UAE ถูกขึ้นบัญชีเฝ้าระวัง FATF สั่นคลอนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

Mar 18, 2022
2119 views
1 share

            ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัย ปัญหาการใช้ชีวิตในสังคม และปัญหาทางเศรษฐกิจที่ติดตามมาในทุกภูมิภาคทั่วโลกแล้ว จากรายงานของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนด้านการเงินแก่การก่อการร้าย (Financial Action Task Force : FATF) ระบุว่า ยังมีการฉ้อโกงเกี่ยวกับการปลอมแปลงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการหลอกลวงทางออนไลน์ที่เกี่ยวพันกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อรัฐบาลประเทศต่างๆ 

            ในต้นเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา FATF ได้ประกาศบัญชีเฝ้าระวังประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน (Grey List) ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศแอลเบเนีย บาร์เบโดส บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา หมู่เกาะเคย์แมน เฮติ จาเมกา จอร์แดน มาลี มอลตา โมร็อกโก เมียนมา นิการากัว ปากีสถาน ปานามา ฟิลิปปินส์ เซเนกัล ซูดานใต้ ซีเรีย ตุรกี ยูกันดา และเยเมน ซึ่งมีการถอดประเทศซิมบับเวออกจากบัญชี ส่วนประเทศที่ถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ในครั้งนี้ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยประเทศที่มีรายชื่อในบัญชีนี้ เนื่องจากมีข้อบกพร่องด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 

            สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้น ไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก ยังมีการพัฒนาภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้สร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมัน โดยมีการส่งเสริมการค้าการลงทุน สนับสนุนให้ต่างชาติมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้กลายเป็นศูนย์การค้าการลงทุนที่สำคัญของภูมิภาค รวมทั้งยังมีนครดูไบ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าทองคำที่สำคัญของโลก ด้วยกฎระเบียบการเปิดเสรีทางการค้าดังกล่าวกลายเป็นช่องทางให้มีการใช้เป็นแหล่งฟอกเงินและลักลอบค้าทอง

 

 

 

ภาพงาน JGT Dubai 2022 จาก www.facebook.com/JGT.Dubai.jewelleryshow

            ทั้งนี้ การที่มีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ปรากฏในรายชื่อดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการค้าในทันที แต่อาจเป็นอุปสรรคที่เพิ่มขึ้นในการทำธุรกิจโดยเฉพาะในดูไบที่เป็นแหล่งเขตปลอดภาษีราว 75% ของทั้งประเทศ ซึ่งดูไบไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว การค้าทองคำ แต่ยังเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรก้อนที่สำคัญไม่แพ้ Antwerp ในเบลเยียมอีกด้วย นอกจากนี้ Jewelers Vigilance Committee (JVC) ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความเห็นว่า ควรต้องมีความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในประเด็นการฟอกเงิน ถ้ากิจการมีหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีรายชื่อในบัญชีเหล่านี้ ยิ่งไปกว่านั้นแผนกตรวจสอบของธนาคารจะต้องสอดส่องรายการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทในสหรัฐอเมริกากับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเข้มงวดด้วย

            ขณะที่ Erik Jens อดีตหัวหน้าแผนกเพชรของธนาคาร ABN-Amro ได้เสนอแนะว่า บริษัทที่ใช้หลักการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance : ESG) จะช่วยสร้างความตระหนักในการทำสิ่งที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น จะเป็นหลักที่สอดคล้องกับหลักการของ FATF และทำให้สามารถรักษาสถานะศูนย์กลางการค้าเพชรและเครื่องประดับในระดับโลกไว้ได้ โดยท่าทีของทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ออกมาประกาศว่าจะเร่งดำเนินการเพื่อต่อต้านการฟอกเงินอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นตามที่ FATF แนะนำ

            ทั้งนี้ ในปี 2564 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์คิดเป็นมูลค่า 192.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน และพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ในสัดส่วน 59.05%, 33.74% และ 2.42% ตามลำดับ 


ข้อมูลอ้างอิง


1) JCK. 2022. Eye on Dubai: UAE Placed on Watchdog’s Gray List. [Online]. Available at: www.jckonline.com. (Retrieved March 11,2022).
2) FATF. 2022. Jurisdictions under Increased Monitoring - March 2022. [Online]. Available at: www.fatf-gafi.org. (Retrieved Retrieved March 11,2022).
3) France24. 2022. UAE placed on money-laundering grey list, promises 'robust' response. [Online]. Available at: www.france24.com. (Retrieved March 14,2022).
4) Infoquest. 2563. รัฐบาลทั่วโลกเจอปัญหาฟอกเงิน-ฉ้อโกงพุ่งกระฉูดตามโควิดระบาด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.infoquest.co.th/2020/43960. (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


UAE ถูกขึ้นบัญชีเฝ้าระวัง FATF สั่นคลอนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

Mar 18, 2022
2119 views
1 share

            ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัย ปัญหาการใช้ชีวิตในสังคม และปัญหาทางเศรษฐกิจที่ติดตามมาในทุกภูมิภาคทั่วโลกแล้ว จากรายงานของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนด้านการเงินแก่การก่อการร้าย (Financial Action Task Force : FATF) ระบุว่า ยังมีการฉ้อโกงเกี่ยวกับการปลอมแปลงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการหลอกลวงทางออนไลน์ที่เกี่ยวพันกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อรัฐบาลประเทศต่างๆ 

            ในต้นเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา FATF ได้ประกาศบัญชีเฝ้าระวังประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน (Grey List) ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศแอลเบเนีย บาร์เบโดส บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา หมู่เกาะเคย์แมน เฮติ จาเมกา จอร์แดน มาลี มอลตา โมร็อกโก เมียนมา นิการากัว ปากีสถาน ปานามา ฟิลิปปินส์ เซเนกัล ซูดานใต้ ซีเรีย ตุรกี ยูกันดา และเยเมน ซึ่งมีการถอดประเทศซิมบับเวออกจากบัญชี ส่วนประเทศที่ถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ในครั้งนี้ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยประเทศที่มีรายชื่อในบัญชีนี้ เนื่องจากมีข้อบกพร่องด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 

            สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้น ไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก ยังมีการพัฒนาภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้สร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมัน โดยมีการส่งเสริมการค้าการลงทุน สนับสนุนให้ต่างชาติมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้กลายเป็นศูนย์การค้าการลงทุนที่สำคัญของภูมิภาค รวมทั้งยังมีนครดูไบ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าทองคำที่สำคัญของโลก ด้วยกฎระเบียบการเปิดเสรีทางการค้าดังกล่าวกลายเป็นช่องทางให้มีการใช้เป็นแหล่งฟอกเงินและลักลอบค้าทอง

 

 

 

ภาพงาน JGT Dubai 2022 จาก www.facebook.com/JGT.Dubai.jewelleryshow

            ทั้งนี้ การที่มีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ปรากฏในรายชื่อดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการค้าในทันที แต่อาจเป็นอุปสรรคที่เพิ่มขึ้นในการทำธุรกิจโดยเฉพาะในดูไบที่เป็นแหล่งเขตปลอดภาษีราว 75% ของทั้งประเทศ ซึ่งดูไบไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว การค้าทองคำ แต่ยังเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรก้อนที่สำคัญไม่แพ้ Antwerp ในเบลเยียมอีกด้วย นอกจากนี้ Jewelers Vigilance Committee (JVC) ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความเห็นว่า ควรต้องมีความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในประเด็นการฟอกเงิน ถ้ากิจการมีหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีรายชื่อในบัญชีเหล่านี้ ยิ่งไปกว่านั้นแผนกตรวจสอบของธนาคารจะต้องสอดส่องรายการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทในสหรัฐอเมริกากับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเข้มงวดด้วย

            ขณะที่ Erik Jens อดีตหัวหน้าแผนกเพชรของธนาคาร ABN-Amro ได้เสนอแนะว่า บริษัทที่ใช้หลักการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance : ESG) จะช่วยสร้างความตระหนักในการทำสิ่งที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น จะเป็นหลักที่สอดคล้องกับหลักการของ FATF และทำให้สามารถรักษาสถานะศูนย์กลางการค้าเพชรและเครื่องประดับในระดับโลกไว้ได้ โดยท่าทีของทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ออกมาประกาศว่าจะเร่งดำเนินการเพื่อต่อต้านการฟอกเงินอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นตามที่ FATF แนะนำ

            ทั้งนี้ ในปี 2564 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์คิดเป็นมูลค่า 192.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน และพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ในสัดส่วน 59.05%, 33.74% และ 2.42% ตามลำดับ 


ข้อมูลอ้างอิง


1) JCK. 2022. Eye on Dubai: UAE Placed on Watchdog’s Gray List. [Online]. Available at: www.jckonline.com. (Retrieved March 11,2022).
2) FATF. 2022. Jurisdictions under Increased Monitoring - March 2022. [Online]. Available at: www.fatf-gafi.org. (Retrieved Retrieved March 11,2022).
3) France24. 2022. UAE placed on money-laundering grey list, promises 'robust' response. [Online]. Available at: www.france24.com. (Retrieved March 14,2022).
4) Infoquest. 2563. รัฐบาลทั่วโลกเจอปัญหาฟอกเงิน-ฉ้อโกงพุ่งกระฉูดตามโควิดระบาด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.infoquest.co.th/2020/43960. (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970