ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

AI กระตุ้นประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

Jan 30, 2025
683 views
0 share

        ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในส่วนต่างๆ ของธุรกิจ อัญมณีและเครื่องประดับด้วยศักยภาพมากมายที่ยังรอคอยให้นำไปใช้ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ไม่ได้ครบวงจรหรือใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังต้องใช้งานอย่างใส่ใจและระมัดระวังอีกด้วย

AI กำลังสร้างผลกระทบในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับด้วยแอพลิเคชันหลากหลายที่พร้อมจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการจัดระดับ การออกแบบ การขาย การตลาด และการดำเนินงาน

        ห้องปฏิบัติการทางอัญมณีศาสตร์และบริษัทด้านเทคโนโลยีเป็นกลุ่มแรกๆ ที่นำ AI เข้ามาใช้งาน Gemological Institute of America (GIA) ได้เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ต่างๆ ของ AI โดยในปี 2020 ได้ร่วมมือกับ IBM ในการพัฒนาระบบสำหรับตรวจสอบความใสของเพชร และปัจจุบันห้องปฏิบัติการของ GIA ทั่วโลกได้นำระบบตรวจสอบความใสด้วย AI ดังกล่าวมาใช้ในการจัดระดับความใสของเพชรตั้งแต่ D-Z

ศักยภาพอันเด่นชัด

Pritesh Patel จาก GIA ให้ความเห็นไว้ว่า ขณะที่ AI สามารถจัดระดับคุณภาพเพชรได้เกือบทุกขนาดและรูปร่าง แต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่ในบางเรื่อง ดังนั้น จึงต้องใช้ระบบดังกล่าวควบคู่ไปกับนักอัญมณีศาสตร์และนักจัดระดับที่ได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์สูง เพื่อให้แน่ใจว่าได้ผลการตรวจสอบที่แม่นยำที่สุด เช่น ในเพชรที่มีขนาดใหญ่และเพชรที่มีความใสสูง

        AI ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบพลอยสีได้ด้วย แต่การตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการตีความด้วยทักษะขั้นสูงในการตรวจสอบข้อมูลโดยนักจัดระดับ นักอัญมณีศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญ

        ทั้งนี้ การบูรณาการ AI เข้ากับกระบวนการจัดระดับได้ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความคงที่ให้กับกระบวนการของ GIA ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษามาตรฐานกระบวนการจัดระดับอันเข้มงวดของ GIA เอาไว้ ซึ่งการนำ AI เข้ามาบูรณาการนี้ได้ช่วยต่อยอดนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคนิคต่างๆ ในการใช้เครื่องมือสนับสนุนการทำงานของนักจัดระดับเพชรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง 

ศักยภาพทางอัญมณี

ทางด้านพลอยสีนั้น Gübelin Gem Lab มีพัฒนาการแบบก้าวกระโดดด้วยแพลตฟอร์ม Gemtelligence ที่ใช้ AI ในการขับเคลื่อน โดยนับตั้งแต่เปิดตัวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2023 เป็นต้นมา ระบบ Deep-Learning นี้ได้ช่วยนักอัญมณีศาสตร์ประเมินข้อมูลการวิเคราะห์ที่ได้จากทับทิม ไพลิน และมรกตที่นำเข้ามาตรวจที่ห้องปฏิบัติการ

        Daniel Nyfeler จาก Gübelin Gem Lab อธิบายไว้ว่า Gemtelligence ช่วยให้ผลการตรวจสอบอัญมณีมีความแม่นยำเนื่องจากช่วยลดความผิดพลาดอันเกิดจากคนในการแปลผลข้อมูลการวิเคราะห์ และมีความสามารถในการดึงข้อมูลจากชุดข้อมูลวิเคราะห์ได้มากกว่า นอกจากนี้ ยังเพิ่มความแม่นยำโดยเฉพาะการระบุแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของอัญมณี 

        นอกจากนี้ Gübelin Gem Lab ยังอยู่ระหว่างศึกษาแอพลิเคชัน AI เพิ่มเติมในด้านการจัดระดับพลอยสี โดยเทคโนโลยี Machine-Learning อาจจะผสมผสานข้อมูลประเภทใหม่ๆ รวมถึงภาพเข้ามาด้วย แต่ทางห้องปฎิบัติการฯ ก็ต้องพบกับความท้าทายที่ยังไม่พบเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้ซึ่งจะสามารถจัดการกับความซับซ้อนในการประเมินเชิงปริมาณที่มีความคงที่ของวัสดุสามมิติที่มีลักษณะโปร่งแสง และเป็นแอนไอโซทรอปิก ดังที่อัญมณีส่วนใหญ่เป็นได้

การนำไปใช้กับแบรนด์

        Constantin Wild GmbH & Co KG บริษัทเจียระไนพลอยสีของเยอรมนี ได้นำ AI มาช่วยในการนำเสนออัตลักษณ์ใหม่ของแบรนด์ที่หลอมรวมความงามเป็นอมตะของพลอยสีเข้ากับศักยภาพของ AI ในโลกยุคใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้คือ Cyber Gem World ชุดผลงานศิลปะดิจิทัลที่สร้างขึ้นโดย AI ซึ่งสร้างสรรค์ภาพของพลอยสีที่น่าตื่นตาตื่นใจในโลกแฟนตาซีตระการตา

        หนึ่งในนั้น คือ แซปไฟร์ศรีลังกาสีเหลืองที่ถูกนำไปผสมผสานกับแจ็กเก็ตของแฟชั่นนิสตาแห่งโลกอนาคต ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นภาพของอะความารีนสีฟ้ากับสุภาพสตรีในชุดสีชมพูนกฟลามิงโก้สุดเก๋ ทัวร์มาลีน อัญมณีที่หายาก ดูโดดเด่นสะดุดตาอยู่ในอีกภาพหนึ่ง ในขณะที่ชุดอัญมณีสีม่วงและชมพูที่ตกแต่งด้วยแอเมทิสต์ แดนบูไรต์ คุนไซต์ และมอร์แกไนต์ ประดับประดาอยู่บนตัวนางแบบในชุดอนาคตในภาพดิจิทัลอีกภาพหนึ่ง

        กุญแจสำคัญในการถ่ายทอดคุณค่าของอัญมณีไปสู่งานออกแบบของ AI คือ การจัดการความสมดุลของความงามเชิงศิลปะและคุณสมบัติทางสัญลักษณ์ของอัญมณีที่มีเป้าหมายเฉพาะในการออกแบบ ซึ่ง AI สามารถช่วยพัฒนาความคิดและดำเนินการออกแบบที่ยังรักษาหัวใจของอัญมณีเอาไว้ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์การใช้งานและความสวยงามได้

การออกแบบจากจินตนาการ

        ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับเองก็มีผู้สนับสนุน AI อยู่ หนึ่งในผู้ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของ AI คือ Payal Shah เจ้าของและนักออกแบบของแบรนด์เครื่องประดับ L’Dezen ซึ่งการเดินทางของเธอเข้าสู่โลกของ AI นั้น เริ่มต้นด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ จะสามารถปฏิวัติอุตสาหกรรมดั้งเดิมได้อย่างไร เธอเป็นหนึ่งในคนแรกๆ ในแวดวงการค้าเครื่องประดับที่ยอมรับ NFT (Non-Fungible Token) และตั้งแต่นั้นมาก็ได้ศึกษาวิธีการที่ AI จะสามารถเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

        Shah เชื่อว่าการมีความเชี่ยวชาญในทักษะทางเทคโนโลยีจะทำให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะเมื่อต้องแข่งกับแบรนด์ใหญ่ๆ ที่มีงบประมาณทางการตลาดมหาศาล โดยเธอได้ใช้ซอฟต์แวร์การออกแบบที่ขับเคลื่อนโดย AI ในการสร้างแนวความคิดใหม่ๆ และทดลองกับลวดลายและรูปทรงต่างๆ ที่อาจไม่ได้มาจากสัญชาตญาณ นอกจากนี้ โปรแกรมการใช้ AI ช่วยสร้างรูปภาพให้ยังช่วยสร้าง Mood Board สำหรับสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบได้อีกด้วย

        นอกจากนี้ Shah ยังเห็นว่าแอพลิเคชันสำหรับการออกแบบเครื่องประดับที่มีอยู่ในปัจจุบันค่อนข้างล้ำหน้า สามารถสร้างงานออกแบบเครื่องประดับที่สมจริงและใช้ได้จริง โดยมักจะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูง อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ AI สามารถสร้างงานออกแบบที่น่าประทับใจได้ การตกแต่งขั้นสุดท้ายและการอนุมัติแบบมักจะมาจากนักออกแบบที่เป็นมนุษย์เสมอเพื่อให้แน่ใจว่างานออกแบบสอดคล้องกับรูปแบบที่ต้องการและมาตรฐานคุณภาพของแบรนด์


เครื่องประดับที่ออกแบบโดย AI ภายใต้คำสั่งที่เขียนโดย Payal Shah

        Atelier Mille Or บริษัทเครื่องประดับฝรั่งเศส ผสมผสานงานฝีมือเข้ากับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าอย่าง AI และการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ในการออกนอกกรอบความคิดสร้างสรรค์และความแม่นยำในการออกแบบเครื่องประดับ โดยเครื่องมือ AI อย่าง Midjourney และ Dall-E ช่วยบริษัทฯ สร้างแนวคิดการออกแบบที่มีความสร้างสรรค์และตัวเลือกโดยยึดตามธีมเฉพาะ ซึ่งจะได้รับการพัฒนาหลังจากนั้นโดยใช้ประสบการณ์ทางด้านงานช่างฝีมือ ทั้งนี้ คอลเลกชัน Cosmos ของบริษัท ได้รับแรงบันดาลใจจากลวดลายและรูปทรงที่ AI แนะนำ โดยมีการออกแบบที่ซับซ้อนเลียนแบบกลุ่มดาวและเทหวัตถุบนท้องฟ้า (ภาพล่างซ้าย) ส่วนซีรีย์ Vitality ของบริษัทฯ แสดงลวดลายเกี่ยวกับร่างกาย เช่น หัวใจและโครงสร้างอวัยวะ (ภาพล่างขวา)

        Amine Messaoudi ผู้ร่วมก่อตั้ง Atelier Mille Or กล่าวว่าผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจการออกแบบที่มี AI เข้ามาช่วยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชื่นชอบการผสมผสานเทคโนโลยียุคใหม่กับงานฝีมือแบบดั้งเดิม ความแปลกใหม่ที่ได้จากคำแนะนำของ AI อยู่ที่ความสามารถในการผสมผสานองค์ประกอบในแนวทางใหม่ จนทำให้ได้งานออกแบบที่ความเฉพาะตัวตามความต้องการของแต่ละบุคคลสูง โดยรับรองว่าแต่ละชิ้นจะสะท้อนตัวตนของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง

ความสมดุลทางศิลปะ

        Shiyamali Paranirupasingam ผู้ก่อตั้งแบรนด์เครื่องประดับมุก L’Amour Pearls ได้รับเอาเทคโนโลยี AI เข้าไปใช้กับธุรกิจของเธอ โดยเริ่มตั้งแต่ Chatbot และแคมเปญอีเมลที่ขับเคลื่อนโดย AI ไปจนถึงฟีเจอร์ AR สำหรับทดลองสวมใส่เครื่องประดับในร้านค้าออนไลน์ 

        Paranirupasingam เห็นว่า การบูรณาการ AI เข้ากับการออกแบบเครื่องประดับสร้างโอกาสที่น่าตื่นเต้นแต่ก็ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรักษาจริยธรรมทางศิลปะเอาไว้ โดย AI ควรจะช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์มากกว่าเข้ามาแทนที่ โดยการนำเสนอแรงบันดาลใจขณะที่ปล่อยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการออกแบบไว้กับมนุษย์ เทคโนโลยีสามารถสร้างการออกแบบโดยยึดตามรูปแบบและข้อมูล แต่อาจจะขาดการเชื่อมโยงทางอารมณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชิ้นงานที่ทำด้วยมือ จนอาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นสูตรสำเร็จ 

        อีกทั้งการพึ่งพา AI มากจนเกินไปและการพึ่งพาชุดข้อมูลที่กว้างขวางอาจจำกัดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การร่วมมือกันในหมู่นักออกแบบ ช่างฝีมือ และผู้ผลิต ทำให้แน่ใจได้ว่างานออกแบบที่สร้างโดย AI จะใช้ได้จริงและมีมาตรฐานช่างฝีมือแบบดั้งเดิม 

        สำหรับธุรกิจเครื่องประดับมุกนั้น เนื่องด้วยการผลิตมุกแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาแรงงานเป็นหลัก AI จึงสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพ และความยั่งยืนภายในอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AI มีศักยภาพในการจัดระดับและการคัดแยกมุก รวมไปถึงการเพาะเลี้ยงหอยมุก 

เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

        Shah จาก L’Dezen ยังได้ใช้ประโยชน์จาก AI ในการดำเนินงานและการค้าปลีก ตั้งแต่การใช้ AR เพื่อทดลองสวมใส่เครื่องประดับ ไปจนถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และปรับปรุงความสามารถในการผลิต การปฏิบัติงานในหน้าที่ที่เป็นกิจวัตรโดยอัตโนมัติช่วยให้นักออกแบบสามารถจดจ่ออยู่กับการสร้างสรรค์มากขึ้นโดยไม่ต้องพะวงเรื่องงานบริหาร 

        ขณะเดียวกัน AI ก็ยังช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าของลูกค้า การวิจัยที่มี AI ช่วยทำให้ Shah ตัดสินใจที่จะไม่เข้าสู่แวดวงเพชรสังเคราะห์ ขณะที่การศึกษาความต้องการของลูกค้าที่มีต่ออัญมณีและโลหะมีค่าทำให้เกิดคอลเลกชันที่ใช้ทองรีไซเคิล

        อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีมาพร้อมกับความท้าทาย ผู้ประกอบการเครื่องประดับต้องรับรองความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ Machine-Learning ผู้ประกอบการควรจะดูแลปกป้องไม่ให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาโดยการเพิ่มความเป็นต้นฉบับอย่างเพียงพอให้ชิ้นงานในขั้นตอนสุดท้าย นอกเหนือจากมาตรการอื่นๆ AI เองก็มาพร้อมกับการเรียนรู้ที่ยากลำบาก ทำให้จำเป็นต้องมีทีมที่เข้าใจทั้งงานออกแบบเครื่องประดับและเทคโนโลยี  

        ทั้งนี้ Shah มีความกระตือรือร้นที่จะแบ่งปันการเรียนรู้ของเธอ โดยได้โพสต์รายการ prompt ใน ChatGPT ของเธอที่ใช้ได้ผลจริงและ “ใช้บ่อย” ถึง 200 รายการไว้บนเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปปรับใช้ในแคมเปญการตลาดของตนเองได้

        Atelier Mille Or ก็ดำเนินการเกี่ยวกับ AI อย่างเต็มตัว โดยการพัฒนาระบบเฉพาะอย่างแอพลิเคชัน “Professeur Joaillerie” ที่ช่วยให้คำแนะนำทางเทคนิคและแนวปฏิบัติที่ดีแก่ช่างฝีมือรุ่นใหม่ในการผลิตเครื่องประดับ รวมถึงยังได้นำเสนอหลักสูตรการออกแบบเครื่องประดับด้วย AI ซึ่งครอบคลุมพื้นฐานด้าน AI ในการออกแบบ แอพลิเคชันเชิงปฏิบัติการ และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ หลักสูตรที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือหลักสูตร 20 ชั่วโมงว่าด้วยการใช้เครื่องมือ AI ต่างๆ 


แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

มกราคม 2568



เอกสารแนบ


ความคิดเห็น

Loading comments...

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

AI กระตุ้นประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

Jan 30, 2025
683 views
0 share

        ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในส่วนต่างๆ ของธุรกิจ อัญมณีและเครื่องประดับด้วยศักยภาพมากมายที่ยังรอคอยให้นำไปใช้ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ไม่ได้ครบวงจรหรือใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังต้องใช้งานอย่างใส่ใจและระมัดระวังอีกด้วย

AI กำลังสร้างผลกระทบในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับด้วยแอพลิเคชันหลากหลายที่พร้อมจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการจัดระดับ การออกแบบ การขาย การตลาด และการดำเนินงาน

        ห้องปฏิบัติการทางอัญมณีศาสตร์และบริษัทด้านเทคโนโลยีเป็นกลุ่มแรกๆ ที่นำ AI เข้ามาใช้งาน Gemological Institute of America (GIA) ได้เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ต่างๆ ของ AI โดยในปี 2020 ได้ร่วมมือกับ IBM ในการพัฒนาระบบสำหรับตรวจสอบความใสของเพชร และปัจจุบันห้องปฏิบัติการของ GIA ทั่วโลกได้นำระบบตรวจสอบความใสด้วย AI ดังกล่าวมาใช้ในการจัดระดับความใสของเพชรตั้งแต่ D-Z

ศักยภาพอันเด่นชัด

Pritesh Patel จาก GIA ให้ความเห็นไว้ว่า ขณะที่ AI สามารถจัดระดับคุณภาพเพชรได้เกือบทุกขนาดและรูปร่าง แต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่ในบางเรื่อง ดังนั้น จึงต้องใช้ระบบดังกล่าวควบคู่ไปกับนักอัญมณีศาสตร์และนักจัดระดับที่ได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์สูง เพื่อให้แน่ใจว่าได้ผลการตรวจสอบที่แม่นยำที่สุด เช่น ในเพชรที่มีขนาดใหญ่และเพชรที่มีความใสสูง

        AI ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบพลอยสีได้ด้วย แต่การตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการตีความด้วยทักษะขั้นสูงในการตรวจสอบข้อมูลโดยนักจัดระดับ นักอัญมณีศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญ

        ทั้งนี้ การบูรณาการ AI เข้ากับกระบวนการจัดระดับได้ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความคงที่ให้กับกระบวนการของ GIA ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษามาตรฐานกระบวนการจัดระดับอันเข้มงวดของ GIA เอาไว้ ซึ่งการนำ AI เข้ามาบูรณาการนี้ได้ช่วยต่อยอดนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคนิคต่างๆ ในการใช้เครื่องมือสนับสนุนการทำงานของนักจัดระดับเพชรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง 

ศักยภาพทางอัญมณี

ทางด้านพลอยสีนั้น Gübelin Gem Lab มีพัฒนาการแบบก้าวกระโดดด้วยแพลตฟอร์ม Gemtelligence ที่ใช้ AI ในการขับเคลื่อน โดยนับตั้งแต่เปิดตัวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2023 เป็นต้นมา ระบบ Deep-Learning นี้ได้ช่วยนักอัญมณีศาสตร์ประเมินข้อมูลการวิเคราะห์ที่ได้จากทับทิม ไพลิน และมรกตที่นำเข้ามาตรวจที่ห้องปฏิบัติการ

        Daniel Nyfeler จาก Gübelin Gem Lab อธิบายไว้ว่า Gemtelligence ช่วยให้ผลการตรวจสอบอัญมณีมีความแม่นยำเนื่องจากช่วยลดความผิดพลาดอันเกิดจากคนในการแปลผลข้อมูลการวิเคราะห์ และมีความสามารถในการดึงข้อมูลจากชุดข้อมูลวิเคราะห์ได้มากกว่า นอกจากนี้ ยังเพิ่มความแม่นยำโดยเฉพาะการระบุแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของอัญมณี 

        นอกจากนี้ Gübelin Gem Lab ยังอยู่ระหว่างศึกษาแอพลิเคชัน AI เพิ่มเติมในด้านการจัดระดับพลอยสี โดยเทคโนโลยี Machine-Learning อาจจะผสมผสานข้อมูลประเภทใหม่ๆ รวมถึงภาพเข้ามาด้วย แต่ทางห้องปฎิบัติการฯ ก็ต้องพบกับความท้าทายที่ยังไม่พบเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้ซึ่งจะสามารถจัดการกับความซับซ้อนในการประเมินเชิงปริมาณที่มีความคงที่ของวัสดุสามมิติที่มีลักษณะโปร่งแสง และเป็นแอนไอโซทรอปิก ดังที่อัญมณีส่วนใหญ่เป็นได้

การนำไปใช้กับแบรนด์

        Constantin Wild GmbH & Co KG บริษัทเจียระไนพลอยสีของเยอรมนี ได้นำ AI มาช่วยในการนำเสนออัตลักษณ์ใหม่ของแบรนด์ที่หลอมรวมความงามเป็นอมตะของพลอยสีเข้ากับศักยภาพของ AI ในโลกยุคใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้คือ Cyber Gem World ชุดผลงานศิลปะดิจิทัลที่สร้างขึ้นโดย AI ซึ่งสร้างสรรค์ภาพของพลอยสีที่น่าตื่นตาตื่นใจในโลกแฟนตาซีตระการตา

        หนึ่งในนั้น คือ แซปไฟร์ศรีลังกาสีเหลืองที่ถูกนำไปผสมผสานกับแจ็กเก็ตของแฟชั่นนิสตาแห่งโลกอนาคต ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นภาพของอะความารีนสีฟ้ากับสุภาพสตรีในชุดสีชมพูนกฟลามิงโก้สุดเก๋ ทัวร์มาลีน อัญมณีที่หายาก ดูโดดเด่นสะดุดตาอยู่ในอีกภาพหนึ่ง ในขณะที่ชุดอัญมณีสีม่วงและชมพูที่ตกแต่งด้วยแอเมทิสต์ แดนบูไรต์ คุนไซต์ และมอร์แกไนต์ ประดับประดาอยู่บนตัวนางแบบในชุดอนาคตในภาพดิจิทัลอีกภาพหนึ่ง

        กุญแจสำคัญในการถ่ายทอดคุณค่าของอัญมณีไปสู่งานออกแบบของ AI คือ การจัดการความสมดุลของความงามเชิงศิลปะและคุณสมบัติทางสัญลักษณ์ของอัญมณีที่มีเป้าหมายเฉพาะในการออกแบบ ซึ่ง AI สามารถช่วยพัฒนาความคิดและดำเนินการออกแบบที่ยังรักษาหัวใจของอัญมณีเอาไว้ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์การใช้งานและความสวยงามได้

การออกแบบจากจินตนาการ

        ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับเองก็มีผู้สนับสนุน AI อยู่ หนึ่งในผู้ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของ AI คือ Payal Shah เจ้าของและนักออกแบบของแบรนด์เครื่องประดับ L’Dezen ซึ่งการเดินทางของเธอเข้าสู่โลกของ AI นั้น เริ่มต้นด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ จะสามารถปฏิวัติอุตสาหกรรมดั้งเดิมได้อย่างไร เธอเป็นหนึ่งในคนแรกๆ ในแวดวงการค้าเครื่องประดับที่ยอมรับ NFT (Non-Fungible Token) และตั้งแต่นั้นมาก็ได้ศึกษาวิธีการที่ AI จะสามารถเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

        Shah เชื่อว่าการมีความเชี่ยวชาญในทักษะทางเทคโนโลยีจะทำให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะเมื่อต้องแข่งกับแบรนด์ใหญ่ๆ ที่มีงบประมาณทางการตลาดมหาศาล โดยเธอได้ใช้ซอฟต์แวร์การออกแบบที่ขับเคลื่อนโดย AI ในการสร้างแนวความคิดใหม่ๆ และทดลองกับลวดลายและรูปทรงต่างๆ ที่อาจไม่ได้มาจากสัญชาตญาณ นอกจากนี้ โปรแกรมการใช้ AI ช่วยสร้างรูปภาพให้ยังช่วยสร้าง Mood Board สำหรับสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบได้อีกด้วย

        นอกจากนี้ Shah ยังเห็นว่าแอพลิเคชันสำหรับการออกแบบเครื่องประดับที่มีอยู่ในปัจจุบันค่อนข้างล้ำหน้า สามารถสร้างงานออกแบบเครื่องประดับที่สมจริงและใช้ได้จริง โดยมักจะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูง อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ AI สามารถสร้างงานออกแบบที่น่าประทับใจได้ การตกแต่งขั้นสุดท้ายและการอนุมัติแบบมักจะมาจากนักออกแบบที่เป็นมนุษย์เสมอเพื่อให้แน่ใจว่างานออกแบบสอดคล้องกับรูปแบบที่ต้องการและมาตรฐานคุณภาพของแบรนด์


เครื่องประดับที่ออกแบบโดย AI ภายใต้คำสั่งที่เขียนโดย Payal Shah

        Atelier Mille Or บริษัทเครื่องประดับฝรั่งเศส ผสมผสานงานฝีมือเข้ากับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าอย่าง AI และการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ในการออกนอกกรอบความคิดสร้างสรรค์และความแม่นยำในการออกแบบเครื่องประดับ โดยเครื่องมือ AI อย่าง Midjourney และ Dall-E ช่วยบริษัทฯ สร้างแนวคิดการออกแบบที่มีความสร้างสรรค์และตัวเลือกโดยยึดตามธีมเฉพาะ ซึ่งจะได้รับการพัฒนาหลังจากนั้นโดยใช้ประสบการณ์ทางด้านงานช่างฝีมือ ทั้งนี้ คอลเลกชัน Cosmos ของบริษัท ได้รับแรงบันดาลใจจากลวดลายและรูปทรงที่ AI แนะนำ โดยมีการออกแบบที่ซับซ้อนเลียนแบบกลุ่มดาวและเทหวัตถุบนท้องฟ้า (ภาพล่างซ้าย) ส่วนซีรีย์ Vitality ของบริษัทฯ แสดงลวดลายเกี่ยวกับร่างกาย เช่น หัวใจและโครงสร้างอวัยวะ (ภาพล่างขวา)

        Amine Messaoudi ผู้ร่วมก่อตั้ง Atelier Mille Or กล่าวว่าผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจการออกแบบที่มี AI เข้ามาช่วยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชื่นชอบการผสมผสานเทคโนโลยียุคใหม่กับงานฝีมือแบบดั้งเดิม ความแปลกใหม่ที่ได้จากคำแนะนำของ AI อยู่ที่ความสามารถในการผสมผสานองค์ประกอบในแนวทางใหม่ จนทำให้ได้งานออกแบบที่ความเฉพาะตัวตามความต้องการของแต่ละบุคคลสูง โดยรับรองว่าแต่ละชิ้นจะสะท้อนตัวตนของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง

ความสมดุลทางศิลปะ

        Shiyamali Paranirupasingam ผู้ก่อตั้งแบรนด์เครื่องประดับมุก L’Amour Pearls ได้รับเอาเทคโนโลยี AI เข้าไปใช้กับธุรกิจของเธอ โดยเริ่มตั้งแต่ Chatbot และแคมเปญอีเมลที่ขับเคลื่อนโดย AI ไปจนถึงฟีเจอร์ AR สำหรับทดลองสวมใส่เครื่องประดับในร้านค้าออนไลน์ 

        Paranirupasingam เห็นว่า การบูรณาการ AI เข้ากับการออกแบบเครื่องประดับสร้างโอกาสที่น่าตื่นเต้นแต่ก็ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรักษาจริยธรรมทางศิลปะเอาไว้ โดย AI ควรจะช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์มากกว่าเข้ามาแทนที่ โดยการนำเสนอแรงบันดาลใจขณะที่ปล่อยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการออกแบบไว้กับมนุษย์ เทคโนโลยีสามารถสร้างการออกแบบโดยยึดตามรูปแบบและข้อมูล แต่อาจจะขาดการเชื่อมโยงทางอารมณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชิ้นงานที่ทำด้วยมือ จนอาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นสูตรสำเร็จ 

        อีกทั้งการพึ่งพา AI มากจนเกินไปและการพึ่งพาชุดข้อมูลที่กว้างขวางอาจจำกัดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การร่วมมือกันในหมู่นักออกแบบ ช่างฝีมือ และผู้ผลิต ทำให้แน่ใจได้ว่างานออกแบบที่สร้างโดย AI จะใช้ได้จริงและมีมาตรฐานช่างฝีมือแบบดั้งเดิม 

        สำหรับธุรกิจเครื่องประดับมุกนั้น เนื่องด้วยการผลิตมุกแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาแรงงานเป็นหลัก AI จึงสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพ และความยั่งยืนภายในอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AI มีศักยภาพในการจัดระดับและการคัดแยกมุก รวมไปถึงการเพาะเลี้ยงหอยมุก 

เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

        Shah จาก L’Dezen ยังได้ใช้ประโยชน์จาก AI ในการดำเนินงานและการค้าปลีก ตั้งแต่การใช้ AR เพื่อทดลองสวมใส่เครื่องประดับ ไปจนถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และปรับปรุงความสามารถในการผลิต การปฏิบัติงานในหน้าที่ที่เป็นกิจวัตรโดยอัตโนมัติช่วยให้นักออกแบบสามารถจดจ่ออยู่กับการสร้างสรรค์มากขึ้นโดยไม่ต้องพะวงเรื่องงานบริหาร 

        ขณะเดียวกัน AI ก็ยังช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าของลูกค้า การวิจัยที่มี AI ช่วยทำให้ Shah ตัดสินใจที่จะไม่เข้าสู่แวดวงเพชรสังเคราะห์ ขณะที่การศึกษาความต้องการของลูกค้าที่มีต่ออัญมณีและโลหะมีค่าทำให้เกิดคอลเลกชันที่ใช้ทองรีไซเคิล

        อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีมาพร้อมกับความท้าทาย ผู้ประกอบการเครื่องประดับต้องรับรองความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ Machine-Learning ผู้ประกอบการควรจะดูแลปกป้องไม่ให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาโดยการเพิ่มความเป็นต้นฉบับอย่างเพียงพอให้ชิ้นงานในขั้นตอนสุดท้าย นอกเหนือจากมาตรการอื่นๆ AI เองก็มาพร้อมกับการเรียนรู้ที่ยากลำบาก ทำให้จำเป็นต้องมีทีมที่เข้าใจทั้งงานออกแบบเครื่องประดับและเทคโนโลยี  

        ทั้งนี้ Shah มีความกระตือรือร้นที่จะแบ่งปันการเรียนรู้ของเธอ โดยได้โพสต์รายการ prompt ใน ChatGPT ของเธอที่ใช้ได้ผลจริงและ “ใช้บ่อย” ถึง 200 รายการไว้บนเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปปรับใช้ในแคมเปญการตลาดของตนเองได้

        Atelier Mille Or ก็ดำเนินการเกี่ยวกับ AI อย่างเต็มตัว โดยการพัฒนาระบบเฉพาะอย่างแอพลิเคชัน “Professeur Joaillerie” ที่ช่วยให้คำแนะนำทางเทคนิคและแนวปฏิบัติที่ดีแก่ช่างฝีมือรุ่นใหม่ในการผลิตเครื่องประดับ รวมถึงยังได้นำเสนอหลักสูตรการออกแบบเครื่องประดับด้วย AI ซึ่งครอบคลุมพื้นฐานด้าน AI ในการออกแบบ แอพลิเคชันเชิงปฏิบัติการ และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ หลักสูตรที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือหลักสูตร 20 ชั่วโมงว่าด้วยการใช้เครื่องมือ AI ต่างๆ 


แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

มกราคม 2568



เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site