ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

การผลิตและการค้าอัญมณีในอัฟกานิสถาน

Nov 10, 2023
2945 views
0 share

      อัฟกานิสถานเป็นแหล่งผลิตอัญมณีมายาวนานกว่า 7,000 ปี จนถึงปัจจุบันยังคงอุดมไปด้วยพลอยสีหลากหลายชนิดทั้งพลอยเนื้อแข็ง ได้แก่ มรกต ทับทิม และแซปไฟร์ และพลอยเนื้ออ่อน เช่น ลาพิส ลาซูลี คุนไซต์ อะความารีนสปิเนล  และทัวร์มาลีน เป็นต้น ความอุดมสมบูรณ์ของพลอยสี ทำให้มีอุตสาหกรรมการตัด ขัดเงา และเจียระไนอัญมณี รวมถึงการสวมใส่เครื่องประดับ กลายเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมอัฟกานิสถาน

การผลิตอัญมณีในอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถานได้ชื่อว่าเป็นแหล่งอัญมณีอันอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก โดยอัญมณีที่มีความสำคัญและเป็นรายได้หลักของอัฟกานิสถานคือ ลาพิส ลาซูลี ซึ่งอยู่ในจังหวัด Badakhshan อีกทั้งยังสามารถพบพลอยสีเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนอีกหลายชนิดในหลายแหล่ง โดยแหล่งผลิตพลอยสีสำคัญในอัฟกานิสถานมีอยู่ 4 แห่ง ได้แก่ 

        1) หมู่บ้าน Panjshir จังหวัด Parwan เป็นแหล่งผลิตมรกต ซึ่งมีสีเขียวเข้ม มีคุณภาพดีเทียบเท่ากับมรกตในโคลอมเบียและแซมเบีย จึงได้รับการยกย่องอย่างสูงทั่วโลก แม้ว่าปริมาณมรกตที่ขุดได้ในเหมืองแห่งนี้จะมีจำนวนน้อย แต่อุตสาหกรรมนี้กลับสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศถึงราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี


มรกตจากอัฟกานิสถาน

ภาพ: https://www.ssef.ch/new-emeralds-from-afghanistan/

        2) เมือง Jegdalek- Gandamak จังหวัด Kabul เป็นแหล่งผลิตทับทิมและแซปไฟร์ ซึ่งทับทิมในเมืองนี้มีสีแดงอ่อนถึงแดงเข้ม และแดงอมม่วง อย่างไรก็ดี ทับทิมและแซปไฟร์พบได้จำนวนน้อยในอัฟกานิสถาน

ทับทิมจากอัฟกานิสถาน

        3) จังหวัด Badakhshan ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน เป็นแหล่งผลิตลาพิส ลาซูลี ที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียงและได้ยอมรับมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะเหมืองที่รู้จักกันในชื่อ ซาร์-อี ซาง (Sar-e Sang) มีความยาวกว่า 200 ไมล์ ในอดีตการขุดลาพิส ลาซูลี ส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มตาลีบัน และรายได้จากการขายลาพิส ลาซูลีนั้นจะใช้เป็นเงินทุนของกลุ่มในการดำเนินการต่างๆ

ลาพิส ลาซูลีจากอัฟกานิสถาน

        นอกจากนี้ยังสามารถพบสปิเนลในจังหวัดนี้อีกด้วย ซึ่งสปิเนลจากอัฟกานิสถานมีคุณภาพดีและสีเหมือนทับทิมจนเข้าใจกันผิดว่าเป็นทับทิม โดยสปิเนลสีชมพูนีออนของอัฟกานิสถานเป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาด เพราะเป็นหินสีที่ใสสะอาดจนแทบไม่ต้องปรับปรุงคุณภาพเลย

สปิเนลจากอัฟกานิสถาน

        4) จังหวัด Nuristan เป็นแหล่งผลิตพลอยเนื้ออ่อน เช่น ทัวร์มาลีน คุนไซต์ อะความารีน สปอดูมีน เบริลและมอร์แกไนท์ เป็นต้น
        - ทัวร์มาลีน ที่พบในอัฟกานิสถานมีสีชมพู สีเขียว สีเขียวมิ้นท์ และสีน้ำเงิน
        - อะความารีนในอัฟกานิสถานมีสีฟ้าใสและค่อนข้างโปร่งใส ทำให้เห็นตำหนิภายในได้ง่ายมาก 

ซ้าย: ทัวร์มาลีนจากอัฟกานิสถาน ภาพ https://www.mindat.org/locentry-213329.html
ขวา: อะความารีนอัฟกานิสถาน ภาพ https://minerals-stones.com

    อัฟกานิสถานมีความขัดแย้งในประเทศตลอดในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา และมีการขุดอัญมณีในหลายพื้นที่มาโดยตลอด เพราะเป็นรายได้หลักของกลุ่มติดอาวุธต่างๆ ตั้งแต่มูจาฮิดีน นักรบท้องถิ่นกลุ่มต่างๆ ไปจนถึงกลุ่มตาลิบัน ปัจจุบันกลุ่มตาลิบันปกครองประเทศทั้งหมดไว้เพียงฝ่ายเดียว หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานในปี 2564 ซึ่งสหรัฐฯ ได้อายัดเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐของกองทุนรัฐบาลอัฟกานิสถาน อีกทั้งเงินทุนและความช่วยเหลือจากต่างประเทศในด้านต่างๆ ก็ถูกถอนออกทั้งหมด รัฐบาลตาลิบันชุดใหม่จึงขาดแคลนเงินทุนและประชาชนยากจนมากขึ้น จึงต้องขุดหาอัญมณี  เพิ่มขึ้นเพื่อนำไปขายเป็นรายได้เลี้ยงชีพ ส่งผลให้อัญมณีเป็นแหล่งรายได้หลักของตาลิบันและชาวอัฟกันนิสถาน โดยคาดการณ์กันว่าอาจสร้างรายได้ให้ประเทศหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

        ในอดีตการทำเหมืองอัญมณีมักเป็นการลักลอบขุดหาอัญมณี โดยคนท้องถิ่นที่อยู่ในชุมชนบริเวณเหมือง ใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างง่าย แต่หลังจากตาลิบันเข้าครอบครองประเทศแล้วได้พยายามควบคุมการทำเหมืองที่ผิดกฎหมาย และประกาศให้คนท้องถิ่นสามารถทำเหมืองอัญมณีขนาดเล็กได้ แต่เมื่อขายอัญมณีได้จะต้องจ่ายภาษี 2% ของรายได้ให้กับรัฐบาลตาลิบัน สำหรับการทำเหมืองปัจจุบันก็ยังคงใช้อุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่ายในการขุดเจาะหิน ไม่มีการใช้อุปกรณ์นิรภัย เช่น หมวกกันน็อคหรือแว่นตานิรภัย และไม่มีหน้ากากช่วยหายใจเพื่อกรองฝุ่น โดยการขุดเจาะหินจะใช้อุปกรณ์แบบดั้งเดิม เช่น สว่านแบบเก่าของจีน ระเบิดไดนาไมต์ที่หมดอายุแล้วของรัสเซีย ค้อน และสิ่ว เป็นต้น ซึ่งเสี่ยงต่อการทำลายพลอยสีในก้อนหินและสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก
การทำเหมืองของชาวอัฟกันในอัฟกานิสถาน
ที่มา: https://www.aljazeera.com/
การค้าอัญมณีของอัฟกานิสถาน

        ในอดีตอัญมณีจากอัฟกานิสถานส่วนใหญ่เดินทางไปตลาดตะวันตกผ่านพรมแดนไปยังปากีสถาน ซึ่งจะมีพ่อค้าแร่ชาวอเมริกันและชาวปากีสถานนำไปจำหน่ายในงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะในงานทูซอน รัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกาที่มักจัดงานแสดงสินค้าขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมและต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปัจจุบันอัญมณีจากอัฟกานิสถานยังคงออกสู่ตลาดโลกผ่านทางปากีสถาน สามารถพบได้ง่ายบน Instagram, eBay และในงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ โดยในปี 2565 พบว่ามีชาวปากีสถานได้นำลาพิส ลาซูลี ไปจำหน่ายในงานแสดงสินค้าทูซอน ซึ่งพ่อค้าแต่ละรายนำลาพิส ลาซูลี บรรจุในหีบมาประมาณ 500-1,000 กิโลกรัม และตั้งราคาขายอยู่ที่ 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม 

ปัจจุบันอัญมณีของอัฟกานิสถานที่ได้รับความนิยมในตลาดมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ ทับทิม มรกต ทัวร์มาลีน สปิเนล อะความารีน และลาพิส ลาซูลี ซึ่งการค้าพลอยสีของอัฟกานิสถานดำเนินการโดยพ่อค้าแร่ชาวต่างชาติที่อยู่ในปากีสถาน ในรูปแบบการขายพลอยสีให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงแทนการขายให้กับผู้ค้าส่ง ซึ่งมักขายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะ Instagram โดยอัญมณีที่ได้รับความนิยมในการขายผ่าน Instagram ก็คือ ทัวร์มาลีนและมรกต คีย์เวิร์ดและแฮชแท็กที่นิยมสำหรับอัญมณีจากอัฟกานิสถาน ได้แก่ #panjshiremeralds #lapislazuli #paprok #daraepech รวมทั้งผู้ค้าอัญมณีในปากีสถานยังมีการวางขายอัญมณีจากอัฟกานิสถานบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของโลกอย่าง eBay อีกด้วย 

ตัวอย่างอัญมณี (ทัวร์มาลีน ลาพิส ลาซูลี และมรกต) ของอัฟกานิสถานที่ผู้ค้าอัญมณีในปากีสถานวางขายบนอีเบย์ 
(ข้อมูลจาก eBay.com ในเดือนกันยายน 2566)

        เนื่องจากกลุ่มตาลีบันได้พยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ ทำให้ค่าสกุลเงินอัฟกานิสถานแข็งค่าขึ้นเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ แต่เพิ่มการส่งออกสินค้าของประเทศให้มากขึ้นเป็นสองเท่า จัดเก็บภาษีจากการค้าฝิ่น ภาษีนำเข้าและส่งออกมากขึ้น รวมถึงสร้างความร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจภาคเอกชนต่างๆ ในประเทศ พร้อมกับการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดให้ต่างชาติร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และสานความสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศมากขึ้น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เหล่านี้เป็นปัจจัยส่งเสริมการค้าและการทำเหมืองอัญมณีของอัฟานิสถานอยู่บ้าง
 
        อย่างไรก็ดี ยังไม่มีประเทศไหนให้การยอมรับกลุ่มตาลีบันอย่างเป็นทางการ และอัฟกานิสถานก็ยังมีความเสี่ยงสูงมาก จากปัญหาการโจมตีจากกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ภายในประเทศ รวมถึงยังมีกรณีพิพาทชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างปากีสถานและอิหร่าน ซึ่งก่อให้เกิดการปะทะระหว่างกันอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น หากสถานการณ์ในอัฟกานิสถานยังไม่มีเสถียรภาพ การจะพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและการค้าอัญมณีให้รายได้ตกอยู่กับคนในประเทศมากที่สุดก็ทำได้ยาก และตราบใดที่พลอยสีจากอัฟกานิสถานยังไม่ถูกแบนจากชาติตะวันตก ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากสถานการณ์นี้ก็จะเป็นพ่อค้าชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวปากีสถานที่รับซื้อพลอยสีจากอัฟกานิสถานไปปล่อยสู่ตลาดโลกในราคาที่สูง รวมถึงบริษัทเครื่องประดับจากชาติต่างๆ ก็จะมีพลอยสีของอัฟกานิสถานเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าได้ด้วย



จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
พฤศจิกายน 2566

**เหมืองอัญมณีที่ดำเนินการในปัจจุบันมี 4 แห่ง ได้แก่ 1) เหมือง Sar-e Sang ในจังหวัด Badakhshan 2) เหมืองในจังหวัด Panjshir 3) เหมือง Dara-e-Pech ในจังหวัด Kunar และ 4)  เหมือง Mawi ในจังหวัด Nuristan







ข้อมูลอ้างอิง


1) Buying Gemstones in Afghanistan: A Beginner’s Guide, [Online]. Available at www.gemsociety.org/ article/just-ask-jeff-buying-gemstones-in-afghanistan/.(Retrieved September 5, 2023).
2) The Jewellery and Stones of Afghanistan, [Online]. Available at https://artsandculture.google.com/ story/the-jewellery-and-stones-of-afghanistan-turquoise-mountain/jgVxJRAav-qeKQ?hl=en. (Retrieved September 6, 2023).
3) What Happens To The Afghanistan Gemstone Industry Now? [Online]. Available at www.navneetgems.com/afghanistan-gemstone-industry/. (Retrieved September 6, 2023).
4) Geospatial Analysis of Afghanistan Gemstone Production Under the Taliban, [Online]. Available at https://www.tearline.mil/public_page/geospatial-analysis-of-afghanistan-gemstone-production-under-the-taliban. (Retrieved September 7, 2023).
5) The former Afghan soldiers turning to gem mining to survive. [Online]. Available at www.aljazeera.com/features/2023/8/18/the-former-afghan-soldiers-turning-to-gem-mining-to-survive. (Retrieved September 7, 2023).
6) Taliban signs $6.5bn worth of mining contracts in Afghanistan. [Online]. Available at https://new.thecradle.co/articles/taliban-signs-65bn-worth-of-mining-contracts-in-afghanistan. (Retrieved September 7, 2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

การผลิตและการค้าอัญมณีในอัฟกานิสถาน

Nov 10, 2023
2945 views
0 share

      อัฟกานิสถานเป็นแหล่งผลิตอัญมณีมายาวนานกว่า 7,000 ปี จนถึงปัจจุบันยังคงอุดมไปด้วยพลอยสีหลากหลายชนิดทั้งพลอยเนื้อแข็ง ได้แก่ มรกต ทับทิม และแซปไฟร์ และพลอยเนื้ออ่อน เช่น ลาพิส ลาซูลี คุนไซต์ อะความารีนสปิเนล  และทัวร์มาลีน เป็นต้น ความอุดมสมบูรณ์ของพลอยสี ทำให้มีอุตสาหกรรมการตัด ขัดเงา และเจียระไนอัญมณี รวมถึงการสวมใส่เครื่องประดับ กลายเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมอัฟกานิสถาน

การผลิตอัญมณีในอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถานได้ชื่อว่าเป็นแหล่งอัญมณีอันอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก โดยอัญมณีที่มีความสำคัญและเป็นรายได้หลักของอัฟกานิสถานคือ ลาพิส ลาซูลี ซึ่งอยู่ในจังหวัด Badakhshan อีกทั้งยังสามารถพบพลอยสีเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนอีกหลายชนิดในหลายแหล่ง โดยแหล่งผลิตพลอยสีสำคัญในอัฟกานิสถานมีอยู่ 4 แห่ง ได้แก่ 

        1) หมู่บ้าน Panjshir จังหวัด Parwan เป็นแหล่งผลิตมรกต ซึ่งมีสีเขียวเข้ม มีคุณภาพดีเทียบเท่ากับมรกตในโคลอมเบียและแซมเบีย จึงได้รับการยกย่องอย่างสูงทั่วโลก แม้ว่าปริมาณมรกตที่ขุดได้ในเหมืองแห่งนี้จะมีจำนวนน้อย แต่อุตสาหกรรมนี้กลับสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศถึงราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี


มรกตจากอัฟกานิสถาน

ภาพ: https://www.ssef.ch/new-emeralds-from-afghanistan/

        2) เมือง Jegdalek- Gandamak จังหวัด Kabul เป็นแหล่งผลิตทับทิมและแซปไฟร์ ซึ่งทับทิมในเมืองนี้มีสีแดงอ่อนถึงแดงเข้ม และแดงอมม่วง อย่างไรก็ดี ทับทิมและแซปไฟร์พบได้จำนวนน้อยในอัฟกานิสถาน