เงินเฟ้อสูงในสิงคโปร์ กระตุ้นการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ

Dec 23, 2022
2020 views
1 share

            สิงคโปร์แม้เป็นประเทศเกาะเล็กๆ ปลายคาบสมุทรมาลายู แต่เป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการลงทุนที่มีความสำคัญในระดับโลก ในช่วงที่ผ่านมาสิงคโปร์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นเดียวกับประเทศอื่น ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง กระทั่งไตรมาส 2 ของปี 2022 เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีเกิดขึ้นในหลายภาคธุรกิจรวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับ 

            การฟื้นตัวของสิงคโปร์เริ่มมีความชัดเจนตั้งแต่ช่วงเทศกาลเซลล์ทั่วเกาะอย่าง Great Singapore Saleในไตรมาสที่ 2 กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเปิดประเทศ มีการผ่อนคลายการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้มีแรงซื้อจากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับคืนมา สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวยังส่งผลดีต่อการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับในสิงคโปร์ให้สูงขึ้นตามไปด้วย 

            Ho Nai Chuen ประธานสมาคมผู้ค้าเครื่องประดับสิงคโปร์ ได้ให้ความเห็นว่า อุปสงค์ต่อเครื่องประดับในสิงคโปร์ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งมาจากปัจจัย 3 ประการ คือ จำนวนคู่แต่งงานที่เพิ่มมากขึ้น 25.1% นับตั้งแต่ปี 2021 อัตราการเกิดเพิ่มขึ้น และผู้คนหันมาซื้อเครื่องประดับเพื่อการลงทุนกันมากขึ้น 

ภาพเครื่องประดับทอง จาก www.straitstimes.com

            ในปี 2022 สิงคโปร์มีอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่มกราคมอยู่ที่ระดับ 4% และทำสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี ณ เดือนสิงหาคมที่ระดับ 7.5% ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 6.7% ในเดือนตุลาคม กลายเป็นหัวใจสำคัญทำให้ชาวสิงคโปร์หันมาซื้อเครื่องประดับเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อว่า เป็นการลงทุนที่สามารถป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคเครื่องประดับทองของสิงคโปร์ในรอบ 10 เดือนแรกของปี 2022 นั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 45.29% โดยนำเข้าจากประเทศคู่ค้าหลักอย่างมาเลเซีย (สัดส่วน19.84) อินเดีย (สัดส่วน 19.59%) ฝรั่งเศส (สัดส่วน 16.53%) อินโดนีเซีย (สัดส่วน 9.28%) และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (สัดส่วน 6.37%) เพิ่มขึ้น 35.11%, 34.07%, 17.58%, 1,291.14% และ 7.70% ตามลำดับ (ข้อมูลจาก Global Trade Atlas) 

            หลายประเทศในอาเซียน อย่างอินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และสิงคโปร์ ล้วนเป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับทองคำที่สำคัญในตลาดโลก แม้จะมีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์หลายสำนักว่า เศรษฐกิจในปี 2023 นั้น จะชะลอตัวลงจากปี 2022 จากปัจจัยรุมเร้าหลายประการอย่างอัตราเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะสูง และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่ทว่าอาจเป็นผลดีต่อการซื้อหาทองคำรวมทั้งเครื่องประดับทอง เพราะเมื่อเกิดวิกฤติหรือการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทองคำมักเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนได้ดีเสมอ 



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

ข้อมูลอ้างอิง


1) The Star. 2022. Strong demand for gold jewellery from Singapore. [Online]. Available at: https://www.thestar.com.my/business/business-news/2022/11/28. (Retrieved December 13,2022).
2) The Straits Times. 2022. S'pore's jewellery industry stayed strong through Covid-19 pandemic: Industry players. [Online]. Available at: https://www.straitstimes.com/. (Retrieved December 13,2022).
3) Trading Economics. 2022. Singapore Inflation Rate. [Online]. Available at: https://tradingeconomics.com/singapore/inflation-cpi. (Retrieved December 14,2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เงินเฟ้อสูงในสิงคโปร์ กระตุ้นการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ

Dec 23, 2022
2020 views
1 share

            สิงคโปร์แม้เป็นประเทศเกาะเล็กๆ ปลายคาบสมุทรมาลายู แต่เป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการลงทุนที่มีความสำคัญในระดับโลก ในช่วงที่ผ่านมาสิงคโปร์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นเดียวกับประเทศอื่น ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง กระทั่งไตรมาส 2 ของปี 2022 เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีเกิดขึ้นในหลายภาคธุรกิจรวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับ 

            การฟื้นตัวของสิงคโปร์เริ่มมีความชัดเจนตั้งแต่ช่วงเทศกาลเซลล์ทั่วเกาะอย่าง Great Singapore Saleในไตรมาสที่ 2 กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเปิดประเทศ มีการผ่อนคลายการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้มีแรงซื้อจากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับคืนมา สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวยังส่งผลดีต่อการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับในสิงคโปร์ให้สูงขึ้นตามไปด้วย 

            Ho Nai Chuen ประธานสมาคมผู้ค้าเครื่องประดับสิงคโปร์ ได้ให้ความเห็นว่า อุปสงค์ต่อเครื่องประดับในสิงคโปร์ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งมาจากปัจจัย 3 ประการ คือ จำนวนคู่แต่งงานที่เพิ่มมากขึ้น 25.1% นับตั้งแต่ปี 2021 อัตราการเกิดเพิ่มขึ้น และผู้คนหันมาซื้อเครื่องประดับเพื่อการลงทุนกันมากขึ้น 

ภาพเครื่องประดับทอง จาก www.straitstimes.com

            ในปี 2022 สิงคโปร์มีอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่มกราคมอยู่ที่ระดับ 4% และทำสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี ณ เดือนสิงหาคมที่ระดับ 7.5% ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 6.7% ในเดือนตุลาคม กลายเป็นหัวใจสำคัญทำให้ชาวสิงคโปร์หันมาซื้อเครื่องประดับเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อว่า เป็นการลงทุนที่สามารถป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคเครื่องประดับทองของสิงคโปร์ในรอบ 10 เดือนแรกของปี 2022 นั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 45.29% โดยนำเข้าจากประเทศคู่ค้าหลักอย่างมาเลเซีย (สัดส่วน19.84) อินเดีย (สัดส่วน 19.59%) ฝรั่งเศส (สัดส่วน 16.53%) อินโดนีเซีย (สัดส่วน 9.28%) และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (สัดส่วน 6.37%) เพิ่มขึ้น 35.11%, 34.07%, 17.58%, 1,291.14% และ 7.70% ตามลำดับ (ข้อมูลจาก Global Trade Atlas) 

            หลายประเทศในอาเซียน อย่างอินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และสิงคโปร์ ล้วนเป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับทองคำที่สำคัญในตลาดโลก แม้จะมีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์หลายสำนักว่า เศรษฐกิจในปี 2023 นั้น จะชะลอตัวลงจากปี 2022 จากปัจจัยรุมเร้าหลายประการอย่างอัตราเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะสูง และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่ทว่าอาจเป็นผลดีต่อการซื้อหาทองคำรวมทั้งเครื่องประดับทอง เพราะเมื่อเกิดวิกฤติหรือการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทองคำมักเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนได้ดีเสมอ 



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

ข้อมูลอ้างอิง


1) The Star. 2022. Strong demand for gold jewellery from Singapore. [Online]. Available at: https://www.thestar.com.my/business/business-news/2022/11/28. (Retrieved December 13,2022).
2) The Straits Times. 2022. S'pore's jewellery industry stayed strong through Covid-19 pandemic: Industry players. [Online]. Available at: https://www.straitstimes.com/. (Retrieved December 13,2022).
3) Trading Economics. 2022. Singapore Inflation Rate. [Online]. Available at: https://tradingeconomics.com/singapore/inflation-cpi. (Retrieved December 14,2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970