สหรัฐฯ สั่งระงับสิทธิ GSP สินค้าเครื่องประดับไทย ตั้งแต่ 25 เมษายน 2563
Oct 28, 2019
2650
views
0
share
เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐอเมริกามีคำสั่งให้ระงับข้อตกลงตามมาตรการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับสินค้าบางชนิดที่นำเข้าจากประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ภายหลังทางการไทยไม่สามารถยกระดับสิทธิแรงงานให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ใน 6 เดือนข้างหน้า หรือภายในวันที่ 25 เมษายน 2563 ส่งผลกระทบต่อสินค้าไทยที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงราว 1 ใน 3 ส่วน คิดเป็นมูลค่ารวม 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 39,000 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับด้วย
ปัจจุบันไทยได้รับการต่อสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ในกลุ่มสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งมีผลบังคับใช้จนถึงปลายปี 2563 ทำให้การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐฯ มีอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 เกือบทุกรายการ ยกเว้นพิกัด 7113.11.50 เครื่องประดับเงินซึ่งมีมูลค่าเกินกว่าโหล/ชิ้นละ 18 เหรียญสหรัฐฯ และพิกัด 7113.19.50 เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองคำหรือแพลทินัม ที่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5.0 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ แต่จากการระงับสิทธิ GSP ดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้สินค้าไทย จำนวน 22 รายการย่อย* ใน 4 สินค้าหลักได้แก่ พิกัด 7113 เครื่องประดับแท้ พิกัด 7114 เครื่องทองหรือเครื่องเงิน พิกัด 7116 ของทำด้วยไข่มุก และรัตนชาติ รวมถึงพิกัด 7117 เครื่องประดับเทียม ที่จะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2563 เป็นต้นไปจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ ซึ่งปัจจุบันภาษีนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยไปยังสหรัฐฯ ในอัตราปกติมีอัตราต่ำสุดคือ ร้อยละ 0 และอัตราสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 13.5
สรุปได้ดังตารางด้านล่างนี้
1) การนำเข้าสินค้าในหมวดอัญมณี(เพชร พลอยสี และไข่มุก) ซึ่งมีอัตราภาษีนำเข้าปกติเป็น 0 จึงไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ด้วยมูลค่านำเข้าจากไทย 364.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.27 หรือคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 26.88 ของมูลค่านำเข้ารวมจากไทยทั้งหมด
2) เครื่องประดับแท้ ซึ่งได้ถูกตัดสิทธิ GSP ไปหลายปีแล้ว 2 พิกัดคือ พิกัด 7113.11.50 เครื่องประดับเงินซึ่งมีมูลค่าเกินกว่าโหล/ชิ้นละ 18 เหรียญสหรัฐฯ และพิกัด 7113.19.50 เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองคำหรือแพลทินัม ยังเป็นสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าการนำเข้ารวมเป็นมูลค่า 831.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 61.41 ของมูลค่านำเข้ารวมทั้งหมด โดยในส่วนของสินค้าเครื่องประดับเงินนั้น สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยมูลค่า 544.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.13 ซึ่งแม้จะไม่ได้รับสิทธิ GSP แล้วแต่ไทยก็ยังคงสามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ส่วนการนำเข้าเครื่องประดับทองคำหรือแพลทินัม มีมูลค่า 287.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.62 ซึ่งเป็นรองคู่แข่งหลักในตลาดอย่างอินเดียและจีน
3) สินค้าไทยที่จะถูกระงับสิทธิ GSP อีกจำนวน 22 รายการย่อย ใน 4 สินค้าหลัก ในปี 2561 มีมูลค่านำเข้าไปยังสหรัฐฯ รวม 111.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 8.20 ของมูลค่านำเข้ารวมทั้งหมด จะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกตินับตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2563 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้การส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ของไทยมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 6.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากสินค้าไทยกลุ่มนี้จะถูกเก็บภาษีนำเข้าสูงขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.79 จึงอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
ฉะนั้น การถูกระงับสิทธิ GSP ดังกล่าวที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้านั้นจะทำให้ความได้เปรียบด้านต้นทุนภาษีของไทยหมดไป ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าค่อนข้างมากจะทำให้สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดสหรัฐฯ ดังนั้น การรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงผู้ส่งออกไทยควรกระชับความสัมพันธ์กับผู้นำเข้าพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการส่งเสริมการส่งออกและการตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาดนี้ไว้
ปัจจุบันไทยได้รับการต่อสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ในกลุ่มสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งมีผลบังคับใช้จนถึงปลายปี 2563 ทำให้การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐฯ มีอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 เกือบทุกรายการ ยกเว้นพิกัด 7113.11.50 เครื่องประดับเงินซึ่งมีมูลค่าเกินกว่าโหล/ชิ้นละ 18 เหรียญสหรัฐฯ และพิกัด 7113.19.50 เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองคำหรือแพลทินัม ที่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5.0 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ แต่จากการระงับสิทธิ GSP ดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้สินค้าไทย จำนวน 22 รายการย่อย* ใน 4 สินค้าหลักได้แก่ พิกัด 7113 เครื่องประดับแท้ พิกัด 7114 เครื่องทองหรือเครื่องเงิน พิกัด 7116 ของทำด้วยไข่มุก และรัตนชาติ รวมถึงพิกัด 7117 เครื่องประดับเทียม ที่จะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2563 เป็นต้นไปจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ ซึ่งปัจจุบันภาษีนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยไปยังสหรัฐฯ ในอัตราปกติมีอัตราต่ำสุดคือ ร้อยละ 0 และอัตราสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 13.5
สรุปได้ดังตารางด้านล่างนี้
ที่มา: http://www.worldtariff.com
ทั้งนี้ ในปี 2561 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยรวมเป็นมูลค่า 1,354.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.25 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยแบ่งเป็น1) การนำเข้าสินค้าในหมวดอัญมณี(เพชร พลอยสี และไข่มุก) ซึ่งมีอัตราภาษีนำเข้าปกติเป็น 0 จึงไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ด้วยมูลค่านำเข้าจากไทย 364.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.27 หรือคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 26.88 ของมูลค่านำเข้ารวมจากไทยทั้งหมด
2) เครื่องประดับแท้ ซึ่งได้ถูกตัดสิทธิ GSP ไปหลายปีแล้ว 2 พิกัดคือ พิกัด 7113.11.50 เครื่องประดับเงินซึ่งมีมูลค่าเกินกว่าโหล/ชิ้นละ 18 เหรียญสหรัฐฯ และพิกัด 7113.19.50 เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองคำหรือแพลทินัม ยังเป็นสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าการนำเข้ารวมเป็นมูลค่า 831.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 61.41 ของมูลค่านำเข้ารวมทั้งหมด โดยในส่วนของสินค้าเครื่องประดับเงินนั้น สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยมูลค่า 544.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.13 ซึ่งแม้จะไม่ได้รับสิทธิ GSP แล้วแต่ไทยก็ยังคงสามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ส่วนการนำเข้าเครื่องประดับทองคำหรือแพลทินัม มีมูลค่า 287.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.62 ซึ่งเป็นรองคู่แข่งหลักในตลาดอย่างอินเดียและจีน
3) สินค้าไทยที่จะถูกระงับสิทธิ GSP อีกจำนวน 22 รายการย่อย ใน 4 สินค้าหลัก ในปี 2561 มีมูลค่านำเข้าไปยังสหรัฐฯ รวม 111.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 8.20 ของมูลค่านำเข้ารวมทั้งหมด จะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกตินับตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2563 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้การส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ของไทยมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 6.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากสินค้าไทยกลุ่มนี้จะถูกเก็บภาษีนำเข้าสูงขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.79 จึงอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
ฉะนั้น การถูกระงับสิทธิ GSP ดังกล่าวที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้านั้นจะทำให้ความได้เปรียบด้านต้นทุนภาษีของไทยหมดไป ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าค่อนข้างมากจะทำให้สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดสหรัฐฯ ดังนั้น การรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงผู้ส่งออกไทยควรกระชับความสัมพันธ์กับผู้นำเข้าพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการส่งเสริมการส่งออกและการตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาดนี้ไว้
* สินค้าอัญมณีและเครี่องประดับไทยจำนวน 22 รายการย่อยที่ถูกระงับสิทธิ GSP รายละเอียดตามเว็บไซต์ https://ustr.gov/sites/
default/files/files/gsp/Products_to_be_removed_from_GSP_eligibility_for_Thailand.pdf
default/files/files/gsp/Products_to_be_removed_from_GSP_eligibility_for_Thailand.pdf
ข้อมูลอ้างอิง
1. “สหรัฐระงับสิทธิพิเศษสินค้าไทย เฉียดสี่หมื่นล้าน พาณิชย์เผย ปมโดนแบน!” หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 26 ตุลาคม 2562 จากเว็บไซต์ https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_3003973.
2. “Thailand seeks clarity on scrapping of US trade preferences” Bangkok Post. Retrieved October 26, 2019, from https://www.bangkokpost.com/business/1780229/trump-suspends-duty-free-trade-for-some-thai-goods.
2. “Thailand seeks clarity on scrapping of US trade preferences” Bangkok Post. Retrieved October 26, 2019, from https://www.bangkokpost.com/business/1780229/trump-suspends-duty-free-trade-for-some-thai-goods.