เกาะกระแสงานออกแบบเครื่องประดับยุคใหม่ที่ไม่ควรพลาด (ตอนที่ 1)

Jun 20, 2023
1533 views
0 share

        สำหรับนักออกแบบ เทรนด์อาจเป็นข้อจำกัดเชิงพาณิชย์ที่มาจำกัดความคิดสร้างสรรค์และความเป็นเอกลักษณ์สำหรับบางคน แต่บางคนกลับมองว่ามันอาจเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของตนไปสู่ผู้บริโภคปลายทาง

        นักออกแบบที่รับเทรนด์มาปรับใช้แล้วประสบความสำเร็จมักจะเลือกเทรนด์หนึ่งหรือสองแบบที่ตัวเองชอบ แล้วทิ้งสิ่งที่มองว่าไม่ตรงกับแบรนด์ไป ที่สำคัญนักออกแบบมักจะตีความสิ่งที่เป็นกระแสผ่านมุมมองของตัวเอง และสอดแทรกรูปแบบความงามอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ ไม่ว่าจะใช้สไตล์ตามเทรนด์แบบไหนก็ตาม       

        กระแสงานออกแบบที่กล่าวถึงนี้เป็นตัวอย่างของเครื่องประดับที่นำเอาเทรนด์บางส่วนมาใช้ในคอลเลกชัน แต่ยังคงเอกลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์เอาไว้ได้ โดยเทรนด์ทำหน้าที่เป็นแรงบันดาลใจที่ให้แนวทางมากกว่าจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการสร้างสรรค์ ซึ่งในตอนที่ 1 นี้จะนำเสนอ 2 เทรนด์สำคัญคือ งานฝังประดับ และงานลงยา 


แหวนจากนักออกแบบ Selim Mouzannar


งานฝังประดับ (Inlay)

        ความหลงใหลที่นักออกแบบมีต่อสีสันในปัจจุบันก็ถือเป็นเทรนด์ที่มาแรงในขณะนี้ โดยจะเห็นได้ชัดจากเครื่องประดับซึ่งมีการฝังประดับด้วยพลอยสีที่พบได้แพร่หลายในแบรนด์ต่างๆ เช่น Mason & Books, Sorellina, Jacquie Aiche และ Retrouvai เป็นต้น

        สำหรับนักออกแบบที่ใช้งานฝังประดับเป็นเอกลักษณ์ประจำแบรนด์มานานแล้ว เรามักจะได้เห็นการตกแต่งด้วยลาพิสลาซูลี เทอร์คอยซ์ และมาลาไคต์ ซึ่งทุกวันนี้วัสดุเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การใช้ตัวเลือกอัญมณีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโอปอสีชมพู มอสอะเกต คริโซเพรส และคาลซิโดนี ยิ่งแตกต่างไม่ธรรมดามากเท่าไรก็ยิ่งดี

        สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับงานฝังประดับคือความเหมาะสมในการตกแต่งอัญมณีบนชิ้นงานเครื่องประดับ การใช้พลอยสีเม็ดใหญ่ซึ่งบ่อยครั้งเป็นประเภทที่ราคาไม่สูงมากนักถือเป็นตัวเลือกที่ประหยัดเมื่อเทียบกับการใช้ทองคำหรืออัญมณีเจียระไนราคาแพงเป็นจำนวนมาก แต่ภาพลักษณ์ที่ปรากฏออกไปไม่ได้สื่อถึงความประหยัดมัธยัสถ์ แต่กลับเป็นการแสดงถึงความรื่นเริง ความเต็มที่แบบแม็กซิมัลลิสต์ และการโชว์อัญมณีอย่างโดดเด่น

        ตัวอย่างเช่น แบรนด์ Mason & Books ใช้การฝังประดับหลากหลายรูปแบบในคอลเลกชันของตน โดยเล่นกับลวดลายที่อ่อนโยนน่ารักแบบเด็กๆ เช่น รูปเต่าทอง คันธนู และหัวใจ แม้ว่าทุกชิ้นมีสไตล์เหมือนกัน ทว่าแต่ละชิ้นก็มีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างด้วยการสรรหาอัญมณีโดยนักออกแบบ Jamie Books ซึ่งแบรนด์ Mason & Books เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานพลอยเจียระไนเข้ากับงานฝังประดับด้วยอัญมณี โดยนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดจากทั้งสองสไตล์


แบรนด์ Mason & Books

        เทรนด์นี้ยังเป็นเอกลักษณ์ประจำแบรนด์ Retrouvai ของนักออกแบบ Kirsty Stone ซึ่งมักใช้งานฝังประดับในคอลเลกชันของตน โดยเฉพาะเครื่องประดับชุด “Lollipop” ซึ่งนำพลอยเจียระไนมาใช้ในงานฝังประดับล้อมรอบด้วยอัญมณีอีกชนิดหนึ่ง จึงให้รูปลักษณ์ที่โดดเด่นและมีการผสมผสานสีสันที่น่าสนใจ


แบรนด์ Retrouvai

        Sorellina แบรนด์ที่ก่อตั้งโดยพี่น้อง Nicole และ Kim Carosella ได้สร้างสรรค์แหวนตราอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองซึ่งไม่ใช่งานที่ทำได้ง่ายๆ ด้วยการใช้งานฝังประดับที่เสริมแต่งด้วยตัวอักษรและสัญลักษณ์ซึ่งทำจากเพชรและทองคำ สไตล์นี้ได้รับความสำเร็จมากจนกระทั่งมีวางจำหน่ายในรูปแบบจี้ด้วย


แบรนด์ Sorellina

        ในขณะเดียวกันนักออกแบบ Jacquie Aiche ก็ดีไซน์ให้งานฝังประดับเหมาะกับแบรนด์ด้วยงานโมเสกซึ่งคล้ายกับเครื่องประดับสไตล์ฮิปปีที่ยกระดับให้ดูหรูหรามากขึ้น


เครื่องประดับงานฝังประดับโมเสกจากนักออกแบบ Jacquie Aiche


งานลงยา (Enamel)

        เมื่อสองสามปีที่แล้ว งานลงยาเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมถึงจุดสูงสุด คอลเลกชันใหม่ๆ จากนักออกแบบอิสระแทบทุกคอลเลกชันนั้นมักจะมีงานลงยารวมอยู่ด้วย ปัจจุบันเทรนด์นี้เริ่มชะลอมาอยู่ในจุดที่ลงตัวแล้ว แบรนด์จำนวนมากใช้การลงยาเพื่อเพิ่มสีสันให้วัสดุในรูปแบบที่เหมาะกับวิสัยทัศน์ของแบรนด์ มากกว่าจะเป็นการพยายามไล่ตามกระแสความนิยม

        เช่นเดียวกับงานฝังประดับ การลงยาก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทดลองเล่นกับสีสันมากมายโดยใช้ต้นทุนไม่สูงจนเกินไป และแม้ว่าจะต้องจัดหาอัญมณี แต่นักออกแบบก็สามารถกำหนดเฉดสีลงยาด้วยตนเองเพื่อเติมเต็มแนวคิดของตนในการสร้างสรรค์ทางศิลปะ

        นักออกแบบ Melissa Kaye เป็นผู้นำเทรนด์นี้ด้วยการเปิดตัวสีลงยาที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อนในตลาด เป็นเครื่องประดับหรูอย่างสีฮ็อตพิงค์และสีเหลืองสว่าง หลังจากนำเสนอเฉดสีเรืองแสงไปแล้ว เธอก็หันไปหาสีพาสเทล ผู้จัดซื้อและลูกค้าต่างให้การตอบรับผลงานเหล่านี้ทั้งหมด จึงนับเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าการสร้างสรรค์ไม่ควรถูกจำกัดอยู่เฉพาะสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่าใช้งานได้เพราะมัวแต่เกรงว่างานออกแบบใหม่ๆ จะขายไม่ได้


เครื่องประดับจากนักออกแบบ Melissa Kaye

        นักออกแบบ Selim Mouzannar ก็แสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญในการนำเสนอเทรนด์ตามแบบของตนเองเช่นกัน ถ้า Melissa Kaye ถ่ายทอดความเป็นโมเดิร์น แบรนด์ของ Mouzannar ก็เป็นการคงเทคนิคดั้งเดิมตามแบบโบราณ โดยนำเสนอการลงยาผ่านสีสันที่กำหนดเองจับคู่กับอัญมณีประเภทต่างๆ หรือขับเน้นลวดลายแบบกิโยเช่ (Guilloche) ซึ่งสลักเป็นแถบหรือลายประดับแบบไขว้หรือเกลียวลงบนวัสดุ ส่งผลให้ได้อารมณ์ที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง


แหวนและต่างหูจากนักออกแบบ Selim Mouzannar


จัดทำโดย นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


National Jeweler. 2023. State of Design: The Jewelry Design Trends to Know Now. [Online]. Available at https://nationaljeweler.com/articles/11981-state-of-design-the-jewelry-design-trends-to-know-now.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เกาะกระแสงานออกแบบเครื่องประดับยุคใหม่ที่ไม่ควรพลาด (ตอนที่ 1)

Jun 20, 2023
1533 views
0 share

        สำหรับนักออกแบบ เทรนด์อาจเป็นข้อจำกัดเชิงพาณิชย์ที่มาจำกัดความคิดสร้างสรรค์และความเป็นเอกลักษณ์สำหรับบางคน แต่บางคนกลับมองว่ามันอาจเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของตนไปสู่ผู้บริโภคปลายทาง

        นักออกแบบที่รับเทรนด์มาปรับใช้แล้วประสบความสำเร็จมักจะเลือกเทรนด์หนึ่งหรือสองแบบที่ตัวเองชอบ แล้วทิ้งสิ่งที่มองว่าไม่ตรงกับแบรนด์ไป ที่สำคัญนักออกแบบมักจะตีความสิ่งที่เป็นกระแสผ่านมุมมองของตัวเอง และสอดแทรกรูปแบบความงามอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ ไม่ว่าจะใช้สไตล์ตามเทรนด์แบบไหนก็ตาม       

        กระแสงานออกแบบที่กล่าวถึงนี้เป็นตัวอย่างของเครื่องประดับที่นำเอาเทรนด์บางส่วนมาใช้ในคอลเลกชัน แต่ยังคงเอกลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์เอาไว้ได้ โดยเทรนด์ทำหน้าที่เป็นแรงบันดาลใจที่ให้แนวทางมากกว่าจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการสร้างสรรค์ ซึ่งในตอนที่ 1 นี้จะนำเสนอ 2 เทรนด์สำคัญคือ งานฝังประดับ และงานลงยา 


แหวนจากนักออกแบบ Selim Mouzannar


งานฝังประดับ (Inlay)

        ความหลงใหลที่นักออกแบบมีต่อสีสันในปัจจุบันก็ถือเป็นเทรนด์ที่มาแรงในขณะนี้ โดยจะเห็นได้ชัดจากเครื่องประดับซึ่งมีการฝังประดับด้วยพลอยสีที่พบได้แพร่หลายในแบรนด์ต่างๆ เช่น Mason & Books, Sorellina, Jacquie Aiche และ Retrouvai เป็นต้น

        สำหรับนักออกแบบที่ใช้งานฝังประดับเป็นเอกลักษณ์ประจำแบรนด์มานานแล้ว เรามักจะได้เห็นการตกแต่งด้วยลาพิสลาซูลี เทอร์คอยซ์ และมาลาไคต์ ซึ่งทุกวันนี้วัสดุเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การใช้ตัวเลือกอัญมณีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโอปอสีชมพู มอสอะเกต คริโซเพรส และคาลซิโดนี ยิ่งแตกต่างไม่ธรรมดามากเท่าไรก็ยิ่งดี

        สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับงานฝังประดับคือความเหมาะสมในการตกแต่งอัญมณีบนชิ้นงานเครื่องประดับ การใช้พลอยสีเม็ดใหญ่ซึ่งบ่อยครั้งเป็นประเภทที่ราคาไม่สูงมากนักถือเป็นตัวเลือกที่ประหยัดเมื่อเทียบกับการใช้ทองคำหรืออัญมณีเจียระไนราคาแพงเป็นจำนวนมาก แต่ภาพลักษณ์ที่ปรากฏออกไปไม่ได้สื่อถึงความประหยัดมัธยัสถ์ แต่กลับเป็นการแสดงถึงความรื่นเริง ความเต็มที่แบบแม็กซิมัลลิสต์ และการโชว์อัญมณีอย่างโดดเด่น

        ตัวอย่างเช่น แบรนด์ Mason & Books ใช้การฝังประดับหลากหลายรูปแบบในคอลเลกชันของตน โดยเล่นกับลวดลายที่อ่อนโยนน่ารักแบบเด็กๆ เช่น รูปเต่าทอง คันธนู และหัวใจ แม้ว่าทุกชิ้นมีสไตล์เหมือนกัน ทว่าแต่ละชิ้นก็มีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างด้วยการสรรหาอัญมณีโดยนักออกแบบ Jamie Books ซึ่งแบรนด์ Mason & Books เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานพลอยเจียระไนเข้ากับงานฝังประดับด้วยอัญมณี โดยนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดจากทั้งสองสไตล์


แบรนด์ Mason & Books

        เทรนด์นี้ยังเป็นเอกลักษณ์ประจำแบรนด์ Retrouvai ของนักออกแบบ Kirsty Stone ซึ่งมักใช้งานฝังประดับในคอลเลกชันของตน โดยเฉพาะเครื่องประดับชุด “Lollipop” ซึ่งนำพลอยเจียระไนมาใช้ในงานฝังประดับล้อมรอบด้วยอัญมณีอีกชนิดหนึ่ง จึงให้รูปลักษณ์ที่โดดเด่นและมีการผสมผสานสีสันที่น่าสนใจ


แบรนด์ Retrouvai

        Sorellina แบรนด์ที่ก่อตั้งโดยพี่น้อง Nicole และ Kim Carosella ได้สร้างสรรค์แหวนตราอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองซึ่งไม่ใช่งานที่ทำได้ง่ายๆ ด้วยการใช้งานฝังประดับที่เสริมแต่งด้วยตัวอักษรและสัญลักษณ์ซึ่งทำจากเพชรและทองคำ สไตล์นี้ได้รับความสำเร็จมากจนกระทั่งมีวางจำหน่ายในรูปแบบจี้ด้วย


แบรนด์ Sorellina

        ในขณะเดียวกันนักออกแบบ Jacquie Aiche ก็ดีไซน์ให้งานฝังประดับเหมาะกับแบรนด์ด้วยงานโมเสกซึ่งคล้ายกับเครื่องประดับสไตล์ฮิปปีที่ยกระดับให้ดูหรูหรามากขึ้น


เครื่องประดับงานฝังประดับโมเสกจากนักออกแบบ Jacquie Aiche


งานลงยา (Enamel)

        เมื่อสองสามปีที่แล้ว งานลงยาเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมถึงจุดสูงสุด คอลเลกชันใหม่ๆ จากนักออกแบบอิสระแทบทุกคอลเลกชันนั้นมักจะมีงานลงยารวมอยู่ด้วย ปัจจุบันเทรนด์นี้เริ่มชะลอมาอยู่ในจุดที่ลงตัวแล้ว แบรนด์จำนวนมากใช้การลงยาเพื่อเพิ่มสีสันให้วัสดุในรูปแบบที่เหมาะกับวิสัยทัศน์ของแบรนด์ มากกว่าจะเป็นการพยายามไล่ตามกระแสความนิยม

        เช่นเดียวกับงานฝังประดับ การลงยาก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทดลองเล่นกับสีสันมากมายโดยใช้ต้นทุนไม่สูงจนเกินไป และแม้ว่าจะต้องจัดหาอัญมณี แต่นักออกแบบก็สามารถกำหนดเฉดสีลงยาด้วยตนเองเพื่อเติมเต็มแนวคิดของตนในการสร้างสรรค์ทางศิลปะ

        นักออกแบบ Melissa Kaye เป็นผู้นำเทรนด์นี้ด้วยการเปิดตัวสีลงยาที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อนในตลาด เป็นเครื่องประดับหรูอย่างสีฮ็อตพิงค์และสีเหลืองสว่าง หลังจากนำเสนอเฉดสีเรืองแสงไปแล้ว เธอก็หันไปหาสีพาสเทล ผู้จัดซื้อและลูกค้าต่างให้การตอบรับผลงานเหล่านี้ทั้งหมด จึงนับเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าการสร้างสรรค์ไม่ควรถูกจำกัดอยู่เฉพาะสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่าใช้งานได้เพราะมัวแต่เกรงว่างานออกแบบใหม่ๆ จะขายไม่ได้


เครื่องประดับจากนักออกแบบ Melissa Kaye

        นักออกแบบ Selim Mouzannar ก็แสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญในการนำเสนอเทรนด์ตามแบบของตนเองเช่นกัน ถ้า Melissa Kaye ถ่ายทอดความเป็นโมเดิร์น แบรนด์ของ Mouzannar ก็เป็นการคงเทคนิคดั้งเดิมตามแบบโบราณ โดยนำเสนอการลงยาผ่านสีสันที่กำหนดเองจับคู่กับอัญมณีประเภทต่างๆ หรือขับเน้นลวดลายแบบกิโยเช่ (Guilloche) ซึ่งสลักเป็นแถบหรือลายประดับแบบไขว้หรือเกลียวลงบนวัสดุ ส่งผลให้ได้อารมณ์ที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง


แหวนและต่างหูจากนักออกแบบ Selim Mouzannar


จัดทำโดย นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


National Jeweler. 2023. State of Design: The Jewelry Design Trends to Know Now. [Online]. Available at https://nationaljeweler.com/articles/11981-state-of-design-the-jewelry-design-trends-to-know-now.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970