อุปสงค์และการผลิตเครื่องประดับเงินมีแนวโน้มเติบโตในปี 2021

Jul 2, 2021
2061 views
1 share

            รายงาน World Silver Survey 2021 จัดทำโดย Metals Focus ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก The Silver Institute ระบุว่า การเติมสินค้าเข้าคลังของร้านค้าปลีกเครื่องประดับ มาตรการควบคุม Covid-19 ที่ผ่อนคลายลง และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนั้นเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอุปสงค์เครื่องประดับเงินในปี 2021 และจะช่วยให้ความต้องการโลหะเงินเพื่อการผลิตเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ในปีนี้ 


            ทั้งนี้ ในปี 2020 การผลิตเครื่องประดับเงินลดลงร้อยละ 26 จาก 200.3 ล้านออนซ์เมื่อปี 2019 มาอยู่ที่ 148.6 ล้านออนซ์ในปี 2020 โดยมีสาเหตุมาจากผลกระทบของ Covid-19 ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภค นอกจากนี้ การที่ร้านค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีลดปริมาณสินค้าคงคลัง ตลอดจนราคาโลหะเงินอยู่ในระดับสูงก็ส่งผลต่อตลาดบางแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเดียนั้นมีปริมาณการผลิตที่ลดลงซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากความสูญเสียทางเศรษฐกิจในอินเดีย รวมถึงการปิดร้านค้าและโรงงานผลิตเครื่องประดับและอัญมณีอันเนื่องมาจากโรคระบาด


            “การเติมสินค้าเข้าคลัง ตลอดจนการผ่อนคลายมาตรการควบคุม Covid-19 การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และอุปสงค์ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น น่าจะช่วยให้ความต้องการโลหะเงินเพื่อการผลิตเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ในปี 2021 หลังจากสภาพตลาดเริ่มปรับตัวดีขึ้น”

            ส่วนการผลิตเครื่องประดับเงินของไทยลดลงต่ำสุดในรอบ 8 ปีเนื่องจากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรปนั้นได้รับผลกระทบจาก Covid-19 หากแต่ไทยก็ยังเป็นผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินในอันดับ 1 ของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออก 1,398.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2020 แม้ว่าการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2021 จะขยับลงมาเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน ด้วยมูลค่าการส่งออก 484.66 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 13.24 เมื่อเทียบกับช่วง 4 เดือนแรกของปี 2020 ก็ตาม 


            ขณะที่การผลิตเครื่องประดับเงินของจีนก็ลดต่ำลงมากเช่นกันในปี 2020 เนื่องจาก Covid-19 ส่งผลต่อธุรกิจในช่วงเทศกาลจับจ่ายซื้อสินค้าระหว่างไตรมาสที่หนึ่งของปีที่ผ่านมา และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ยังไม่มากนักตลอดทั้งปี 2020 แต่ในปีนี้สถานการณ์การระบาดคลี่คลายลง ตลาดเครื่องประดับจีนจึงกลับมาฟื้นตัวขึ้นจากอุปสงค์ของผู้บริโภคในตลาดที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือก็ได้รับความสูญเสียอย่างหนักจากการบริโภคที่ลดลงและการที่ร้านค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีลดปริมาณสินค้าคงคลังค่อนข้างมากกันทุกร้าน 

ประเทศผู้ผลิตเครื่องประดับเงิน 10 อันดับแรกของโลกในปี 2019-2020 


ที่มา: World Silver Survey 2021, Metals Focus. 

ประมวลผลโดยศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

            ตามรายงาน World Silver Survey 2021 ได้คาดประมาณการผลิตเครื่องประดับเงินในปี 2021 ของกลุ่มประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยประเทศเอเชียใต้ซึ่งมีอินเดียเป็นผู้ผลิตรายสำคัญจะเติบโตถึงร้อยละ 50 ส่วนประเทศในเอเชียตะวันออกอย่างไทยและจีน คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ขณะที่ประเทศยุโรปจะเติบโตถึงร้อยละ 20 สำหรับอเมริกาเหนือคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12 ดังแสดงด้านล่าง ซึ่งปริมาณการผลิตเครื่องประดับเงินของประเทศต่างๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ของผู้บริโภคในตลาดที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง 

            นอกจากนี้ Metal Focus ยังคาดว่าราคาโลหะเงินจะเพิ่มขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ 32 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ในช่วงหลังของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเฉลี่ยโดยรวมตลอดปี 2021 อยู่ที่ 27.30 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากราคาเงินเฉลี่ยในปี 2020 ที่ 20.55 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์


ปริมาณการผลิตเครื่องประดับเงินของทวีปต่างๆ ทั่วโลกในปี 2020-2021


ที่มา: World Silver Survey 2021, Metals Focus.

 



ข้อมูลอ้างอิง


1) “Silver jewellery production to grow by double digits in 2021.” Retrieved June 2, 2021 from https://jewellerynet.com/en/jnanews/news/24234.
2) “World Silver Survey 2021.” Metals Focus. Retrieved May 24, 2021 from https://www.silverinstitute.org/wp-content/uploads/2021/04/World-Silver-Survey-2021.pdf.
3) “Global silver demand poised to rise this year; prices could jump more than 30%.” Retrieved June 24, 2021 from https://www.marketwatch.com/story/global-silver-demand-poised-to-rise-this-year-prices-could-jump-more-than-30-report-11619105863.
4) Global Trade Atlas. Retrieved June 29, 2021.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


อุปสงค์และการผลิตเครื่องประดับเงินมีแนวโน้มเติบโตในปี 2021

Jul 2, 2021
2061 views
1 share

            รายงาน World Silver Survey 2021 จัดทำโดย Metals Focus ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก The Silver Institute ระบุว่า การเติมสินค้าเข้าคลังของร้านค้าปลีกเครื่องประดับ มาตรการควบคุม Covid-19 ที่ผ่อนคลายลง และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนั้นเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอุปสงค์เครื่องประดับเงินในปี 2021 และจะช่วยให้ความต้องการโลหะเงินเพื่อการผลิตเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ในปีนี้ 


            ทั้งนี้ ในปี 2020 การผลิตเครื่องประดับเงินลดลงร้อยละ 26 จาก 200.3 ล้านออนซ์เมื่อปี 2019 มาอยู่ที่ 148.6 ล้านออนซ์ในปี 2020 โดยมีสาเหตุมาจากผลกระทบของ Covid-19 ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภค นอกจากนี้ การที่ร้านค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีลดปริมาณสินค้าคงคลัง ตลอดจนราคาโลหะเงินอยู่ในระดับสูงก็ส่งผลต่อตลาดบางแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเดียนั้นมีปริมาณการผลิตที่ลดลงซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากความสูญเสียทางเศรษฐกิจในอินเดีย รวมถึงการปิดร้านค้าและโรงงานผลิตเครื่องประดับและอัญมณีอันเนื่องมาจากโรคระบาด


            “การเติมสินค้าเข้าคลัง ตลอดจนการผ่อนคลายมาตรการควบคุม Covid-19 การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และอุปสงค์ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น น่าจะช่วยให้ความต้องการโลหะเงินเพื่อการผลิตเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ในปี 2021 หลังจากสภาพตลาดเริ่มปรับตัวดีขึ้น”

            ส่วนการผลิตเครื่องประดับเงินของไทยลดลงต่ำสุดในรอบ 8 ปีเนื่องจากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรปนั้นได้รับผลกระทบจาก Covid-19 หากแต่ไทยก็ยังเป็นผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินในอันดับ 1 ของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออก 1,398.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2020 แม้ว่าการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2021 จะขยับลงมาเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน ด้วยมูลค่าการส่งออก 484.66 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 13.24 เมื่อเทียบกับช่วง 4 เดือนแรกของปี 2020 ก็ตาม 


            ขณะที่การผลิตเครื่องประดับเงินของจีนก็ลดต่ำลงมากเช่นกันในปี 2020 เนื่องจาก Covid-19 ส่งผลต่อธุรกิจในช่วงเทศกาลจับจ่ายซื้อสินค้าระหว่างไตรมาสที่หนึ่งของปีที่ผ่านมา และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ยังไม่มากนักตลอดทั้งปี 2020 แต่ในปีนี้สถานการณ์การระบาดคลี่คลายลง ตลาดเครื่องประดับจีนจึงกลับมาฟื้นตัวขึ้นจากอุปสงค์ของผู้บริโภคในตลาดที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือก็ได้รับความสูญเสียอย่างหนักจากการบริโภคที่ลดลงและการที่ร้านค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีลดปริมาณสินค้าคงคลังค่อนข้างมากกันทุกร้าน 

ประเทศผู้ผลิตเครื่องประดับเงิน 10 อันดับแรกของโลกในปี 2019-2020 


ที่มา: World Silver Survey 2021, Metals Focus. 

ประมวลผลโดยศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

            ตามรายงาน World Silver Survey 2021 ได้คาดประมาณการผลิตเครื่องประดับเงินในปี 2021 ของกลุ่มประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยประเทศเอเชียใต้ซึ่งมีอินเดียเป็นผู้ผลิตรายสำคัญจะเติบโตถึงร้อยละ 50 ส่วนประเทศในเอเชียตะวันออกอย่างไทยและจีน คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ขณะที่ประเทศยุโรปจะเติบโตถึงร้อยละ 20 สำหรับอเมริกาเหนือคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12 ดังแสดงด้านล่าง ซึ่งปริมาณการผลิตเครื่องประดับเงินของประเทศต่างๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ของผู้บริโภคในตลาดที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง 

            นอกจากนี้ Metal Focus ยังคาดว่าราคาโลหะเงินจะเพิ่มขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ 32 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ในช่วงหลังของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเฉลี่ยโดยรวมตลอดปี 2021 อยู่ที่ 27.30 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากราคาเงินเฉลี่ยในปี 2020 ที่ 20.55 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์


ปริมาณการผลิตเครื่องประดับเงินของทวีปต่างๆ ทั่วโลกในปี 2020-2021


ที่มา: World Silver Survey 2021, Metals Focus.

 



ข้อมูลอ้างอิง


1) “Silver jewellery production to grow by double digits in 2021.” Retrieved June 2, 2021 from https://jewellerynet.com/en/jnanews/news/24234.
2) “World Silver Survey 2021.” Metals Focus. Retrieved May 24, 2021 from https://www.silverinstitute.org/wp-content/uploads/2021/04/World-Silver-Survey-2021.pdf.
3) “Global silver demand poised to rise this year; prices could jump more than 30%.” Retrieved June 24, 2021 from https://www.marketwatch.com/story/global-silver-demand-poised-to-rise-this-year-prices-could-jump-more-than-30-report-11619105863.
4) Global Trade Atlas. Retrieved June 29, 2021.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970