จับตา! 2 เม.ย. 68 สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า เขย่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย

Mar 31, 2025
372 views
0 share

        นโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างความปั่นป่วนให้กับเศรษฐกิจโลก เพราะจุดชนวนให้เกิดสงครามการค้ากับหลายประเทศ เริ่มจากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าหลายรายการจากแคนาดาและจีน ซึ่งแคนาดาและจีนก็ตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ หลายรายการเช่นเดียวกัน

การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ายังได้ขยายวงกว้างไปหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2568 นายสกอต เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวว่า ในวันที่ 2 เมษายน 2568 สหรัฐฯ จะประกาศใช้มาตรการขึ้นภาษีนำเข้ากับประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าสูงสุด 15 ประเทศ ซึ่งถูกเรียกว่า "Dirty 15" โดยไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ประเทศเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ประกอบด้วย

ที่มา: The United States Trade Representative: USTR

คาดกันว่าการประกาศปรับอัตราภาษีนำเข้าใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2568 จะขยายครอบคลุมสินค้าที่นำเข้าไปยังสหรัฐฯ เกือบทั้งหมด รวมถึงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับด้วย ส่วนของอัตราภาษีที่จะเรียกเก็บ ยังคงอยู่ระหว่างการหารือ

ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสำคัญของสหรัฐอเมริกาตามข้อมูลของ Global Trade Atlas ในปี 2567 มีดังนี้

         1. พลอยเนื้อแข็งเจียระไน

              

        2. พลอยเนื่้ออ่อนเจียระไน

               

        3. เครื่องประดับเงิน

            

       4. เครื่องประดับทอง

           

ในระยะแรกคาดกันว่าสหรัฐฯ อาจเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจาก 5 ประเทศแรกที่เกินดุลการค้าก่อน ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป เม็กซิโก เวียดนาม และไต้หวัน เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐฯ พบว่า จีนเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกหลักในตลาดนี้ และเป็นคู่แข่งของไทย ซึ่งหากจีนต้องเสียภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น จะทำให้เครื่องประดับและวัตถุดิบที่ผลิตจากจีน รวมถึงอัญมณี มีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อร้านค้าปลีกและแบรนด์ที่พึ่งพาซัพพลายเออร์จีนเป็นหลัก โดยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะถูกผลักภาระไปยังผู้บริโภค

 

ภาพจาก https://www.outlookbusiness.com/

แบรนด์สหรัฐฯ อาจเริ่มมองหาฐานการผลิตทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไทยมีชื่อเสียงในด้านความชำนาญในการเจียระไนอัญมณีและผลิตเครื่องประดับคุณภาพสูง ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าดึงดูด ผู้ผลิตไทยมีความสามารถในการผลิตเครื่องประดับพรีเมียมในราคาที่แข่งขันได้ มีความพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการของแบรนด์สหรัฐฯ ช่วยให้แบรนด์สหรัฐฯ สามารถรักษามาตรฐานคุณภาพและหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าได้

        อย่างไรก็ดี ถ้าหากสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากทั้ง 15 ประเทศในครั้งนี้พร้อมกัน ทั้งจีน และอินเดีย ซึ่งเป็นคู่แข่งในสินค้านี้กับไทยก็จะถูกเก็บภาษีด้วยนั้น ก็จะไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกับไทย แต่เมื่อสหรัฐฯ เก็บภาษีเพิ่มขึ้นแล้ว จะทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ส่งเข้าไปยังสหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้น ผู้นำเข้าสหรัฐฯ อาจลดการสั่งซื้อจาก 3 ประเทศดังกล่าว และหันไปหาประเทศที่ไม่ได้ถูกขึ้นภาษีแทน โดยสินค้าพลอยสี สหรัฐฯ อาจไปซื้อมากขึ้น เช่น ศรีลังกา บราซิล และประเทศในแถบแอฟริกา

        นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จากนโยบายการค้าของทรัมป์ คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชะลอตัว กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค บวกกับราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งทำให้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายและอาจลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับลง ซึ่งจะทำให้ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยได้ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรติดตามประกาศการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ที่อาจกระทบต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปยังสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยควรเร่งหาแนวทางเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด เพื่อให้การส่งอออกสินค้าของไทยไม่ชะลอตัวลงไปมาก



จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 มีนาคม 2568


ข้อมูลอ้างอิง


1) กรุงเทพธุรกิจ [ออนไลน์], ทรัมป์ยืนยันเก็บภาษีตอบโต้แน่กับ 'ทุกประเทศ' 2 เมษายนนี้, สืบค้นได้ที่ https://www.bangkokbiznews.com/world/1173672. (สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2568)
2) ฐานเศรษฐกิจ [ออนไลน์], เปิดแผนลับทรัมป์! 2 เม.ย.'วันปลดปล่อย' เปิดศึกสงครามการค้าขึ้นภาษีทั่วโลก, สืบค้นได้ที่ https://www.thansettakij.com/economy/623596. (สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2568)

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


จับตา! 2 เม.ย. 68 สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า เขย่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย

Mar 31, 2025
372 views
0 share

        นโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างความปั่นป่วนให้กับเศรษฐกิจโลก เพราะจุดชนวนให้เกิดสงครามการค้ากับหลายประเทศ เริ่มจากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าหลายรายการจากแคนาดาและจีน ซึ่งแคนาดาและจีนก็ตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ หลายรายการเช่นเดียวกัน

การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ายังได้ขยายวงกว้างไปหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2568 นายสกอต เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวว่า ในวันที่ 2 เมษายน 2568 สหรัฐฯ จะประกาศใช้มาตรการขึ้นภาษีนำเข้ากับประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าสูงสุด 15 ประเทศ ซึ่งถูกเรียกว่า "Dirty 15" โดยไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ประเทศเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ประกอบด้วย

ที่มา: The United States Trade Representative: USTR

คาดกันว่าการประกาศปรับอัตราภาษีนำเข้าใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2568 จะขยายครอบคลุมสินค้าที่นำเข้าไปยังสหรัฐฯ เกือบทั้งหมด รวมถึงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับด้วย ส่วนของอัตราภาษีที่จะเรียกเก็บ ยังคงอยู่ระหว่างการหารือ

ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสำคัญของสหรัฐอเมริกาตามข้อมูลของ Global Trade Atlas ในปี 2567 มีดังนี้

         1. พลอยเนื้อแข็งเจียระไน

              

        2. พลอยเนื่้ออ่อนเจียระไน

               

        3. เครื่องประดับเงิน

            

       4. เครื่องประดับทอง

           

ในระยะแรกคาดกันว่าสหรัฐฯ อาจเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจาก 5 ประเทศแรกที่เกินดุลการค้าก่อน ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป เม็กซิโก เวียดนาม และไต้หวัน เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐฯ พบว่า จีนเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกหลักในตลาดนี้ และเป็นคู่แข่งของไทย ซึ่งหากจีนต้องเสียภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น จะทำให้เครื่องประดับและวัตถุดิบที่ผลิตจากจีน รวมถึงอัญมณี มีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อร้านค้าปลีกและแบรนด์ที่พึ่งพาซัพพลายเออร์จีนเป็นหลัก โดยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะถูกผลักภาระไปยังผู้บริโภค

 

ภาพจาก https://www.outlookbusiness.com/

แบรนด์สหรัฐฯ อาจเริ่มมองหาฐานการผลิตทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไทยมีชื่อเสียงในด้านความชำนาญในการเจียระไนอัญมณีและผลิตเครื่องประดับคุณภาพสูง ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าดึงดูด ผู้ผลิตไทยมีความสามารถในการผลิตเครื่องประดับพรีเมียมในราคาที่แข่งขันได้ มีความพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการของแบรนด์สหรัฐฯ ช่วยให้แบรนด์สหรัฐฯ สามารถรักษามาตรฐานคุณภาพและหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าได้

        อย่างไรก็ดี ถ้าหากสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากทั้ง 15 ประเทศในครั้งนี้พร้อมกัน ทั้งจีน และอินเดีย ซึ่งเป็นคู่แข่งในสินค้านี้กับไทยก็จะถูกเก็บภาษีด้วยนั้น ก็จะไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกับไทย แต่เมื่อสหรัฐฯ เก็บภาษีเพิ่มขึ้นแล้ว จะทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ส่งเข้าไปยังสหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้น ผู้นำเข้าสหรัฐฯ อาจลดการสั่งซื้อจาก 3 ประเทศดังกล่าว และหันไปหาประเทศที่ไม่ได้ถูกขึ้นภาษีแทน โดยสินค้าพลอยสี สหรัฐฯ อาจไปซื้อมากขึ้น เช่น ศรีลังกา บราซิล และประเทศในแถบแอฟริกา

        นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จากนโยบายการค้าของทรัมป์ คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชะลอตัว กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค บวกกับราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งทำให้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายและอาจลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับลง ซึ่งจะทำให้ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยได้ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรติดตามประกาศการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ที่อาจกระทบต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปยังสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยควรเร่งหาแนวทางเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด เพื่อให้การส่งอออกสินค้าของไทยไม่ชะลอตัวลงไปมาก



จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 มีนาคม 2568


ข้อมูลอ้างอิง


1) กรุงเทพธุรกิจ [ออนไลน์], ทรัมป์ยืนยันเก็บภาษีตอบโต้แน่กับ 'ทุกประเทศ' 2 เมษายนนี้, สืบค้นได้ที่ https://www.bangkokbiznews.com/world/1173672. (สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2568)
2) ฐานเศรษฐกิจ [ออนไลน์], เปิดแผนลับทรัมป์! 2 เม.ย.'วันปลดปล่อย' เปิดศึกสงครามการค้าขึ้นภาษีทั่วโลก, สืบค้นได้ที่ https://www.thansettakij.com/economy/623596. (สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2568)

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970