ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
มหากาพย์อัญมณีต้องคำสาป เพชรโคอินัวร์
May 5, 2020
1465
views
5
shares
ราชวงศ์อังกฤษเป็นราชวงศ์ซึ่งได้ครอบครองเพชรและอัญมณีล้ำค่าชิ้นสำคัญที่มีชื่อเสียงไว้มากที่สุดในโลก หนึ่งในนั้นได้แก่ โคอินัวร์ (Koh-I-Noor) เพชรเจียระไนขนาด 108.93 กะรัต เจ้าโคตรเพชรเม็ดนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน พ่วงมาด้วยตำนานเล่าขานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของคำสาปที่ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นของคู่กันในบรรดาโคตรเพชรพลอยทั้งหลาย รวมถึงการยักย้ายถ่ายมือผู้ถือครองหลายต่อหลายครั้งและตกเป็นสมบัติภายใต้การปกครองของหลายราชวงศ์ ก่อนจะมาหยุดอยู่ที่อังกฤษ ดินแดนที่ได้ชื่อว่าพระอาทิตย์ไม่เคยลับขอบฟ้า
เพชรโคอินัวร์
ภาพจาก: Gem Select (https://www.gemselect.com)
มีตำนานเล่าขานกันถึงที่มาของโคตรเพชรเม็ดนี้ว่า มันถูกขโมยมาจากพระกฤษณะ หนึ่งในเทพซึ่งเป็นที่เคารพบูชาในศาสนาฮินดู และนี่จึงเป็นที่มาของคำสาปที่ว่า....
“บุรุษใดที่ได้ครอบครองเพชรเม็ดนี้ ผู้นั้นจะได้ครองโลก หากแต่จะต้องพานพบกับหายนะอันใหญ่หลวง... มีเพียงเทพเจ้า และสตรีเท่านั้น ที่จะแคล้วคลาดจากคำสาปนี้”
ชื่อของเพชร โคอินัวร์ (Koh-I-Noor) มาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่าหุบเขาแห่งแสงสว่าง (Mountain of Light) ต้นกำเนิดของเจ้าเพชรเม็ดนี้ยังคงคลุมเคลือและเป็นปริศนาที่ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด บ้างก็ว่ามันถูกพบที่เหมืองเพชรในรัฐอานธรประเทศ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย บ้างก็ว่ามันถูกพบบริเวณสันดอนของแม่น้ำโกทาวารี (Godavari) ทางตอนกลางของประเทศอินเดีย โดยเมื่อแรกพบมันมีขนาดใหญ่ถึงกว่า 186 กะรัต
พระเจ้าชาห์ จาฮาน มหาราชาแห่งราชวงศ์โมกุล ผู้สร้างทัช มาฮาล มหาอนุสรณ์สถานแห่งความรัก ก็เคยเป็นผู้หนึ่งที่ได้ครอบครองเพชรเม็ดนี้ โดยมันเป็นหนึ่งในอัญมณีล้ำค่าที่ถูกประดับตกแต่งอยู่บนบัลลังก์นกยูง (Peacock Throne) อันโด่งดัง สุดท้ายชะตากรรมของพระเจ้าชาห์ จาฮาน ก็จบลงด้วยความเศร้าสลดอย่างที่เราทราบกันดี จากนั้นเพชรโคอินัวร์ก็ถูกเปลี่ยนมือไปสู่ผู้ปกครองในดินแดนต่างๆ ทั้งเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และย้อนกลับมายังมหาราชาแห่งรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย อีกหลายพระองค์ โดยการเปลี่ยนมือแต่ละครั้งมักมาพร้อมกับสงคราม การแย่งชิง และจบลงด้วยโศกนาฎกรรม หรือนี่จะเป็นไปตามคำสาปที่ได้ว่าไว้
ต่อมาในปี 1851 ซึ่งเป็นยุคที่อินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เพชรโคอินัวร์ได้ถูกส่งไปยังอังกฤษ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแก่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งราชวงศ์อังกฤษนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
มันได้ถูกนำไปเจียระไนใหม่โดยช่างเจียระไนเพชรชาวดัตช์เพื่อให้ส่องประกายดีขึ้น ภายหลังการเจียระไนครั้งนั้นส่งผลให้เพชรโคอินัวร์มีขนาดลดลงเหลือ 108.93 กะรัต สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงโปรดเพชรเม็ดนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยทรงนำไปทำเป็นเข็มกลัดและมักนำมาตกแต่งบนฉลองพระองค์อยู่เสมอ
ภาพถ่ายของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งอังกฤษ ขณะทรงเข็มกลัดที่ตกแต่งด้วยเพชรโคอินัวร์
ถ่ายภาพโดย Alexander Bassano (1882)
ภาพจาก: National Portrait Gallery, London (https://www.npg.org.uk)
ในปี 1937 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร เพชรโคอินัวร์ได้ถูกนำไปประดับบนมงกุฎของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ* (พระราชชนนีของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร) ปัจจุบันเพชรโคอินัวร์และมงกุฎของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ถูกนำมาจัดแสดงให้ผู้คนจากทั่วโลกได้แวะเวียนเข้าไปทักทายและชื่นชมความสวยงาม ณ หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London)
มงกุฎของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี (Queen Elizabeth, The Queen Mother)
ซึ่งประดับด้วยเพชรโคอินัวร์ หนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร
ภาพจาก: https://www.royalcollection.org.uk
เป็นที่น่าแปลกใจว่านับตั้งแต่เพชรโคอินัวร์ตกอยู่ในความครอบครองของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ล่วงมาจนถึงสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ก็ไม่เคยปรากฎเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ อย่างเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งอดีต คำสาปของเพชรโคอินัวร์จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่... ยากที่จะพิสูจน์
เพชรโคอินัวร์
ภาพจาก: Gem Select (https://www.gemselect.com)
มีตำนานเล่าขานกันถึงที่มาของโคตรเพชรเม็ดนี้ว่า มันถูกขโมยมาจากพระกฤษณะ หนึ่งในเทพซึ่งเป็นที่เคารพบูชาในศาสนาฮินดู และนี่จึงเป็นที่มาของคำสาปที่ว่า....
“บุรุษใดที่ได้ครอบครองเพชรเม็ดนี้ ผู้นั้นจะได้ครองโลก หากแต่จะต้องพานพบกับหายนะอันใหญ่หลวง... มีเพียงเทพเจ้า และสตรีเท่านั้น ที่จะแคล้วคลาดจากคำสาปนี้”
ชื่อของเพชร โคอินัวร์ (Koh-I-Noor) มาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่าหุบเขาแห่งแสงสว่าง (Mountain of Light) ต้นกำเนิดของเจ้าเพชรเม็ดนี้ยังคงคลุมเคลือและเป็นปริศนาที่ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด บ้างก็ว่ามันถูกพบที่เหมืองเพชรในรัฐอานธรประเทศ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย บ้างก็ว่ามันถูกพบบริเวณสันดอนของแม่น้ำโกทาวารี (Godavari) ทางตอนกลางของประเทศอินเดีย โดยเมื่อแรกพบมันมีขนาดใหญ่ถึงกว่า 186 กะรัต
พระเจ้าชาห์ จาฮาน มหาราชาแห่งราชวงศ์โมกุล ผู้สร้างทัช มาฮาล มหาอนุสรณ์สถานแห่งความรัก ก็เคยเป็นผู้หนึ่งที่ได้ครอบครองเพชรเม็ดนี้ โดยมันเป็นหนึ่งในอัญมณีล้ำค่าที่ถูกประดับตกแต่งอยู่บนบัลลังก์นกยูง (Peacock Throne) อันโด่งดัง สุดท้ายชะตากรรมของพระเจ้าชาห์ จาฮาน ก็จบลงด้วยความเศร้าสลดอย่างที่เราทราบกันดี จากนั้นเพชรโคอินัวร์ก็ถูกเปลี่ยนมือไปสู่ผู้ปกครองในดินแดนต่างๆ ทั้งเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และย้อนกลับมายังมหาราชาแห่งรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย อีกหลายพระองค์ โดยการเปลี่ยนมือแต่ละครั้งมักมาพร้อมกับสงคราม การแย่งชิง และจบลงด้วยโศกนาฎกรรม หรือนี่จะเป็นไปตามคำสาปที่ได้ว่าไว้
ต่อมาในปี 1851 ซึ่งเป็นยุคที่อินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เพชรโคอินัวร์ได้ถูกส่งไปยังอังกฤษ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแก่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งราชวงศ์อังกฤษนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
มันได้ถูกนำไปเจียระไนใหม่โดยช่างเจียระไนเพชรชาวดัตช์เพื่อให้ส่องประกายดีขึ้น ภายหลังการเจียระไนครั้งนั้นส่งผลให้เพชรโคอินัวร์มีขนาดลดลงเหลือ 108.93 กะรัต สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงโปรดเพชรเม็ดนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยทรงนำไปทำเป็นเข็มกลัดและมักนำมาตกแต่งบนฉลองพระองค์อยู่เสมอ
ภาพถ่ายของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งอังกฤษ ขณะทรงเข็มกลัดที่ตกแต่งด้วยเพชรโคอินัวร์
ถ่ายภาพโดย Alexander Bassano (1882)
ภาพจาก: National Portrait Gallery, London (https://www.npg.org.uk)
ในปี 1937 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร เพชรโคอินัวร์ได้ถูกนำไปประดับบนมงกุฎของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ* (พระราชชนนีของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร) ปัจจุบันเพชรโคอินัวร์และมงกุฎของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ถูกนำมาจัดแสดงให้ผู้คนจากทั่วโลกได้แวะเวียนเข้าไปทักทายและชื่นชมความสวยงาม ณ หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London)
มงกุฎของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี (Queen Elizabeth, The Queen Mother)
ซึ่งประดับด้วยเพชรโคอินัวร์ หนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร
ภาพจาก: https://www.royalcollection.org.uk
เป็นที่น่าแปลกใจว่านับตั้งแต่เพชรโคอินัวร์ตกอยู่ในความครอบครองของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ล่วงมาจนถึงสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ก็ไม่เคยปรากฎเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ อย่างเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งอดีต คำสาปของเพชรโคอินัวร์จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่... ยากที่จะพิสูจน์
“บุรุษใดที่ได้ครอบครองเพชรเม็ดนี้ ผู้นั้นจะได้ครองโลก
หากแต่จะต้องพานพบกับหายนะอันใหญ่หลวง...
มีเพียงเทพเจ้า และสตรีเท่านั้น ที่จะแคล้วคลาดจากคำสาปนี้”
หากแต่จะต้องพานพบกับหายนะอันใหญ่หลวง...
มีเพียงเทพเจ้า และสตรีเท่านั้น ที่จะแคล้วคลาดจากคำสาปนี้”
*ภายหลังสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี (Queen Elizabeth, The Queen Mother)
ข้อมูลอ้างอิง
1. The Koh-I-Noor Diamond. Worthy. https://www.worthy.com/famous-diamonds/the-koh-i-noor-diamond
2. The Koh-I-Noor Diamond: A jewel that is pride of British Crown. Diamant-Gems. https://www.diamant-gems.com/en/the-koh-i-noor-diamond/
3. เปิดตำนานโคอินัวร์ เพชรอื้อฉาวของโลก. BBC News (ประเทศไทย). (9 ธันวาคม 2559).https://www.bbc.com/thai/international-38263328
2. The Koh-I-Noor Diamond: A jewel that is pride of British Crown. Diamant-Gems. https://www.diamant-gems.com/en/the-koh-i-noor-diamond/
3. เปิดตำนานโคอินัวร์ เพชรอื้อฉาวของโลก. BBC News (ประเทศไทย). (9 ธันวาคม 2559).https://www.bbc.com/thai/international-38263328