สังคมเงินสดขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในแดนภารตะ

Oct 28, 2022
1343 views
0 share

            ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนั้น ไม่เพียงเป็นช่วงที่มักมีการเดินทางท่องเที่ยว ยังมีเทศกาลต่างๆ หลากหลายเทศกาลที่มารวมอยู่ในช่วงนี้ ทำให้เกิดบรรยากาศที่ส่งเสริมการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย แต่รวมทั้งที่อื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งอินเดีย ดินแดนที่มีผู้บริโภคเครื่องประดับทองอันดับต้นๆ ของโลก ที่มีอุปสงค์การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่อนคลายลงตามลำดับ 

            ในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ในประเทศอินเดียมีงานเทศกาลสำคัญต่อเนื่องกันหลายงานอย่างเทศกาลดิวาลี (Diwali) การ์วาจอธ (Karva Chauth) หรือนวราตรี (Navratri) เป็นต้น ซึ่งเทศกาลเฉลิมฉลองเหล่านี้ไม่เพียงเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีมายาวนาน แต่ยังเชื่อมโยงกับค่านิยมและความเชื่อในการบริโภคเครื่องประดับโดยเฉพาะทองคำด้วย ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อหาเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลต่างๆ ซึ่งมีข้อมูลจากสมาคมช่างทองและผู้ค้าเครื่องประดับอินเดีย ได้เปิดเผยว่า เพียงแค่วันพฤหัสที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมาเพียงวันเดียว ซึ่งเป็นช่วงก่อนเทศกาลดิวาลี มีการขายเครื่องประดับทองได้มูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านรูปี หรือคิดเป็น 365,394,600 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการซื้อเครื่องประดับทองด้วยเงินสด คิดเป็นสัดส่วนราว 50-60% ในเขตเมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ แต่เมืองลำดับรองมายังคงนิยมการใช้เงินสดค่อนข้างมาก ทำให้ค่าเฉลี่ยการซื้อเครื่องประดับทองด้วยเงินสดทั่วอินเดีย คิดเป็นสัดส่วน 70-80% 

   

ภาพบรรยากาศการซื้อขายเครื่องประดับทองคำในอินเดีย จาก www.thehindubusinessline.com

            ทั้งนี้ นอกจากความนิยมในการใช้เงินสดแล้ว มีข้อมูลจาก Kalyan Jewellers แบรนด์เครื่องประดับชั้นนำในอินเดีย เปิดเผยว่า การซื้อขายเครื่องประดับที่มีมูลค่าสูงๆ มีหลายกรณีที่ลูกค้าวงเงินบัตรเครดิตไม่เพียงพอ ทำให้มีลูกค้าราว 35% นำทองคำที่เก็บไว้มาแลกเป็นเครื่องประดับชิ้นใหม่ ส่วนการทำธุรกรรมทางการเงินต้องมีมูลค่าไม่เกิน 199,999 รูปีต่อวัน เนื่องจากมีข้อกฎหมายกำหนดไว้ หากเกินกว่านั้นต้องแสดงเลขทะเบียนผู้เสียภาษี 

            ความนิยมในการใช้เงินสดนี้ยังรวมถึงการค้าออนไลน์ที่แม้จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในอินเดีย มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างมากเช่นเดียวกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก แต่เมื่อเลือกวิธีการชำระเงินชาวอินเดียส่วนใหญ่ยังนิยมการจ่ายเงินเมื่อสินค้านั้นมาส่งโดยเฉพาะในเขตชนบท ปัจจัยที่สำคัญ คือ ความนิยมในการใช้ระบบอื่นๆ ทั้งบัตรเครดิตเดบิต หรือการชำระเงินออนไลน์ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย และผู้บริโภคส่วนมากมีความต้องการเห็นสินค้าก่อนที่จะชำระเงิน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ค้าจากต่างประเทศต้องมีความเข้าใจวัฒนธรรมและค่านิยมท้องถิ่นเพื่อสามารถเข้าถึงผู้บริโภคในตลาดนั้นๆ ได้


จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ตุลาคม 2565


ข้อมูลอ้างอิง


1) PARVATHI BENU. 2022. About 60 per cent of gold jewellery purchase paid in cash. [Online]. Available at: https://www.thehindubusinessline.com/data-stories. (Retrieved October 17, 2022).
2) The Times of India. 2022. 90% of rural India’s e-comm orders paid in cash. [Online]. Available at: http://timesofindia.indiatimes.com/articleshow. (Retrieved October 17, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


สังคมเงินสดขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในแดนภารตะ

Oct 28, 2022
1343 views
0 share

            ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนั้น ไม่เพียงเป็นช่วงที่มักมีการเดินทางท่องเที่ยว ยังมีเทศกาลต่างๆ หลากหลายเทศกาลที่มารวมอยู่ในช่วงนี้ ทำให้เกิดบรรยากาศที่ส่งเสริมการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย แต่รวมทั้งที่อื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งอินเดีย ดินแดนที่มีผู้บริโภคเครื่องประดับทองอันดับต้นๆ ของโลก ที่มีอุปสงค์การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่อนคลายลงตามลำดับ 

            ในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ในประเทศอินเดียมีงานเทศกาลสำคัญต่อเนื่องกันหลายงานอย่างเทศกาลดิวาลี (Diwali) การ์วาจอธ (Karva Chauth) หรือนวราตรี (Navratri) เป็นต้น ซึ่งเทศกาลเฉลิมฉลองเหล่านี้ไม่เพียงเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีมายาวนาน แต่ยังเชื่อมโยงกับค่านิยมและความเชื่อในการบริโภคเครื่องประดับโดยเฉพาะทองคำด้วย ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อหาเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลต่างๆ ซึ่งมีข้อมูลจากสมาคมช่างทองและผู้ค้าเครื่องประดับอินเดีย ได้เปิดเผยว่า เพียงแค่วันพฤหัสที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมาเพียงวันเดียว ซึ่งเป็นช่วงก่อนเทศกาลดิวาลี มีการขายเครื่องประดับทองได้มูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านรูปี หรือคิดเป็น 365,394,600 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการซื้อเครื่องประดับทองด้วยเงินสด คิดเป็นสัดส่วนราว 50-60% ในเขตเมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ แต่เมืองลำดับรองมายังคงนิยมการใช้เงินสดค่อนข้างมาก ทำให้ค่าเฉลี่ยการซื้อเครื่องประดับทองด้วยเงินสดทั่วอินเดีย คิดเป็นสัดส่วน 70-80% 

   

ภาพบรรยากาศการซื้อขายเครื่องประดับทองคำในอินเดีย จาก www.thehindubusinessline.com

            ทั้งนี้ นอกจากความนิยมในการใช้เงินสดแล้ว มีข้อมูลจาก Kalyan Jewellers แบรนด์เครื่องประดับชั้นนำในอินเดีย เปิดเผยว่า การซื้อขายเครื่องประดับที่มีมูลค่าสูงๆ มีหลายกรณีที่ลูกค้าวงเงินบัตรเครดิตไม่เพียงพอ ทำให้มีลูกค้าราว 35% นำทองคำที่เก็บไว้มาแลกเป็นเครื่องประดับชิ้นใหม่ ส่วนการทำธุรกรรมทางการเงินต้องมีมูลค่าไม่เกิน 199,999 รูปีต่อวัน เนื่องจากมีข้อกฎหมายกำหนดไว้ หากเกินกว่านั้นต้องแสดงเลขทะเบียนผู้เสียภาษี 

            ความนิยมในการใช้เงินสดนี้ยังรวมถึงการค้าออนไลน์ที่แม้จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในอินเดีย มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างมากเช่นเดียวกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก แต่เมื่อเลือกวิธีการชำระเงินชาวอินเดียส่วนใหญ่ยังนิยมการจ่ายเงินเมื่อสินค้านั้นมาส่งโดยเฉพาะในเขตชนบท ปัจจัยที่สำคัญ คือ ความนิยมในการใช้ระบบอื่นๆ ทั้งบัตรเครดิตเดบิต หรือการชำระเงินออนไลน์ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย และผู้บริโภคส่วนมากมีความต้องการเห็นสินค้าก่อนที่จะชำระเงิน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ค้าจากต่างประเทศต้องมีความเข้าใจวัฒนธรรมและค่านิยมท้องถิ่นเพื่อสามารถเข้าถึงผู้บริโภคในตลาดนั้นๆ ได้


จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ตุลาคม 2565


ข้อมูลอ้างอิง


1) PARVATHI BENU. 2022. About 60 per cent of gold jewellery purchase paid in cash. [Online]. Available at: https://www.thehindubusinessline.com/data-stories. (Retrieved October 17, 2022).
2) The Times of India. 2022. 90% of rural India’s e-comm orders paid in cash. [Online]. Available at: http://timesofindia.indiatimes.com/articleshow. (Retrieved October 17, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970