จีไอทีเตือนซื้อไข่มุกเมโล

Feb 19, 2021
694 views
0 share
แหล่งที่มา: เดลินิวส์
หมวดหมู่: การตลาด

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ จีไอที เปิดเผยว่า ขณะนี้มีข่าวการพบมุกเมโลในเมืองไทย ซึ่งมีการตั้งจำหน่ายราคาแพงจำนวนมาก จนอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน หรือไม่มั่นใจ รวมทั้งมิจฉาชีพอาจนำของเลียนแบบซึ่งทำจากเปลือกหอยมาจำหน่ายได้  ดังนั้น จึงขอแนะนำว่า หากไม่มั่นใจว่าเป็นไข่มุกแท้หรือเทียม ให้นำไข่มุกมาตรวจสอบผ่านห้องปฏิบัติการของจีไอทีที่ได้รับความเชื่อถือเพื่อสร้างความมั่นใจผู้บริโภคว่าเป็นของแท้ หรือของเลียนแบบ

"ประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นแหล่งสำคัญของมุกเมโล และมีการพบจำนวนมาก ซึ่งเมื่อไม่กี่วันที่แล้วได้มีเจ้าของมุกเมโล ที่พบมุกโดยบังเอิญจากแถบจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีขนาดใหญ่ถึง 65 กะรัต จึงได้นำมาตรวจสอบกับสถาบันฯ และพบว่าเป็นของแท้ และมีความสวยงามเป็นอัตลักษณ์ของมุกเมโลธรรมชาติ ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อขายขอแนะนำให้มาตรวจสอบเสียก่อนเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ"

นายสุเมธ กล่าวเพิ่มเติมว่า มุกเมโล เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับไข่มุกชนิดอื่น ๆ คือเมื่อมีเศษทรายเล็ก ๆ เข้าไปในตัวของหอยและเกิดการระคายเคือง หอยจะหลั่งสารประกอบคาร์บอเนตมาล้อมรอบสิ่งแปลกปลอมนั้นไว้ มีลักษณะเป็นชั้นผลึกจนกลายเป็นมุกเมโล และปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตได้ด้วยการเพาะเลี้ยงด้วยฝีมือมนุษย์ ทำให้ไข่มุกชนิดนี้ เกิดได้เองตามธรรมชาติเท่านั้น จึงทำให้เป็นของหายากและเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบรรดานักสะสม

สำหรับมุกเมโลที่มีราคาสูงนั้นจะต้องมีสีส้มสดใสที่มีริ้ว เปลวไฟบนผิวที่ชัดเจน สำหรับสีของมุกเมโล มีตั้งแต่สีเหลืองอ่อน สีส้ม ไปจนถึงสีส้มเข้มจนน้ำตาล แต่สีที่ดีที่สุดและสีที่มีมูลค่ามากที่สุดคือ สีส้ม หนึ่งในคุณสมบัติที่น่าสนใจที่สุด คือริ้วลายคล้ายเปลวไฟซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของมุกเมโล มีลักษณะเหมือนกับริ้วของเปลวไฟเป็นคลื่นไปทั่วพื้นผิวของไข่มุก ซึ่งยิ่งถ้ามีเปลวไฟที่เข้มและชัดเจนมากเท่าไร มุกเมโล ก็จะมียิ่งมีค่าและมีราคาสูงมากขึ้น อย่างไรก็ตามด้วยความหายากของมุกชนิดนี้ จึงยังไม่มีมาตรฐานในการประเมินราคามุกเมโล ดังนั้นการตั้งราคาขึ้นอยู่กับบุคคลผู้ครอบครองมุกเม็ดนั้น ๆ แต่ข้อควรระวังคือสีของมุกเมโลสามารถจางลงได้เมื่อโดนแสงแดด เป็นเวลานาน


ข้อมูลอ้างอิง


หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์. ฉบับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


จีไอทีเตือนซื้อไข่มุกเมโล

Feb 19, 2021
694 views
0 share
แหล่งที่มา: เดลินิวส์
หมวดหมู่: การตลาด

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ จีไอที เปิดเผยว่า ขณะนี้มีข่าวการพบมุกเมโลในเมืองไทย ซึ่งมีการตั้งจำหน่ายราคาแพงจำนวนมาก จนอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน หรือไม่มั่นใจ รวมทั้งมิจฉาชีพอาจนำของเลียนแบบซึ่งทำจากเปลือกหอยมาจำหน่ายได้  ดังนั้น จึงขอแนะนำว่า หากไม่มั่นใจว่าเป็นไข่มุกแท้หรือเทียม ให้นำไข่มุกมาตรวจสอบผ่านห้องปฏิบัติการของจีไอทีที่ได้รับความเชื่อถือเพื่อสร้างความมั่นใจผู้บริโภคว่าเป็นของแท้ หรือของเลียนแบบ

"ประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นแหล่งสำคัญของมุกเมโล และมีการพบจำนวนมาก ซึ่งเมื่อไม่กี่วันที่แล้วได้มีเจ้าของมุกเมโล ที่พบมุกโดยบังเอิญจากแถบจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีขนาดใหญ่ถึง 65 กะรัต จึงได้นำมาตรวจสอบกับสถาบันฯ และพบว่าเป็นของแท้ และมีความสวยงามเป็นอัตลักษณ์ของมุกเมโลธรรมชาติ ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อขายขอแนะนำให้มาตรวจสอบเสียก่อนเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ"

นายสุเมธ กล่าวเพิ่มเติมว่า มุกเมโล เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับไข่มุกชนิดอื่น ๆ คือเมื่อมีเศษทรายเล็ก ๆ เข้าไปในตัวของหอยและเกิดการระคายเคือง หอยจะหลั่งสารประกอบคาร์บอเนตมาล้อมรอบสิ่งแปลกปลอมนั้นไว้ มีลักษณะเป็นชั้นผลึกจนกลายเป็นมุกเมโล และปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตได้ด้วยการเพาะเลี้ยงด้วยฝีมือมนุษย์ ทำให้ไข่มุกชนิดนี้ เกิดได้เองตามธรรมชาติเท่านั้น จึงทำให้เป็นของหายากและเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบรรดานักสะสม

สำหรับมุกเมโลที่มีราคาสูงนั้นจะต้องมีสีส้มสดใสที่มีริ้ว เปลวไฟบนผิวที่ชัดเจน สำหรับสีของมุกเมโล มีตั้งแต่สีเหลืองอ่อน สีส้ม ไปจนถึงสีส้มเข้มจนน้ำตาล แต่สีที่ดีที่สุดและสีที่มีมูลค่ามากที่สุดคือ สีส้ม หนึ่งในคุณสมบัติที่น่าสนใจที่สุด คือริ้วลายคล้ายเปลวไฟซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของมุกเมโล มีลักษณะเหมือนกับริ้วของเปลวไฟเป็นคลื่นไปทั่วพื้นผิวของไข่มุก ซึ่งยิ่งถ้ามีเปลวไฟที่เข้มและชัดเจนมากเท่าไร มุกเมโล ก็จะมียิ่งมีค่าและมีราคาสูงมากขึ้น อย่างไรก็ตามด้วยความหายากของมุกชนิดนี้ จึงยังไม่มีมาตรฐานในการประเมินราคามุกเมโล ดังนั้นการตั้งราคาขึ้นอยู่กับบุคคลผู้ครอบครองมุกเม็ดนั้น ๆ แต่ข้อควรระวังคือสีของมุกเมโลสามารถจางลงได้เมื่อโดนแสงแดด เป็นเวลานาน


ข้อมูลอ้างอิง


หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์. ฉบับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970