T Mark เครื่องหมายคุณภาพ ช่วยดันส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย

Apr 19, 2021
2657 views
2 shares

        เนื่องจากการค้าของไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก และสินค้าจะส่งออกได้มาก หากเป็นสินค้าที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ซึ่งตัววัดคุณภาพจะต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจน จึงทำให้เกิดตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark หรือ T Mark ที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อการันตีว่าสินค้าและบริการของไทยมีคุณภาพ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสังคม และการใช้แรงงานที่เป็นธรรม อันจะช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าไทย เพิ่มโอกาสส่งออกไปยังตลาดโลก


ปัจจุบันมีบริษัทผลิตสินค้าและบริการของไทยที่ได้รับตราสัญลักษณ์ T MARK จำนวนทั้งสิ้น 728 บริษัท จาก 8 กลุ่มสินค้าและธุรกิจ ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมอาหารและเกษตร 2) อุตสาหกรรมหนัก 3) อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ 4) อุตสาหกรรมแฟชั่น 5) อุตสาหกรรมอื่นๆ 6) ธุรกิจรักษาพยาบาล 7) ธุรกิจส่งเสริมสุขภาพ และ 8) ธุรกิจบริการการศึกษานานาชาติ

ผู้ประกอบการที่สนใจจะสมัครขอใช้ตราสัญลักษณ์ T Mark จะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติเหล่านี้

        1. เป็นนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกผู้ส่งออก 4 ประเภท ได้แก่ Exporter Lists (EL), Pre-Exporter (Pre-EL), Trading Company (TDC) หรือ Pre Trading Company (Pre-TDC)

        2. ผ่านการรับรองมาตรฐานในประเทศ และ/หรือ มาตรฐานสากลต่างประเทศ โดยผู้ประกอบการธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่จะขอรับตรา T Mark ได้ จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน Buy with Confidence (BWC) จากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (GIT) จึงจะสามารถนำใบรับรองไปยื่นขอรับตรา T Mark จากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้

        3. เป็นสินค้าและบริการที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศ มีการผลิตหรือมีโรงงานที่ไทย หรือมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างแบรนด์เพื่อการส่งออก

        4. ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับ 2 ขึ้นไป จากกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ ISO 14001

        5. ผ่านการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001-2553) ระดับพื้นฐานทั่วไป จากกระทรวงแรงงาน

        6. มีการดำเนินงานที่คำถึงถึงผลกระทบต่อสังคม โดยผู้สมัครจะต้องกรอกแบบฟอร์มประเมินตนเองด้านการดำเนินงานที่คำถึงถึงผลกระทบต่อสังคม ตามหลักเกณฑ์ CSR-DIW โดยจะต้องมีการดำเนินงานตามหลักปฏิบัติของ CSR-DIW ของกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่น้อยกว่า 4 ข้อ (จาก 7 ข้อ)

        7. มีมูลค่าการขายในประเทศย้อนหลัง 3 ปีเฉลี่ยต่อปี ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท หรือ มีมูลค่าการส่งออก 3 ปีย้อนหลังเฉลี่ยต่อปี ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท

        ปัจจุบันผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับที่ได้รับตราสัญลักษณ์ T Mark แล้วมีจำนวน 10 บริษัท อาทิ บริษัท บิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด ธนู อาร์ต แอนด์ดีไซน์ บริษัท พรีเมียร์ จิวเวอรี่ แมนูแฟคเชอริ่ง จำกัด และ บริษัทแพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

        ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถสมัครขอใช้ตราสัญลักษณ์ T Mark ได้ปีละ 2 รอบ (ตุลาคม - มกราคม และ มีนาคม – มิถุนายน) เมื่อได้รับตราสัญลักษณ์เรียบร้อยแล้ว สามารถนำไปติดไว้บนฉลากสินค้าและเผยแพร่เชิงประชาสัมพันธ์ได้ 3 ปี จากนั้นผู้ประกอบการจะต้องไปต่ออายุสมาชิกเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์เอาไว้ สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thailandtrustmark.com

        หลักปฏิบัติของ CSR-DIW ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ การดำเนินการตามกรอบสาระหลัก 7 ประการของมาตรฐาน ISO 26000 ได้แก่

        1) การกำกับดูแลองค์กร (Corporate Governance) ผู้ประกอบการจะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจในเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรมให้แก่บุคลากร พร้อมกันนี้ยังต้องมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ สุจริตต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น คู่ค้า พนักงาน ผู้บริโภค เป็นต้น

        2) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ให้ความเท่าเทียมแก่ผู้ด้อยโอกาสหรือผู้พิการให้มีโอกาสในการทำงาน ซึ่งการเคารพสิทธิมนุษยชนถือเป็นรากฐานของการบริหารงาน เป็นการให้สิทธิแก่ทรัพยากรบุคคลผู้เป็นกำลังในการดำเนินงาน โดยให้การคุ้มครอง เยียวยา ให้มีสิทธิอย่างที่ควรได้

        3) การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor Practice) เน้นการปฏิบัติกับพนักงานหรือแรงงานอย่างเป็นธรรม คุ้มครองด้านความปลอดภัย สุขภาพ สวัสดิการต่างๆ และค่าจ้างที่ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมตามหลักมาตรฐานแรงงาน เป็นต้น

        4) สิ่งแวดล้อม (Environment) ผู้ประกอบการจะต้องให้คำแนะนำ ให้ความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีในการดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงงาน แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนากิจการอันหลีกเลี่ยงต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

        5) การปฏิบัติที่เป็นธรรม (Fair Operating Practice) ผู้ประกอบการจะต้องส่งเสริมการทำงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคัดค้านการทุจริตหรือพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมทั้งหลายรูปแบบ

        6) ความรับผิดชอบผู้บริโภค (Consumers Issue) ผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค แสดงความจริงใจต่อการผลิต เปิดเผยข้อมูลการผลิตอย่างเป็นจริงให้แก่ผู้บริโภค เพื่อให้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ

        7) การมีส่วนร่วมต่อสังคมและชุมชน (Community Involvement and Development)  โดยแนวทางการจัดทำแผนงานร่วมกับสังคมและชุมชน ต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ คือ สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจและขีดความสามารถขององค์กร พนักงานมีส่วนร่วม ชุมชนมีส่วนร่วม และเป็นการดำเนินการมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

        สำหรับรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับหลักปฏิบัติของ CSR-DIW สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://ecocenter.diw.go.th/images/3Metricinformation/6/CSR-DIW2560.pdf


ข้อมูลอ้างอิง


www.thailandtrustmark.com

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


T Mark เครื่องหมายคุณภาพ ช่วยดันส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย

Apr 19, 2021
2657 views
2 shares

        เนื่องจากการค้าของไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก และสินค้าจะส่งออกได้มาก หากเป็นสินค้าที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ซึ่งตัววัดคุณภาพจะต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจน จึงทำให้เกิดตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark หรือ T Mark ที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อการันตีว่าสินค้าและบริการของไทยมีคุณภาพ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสังคม และการใช้แรงงานที่เป็นธรรม อันจะช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าไทย เพิ่มโอกาสส่งออกไปยังตลาดโลก


ปัจจุบันมีบริษัทผลิตสินค้าและบริการของไทยที่ได้รับตราสัญลักษณ์ T MARK จำนวนทั้งสิ้น 728 บริษัท จาก 8 กลุ่มสินค้าและธุรกิจ ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมอาหารและเกษตร 2) อุตสาหกรรมหนัก 3) อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ 4) อุตสาหกรรมแฟชั่น 5) อุตสาหกรรมอื่นๆ 6) ธุรกิจรักษาพยาบาล 7) ธุรกิจส่งเสริมสุขภาพ และ 8) ธุรกิจบริการการศึกษานานาชาติ

ผู้ประกอบการที่สนใจจะสมัครขอใช้ตราสัญลักษณ์ T Mark จะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติเหล่านี้

        1. เป็นนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกผู้ส่งออก 4 ประเภท ได้แก่ Exporter Lists (EL), Pre-Exporter (Pre-EL), Trading Company (TDC) หรือ Pre Trading Company (Pre-TDC)

        2. ผ่านการรับรองมาตรฐานในประเทศ และ/หรือ มาตรฐานสากลต่างประเทศ โดยผู้ประกอบการธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่จะขอรับตรา T Mark ได้ จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน Buy with Confidence (BWC) จากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (GIT) จึงจะสามารถนำใบรับรองไปยื่นขอรับตรา T Mark จากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้

        3. เป็นสินค้าและบริการที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศ มีการผลิตหรือมีโรงงานที่ไทย หรือมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างแบรนด์เพื่อการส่งออก

        4. ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับ 2 ขึ้นไป จากกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ ISO 14001

        5. ผ่านการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001-2553) ระดับพื้นฐานทั่วไป จากกระทรวงแรงงาน

        6. มีการดำเนินงานที่คำถึงถึงผลกระทบต่อสังคม โดยผู้สมัครจะต้องกรอกแบบฟอร์มประเมินตนเองด้านการดำเนินงานที่คำถึงถึงผลกระทบต่อสังคม ตามหลักเกณฑ์ CSR-DIW โดยจะต้องมีการดำเนินงานตามหลักปฏิบัติของ CSR-DIW ของกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่น้อยกว่า 4 ข้อ (จาก 7 ข้อ)

        7. มีมูลค่าการขายในประเทศย้อนหลัง 3 ปีเฉลี่ยต่อปี ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท หรือ มีมูลค่าการส่งออก 3 ปีย้อนหลังเฉลี่ยต่อปี ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท

        ปัจจุบันผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับที่ได้รับตราสัญลักษณ์ T Mark แล้วมีจำนวน 10 บริษัท อาทิ บริษัท บิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด ธนู อาร์ต แอนด์ดีไซน์ บริษัท พรีเมียร์ จิวเวอรี่ แมนูแฟคเชอริ่ง จำกัด และ บริษัทแพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

        ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถสมัครขอใช้ตราสัญลักษณ์ T Mark ได้ปีละ 2 รอบ (ตุลาคม - มกราคม และ มีนาคม – มิถุนายน) เมื่อได้รับตราสัญลักษณ์เรียบร้อยแล้ว สามารถนำไปติดไว้บนฉลากสินค้าและเผยแพร่เชิงประชาสัมพันธ์ได้ 3 ปี จากนั้นผู้ประกอบการจะต้องไปต่ออายุสมาชิกเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์เอาไว้ สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thailandtrustmark.com

        หลักปฏิบัติของ CSR-DIW ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ การดำเนินการตามกรอบสาระหลัก 7 ประการของมาตรฐาน ISO 26000 ได้แก่

        1) การกำกับดูแลองค์กร (Corporate Governance) ผู้ประกอบการจะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจในเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรมให้แก่บุคลากร พร้อมกันนี้ยังต้องมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ สุจริตต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น คู่ค้า พนักงาน ผู้บริโภค เป็นต้น

        2) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ให้ความเท่าเทียมแก่ผู้ด้อยโอกาสหรือผู้พิการให้มีโอกาสในการทำงาน ซึ่งการเคารพสิทธิมนุษยชนถือเป็นรากฐานของการบริหารงาน เป็นการให้สิทธิแก่ทรัพยากรบุคคลผู้เป็นกำลังในการดำเนินงาน โดยให้การคุ้มครอง เยียวยา ให้มีสิทธิอย่างที่ควรได้

        3) การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor Practice) เน้นการปฏิบัติกับพนักงานหรือแรงงานอย่างเป็นธรรม คุ้มครองด้านความปลอดภัย สุขภาพ สวัสดิการต่างๆ และค่าจ้างที่ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมตามหลักมาตรฐานแรงงาน เป็นต้น

        4) สิ่งแวดล้อม (Environment) ผู้ประกอบการจะต้องให้คำแนะนำ ให้ความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีในการดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงงาน แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนากิจการอันหลีกเลี่ยงต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

        5) การปฏิบัติที่เป็นธรรม (Fair Operating Practice) ผู้ประกอบการจะต้องส่งเสริมการทำงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคัดค้านการทุจริตหรือพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมทั้งหลายรูปแบบ

        6) ความรับผิดชอบผู้บริโภค (Consumers Issue) ผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค แสดงความจริงใจต่อการผลิต เปิดเผยข้อมูลการผลิตอย่างเป็นจริงให้แก่ผู้บริโภค เพื่อให้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ

        7) การมีส่วนร่วมต่อสังคมและชุมชน (Community Involvement and Development)  โดยแนวทางการจัดทำแผนงานร่วมกับสังคมและชุมชน ต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ คือ สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจและขีดความสามารถขององค์กร พนักงานมีส่วนร่วม ชุมชนมีส่วนร่วม และเป็นการดำเนินการมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

        สำหรับรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับหลักปฏิบัติของ CSR-DIW สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://ecocenter.diw.go.th/images/3Metricinformation/6/CSR-DIW2560.pdf


ข้อมูลอ้างอิง


www.thailandtrustmark.com

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970