ผู้ประกอบการอินเดียชงรัฐบาล ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่า

Jan 18, 2021
2657 views
8 shares

            เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา The Gem & Jewellery Export Promotion Council (GJEPC) ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย ได้ยื่นเสนอมาตรการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่าต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สำหรับปีงบประมาณ 2021-2022 ซึ่งปีงบประมาณนี้จะเริ่มต้นวันที่ 1 เมษายน 2021 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2022

    ข้อเสนอการลดภาษีของ GJEPC ต่อกระทรวงการคลังมีดังนี้

               - ลดภาษีนำเข้าเพชรที่ตัดหรือเจียระไน จาก 7.5% เป็น 2.5%

              - ลดภาษีนำเข้าโลหะทองคำ เงิน และแพลทินัม จาก 12.5% เป็น 4%

              - ลดภาษีนำเข้าอัญมณีพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนทั้งตัดหรือเจียระไน จาก 7.5% เป็น 2.5% 

            ซึ่งผู้ประกอบการอินเดียมองว่าอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่าที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันระดับโลก และอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการขยายการผลิตของโรงงานท้องถิ่นสำหรับตลาดโลก

            ในส่วนของอัญมณีสังเคราะห์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมศักยภาพและอินเดียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกนั้น  GJEPC เสนอให้ปรับเพิ่มภาษีนำเข้าเพชร Cubic Zirconia (หรือคนไทยมักเรียกว่าเพชรรัสเซีย หรือ CZ) จาก 5% เป็น 15% และเพิ่มภาษีนำเข้าพลอยสีสังเคราะห์จาก 5% เป็น 25% เพื่อป้องกันการเข้ามาแข่งขันของประเทศคู่ค้าอื่น เช่น จีน เป็นต้น


            ทั้งนี้ อินเดียเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย จากสถิติการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ของกรมศุลกากรในระหว่างเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2563 พบว่า อินเดียเป็นตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในอันดับที่ 4 และหากพิจารณาการส่งออกในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่า อินเดีย เป็นตลาดส่งออกในอันดับที่ 3 ของไทย (รองจากสหรัฐอเมริกา และฮ่องกง) และมีมูลค่าขยายตัวสูงถึง 65.37% โดยสินค้าสำคัญที่อินเดียนำเข้าจากไทยล้วนเป็นวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ ได้แก่ เพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ฉะนั้น หากรัฐบาลอินเดียลดภาษีนำเข้าตามข้อเสนอของ GJEPC ก็จะส่งผลดีต่อไทยในการส่งออกสินค้าวัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่าไปยังอินเดียได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น 


ข้อมูลอ้างอิง


1. GJEPC Seeks Cut In Import Duties On Raw Materials To Strengthen Ongoing Revival. Retrieved January 7, 2020 from http://www.businessworld.in/article/GJEPC-Seeks-Cut-In-Import-Duties-On-Raw-Materials-To-Strengthen-Ongoing-Revival/13-12-2020-353215/
2. Gem And Jewellery Exports Industry An Example Of Aatmanirbhar Bharat And Vocal For Local. Retrieved January 7, 2020 from https://www.diamondworld.net/contentview.aspx?item=25301

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ผู้ประกอบการอินเดียชงรัฐบาล ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่า

Jan 18, 2021
2657 views
8 shares

            เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา The Gem & Jewellery Export Promotion Council (GJEPC) ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย ได้ยื่นเสนอมาตรการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่าต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สำหรับปีงบประมาณ 2021-2022 ซึ่งปีงบประมาณนี้จะเริ่มต้นวันที่ 1 เมษายน 2021 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2022

    ข้อเสนอการลดภาษีของ GJEPC ต่อกระทรวงการคลังมีดังนี้

               - ลดภาษีนำเข้าเพชรที่ตัดหรือเจียระไน จาก 7.5% เป็น 2.5%

              - ลดภาษีนำเข้าโลหะทองคำ เงิน และแพลทินัม จาก 12.5% เป็น 4%

              - ลดภาษีนำเข้าอัญมณีพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนทั้งตัดหรือเจียระไน จาก 7.5% เป็น 2.5% 

            ซึ่งผู้ประกอบการอินเดียมองว่าอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่าที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันระดับโลก และอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการขยายการผลิตของโรงงานท้องถิ่นสำหรับตลาดโลก

            ในส่วนของอัญมณีสังเคราะห์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมศักยภาพและอินเดียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกนั้น  GJEPC เสนอให้ปรับเพิ่มภาษีนำเข้าเพชร Cubic Zirconia (หรือคนไทยมักเรียกว่าเพชรรัสเซีย หรือ CZ) จาก 5% เป็น 15% และเพิ่มภาษีนำเข้าพลอยสีสังเคราะห์จาก 5% เป็น 25% เพื่อป้องกันการเข้ามาแข่งขันของประเทศคู่ค้าอื่น เช่น จีน เป็นต้น


            ทั้งนี้ อินเดียเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย จากสถิติการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ของกรมศุลกากรในระหว่างเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2563 พบว่า อินเดียเป็นตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในอันดับที่ 4 และหากพิจารณาการส่งออกในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่า อินเดีย เป็นตลาดส่งออกในอันดับที่ 3 ของไทย (รองจากสหรัฐอเมริกา และฮ่องกง) และมีมูลค่าขยายตัวสูงถึง 65.37% โดยสินค้าสำคัญที่อินเดียนำเข้าจากไทยล้วนเป็นวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ ได้แก่ เพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ฉะนั้น หากรัฐบาลอินเดียลดภาษีนำเข้าตามข้อเสนอของ GJEPC ก็จะส่งผลดีต่อไทยในการส่งออกสินค้าวัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่าไปยังอินเดียได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น 


ข้อมูลอ้างอิง


1. GJEPC Seeks Cut In Import Duties On Raw Materials To Strengthen Ongoing Revival. Retrieved January 7, 2020 from http://www.businessworld.in/article/GJEPC-Seeks-Cut-In-Import-Duties-On-Raw-Materials-To-Strengthen-Ongoing-Revival/13-12-2020-353215/
2. Gem And Jewellery Exports Industry An Example Of Aatmanirbhar Bharat And Vocal For Local. Retrieved January 7, 2020 from https://www.diamondworld.net/contentview.aspx?item=25301

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970