GemFair โครงการเพื่อความโปร่งใสจาก ASM สู่อุตสาหกรรมอัญมณีเพชร

Nov 11, 2021
1651 views
0 share

            ความมีจริยธรรม ยั่งยืน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ล้วนเป็นแนวทางความรับผิดชอบที่ถูกผลักดันในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ด้วยความพยายามจะสร้างความน่าเชื่อถือสามารถตรวจสอบถึงแหล่งที่มาได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทำให้เกิดแนวทางต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในหลายภาคส่วนในอุตสาหกรรมนี้ 

            De Beers บริษัทผู้ผลิตอัญมณีเพชรรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งมีการนำแนวทางที่สร้างความมีจริยธรรมมาใช้ ทั้งการจ้างงานคนงานท้องถิ่นเป็นสัดส่วนสูง การสนับสนุนด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะ การรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนในปี 2030 ที่บริษัทได้วางเจตนารมณ์ไว้ ล่าสุด GemFair เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เกิดขึ้น ด้วยความคิดที่ว่า การทำเหมืองในแบบดั้งเดิมและเหมืองในขนาดเล็ก Artisanal and Small-Scale Mining (ASM) มักเป็นกลุ่มที่ถูกกล่าวถึงเรื่องความไร้จริยธรรม แม้ผลผลิตจากการทำเหมืองในลักษณะนี้จะมีปริมาณเพียง 20% ของจำนวนอัญมณีเพชรที่ออกสู่ตลาดโลก แต่ก่อให้เกิดผลกระทบมหาศาล เนื่องจากมีแหล่งที่มาที่ไม่ถูกต้องหรือถูกใช้เพื่อการฟอกเงิน ถือเป็นการทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่ออุตสาหกรรมอัญมณีเพชรมาอย่างยาวนาน

            การก่อตั้งโครงการ GemFair ในปี 2018 ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแนวทางที่โปร่งใสจากเหมือง ASM ในเซียร์ราลีโอน ด้วยการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาติดตามตรวจสอบตั้งแต่อัญมณีเพชรในเหมืองไปจนกระทั่งถึงการซื้อขายในตลาด โดยกำหนดแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่เป็นธรรม สิทธิมนุษยชน ความซื่อสัตย์ทางธุรกิจ สวัสดิภาพและความปลอดภัยของแรงงาน และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เหมืองที่เข้าเกณฑ์นี้สามารถเข้าร่วมในโครงการ โดย De Beers จะสนับสนุนเครื่องมือ แอปพลิเคชั่น และแท็บเลต เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลอัญมณีเพชรที่ขุดพบทุกเม็ด โดยเหมืองสามารถเลือกได้ว่าจะขายอัญมณีเพชรผ่านโครงการ GemFair หรือผ่านตัวแทนขายของบริษัทในเซียร์ราลีโอน ซึ่งมีการตีราคาอัญมณีเพชรตามราคาท้องตลาดอย่างเป็นธรรม จากจุดเริ่มต้นที่มีจำนวนเหมือง ASM ในประเทศเซียร์ราลีโอน เข้าร่วม 14 แห่ง เติบโตมากขึ้นกระทั่งในปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมเกือบ 200 แห่ง   

 อัญมณีเพชร

ภาพการทำเหมืองแบบดั้งเดิมในเซียร์ราลีโอน จาก www.diamonds.net

            จากความพยายามดังกล่าวของ De Beers มาสู่การนำอัญมณีเพชรก้อนที่ได้จากโครงการ GemFair ออกขายเป็นล็อตแรกในงานประมูลอัญมณีเพชรในครั้งล่าสุดที่สิงคโปร์เมื่อกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยอัญมณีเพชรก้อนที่มีคุณภาพและขนาดที่หลากหลาย โดยอัญมณีเพชรก้อนขนาดใหญ่ที่สุดในล็อตนี้มีขนาด 11 กะรัต ทั้งหมดถูกประมูลขายได้หมด นอกจากนี้ De Beers ยังได้ให้ความมั่นใจในความโปร่งใสของแหล่งที่มา ด้วยการยกตัวอย่างข้อมูลอัญมณีเพชรก้อนขนาด 3 กะรัต ในล็อตนี้ที่มีการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ถูกขุด ผู้ขุดพบ และชื่อเหมืองที่ค้นพบ ทั้งนี้ ในเขต Kono ของเซียร์ราลีโอน เป็นแหล่งอัญมณีเพชรใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นแหล่งที่มาของอัญมณีเพชรสีเลือด (Blood Diamond) เนื่องจากในช่วงก่อนปี 2002 กลุ่มกบฏติดอาวุธใช้เป็นแหล่งทุนสนับสนุนการทำสงครามกลางเมือง 

             การสนับสนุน ASM ของ De Beers ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้น ไม่เพียงจะช่วยทำให้แหล่งอัญมณีเพชรจากเซียร์ราลีโอนมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับมากขึ้นแล้ว ยังสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่ชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางความยั่งยืนที่ทั่วโลกใส่ใจและให้การยอมรับ 


ข้อมูลอ้างอิง


1) De Beers sells first ethically sourced ‘ASM’ diamonds. Retrieved October 11, 2020, from https://www.jewellerynet.com
2) De Beers Sells First Rough from GemFair Program. Retrieved December 11, 2020, from https://www.diamonds.net
3) De Beers expands pilot scheme in Sierra Leone to sell ethically sourced diamonds. Retrieved October 12, 2020, from https://www.mining.com
4) GemFair. Retrieved October 12, 2020, from www.debeersgroup.com

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


GemFair โครงการเพื่อความโปร่งใสจาก ASM สู่อุตสาหกรรมอัญมณีเพชร

Nov 11, 2021
1651 views
0 share

            ความมีจริยธรรม ยั่งยืน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ล้วนเป็นแนวทางความรับผิดชอบที่ถูกผลักดันในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ด้วยความพยายามจะสร้างความน่าเชื่อถือสามารถตรวจสอบถึงแหล่งที่มาได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทำให้เกิดแนวทางต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในหลายภาคส่วนในอุตสาหกรรมนี้ 

            De Beers บริษัทผู้ผลิตอัญมณีเพชรรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งมีการนำแนวทางที่สร้างความมีจริยธรรมมาใช้ ทั้งการจ้างงานคนงานท้องถิ่นเป็นสัดส่วนสูง การสนับสนุนด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะ การรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนในปี 2030 ที่บริษัทได้วางเจตนารมณ์ไว้ ล่าสุด GemFair เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เกิดขึ้น ด้วยความคิดที่ว่า การทำเหมืองในแบบดั้งเดิมและเหมืองในขนาดเล็ก Artisanal and Small-Scale Mining (ASM) มักเป็นกลุ่มที่ถูกกล่าวถึงเรื่องความไร้จริยธรรม แม้ผลผลิตจากการทำเหมืองในลักษณะนี้จะมีปริมาณเพียง 20% ของจำนวนอัญมณีเพชรที่ออกสู่ตลาดโลก แต่ก่อให้เกิดผลกระทบมหาศาล เนื่องจากมีแหล่งที่มาที่ไม่ถูกต้องหรือถูกใช้เพื่อการฟอกเงิน ถือเป็นการทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่ออุตสาหกรรมอัญมณีเพชรมาอย่างยาวนาน

            การก่อตั้งโครงการ GemFair ในปี 2018 ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแนวทางที่โปร่งใสจากเหมือง ASM ในเซียร์ราลีโอน ด้วยการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาติดตามตรวจสอบตั้งแต่อัญมณีเพชรในเหมืองไปจนกระทั่งถึงการซื้อขายในตลาด โดยกำหนดแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่เป็นธรรม สิทธิมนุษยชน ความซื่อสัตย์ทางธุรกิจ สวัสดิภาพและความปลอดภัยของแรงงาน และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เหมืองที่เข้าเกณฑ์นี้สามารถเข้าร่วมในโครงการ โดย De Beers จะสนับสนุนเครื่องมือ แอปพลิเคชั่น และแท็บเลต เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลอัญมณีเพชรที่ขุดพบทุกเม็ด โดยเหมืองสามารถเลือกได้ว่าจะขายอัญมณีเพชรผ่านโครงการ GemFair หรือผ่านตัวแทนขายของบริษัทในเซียร์ราลีโอน ซึ่งมีการตีราคาอัญมณีเพชรตามราคาท้องตลาดอย่างเป็นธรรม จากจุดเริ่มต้นที่มีจำนวนเหมือง ASM ในประเทศเซียร์ราลีโอน เข้าร่วม 14 แห่ง เติบโตมากขึ้นกระทั่งในปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมเกือบ 200 แห่ง   

 อัญมณีเพชร

ภาพการทำเหมืองแบบดั้งเดิมในเซียร์ราลีโอน จาก www.diamonds.net

            จากความพยายามดังกล่าวของ De Beers มาสู่การนำอัญมณีเพชรก้อนที่ได้จากโครงการ GemFair ออกขายเป็นล็อตแรกในงานประมูลอัญมณีเพชรในครั้งล่าสุดที่สิงคโปร์เมื่อกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยอัญมณีเพชรก้อนที่มีคุณภาพและขนาดที่หลากหลาย โดยอัญมณีเพชรก้อนขนาดใหญ่ที่สุดในล็อตนี้มีขนาด 11 กะรัต ทั้งหมดถูกประมูลขายได้หมด นอกจากนี้ De Beers ยังได้ให้ความมั่นใจในความโปร่งใสของแหล่งที่มา ด้วยการยกตัวอย่างข้อมูลอัญมณีเพชรก้อนขนาด 3 กะรัต ในล็อตนี้ที่มีการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ถูกขุด ผู้ขุดพบ และชื่อเหมืองที่ค้นพบ ทั้งนี้ ในเขต Kono ของเซียร์ราลีโอน เป็นแหล่งอัญมณีเพชรใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นแหล่งที่มาของอัญมณีเพชรสีเลือด (Blood Diamond) เนื่องจากในช่วงก่อนปี 2002 กลุ่มกบฏติดอาวุธใช้เป็นแหล่งทุนสนับสนุนการทำสงครามกลางเมือง 

             การสนับสนุน ASM ของ De Beers ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้น ไม่เพียงจะช่วยทำให้แหล่งอัญมณีเพชรจากเซียร์ราลีโอนมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับมากขึ้นแล้ว ยังสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่ชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางความยั่งยืนที่ทั่วโลกใส่ใจและให้การยอมรับ 


ข้อมูลอ้างอิง


1) De Beers sells first ethically sourced ‘ASM’ diamonds. Retrieved October 11, 2020, from https://www.jewellerynet.com
2) De Beers Sells First Rough from GemFair Program. Retrieved December 11, 2020, from https://www.diamonds.net
3) De Beers expands pilot scheme in Sierra Leone to sell ethically sourced diamonds. Retrieved October 12, 2020, from https://www.mining.com
4) GemFair. Retrieved October 12, 2020, from www.debeersgroup.com

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970