การบริโภคเครื่องประดับทองในจีนและอินเดีย ฟื้นตัวหรือยังน่าห่วง

May 19, 2021
1994 views
2 shares

            เครื่องประดับทองเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นับตั้งแต่ปี 2020 ตรงกันข้ามกับการลงทุนทองคำในช่วงเดียวกันที่เติบโตได้สูง จากการเข้าถือครองทองคำของนักลงทุนรายย่อยและสถาบันเนื่องจากเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่เหตุการณ์ในปีนี้กลับตาลปัตรเมื่อการลงทุนในทองคำอยู่ในทิศทางขาลง แต่การบริโภคทองคำในฐานะเครื่องประดับอัญมณีกลับเฟื่องฟูขึ้น

ข้อมูลจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) เปิดเผยว่า ตลอดปี 2020 ความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 1-3 แต่ทว่าการบริโภคเครื่องประดับทองได้ฟื้นคืนมาในไตรมาสแรกของปี 2021 โดยปริมาณความต้องการบริโภคเครื่องประดับทองอยู่ที่  477.4 ตัน หรือเพิ่มขึ้นถึง 52% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2020 จีนและอินเดียถือเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่มีสัดส่วนรวมกันราว 62% ของการบริโภคเครื่องประดับทองทั่วโลก เป็นฟันเฟืองหลักที่ผลักดันให้ตลาดกลับมาเติบโตได้ในปีนี้ ด้วยมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 2.12 เท่า และ 39% ตามลำดับ 

 

                                                                                                                     ภาพการซื้อขายเครื่องประดับทองในจีน จาก World Gold Council

            ในไตรมาสแรกปี 2021 จีนมีการบริโภคเครื่องประดับทองสูงถึง 191.1 ตัน (คิดเป็นสัดส่วน 40.03%) ซึ่งเป็นยอดสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015 โดยปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เติบโตมาจากเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัว ราคาทองคำที่ถูกลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า และเทศกาลสำคัญที่มีโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายในไตรมาสแรกอย่างตรุษจีน วาเลนไทน์ และวันสตรีสากล 

            ขณะที่อินเดียมีปริมาณการบริโภคถึง 102.5 ตัน (คิดเป็นสัดส่วน 21.47%) โดยสาเหตุหลักมาจากราคาทองคำที่ถูกกว่าปีก่อน ผู้คนเริ่มหันมาจัดงานแต่งงาน รวมถึงในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียประกาศลดภาษีนำเข้าทองคำจาก 12.5% เหลือ 7.5% เพื่อลดการลักลอบนำเข้าทองคำที่หนีภาษี ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นทางจิตวิทยาให้ชาวอินเดียกลับมาซื้อหาอัญมณีเครื่องประดับทองเพิ่มมากขึ้น

ภาพจาก https://www.hindustantimes.com

            แม้ว่าตัวเลขการบริโภคเครื่องประดับทองในไตรมาสแรกจะมีทิศทางที่ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่สภาทองคำโลกยังเตือนให้ระมัดระวังในไตรมาสที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกต้องหันมาใช้มาตรการล็อคดาวน์ และควบคุมการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันอีกครั้งจากการกลับมาแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายภูมิภาคทั่วโลก ขณะที่สถานการณ์การค้าเครื่องประดับทองในไทยนั้นยังคงซบเซา และกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัว

            จะเห็นได้ว่า สถานการณ์การค้าเครื่องประดับทองซึ่งถือเป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยโดยรวมยังคงผันผวน มีความไม่แน่นอนสูง อาจกล่าวได้ว่ามีเพียงจีนที่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ขณะที่อินเดียรวมทั้งตลาดสำคัญอื่นๆ คงต้องเร่งการฉีดวัคซีนควบคู่กับการใช้มาตรการด้านสุขอนามัย เพื่อทำให้ 3 ไตรมาสที่เหลือฟื้นคืนกลับมาได้ในที่สุด 


ข้อมูลอ้างอิง


1) Q1 gold jewellery demand rebounds on China, India recovery. Retrieved May 11, 2021. From
https://www.jewellerynet.com
2) Union Budget impact on Indian gold market. Retrieved May 12, 2021. From https://www.gold.org
3) Gold supply and demand statistics. Retrieved May 12, 2021. From https://www.gold.org

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


การบริโภคเครื่องประดับทองในจีนและอินเดีย ฟื้นตัวหรือยังน่าห่วง

May 19, 2021
1994 views
2 shares

            เครื่องประดับทองเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นับตั้งแต่ปี 2020 ตรงกันข้ามกับการลงทุนทองคำในช่วงเดียวกันที่เติบโตได้สูง จากการเข้าถือครองทองคำของนักลงทุนรายย่อยและสถาบันเนื่องจากเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่เหตุการณ์ในปีนี้กลับตาลปัตรเมื่อการลงทุนในทองคำอยู่ในทิศทางขาลง แต่การบริโภคทองคำในฐานะเครื่องประดับอัญมณีกลับเฟื่องฟูขึ้น

ข้อมูลจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) เปิดเผยว่า ตลอดปี 2020 ความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 1-3 แต่ทว่าการบริโภคเครื่องประดับทองได้ฟื้นคืนมาในไตรมาสแรกของปี 2021 โดยปริมาณความต้องการบริโภคเครื่องประดับทองอยู่ที่  477.4 ตัน หรือเพิ่มขึ้นถึง 52% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2020 จีนและอินเดียถือเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่มีสัดส่วนรวมกันราว 62% ของการบริโภคเครื่องประดับทองทั่วโลก เป็นฟันเฟืองหลักที่ผลักดันให้ตลาดกลับมาเติบโตได้ในปีนี้ ด้วยมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 2.12 เท่า และ 39% ตามลำดับ 

 

                                                                                                                     ภาพการซื้อขายเครื่องประดับทองในจีน จาก World Gold Council

            ในไตรมาสแรกปี 2021 จีนมีการบริโภคเครื่องประดับทองสูงถึง 191.1 ตัน (คิดเป็นสัดส่วน 40.03%) ซึ่งเป็นยอดสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015 โดยปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เติบโตมาจากเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัว ราคาทองคำที่ถูกลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า และเทศกาลสำคัญที่มีโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายในไตรมาสแรกอย่างตรุษจีน วาเลนไทน์ และวันสตรีสากล 

            ขณะที่อินเดียมีปริมาณการบริโภคถึง 102.5 ตัน (คิดเป็นสัดส่วน 21.47%) โดยสาเหตุหลักมาจากราคาทองคำที่ถูกกว่าปีก่อน ผู้คนเริ่มหันมาจัดงานแต่งงาน รวมถึงในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียประกาศลดภาษีนำเข้าทองคำจาก 12.5% เหลือ 7.5% เพื่อลดการลักลอบนำเข้าทองคำที่หนีภาษี ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นทางจิตวิทยาให้ชาวอินเดียกลับมาซื้อหาอัญมณีเครื่องประดับทองเพิ่มมากขึ้น

ภาพจาก https://www.hindustantimes.com

            แม้ว่าตัวเลขการบริโภคเครื่องประดับทองในไตรมาสแรกจะมีทิศทางที่ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่สภาทองคำโลกยังเตือนให้ระมัดระวังในไตรมาสที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกต้องหันมาใช้มาตรการล็อคดาวน์ และควบคุมการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันอีกครั้งจากการกลับมาแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายภูมิภาคทั่วโลก ขณะที่สถานการณ์การค้าเครื่องประดับทองในไทยนั้นยังคงซบเซา และกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัว

            จะเห็นได้ว่า สถานการณ์การค้าเครื่องประดับทองซึ่งถือเป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยโดยรวมยังคงผันผวน มีความไม่แน่นอนสูง อาจกล่าวได้ว่ามีเพียงจีนที่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ขณะที่อินเดียรวมทั้งตลาดสำคัญอื่นๆ คงต้องเร่งการฉีดวัคซีนควบคู่กับการใช้มาตรการด้านสุขอนามัย เพื่อทำให้ 3 ไตรมาสที่เหลือฟื้นคืนกลับมาได้ในที่สุด 


ข้อมูลอ้างอิง


1) Q1 gold jewellery demand rebounds on China, India recovery. Retrieved May 11, 2021. From
https://www.jewellerynet.com
2) Union Budget impact on Indian gold market. Retrieved May 12, 2021. From https://www.gold.org
3) Gold supply and demand statistics. Retrieved May 12, 2021. From https://www.gold.org

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970