ห้าวิธีสร้างความน่าเชื่อถือทางจริยธรรมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ

Jul 30, 2020
2635 views
1 share

เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยผู้บริโภครุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากบริษัทซึ่งสนับสนุนประเด็นทางด้านจริยธรรมทางการค้า ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ตนเองให้ความสนใจ ซึ่งในทางตรงกันข้าม ผู้บริโภคอาจปฏิเสธที่จะซื้อสินค้าจากบริษัทซึ่งมีแนวทางจริยธรรมไม่ตรงกับความเชื่อของตน แม้ว่าไม่มีตัวเลือกอื่นแล้วก็ตาม ดังนั้น เพื่อดึงดูดผู้บริโภคและเพิ่มยอดขายสินค้าเครื่องประดับอัญมณี จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ขายจะต้องแสดงให้เห็นว่าตนเองมีหลักฐานอ้างอิงด้านจริยธรรม (Ethical Credential) ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ามีเหตุผลที่จะเลือกซื้อสินค้าจากร้านของตนแทนที่จะเลือกร้านของคู่แข่ง ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับห้าข้อในการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ซื้อ


ที่มา: https://fashionhedge.com/

 1. รู้ว่าลูกค้าต้องการรู้

            เป็นเรื่องยากที่ผู้ขายจะรู้ได้ว่าผู้ซื้อคนไหนสนใจหลักการของบริษัท แม้ผู้ขายเกรงว่าอาจเสียยอดขายไปหากพยายามให้ข้อมูลที่ลูกค้ารายนั้นๆ ไม่ต้องการ แต่ถ้ากิจการนั้นดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้รับหลักฐานอ้างอิงด้านจริยธรรม ก็ควรเผยแพร่ข้อมูลเรื่องนี้ด้วยโดยไม่ต้องกังวลว่าจะให้ข้อมูลแก่ลูกค้ามากเกินไป เพราะการไม่ให้ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการกลับจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับอัญมณีมากกว่า เพราะในยุคนี้ผู้คนหันมาตื่นตัวต่อประเด็นต่างๆ และลูกค้าส่วนใหญ่มักมีแนวโน้มที่จะสนใจหลักการทางสังคมและจริยธรรมของธุรกิจ โดยจะศึกษาข้อมูลทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ 

            ทั้งนี้ ผู้ขายควรพึ่งทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า หากต้องการให้ธุรกิจเครื่องประดับประสบความสำเร็จในยุคนี้ ผู้ขายจะต้องรู้จักลูกค้าของตน และรู้ว่าจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร
 

2. สื่อสารให้ชัดเจน

            ถ้าผู้ขายเครื่องประดับไม่บอกผู้ซื้อว่าแบรนด์ของตนผลักดันโครงการด้านจริยธรรมเรื่องใดอยู่ หรือทำประโยชน์ในเรื่องใดบ้าง กิจการของคุณก็จะมีความโดดเด่นลดน้อยลงไป เพราะผู้บริโภครุ่นใหม่มีความรู้เพิ่มขึ้น และสนใจข้อมูลในประเด็นเหล่านี้มากกว่าแต่ก่อน คนรุ่นใหม่ไม่เพียงต้องการให้ผู้ขายอธิบายให้ฟัง แต่ต้องแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานผลักดันอย่างต่อเนื่องด้วย ดังนั้น ผู้ขายควรสื่อสารให้ชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมผลักดันด้านจริยธรรมทางการค้า ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การร่วมพัฒนาชุมชน หรือมีส่วนร่วมในงานการกุศล ด้วยการให้ข้อมูลที่เข้าใจง่ายและสามารถเข้าถึงได้ 

3. พัฒนาชุมชนท้องถิ่น

            ในแง่ความน่าเชื่อถือทางจริยธรรม คำถามสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ใส่ใจเรื่องอะไร แต่อยู่ที่ว่าลูกค้าของคุณใส่ใจเรื่องอะไร ข้อควรพิจารณาด้านจริยธรรมอาจครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลาย ตั้งแต่ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปจนถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน งานการกุศล และแรงงานสัมพันธ์ อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้นๆ ที่ผู้บริโภคมักพิจารณาเมื่อต้องจ่ายเงินซื้อเครื่องประดับ เพราะผู้บริโภคต้องการให้สินค้าที่ตนซื้อได้รับการออกแบบ ผลิต และส่งมอบถึงมือผู้บริโภคโดยมีความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและไม่ส่งเสริมความขัดแย้ง ดังนั้น ผู้บริโภคจึงต้องการทราบว่าผู้ขายมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างไรบ้าง

            De Beers เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการสร้างความตระหนักรู้และตอบแทนสู่ชุมชน บริษัทผู้ทำเหมืองแห่งนี้ไม่เพียงจ้างงานคนงานท้องถิ่นเป็นสัดส่วนสูง แต่ยังได้จัดหาทุนการศึกษา สนับสนุนโครงการด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะ สร้างโครงสร้างพื้นฐาน และช่วยเหลือสัตว์ป่าในพื้นที่อีกด้วย

4. ทุกก้าวมีความหมาย

            แม้ว่าการดำเนินการในประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจของลูกค้าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การเริ่มต้นลงมือทำ ผู้ขายสามารถนำเสนอแนวทางปฏิบัติต่างๆ ซึ่งลงมือทำได้ง่าย แต่มีความหมายมากสำหรับผู้บริโภค อย่างการเปิดเผยแหล่งที่มาของโลหะและอัญมณีหรือการระบุว่าอัญมณีผ่านการปรับปรุงคุณภาพมาหรือไม่นั้นนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ลูกค้ามักต้องการทราบถึงความโปร่งใสในทุกรูปแบบ และการที่ลูกค้ารู้ว่าห่วงโซ่อุปทานของคุณมีความถูกต้องก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะความน่าเชื่อถือทางจริยธรรมขึ้นอยู่กับการแสดงความมุ่งมั่นทุ่มเทและความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ซึ่งอาจเป็นแผนการระยะยาวที่ต้องอาศัยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

5. ใช้ช่องทางสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพ

            ผู้ขายจะต้องใช้ประโยชน์จากการนำเสนอแนวทางเชิงจริยธรรมผ่านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มลูกค้าในวงกว้าง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้นำเสนอข้อมูลในหลากหลายช่องทาง โดยสื่อโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ของผู้ขายเป็นช่องทางที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นช่องทางที่ไม่รบกวนลูกค้า และผู้บริโภคก็ระบุว่าตนเองมักค้นข้อมูลเกี่ยวกับกิจการผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนจะจ่ายเงินซื้อเครื่องประดับอัญมณีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันการจัดแสดงในร้านก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะให้ข้อมูลได้โดยไม่ยัดเยียดเกินไป


           ฉะนั้น ผู้ขายควรประชาสัมพันธ์หลักฐานอ้างอิงด้านจริยธรรม หรือการมีส่วนร่วมในการผลักดันกิจกรรมด้านจริยธรรมผ่านหลายช่องทางด้วยวิธีการต่างๆ ให้มากที่สุด หากมีหน้าร้านสำหรับจัดจำหน่ายสินค้า ก็อาจทำป้ายแสดงข้อมูลติดเอาไว้ หรือถ้ามีช่องทางออนไลน์ก็สามารถแชร์ข้อมูลทางเว็บไซต์และสื่อโซเชียลมีเดีย

            ทว่าอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการอบรมให้ความรู้แก่พนักงานขาย เพื่อให้พนักงานส่งต่อข้อมูลไปยังผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สามารถสะท้อนให้เห็นประเด็นที่แบรนด์ให้ความสำคัญ

           ในปัจจุบันผู้บริโภคสมควรได้รับข้อมูลที่เชื่อถือได้ และความไว้วางใจก็เป็นหัวใจของการซื้อเครื่องประดับ
อัญมณี ผู้ขายทุกรายล้วนมีเอกลักษณ์แตกต่างกันเช่นเดียวกับลูกค้าที่มีความสนใจแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือผู้ขายทุกรายต้องเตรียมพร้อมตอบคำถามของลูกค้าที่สืบค้นข้อมูลมาเป็นอย่างดี มีการศึกษา มีความรู้ และใส่ใจในประเด็นสำคัญๆ ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
 

ข้อมูลอ้างอิง


“Tips for Promoting Ethical Credentials.” by Leah Meirovich. Retrieved June 24, 2020 from https://www.diamonds.net/News/NewsItem.aspx?ArticleID=64542&ArticleTitle=Tips+for+Promoting+Ethical+Credentials.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ห้าวิธีสร้างความน่าเชื่อถือทางจริยธรรมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ

Jul 30, 2020
2635 views
1 share

เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยผู้บริโภครุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากบริษัทซึ่งสนับสนุนประเด็นทางด้านจริยธรรมทางการค้า ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ตนเองให้ความสนใจ ซึ่งในทางตรงกันข้าม ผู้บริโภคอาจปฏิเสธที่จะซื้อสินค้าจากบริษัทซึ่งมีแนวทางจริยธรรมไม่ตรงกับความเชื่อของตน แม้ว่าไม่มีตัวเลือกอื่นแล้วก็ตาม ดังนั้น เพื่อดึงดูดผู้บริโภคและเพิ่มยอดขายสินค้าเครื่องประดับอัญมณี จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ขายจะต้องแสดงให้เห็นว่าตนเองมีหลักฐานอ้างอิงด้านจริยธรรม (Ethical Credential) ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ามีเหตุผลที่จะเลือกซื้อสินค้าจากร้านของตนแทนที่จะเลือกร้านของคู่แข่ง ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับห้าข้อในการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ซื้อ


ที่มา: https://fashionhedge.com/

 1. รู้ว่าลูกค้าต้องการรู้

            เป็นเรื่องยากที่ผู้ขายจะรู้ได้ว่าผู้ซื้อคนไหนสนใจหลักการของบริษัท แม้ผู้ขายเกรงว่าอาจเสียยอดขายไปหากพยายามให้ข้อมูลที่ลูกค้ารายนั้นๆ ไม่ต้องการ แต่ถ้ากิจการนั้นดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้รับหลักฐานอ้างอิงด้านจริยธรรม ก็ควรเผยแพร่ข้อมูลเรื่องนี้ด้วยโดยไม่ต้องกังวลว่าจะให้ข้อมูลแก่ลูกค้ามากเกินไป เพราะการไม่ให้ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการกลับจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับอัญมณีมากกว่า เพราะในยุคนี้ผู้คนหันมาตื่นตัวต่อประเด็นต่างๆ และลูกค้าส่วนใหญ่มักมีแนวโน้มที่จะสนใจหลักการทางสังคมและจริยธรรมของธุรกิจ โดยจะศึกษาข้อมูลทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ 

            ทั้งนี้ ผู้ขายควรพึ่งทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า หากต้องการให้ธุรกิจเครื่องประดับประสบความสำเร็จในยุคนี้ ผู้ขายจะต้องรู้จักลูกค้าของตน และรู้ว่าจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร
 

2. สื่อสารให้ชัดเจน

            ถ้าผู้ขายเครื่องประดับไม่บอกผู้ซื้อว่าแบรนด์ของตนผลักดันโครงการด้านจริยธรรมเรื่องใดอยู่ หรือทำประโยชน์ในเรื่องใดบ้าง กิจการของคุณก็จะมีความโดดเด่นลดน้อยลงไป เพราะผู้บริโภครุ่นใหม่มีความรู้เพิ่มขึ้น และสนใจข้อมูลในประเด็นเหล่านี้มากกว่าแต่ก่อน คนรุ่นใหม่ไม่เพียงต้องการให้ผู้ขายอธิบายให้ฟัง แต่ต้องแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานผลักดันอย่างต่อเนื่องด้วย ดังนั้น ผู้ขายควรสื่อสารให้ชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมผลักดันด้านจริยธรรมทางการค้า ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การร่วมพัฒนาชุมชน หรือมีส่วนร่วมในงานการกุศล ด้วยการให้ข้อมูลที่เข้าใจง่ายและสามารถเข้าถึงได้ 

3. พัฒนาชุมชนท้องถิ่น

            ในแง่ความน่าเชื่อถือทางจริยธรรม คำถามสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ใส่ใจเรื่องอะไร แต่อยู่ที่ว่าลูกค้าของคุณใส่ใจเรื่องอะไร ข้อควรพิจารณาด้านจริยธรรมอาจครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลาย ตั้งแต่ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปจนถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน งานการกุศล และแรงงานสัมพันธ์ อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้นๆ ที่ผู้บริโภคมักพิจารณาเมื่อต้องจ่ายเงินซื้อเครื่องประดับ เพราะผู้บริโภคต้องการให้สินค้าที่ตนซื้อได้รับการออกแบบ ผลิต และส่งมอบถึงมือผู้บริโภคโดยมีความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและไม่ส่งเสริมความขัดแย้ง ดังนั้น ผู้บริโภคจึงต้องการทราบว่าผู้ขายมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างไรบ้าง

            De Beers เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการสร้างความตระหนักรู้และตอบแทนสู่ชุมชน บริษัทผู้ทำเหมืองแห่งนี้ไม่เพียงจ้างงานคนงานท้องถิ่นเป็นสัดส่วนสูง แต่ยังได้จัดหาทุนการศึกษา สนับสนุนโครงการด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะ สร้างโครงสร้างพื้นฐาน และช่วยเหลือสัตว์ป่าในพื้นที่อีกด้วย

4. ทุกก้าวมีความหมาย

            แม้ว่าการดำเนินการในประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจของลูกค้าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การเริ่มต้นลงมือทำ ผู้ขายสามารถนำเสนอแนวทางปฏิบัติต่างๆ ซึ่งลงมือทำได้ง่าย แต่มีความหมายมากสำหรับผู้บริโภค อย่างการเปิดเผยแหล่งที่มาของโลหะและอัญมณีหรือการระบุว่าอัญมณีผ่านการปรับปรุงคุณภาพมาหรือไม่นั้นนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ลูกค้ามักต้องการทราบถึงความโปร่งใสในทุกรูปแบบ และการที่ลูกค้ารู้ว่าห่วงโซ่อุปทานของคุณมีความถูกต้องก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะความน่าเชื่อถือทางจริยธรรมขึ้นอยู่กับการแสดงความมุ่งมั่นทุ่มเทและความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ซึ่งอาจเป็นแผนการระยะยาวที่ต้องอาศัยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

5. ใช้ช่องทางสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพ

            ผู้ขายจะต้องใช้ประโยชน์จากการนำเสนอแนวทางเชิงจริยธรรมผ่านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มลูกค้าในวงกว้าง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้นำเสนอข้อมูลในหลากหลายช่องทาง โดยสื่อโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ของผู้ขายเป็นช่องทางที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นช่องทางที่ไม่รบกวนลูกค้า และผู้บริโภคก็ระบุว่าตนเองมักค้นข้อมูลเกี่ยวกับกิจการผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนจะจ่ายเงินซื้อเครื่องประดับอัญมณีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันการจัดแสดงในร้านก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะให้ข้อมูลได้โดยไม่ยัดเยียดเกินไป


           ฉะนั้น ผู้ขายควรประชาสัมพันธ์หลักฐานอ้างอิงด้านจริยธรรม หรือการมีส่วนร่วมในการผลักดันกิจกรรมด้านจริยธรรมผ่านหลายช่องทางด้วยวิธีการต่างๆ ให้มากที่สุด หากมีหน้าร้านสำหรับจัดจำหน่ายสินค้า ก็อาจทำป้ายแสดงข้อมูลติดเอาไว้ หรือถ้ามีช่องทางออนไลน์ก็สามารถแชร์ข้อมูลทางเว็บไซต์และสื่อโซเชียลมีเดีย

            ทว่าอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการอบรมให้ความรู้แก่พนักงานขาย เพื่อให้พนักงานส่งต่อข้อมูลไปยังผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สามารถสะท้อนให้เห็นประเด็นที่แบรนด์ให้ความสำคัญ

           ในปัจจุบันผู้บริโภคสมควรได้รับข้อมูลที่เชื่อถือได้ และความไว้วางใจก็เป็นหัวใจของการซื้อเครื่องประดับ
อัญมณี ผู้ขายทุกรายล้วนมีเอกลักษณ์แตกต่างกันเช่นเดียวกับลูกค้าที่มีความสนใจแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือผู้ขายทุกรายต้องเตรียมพร้อมตอบคำถามของลูกค้าที่สืบค้นข้อมูลมาเป็นอย่างดี มีการศึกษา มีความรู้ และใส่ใจในประเด็นสำคัญๆ ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
 

ข้อมูลอ้างอิง


“Tips for Promoting Ethical Credentials.” by Leah Meirovich. Retrieved June 24, 2020 from https://www.diamonds.net/News/NewsItem.aspx?ArticleID=64542&ArticleTitle=Tips+for+Promoting+Ethical+Credentials.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970