โอกาสและความท้าทายของอัญมณีและเครื่องประดับไทย หลังสหรัฐฯ เพิ่มภาษีนำเข้า

Apr 24, 2025
124 views
0 share

        เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีสหรัฐ นายโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศเก็บภาษีนำเข้าขั้นต่ำ 10% จาก 185 ประเทศทั่วโลก และอัตราที่สูงกว่าสำหรับประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกจัดเก็บในอัตราสูงถึง 36% แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศชะลอการปรับขึ้นภาษีตอบโต้กับประเทศที่เกินดุลการค้าออกไป 90 วัน ยกเว้นจีนที่สหรัฐฯ ได้เพิ่มอัตราภาษีนำเข้าเป็น 125% บวกกับภาษีเดิม 20% รวมภาษีที่เก็บจากจีน 145% เพื่อตอบโต้จีนที่ประกาศขึ้นภาษีตอบโต้กลับสหรัฐฯ ขณะที่ยังคงเก็บภาษีขั้นต่ำกับทุกประเทศเพิ่ม 10%

สถานการณ์นำเข้า/ส่งออก

จากสถิติของ Global Trade Atlas พบว่า ในปี 2567 สหรัฐฯ นำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ด้วยมูลค่า 73,171.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้าจากสวิตเซอร์แลนด์มากที่สุด (สัดส่วน 17.72%) รองลงมาคือ อินเดีย (สัดส่วน 15.82%) แอฟริกาใต้ (สัดส่วน 10.75%) แคนาดา (สัดส่วน 7.57%) และอิสราเอล (สัดส่วน 5.89%) นำเข้าจากไทยในอันดับที่ 12 (สัดส่วน 2.49%) และนำเข้าจากจีนในอันดับที่ 13 (สัดส่วน 2.37%)

        ส่วนไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในปี 2567 ด้วยมูลค่า 9,609.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งไปยังตลาดหลักใน 5 อันดับแรกได้แก่ ฮ่องกง (สัดส่วน 24.82%) สหรัฐอเมริกา (สัดส่วน 20.26%) อินเดีย (สัดส่วน 13.04%) เยอรมนี (สัดส่วน 5.90%) และสหราชอาณาจักร (สัดส่วน 4.12%) ตามลำดับ

โดยสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเพชรเจียระไน

อัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

ภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากไทยและประเทศคู่แข่งของไทยในตลาดสหรัฐฯ มีดังนี้

        จากตารางที่2 จะเห็นได้ว่าสินค้าที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าจากคู่แข่งของไทยในอัตราเดียวกันกับไทย ยกเว้นจีนที่มีอัตราภาษีสูงกว่า ซึ่งไทยได้แต้มต่อมากกว่าจีนกว่า 100% แม้ว่าไทยจะเสียภาษีในอัตราเดียวกันกับคู่แข่ง แต่ต้นทุนอื่นๆ ของอินเดียและเวียดนามถูกกว่าเมื่อเทียบกับไทย สินค้าจากอินเดียและเวียดนามที่ส่งเข้าไปยังสหรัฐฯ ก็ยังถูกกว่าไทย ซึ่งอาจทำให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ หันไปนำเข้าจากอินเดียมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่อินเดียมีศักยภาพสูง ได้แก่ เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับทอง 

        ในส่วนของพลอยสี ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพมาก และด้วยฝีมือเจียระไนและการปรับปรุงคุณภาพพลอยสีของไทย สหรัฐฯ ก็อาจยังต้องนำเข้าจากไทยอยู่ แต่อาจลดการนำเข้าลง เนื่องจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น 

        อย่างไรก็ดี หลังครบ 90 วัน หากไม่มีประเทศใดเจรจากับสหรัฐฯ ได้สำเร็จ ไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น 36% ในขณะที่อินเดียจะเสียภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น 26% ซึ่งอินเดียจะได้เปรียบไทย ส่วนเวียดนามจะถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 46% ทำให้ไทยได้แต้มต่อเวียดนาม

        แต่หากการเจรจาส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลง เช่น สหรัฐฯ ลดภาษีให้อินเดีย และเวียดนาม มากกว่าไทย ก็จะทำให้ไทยเสียเปรียบ เพราะต้นทุนของไทยจะสูงกว่าอินเดีย และอาจเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับอินเดีย เพราะราคาสินค้าไทยในสหรัฐฯ แพงมากกว่าอินเดีย ทำให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ ชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากไทย และหันไปซื้อสินค้าจากอินเดียแทน และมีความเป็นไปได้ว่าบริษัทต่างชาติอาจย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามแทน เพราะเวียดนามจะมีต้นทุนที่ถูกกว่าไทย

ทั้งนี้ มองว่า ถ้าจีนถูกเก็บภาษีที่สูงกว่าไทยมากในอัตรากว่า 100% จีนก็จะไม่ใช่คู่แข่งของไทยในกลุ่มสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดสหรัฐฯ อีกต่อไป

ความเป็นไปได้ในการส่งออกสินค้าผ่านประเทศอื่นๆ ไปยังสหรัฐฯ 

การส่งออกสินค้าผ่านไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีอัตราภาษีต่ำกว่าไปยังสหรัฐฯ เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีอัตราภาษี 0-10% และอินเดีย ซึ่งมีอัตราภาษีต่ำกว่าไทย 10% (กรณีครบ 90 วันและการเจรจาไม่สำเร็จ) จะช่วยให้ไทยลดผลกระทบจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ได้ แต่ก็มีทั้งโอกาสและความท้าทาย ดังนี้

โอกาส:

        1) การส่งสินค้าผ่านสิงคโปร์และอินเดีย ช่วยลดภาระภาษีเมื่อเทียบกับกับการส่งออกจากไทยโดยตรง ทำให้ราคาสินค้าในสหรัฐฯ แข่งขันได้มากขึ้น ซึ่งการลดต้นทุนภาษี จะช่วยให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ ยังคงเลือกสินค้าไทย

        2) ไทยสามารถใช้ข้อตกลงการค้าเสรี เช่น อาเซียน ไทย-อินเดีย หรืออาเซียน-อินเดีย เพื่อส่งสินค้าไปยังสิงคโปร์/อินเดียด้วยภาษีนำเข้าที่ต่ำหรือเป็นศูนย์ในบางกรณี ก่อนส่งต่อไปสหรัฐฯ

ความท้าทาย:

        1) สหรัฐฯ มีกฎระเบียบเข้มงวดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดสินค้า หากสินค้าถูกส่งผ่านสิงคโปร์หรืออินเดียโดยไม่มีการแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่าที่เพียงพอ อาจไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีของสิงคโปร์และอินเดีย และอาจถูกตรวจสอบหรือเรียกเก็บภาษีในอัตราไทยแทน

        2) การส่งสินค้าไปอินเดียเพื่อแปรรูปหรือส่งต่อสหรัฐฯ จะเพิ่มต้นทุนการขนส่ง ค่าแรง และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งอาจทำให้กำไรลดลงหากบริหารจัดการไม่ดี

        ข้อสังเกต จากที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยบางรายได้ทำความร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นในสิงคโปร์และอินเดียในการนำสินค้าจากไทยไปกระจายต่อตลาดต่างๆ รวมถึงสหรัฐฯ ด้วย แต่การปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ นอกจากผู้ประกอบการไทยจะต้องหาความร่วมมือเพิ่มขึ้นแล้ว หน่วยงานภาครัฐของไทยก็ต้องช่วยผู้ประกอบการไทยเพิ่มมากขึ้น ในการหาคู่ค้าหรือพันธมิตรที่จะนำสินค้าของไทยไปแปรรูปให้สอดคล้องกับกฎถิ่นกำเนิดของสหรัฐฯ รวมถึงช่วยเหลืองินทุนในการตั้งโรงงานขนาดเล็กหรือร่วมทุนในอินเดียเพื่อทำการขัดเจียระไน ขึ้นตัวเรือน หรือประกอบเครื่องประดับ ซึ่งจะช่วยให้สินค้าถือเป็น “Made in India” และสามารถส่งเข้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ ได้ต่อไป

        แต่ต้องระวังสหรัฐฯ อาจตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าอย่างเข้มงวด หากพบว่าเป็นการหลบเลี่ยงภาษี อาจถูกปรับหรือขึ้นบัญชีดำ ทั้งนี้ นโยบายภาษีของสหรัฐฯ อาจเปลี่ยนแปลงได้ จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

        อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการเจรจราลดภาษีกับสหรัฐฯ จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็คาดว่าอัตราภาษีที่ถูกเรียกเก็บก็จะยังคงเพิ่มจากก่อนหน้าที่ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งการที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีอัญมณีและเครื่องประดับจากไทย ย่อมส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาโดยตรง เพราะต้นทุนของผู้ประกอบการไทยจะสูงขึ้นเมื่อสินค้าถูกเก็บภาษีมากขึ้น ทำให้ต้องหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโดยไม่กระทบต่อคุณภาพสินค้า "การใช้ระบบ Lean" เข้ามาจัดการกระบวนการผลิตจึงเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสม และสามารถช่วยให้เกิดทั้ง Economic of Scale (การลดต้นทุนต่อหน่วยจากการผลิตจำนวนมากขึ้น) และ Economic of Speed (การลดต้นทุนจากการผลิตเร็วขึ้น ส่งของเร็วขึ้น ตอบสนองลูกค้าได้เร็วกว่า) ได้

Economic of Scale เช่น ใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนแทนแรงงานในจุดที่ซ้ำซ้อน เพื่อเพิ่มจำนวนการผลิตโดยใช้ทรัพยากรเท่าเดิม การสร้างมาตรฐานงานเพื่อให้ผลิตได้เร็วขึ้น ไม่เสียเวลาแก้ไข ลดของเสีย ทำให้รองรับการผลิตในปริมาณมากได้โดยไม่เพิ่มต้นทุน เป็นต้น

Economic of Speed เช่น วาดแผนที่กระบวนการผลิตทั้งหมดเพื่อหาจุดอุดตันหรือความล่าช้า แล้วปรับให้ลื่นไหลขึ้น เมื่อทุกขั้นตอน lean และลื่นไหลมากขึ้น เวลาการรับออเดอร์จนถึงส่งมอบสินค้าจะสั้นลง ทำให้หมุนทุนได้เร็ว เป็นต้น

หากไทยแข่งขันด้านราคาไม่ได้เท่าเวียดนามหรืออินเดีย การใช้ Lean ทำให้ส่งของได้เร็วกว่า ลดเวลาเข้าตลาด และตอบโจทย์เทรนด์แฟชั่นที่เปลี่ยนเร็ว และหากรับผลิตให้แบรนด์ต่างชาติ (OEM/ODM) การมีระบบ Lean จะสร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการผลิต


จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เมษายน 2568



เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


โอกาสและความท้าทายของอัญมณีและเครื่องประดับไทย หลังสหรัฐฯ เพิ่มภาษีนำเข้า

Apr 24, 2025
124 views
0 share

        เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีสหรัฐ นายโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศเก็บภาษีนำเข้าขั้นต่ำ 10% จาก 185 ประเทศทั่วโลก และอัตราที่สูงกว่าสำหรับประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกจัดเก็บในอัตราสูงถึง 36% แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศชะลอการปรับขึ้นภาษีตอบโต้กับประเทศที่เกินดุลการค้าออกไป 90 วัน ยกเว้นจีนที่สหรัฐฯ ได้เพิ่มอัตราภาษีนำเข้าเป็น 125% บวกกับภาษีเดิม 20% รวมภาษีที่เก็บจากจีน 145% เพื่อตอบโต้จีนที่ประกาศขึ้นภาษีตอบโต้กลับสหรัฐฯ ขณะที่ยังคงเก็บภาษีขั้นต่ำกับทุกประเทศเพิ่ม 10%

สถานการณ์นำเข้า/ส่งออก

จากสถิติของ Global Trade Atlas พบว่า ในปี 2567 สหรัฐฯ นำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ด้วยมูลค่า 73,171.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้าจากสวิตเซอร์แลนด์มากที่สุด (สัดส่วน 17.72%) รองลงมาคือ อินเดีย (สัดส่วน 15.82%) แอฟริกาใต้ (สัดส่วน 10.75%) แคนาดา (สัดส่วน 7.57%) และอิสราเอล (สัดส่วน 5.89%) นำเข้าจากไทยในอันดับที่ 12 (สัดส่วน 2.49%) และนำเข้าจากจีนในอันดับที่ 13 (สัดส่วน 2.37%)

        ส่วนไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในปี 2567 ด้วยมูลค่า 9,609.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งไปยังตลาดหลักใน 5 อันดับแรกได้แก่ ฮ่องกง (สัดส่วน 24.82%) สหรัฐอเมริกา (สัดส่วน 20.26%) อินเดีย (สัดส่วน 13.04%) เยอรมนี (สัดส่วน 5.90%) และสหราชอาณาจักร (สัดส่วน 4.12%) ตามลำดับ

โดยสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเพชรเจียระไน

อัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

ภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากไทยและประเทศคู่แข่งของไทยในตลาดสหรัฐฯ มีดังนี้

        จากตารางที่2 จะเห็นได้ว่าสินค้าที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าจากคู่แข่งของไทยในอัตราเดียวกันกับไทย ยกเว้นจีนที่มีอัตราภาษีสูงกว่า ซึ่งไทยได้แต้มต่อมากกว่าจีนกว่า 100% แม้ว่าไทยจะเสียภาษีในอัตราเดียวกันกับคู่แข่ง แต่ต้นทุนอื่นๆ ของอินเดียและเวียดนามถูกกว่าเมื่อเทียบกับไทย สินค้าจากอินเดียและเวียดนามที่ส่งเข้าไปยังสหรัฐฯ ก็ยังถูกกว่าไทย ซึ่งอาจทำให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ หันไปนำเข้าจากอินเดียมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่อินเดียมีศักยภาพสูง ได้แก่ เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับทอง 

        ในส่วนของพลอยสี ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพมาก และด้วยฝีมือเจียระไนและการปรับปรุงคุณภาพพลอยสีของไทย สหรัฐฯ ก็อาจยังต้องนำเข้าจากไทยอยู่ แต่อาจลดการนำเข้าลง เนื่องจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น 

        อย่างไรก็ดี หลังครบ 90 วัน หากไม่มีประเทศใดเจรจากับสหรัฐฯ ได้สำเร็จ ไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น 36% ในขณะที่อินเดียจะเสียภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น 26% ซึ่งอินเดียจะได้เปรียบไทย ส่วนเวียดนามจะถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 46% ทำให้ไทยได้แต้มต่อเวียดนาม

        แต่หากการเจรจาส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลง เช่น สหรัฐฯ ลดภาษีให้อินเดีย และเวียดนาม มากกว่าไทย ก็จะทำให้ไทยเสียเปรียบ เพราะต้นทุนของไทยจะสูงกว่าอินเดีย และอาจเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับอินเดีย เพราะราคาสินค้าไทยในสหรัฐฯ แพงมากกว่าอินเดีย ทำให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ ชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากไทย และหันไปซื้อสินค้าจากอินเดียแทน และมีความเป็นไปได้ว่าบริษัทต่างชาติอาจย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามแทน เพราะเวียดนามจะมีต้นทุนที่ถูกกว่าไทย

ทั้งนี้ มองว่า ถ้าจีนถูกเก็บภาษีที่สูงกว่าไทยมากในอัตรากว่า 100% จีนก็จะไม่ใช่คู่แข่งของไทยในกลุ่มสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดสหรัฐฯ อีกต่อไป

ความเป็นไปได้ในการส่งออกสินค้าผ่านประเทศอื่นๆ ไปยังสหรัฐฯ 

การส่งออกสินค้าผ่านไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีอัตราภาษีต่ำกว่าไปยังสหรัฐฯ เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีอัตราภาษี 0-10% และอินเดีย ซึ่งมีอัตราภาษีต่ำกว่าไทย 10% (กรณีครบ 90 วันและการเจรจาไม่สำเร็จ) จะช่วยให้ไทยลดผลกระทบจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ได้ แต่ก็มีทั้งโอกาสและความท้าทาย ดังนี้

โอกาส:

        1) การส่งสินค้าผ่านสิงคโปร์และอินเดีย ช่วยลดภาระภาษีเมื่อเทียบกับกับการส่งออกจากไทยโดยตรง ทำให้ราคาสินค้าในสหรัฐฯ แข่งขันได้มากขึ้น ซึ่งการลดต้นทุนภาษี จะช่วยให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ ยังคงเลือกสินค้าไทย

        2) ไทยสามารถใช้ข้อตกลงการค้าเสรี เช่น อาเซียน ไทย-อินเดีย หรืออาเซียน-อินเดีย เพื่อส่งสินค้าไปยังสิงคโปร์/อินเดียด้วยภาษีนำเข้าที่ต่ำหรือเป็นศูนย์ในบางกรณี ก่อนส่งต่อไปสหรัฐฯ

ความท้าทาย:

        1) สหรัฐฯ มีกฎระเบียบเข้มงวดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดสินค้า หากสินค้าถูกส่งผ่านสิงคโปร์หรืออินเดียโดยไม่มีการแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่าที่เพียงพอ อาจไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีของสิงคโปร์และอินเดีย และอาจถูกตรวจสอบหรือเรียกเก็บภาษีในอัตราไทยแทน

        2) การส่งสินค้าไปอินเดียเพื่อแปรรูปหรือส่งต่อสหรัฐฯ จะเพิ่มต้นทุนการขนส่ง ค่าแรง และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งอาจทำให้กำไรลดลงหากบริหารจัดการไม่ดี

        ข้อสังเกต จากที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยบางรายได้ทำความร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นในสิงคโปร์และอินเดียในการนำสินค้าจากไทยไปกระจายต่อตลาดต่างๆ รวมถึงสหรัฐฯ ด้วย แต่การปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ นอกจากผู้ประกอบการไทยจะต้องหาความร่วมมือเพิ่มขึ้นแล้ว หน่วยงานภาครัฐของไทยก็ต้องช่วยผู้ประกอบการไทยเพิ่มมากขึ้น ในการหาคู่ค้าหรือพันธมิตรที่จะนำสินค้าของไทยไปแปรรูปให้สอดคล้องกับกฎถิ่นกำเนิดของสหรัฐฯ รวมถึงช่วยเหลืองินทุนในการตั้งโรงงานขนาดเล็กหรือร่วมทุนในอินเดียเพื่อทำการขัดเจียระไน ขึ้นตัวเรือน หรือประกอบเครื่องประดับ ซึ่งจะช่วยให้สินค้าถือเป็น “Made in India” และสามารถส่งเข้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ ได้ต่อไป

        แต่ต้องระวังสหรัฐฯ อาจตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าอย่างเข้มงวด หากพบว่าเป็นการหลบเลี่ยงภาษี อาจถูกปรับหรือขึ้นบัญชีดำ ทั้งนี้ นโยบายภาษีของสหรัฐฯ อาจเปลี่ยนแปลงได้ จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

        อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการเจรจราลดภาษีกับสหรัฐฯ จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็คาดว่าอัตราภาษีที่ถูกเรียกเก็บก็จะยังคงเพิ่มจากก่อนหน้าที่ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งการที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีอัญมณีและเครื่องประดับจากไทย ย่อมส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาโดยตรง เพราะต้นทุนของผู้ประกอบการไทยจะสูงขึ้นเมื่อสินค้าถูกเก็บภาษีมากขึ้น ทำให้ต้องหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโดยไม่กระทบต่อคุณภาพสินค้า "การใช้ระบบ Lean" เข้ามาจัดการกระบวนการผลิตจึงเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสม และสามารถช่วยให้เกิดทั้ง Economic of Scale (การลดต้นทุนต่อหน่วยจากการผลิตจำนวนมากขึ้น) และ Economic of Speed (การลดต้นทุนจากการผลิตเร็วขึ้น ส่งของเร็วขึ้น ตอบสนองลูกค้าได้เร็วกว่า) ได้

Economic of Scale เช่น ใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนแทนแรงงานในจุดที่ซ้ำซ้อน เพื่อเพิ่มจำนวนการผลิตโดยใช้ทรัพยากรเท่าเดิม การสร้างมาตรฐานงานเพื่อให้ผลิตได้เร็วขึ้น ไม่เสียเวลาแก้ไข ลดของเสีย ทำให้รองรับการผลิตในปริมาณมากได้โดยไม่เพิ่มต้นทุน เป็นต้น

Economic of Speed เช่น วาดแผนที่กระบวนการผลิตทั้งหมดเพื่อหาจุดอุดตันหรือความล่าช้า แล้วปรับให้ลื่นไหลขึ้น เมื่อทุกขั้นตอน lean และลื่นไหลมากขึ้น เวลาการรับออเดอร์จนถึงส่งมอบสินค้าจะสั้นลง ทำให้หมุนทุนได้เร็ว เป็นต้น

หากไทยแข่งขันด้านราคาไม่ได้เท่าเวียดนามหรืออินเดีย การใช้ Lean ทำให้ส่งของได้เร็วกว่า ลดเวลาเข้าตลาด และตอบโจทย์เทรนด์แฟชั่นที่เปลี่ยนเร็ว และหากรับผลิตให้แบรนด์ต่างชาติ (OEM/ODM) การมีระบบ Lean จะสร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการผลิต


จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เมษายน 2568



เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970