ดอกเบี้ยนโยบาย ผลกระทบทางอ้อมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

Mar 11, 2022
2722 views
0 share

            เมื่อพูดถึงอัตราดอกเบี้ย หลายๆ ท่านคงรู้จักกันดีว่าเป็นมูลค่าที่ผู้กู้เงินจากสถาบันการเงินต้องชำระ และผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงินจะได้รับ แต่การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมีเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญอยู่เบื้องหลัง คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งถูกกำหนดมาจากธนาคารกลางแต่ละประเทศสำหรับประเทศไทยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนด โดยเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญที่สุดในระบบเศรษฐกิจ เพราะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีที่ภาคธุรกิจกู้เพื่อเป็นสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ หรือดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับผู้บริโภค 

            จากการประชุมของคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 มีผลให้คงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 ต่อปี ซึ่งเท่ากับปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับหลายปีก่อนหน้า พบว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจจุบัน เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนในภาคเอกชนจึงคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีลดลงด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน 


 

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดทำภาพโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

            การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายย่อมส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรมรวมไปถึงอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับด้วย โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ผลกระทบต่อผู้บริโภค และผลกระทบต่อผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ

ผลกระทบต่อผู้บริโภคในประเทศไทย

            การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้มีเป้าหมายที่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ คือ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และปัจจัยอื่น ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเช่นกัน ผู้บริโภคสามารถกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ได้มากขึ้นและชำระอัตราดอกเบี้ยต่ำลง กอปรกับผู้บริโภคมีความคิดว่าการฝากเงินให้ผลตอบแทนที่น้อยลงและไม่ต้องการฝากเงิน จึงถือเงินสดเพื่อจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เกิดการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น แต่การบริโภคที่มากขึ้นนั้นนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นในอนาคตผู้บริโภคจะเผชิญอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จากการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าและบริการหลายรายการ ทำให้มีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับลดลง

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย

            1. ผลกระทบต่อผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับขนาดกลางและใหญ่ 

                โดยปกติแล้วผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่จะมีการจัดหาเงินทุนเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆขององค์กรจากแหล่งที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการใช้กำไรสะสมของบริษัท หรือกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน 

ซึ่งเกี่ยวพันกับสภาพคล่องของบริษัท เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ธนาคารพาณิชย์ให้ผู้ประกอบการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งเป็นผลดีในการบริหารการเงินของธุรกิจ เพราะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำลง และไม่ต้องนำกำไรสะสมมาใช้ ซึ่งเป็นสาเหตุต่อการสูญเสียสภาพคล่อง นอกจากนั้นยังต้องเฝ้าระวังอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูงขึ้นด้วย

            2. ผลกระทบผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับขนาดเล็ก

                ผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือรายย่อยเป็นผู้ผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ผลิตภายในครัวเรือน มีกำลังการผลิตและทรัพยากรในการผลิตน้อย นอกจากนั้นยังรวมไปถึงช่างฝีมืออิสระที่ทำเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงิน ผู้ประกอบการกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยนโยบาย เพราะไม่ได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน แต่มีแนวโน้วที่จะได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจกระทบกับต้นทุนวัตถุดิบในการผลิต จนนำไปสู่การปรับราคาสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสูงขึ้นด้วย

            นอกจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงที่ ทำให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ลดลง และกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคธุรกิจมีแนวโน้มนำไปสู่เงินเฟ้อแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมายที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และราคาพลังงานโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นที่อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อได้ด้วย ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ผู้บริโภคจะบริโภคสินค้าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ผู้ประกอบการควรต้องระวังและเตรียมพร้อมอยู่เสมอ


ข้อมูลอ้างอิง


1. ธนาคารแห่งประเทศไทย. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 1/2565. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2022/Pages/n0765.aspx.
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย. เครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคของไทย 1. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=409&language=th.
3. ธนาคารแห่งประเทศไทย. อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=223&language=TH

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ดอกเบี้ยนโยบาย ผลกระทบทางอ้อมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

Mar 11, 2022
2722 views
0 share

            เมื่อพูดถึงอัตราดอกเบี้ย หลายๆ ท่านคงรู้จักกันดีว่าเป็นมูลค่าที่ผู้กู้เงินจากสถาบันการเงินต้องชำระ และผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงินจะได้รับ แต่การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมีเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญอยู่เบื้องหลัง คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งถูกกำหนดมาจากธนาคารกลางแต่ละประเทศสำหรับประเทศไทยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนด โดยเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญที่สุดในระบบเศรษฐกิจ เพราะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีที่ภาคธุรกิจกู้เพื่อเป็นสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ หรือดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับผู้บริโภค 

            จากการประชุมของคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 มีผลให้คงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 ต่อปี ซึ่งเท่ากับปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับหลายปีก่อนหน้า พบว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจจุบัน เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนในภาคเอกชนจึงคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีลดลงด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน 


 

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดทำภาพโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

            การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายย่อมส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรมรวมไปถึงอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับด้วย โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ผลกระทบต่อผู้บริโภค และผลกระทบต่อผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ

ผลกระทบต่อผู้บริโภคในประเทศไทย

            การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้มีเป้าหมายที่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ คือ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และปัจจัยอื่น ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเช่นกัน ผู้บริโภคสามารถกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ได้มากขึ้นและชำระอัตราดอกเบี้ยต่ำลง กอปรกับผู้บริโภคมีความคิดว่าการฝากเงินให้ผลตอบแทนที่น้อยลงและไม่ต้องการฝากเงิน จึงถือเงินสดเพื่อจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เกิดการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น แต่การบริโภคที่มากขึ้นนั้นนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นในอนาคตผู้บริโภคจะเผชิญอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จากการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าและบริการหลายรายการ ทำให้มีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับลดลง

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย

            1. ผลกระทบต่อผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับขนาดกลางและใหญ่ 

                โดยปกติแล้วผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่จะมีการจัดหาเงินทุนเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆขององค์กรจากแหล่งที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการใช้กำไรสะสมของบริษัท หรือกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน 

ซึ่งเกี่ยวพันกับสภาพคล่องของบริษัท เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ธนาคารพาณิชย์ให้ผู้ประกอบการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งเป็นผลดีในการบริหารการเงินของธุรกิจ เพราะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำลง และไม่ต้องนำกำไรสะสมมาใช้ ซึ่งเป็นสาเหตุต่อการสูญเสียสภาพคล่อง นอกจากนั้นยังต้องเฝ้าระวังอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูงขึ้นด้วย

            2. ผลกระทบผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับขนาดเล็ก

                ผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือรายย่อยเป็นผู้ผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ผลิตภายในครัวเรือน มีกำลังการผลิตและทรัพยากรในการผลิตน้อย นอกจากนั้นยังรวมไปถึงช่างฝีมืออิสระที่ทำเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงิน ผู้ประกอบการกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยนโยบาย เพราะไม่ได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน แต่มีแนวโน้วที่จะได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจกระทบกับต้นทุนวัตถุดิบในการผลิต จนนำไปสู่การปรับราคาสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสูงขึ้นด้วย

            นอกจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงที่ ทำให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ลดลง และกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคธุรกิจมีแนวโน้มนำไปสู่เงินเฟ้อแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมายที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และราคาพลังงานโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นที่อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อได้ด้วย ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ผู้บริโภคจะบริโภคสินค้าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ผู้ประกอบการควรต้องระวังและเตรียมพร้อมอยู่เสมอ


ข้อมูลอ้างอิง


1. ธนาคารแห่งประเทศไทย. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 1/2565. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2022/Pages/n0765.aspx.
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย. เครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคของไทย 1. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=409&language=th.
3. ธนาคารแห่งประเทศไทย. อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=223&language=TH

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970