู้ถึงแรงบันดาลใจที่มีของแบรนด์เสมือนส่งตรงมาจากสำนักงานใหญ่ หรือแม้แต่ Tiffany & Co. เองก็เปิดตัว Blue Box Café ที่เป็นประสบการณ์ 'Breakfast at Tiffany's' ในชีวิตจริง เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่กระตุ้นให้ผู้บริโภคได้สัมผัสและรู้สึกเชื่อมโยงกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: การสร้างประสบการณ์ใหม่ผ่านแนวคิดและวิธีการต่างๆ สามารถเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี แต่ละแบรนด์จึงสามารถนำจุดเด่นของตนมาสร้างความเชื่อมโยงกับผู้บริโภค 


  • Website การเข้าถึงแบรนด์ผ่านสื่อออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การสร้างประสบการณ์ที่ดีผ่าน Website และสื่อต่างๆ ของแบรนด์จึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างเช่นการใช้เทคโนโลยีภาพความละเอียดสูงและวิดีโอแบบ 360 องศา สามารถสร้างการสื่อสารของเครื่องประดับให้กับลูกค้าได้เสมือนมองเห็นด้วยตา หรือว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยีเสมือนจริง (Augmented Reality - AR) ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ให้ผู้บริโภคได้รับรู้และสัมผัสสินค้าเหมือนจริงได้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ดูเหมือนเป็นการเปลี่ยนเล็กๆ แต่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: ในยุคที่เทคโนโลยีมีความหลากหลายและพัฒนาอย่างรวดเร็ว การเลือกนำบางจุดที่เหมาะสมมาใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นเรื่องที่ควรลงมือทำอย่างยิ่ง

  • Gen Z เติบโตมาในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ด้านกำลังซื้ออาจยังไม่มีมาก แต่กล่าวได้ว่าคนกลุ่มนี้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนรุ่นอื่นอย่างมาก เห็นได้จากการเปลี่ยนใหญ่ในข้อมูลของ Pew Research ในสหรัฐอเมริกาพบว่า Gen Z เปิดรับความหลากหลายในสังคม ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงค่านิยมเรื่องสีผิวที่ต่างไปจากคนรุ่นก่อน 

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ:  Gen Z จะกลายเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อในอนาคต จึงควรเตรียมความพร้อมด้วยการให้ความสำคัญ หมั่นศึกษาความคิดและค่านิยม และเข้าถึงคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ไว้บ้าง และหากสามารถสร้างแบรนด์ได้ก็จะดีมากทีเดียว

  • LGBTQIA+ การเปลี่ยนแปลงเรื่องเพศที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนใหญ่ระดับสังคม จากข้อมูลของ De Beers พบว่า คู่รักเพศเดียวกันเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยร้อยละ 72 ของคู่รักเพศเดียวกันชาวอเมริกันยกให้เพชรเป็นสิ่งสำคัญในการเฉลิมฉลองเหตุการณ์พิเศษของชีวิต อีกทั้งคู่รักเพศเดียวกันมักมีรายได้สูงกว่าคู่รักเพศตรงข้าม การโฆษณาเพื่อให้ผู้บริโภคทุกคนรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การตลาดที่ควรนำมาใช้

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: หากเชื่อว่าทุกคนเป็นลูกค้า การทำให้เห็นว่าการอยู่ร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน จะทำให้ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากสังคมได้ เพราะการตลาดสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป


  • Body-Positive การผลิตสินค้าที่เหมาะสมกับทุกคนกำลังกลายเป็นเรื่องปกติ สำหรับผู้บริโภคขนาดพลัสไซส์แล้วการหาเครื่องประดับที่เหมาะสมเป็นเรื่องยุ่งยากมาก การผลิตเครื่องประดับที่นอกจากจะเหมาะกับทุกคนแล้ว ยังสามารถเสริมสร้างความเป็นสากลของผู้บริโภคขนาดพลัสไซส์ให้รู้สึกถึงความสวยงามและการมีคุณค่ากำลังเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

        ข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการ: นอกจากเรื่องเพศสภาพแล้ว ร่างกายก็เป็นอีกเรื่องที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นใคร รูปร่างอย่างไร ก็สามารถเป็นลูกค้าของแบรนด์ได้เสมอ

        ดิสรัปชั่นไม่ได้เกิดจากเหตุใดเหตุหนึ่งเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนจะเกิดขึ้นเมื่อหลายอย่างเปลี่ยนแปลงเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ดังนั้น การเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง เรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการรับมือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากไม่ว่าจะกับเรื่องอะไรก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของธุรกิจแล้ว การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็อาจสร้างแรงสั่นสะเทือนได้อย่างมาก “ปลอดภัยไว้ก่อน” คำนี้ไม่เคยเก่าเลย


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) https://www.matterofform.com/news/articles/jewellery-industry-trends
2) https://apviz.io/blog/us-jewelry-market-disruptors/
3) https://www.diamondsoncall.com/blog/online-technology-disrupted-retail-jewelry-industry#mcetoc_1f6jmoqgs58
4) https://imaginarium.io/the-future-of-jewellery-manufacturing-and-the-role-technology-has-to-offer/
5) https://www.professionaljeweller.com/sarine-on-the-path-to-majority-stake-in-gcal/
6) https://www.gsb.uct.ac.za/ideas-exchange/management-fundamentals/fo-diamonds-used-to-be-synonymous-with

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site