อินเดียบังคับใช้ Hallmark บนเครื่องประดับทองตั้งแต่ 15 มกราคม 2021

Apr 15, 2020
788 views
0 share

            จากการที่ Ram Vilas Paswan รัฐมนตรีกระทรวงกิจการผู้บริโภค อาหาร และการจัดจำหน่ายสาธารณะของอินเดีย ได้ประกาศว่าจะมีการออกกฎบังคับให้เครื่องประดับทอง อัญมณีและสินค้าที่ทำจากทองคำทั่วประเทศอินเดียต้องได้รับการประทับตรา Hallmark นับตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2021 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการรับรองความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่าชนิดนี้ ส่งผลให้ผู้ขายเครื่องประดับอัญมณีทุกรายจะต้องลงทะเบียนกับ The Bureau of Indian Standards (BIS) ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2020 ที่ผ่านมา และในปีหน้าต้องขายแต่เครื่องประดับทองอัญมณีและสินค้าที่ทำด้วยทองคำที่ประทับตรา Hallmark แล้วเท่านั้น โดย BIS ได้ดำเนินแผนการประทับตราเครื่องประดับทองอัญมณีมาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2000 การประทับตราทองคำเป็นการรับรองความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่า ที่ผู้ประกอบการอินเดียสามารถกระทำได้ตามความสมัครใจ ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องประดับทองราวร้อยละ 40 ที่ได้รับการประทับตรา Hallmark ฉะนั้น ผู้ขายและผู้ค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีจะมีเวลาหนึ่งปีเพื่อระบายสินค้าคงคลังที่ตนมีอยู่


            ตามกฎข้อบังคับดังกล่าว BIS ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการประทับตราเครื่องประดับทองอัญมณีเอาไว้ที่ค่าความบริสุทธิ์สามระดับด้วยกัน คือ 14 กะรัต 18 กะรัต และ 22 กะรัต ซึ่งรัฐบาลอาจกำหนดให้ผู้ขายต้องแสดงราคาของทองคำทั้งสามระดับนี้ที่ร้านของตนด้วย โดยในปัจจุบันอินเดียมีศูนย์ตรวจรับรองและประทับตราทองคำอยู่ 877 แห่งใน 234 เขต และมีผู้ขายเครื่องประดับที่ได้ลงทะเบียนกับ BIS แล้ว 26,019 ราย จากผู้ขายเครื่องประดับทั้งหมดราว 200,000 รายในอินเดีย อย่างไรก็ดี รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเปิดศูนย์ประทับตราเพิ่มขึ้นในทุกเขตของประเทศ และให้ผู้ขายเครื่องประดับทุกรายลงทะเบียนภายในกรอบเวลาหนึ่งปีนี้

            การประทับตรา Hallmark บนเครื่องประดับทองจะระบุสัญลักษณ์รวม 5 สัญลักษณ์ ได้แก่ ตราสัญลักษณ์ BIS (BIS Standard Mark) ค่าความบริสุทธิ์ของทองคำในรูปแบบกะรัตและไฟน์เนส (Purity in Carat and Fineness) ตราของศูนย์ตรวจรับรอง (The Assaying Centre’s Identification Mark) และตราระบุตัวผู้ผลิตเครื่องประดับ (Jeweller’s Identification Mark) รวมถึงปีที่ประทับตรา อาทิเช่น ‘A’ ใช้สำหรับปี 2000 และ ‘J’ ใช้สำหรับปี 2008 เป็นต้น



            สำหรับการออกกฎบังคับให้เครื่องประดับทองและสินค้าที่ทำด้วยทองคำต้องได้รับการประทับตรา Hallmark มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค และช่วยให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะในเมืองเล็กและในระดับหมู่บ้านรับรู้เรื่องนี้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคได้ซื้อเครื่องประดับทองอัญมณีที่มีค่าความบริสุทธิ์ตามที่กำหนด และยังช่วยลดกรณีการหลอกลวง เมื่อผู้ขายขายเครื่องประดับทองอัญมณีกะรัตต่ำลงโดยอ้างว่าสินค้าได้รับการประทับตราแล้ว

            ทั้งนี้ ในแง่ของผู้ขายเครื่องประดับทองชาวอินเดียยินดีปฏิบัติตามกฎการบังคับประทับตรา Hallmark เพียงแต่ต้องการให้ภาครัฐขยายระยะเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 18-24 เดือน จากเดิมที่ภาครัฐให้เวลาแค่ 12 เดือน เพื่อที่ผู้ขายเครื่องประดับ
อัญมณีทุกรายจะได้สามารถระบายสินค้าเครื่องประดับที่ไม่ได้รับการประทับตราออกไปให้หมดก่อน และคงต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปี กว่าจะจัดหาเครื่องประดับอัญมณีที่ประทับตรามาทดแทนสินค้าคงคลังเดิม เนื่องจากขณะนี้ยังมีจำนวนศูนย์ตรวจรับรองและประทับตราทองคำไม่มากเพียงพอ อีกทั้งนอกจากการประทับตราทองคำ 14, 18 และ 22 กะรัตแล้ว ภาครัฐควรบังคับให้มีการประทับตราทองคำ 20, 23 และ 24 กะรัตด้วย

            ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกเครื่องประดับทอง
อัญมณีเพื่อจัดจำหน่ายในตลาดอินเดียคงต้องศึกษามาตรฐานการประทับตราเครื่องประดับทอง เพื่อปรับมาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำหรือส่วนผสมในเครื่องประดับทองอัญมณี รวมถึงรูปแบบการประทับตราให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับดังกล่าวที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2021 เป็นต้นไป

ข้อมูลอ้างอิง


1) “Hallmarking of gold jewellery mandatory now. Here's what you need to know.” Retrieved February 26, 2020 from https://economictimes.indiatimes.com/wealth/spend/hallmarking-of-gold-jewellery-mandatory-from-today-heres-what-you-need-to-know/articleshow/73267695.cms?utm_source=contentofinterest&utm_medium=text&utm_campaign=cppst.

2) “Industry nods to compulsory hallmarking; expects more time to sell old stock.” INDIAN JEWELLER. (December 2019 – January 2020: p.70)

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


อินเดียบังคับใช้ Hallmark บนเครื่องประดับทองตั้งแต่ 15 มกราคม 2021

Apr 15, 2020
788 views
0 share

            จากการที่ Ram Vilas Paswan รัฐมนตรีกระทรวงกิจการผู้บริโภค อาหาร และการจัดจำหน่ายสาธารณะของอินเดีย ได้ประกาศว่าจะมีการออกกฎบังคับให้เครื่องประดับทอง อัญมณีและสินค้าที่ทำจากทองคำทั่วประเทศอินเดียต้องได้รับการประทับตรา Hallmark นับตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2021 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการรับรองความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่าชนิดนี้ ส่งผลให้ผู้ขายเครื่องประดับอัญมณีทุกรายจะต้องลงทะเบียนกับ The Bureau of Indian Standards (BIS) ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2020 ที่ผ่านมา และในปีหน้าต้องขายแต่เครื่องประดับทองอัญมณีและสินค้าที่ทำด้วยทองคำที่ประทับตรา Hallmark แล้วเท่านั้น โดย BIS ได้ดำเนินแผนการประทับตราเครื่องประดับทองอัญมณีมาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2000 การประทับตราทองคำเป็นการรับรองความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่า ที่ผู้ประกอบการอินเดียสามารถกระทำได้ตามความสมัครใจ ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องประดับทองราวร้อยละ 40 ที่ได้รับการประทับตรา Hallmark ฉะนั้น ผู้ขายและผู้ค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีจะมีเวลาหนึ่งปีเพื่อระบายสินค้าคงคลังที่ตนมีอยู่


            ตามกฎข้อบังคับดังกล่าว BIS ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการประทับตราเครื่องประดับทองอัญมณีเอาไว้ที่ค่าความบริสุทธิ์สามระดับด้วยกัน คือ 14 กะรัต 18 กะรัต และ 22 กะรัต ซึ่งรัฐบาลอาจกำหนดให้ผู้ขายต้องแสดงราคาของทองคำทั้งสามระดับนี้ที่ร้านของตนด้วย โดยในปัจจุบันอินเดียมีศูนย์ตรวจรับรองและประทับตราทองคำอยู่ 877 แห่งใน 234 เขต และมีผู้ขายเครื่องประดับที่ได้ลงทะเบียนกับ BIS แล้ว 26,019 ราย จากผู้ขายเครื่องประดับทั้งหมดราว 200,000 รายในอินเดีย อย่างไรก็ดี รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเปิดศูนย์ประทับตราเพิ่มขึ้นในทุกเขตของประเทศ และให้ผู้ขายเครื่องประดับทุกรายลงทะเบียนภายในกรอบเวลาหนึ่งปีนี้

            การประทับตรา Hallmark บนเครื่องประดับทองจะระบุสัญลักษณ์รวม 5 สัญลักษณ์ ได้แก่ ตราสัญลักษณ์ BIS (BIS Standard Mark) ค่าความบริสุทธิ์ของทองคำในรูปแบบกะรัตและไฟน์เนส (Purity in Carat and Fineness) ตราของศูนย์ตรวจรับรอง (The Assaying Centre’s Identification Mark) และตราระบุตัวผู้ผลิตเครื่องประดับ (Jeweller’s Identification Mark) รวมถึงปีที่ประทับตรา อาทิเช่น ‘A’ ใช้สำหรับปี 2000 และ ‘J’ ใช้สำหรับปี 2008 เป็นต้น



            สำหรับการออกกฎบังคับให้เครื่องประดับทองและสินค้าที่ทำด้วยทองคำต้องได้รับการประทับตรา Hallmark มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค และช่วยให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะในเมืองเล็กและในระดับหมู่บ้านรับรู้เรื่องนี้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคได้ซื้อเครื่องประดับทองอัญมณีที่มีค่าความบริสุทธิ์ตามที่กำหนด และยังช่วยลดกรณีการหลอกลวง เมื่อผู้ขายขายเครื่องประดับทองอัญมณีกะรัตต่ำลงโดยอ้างว่าสินค้าได้รับการประทับตราแล้ว

            ทั้งนี้ ในแง่ของผู้ขายเครื่องประดับทองชาวอินเดียยินดีปฏิบัติตามกฎการบังคับประทับตรา Hallmark เพียงแต่ต้องการให้ภาครัฐขยายระยะเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 18-24 เดือน จากเดิมที่ภาครัฐให้เวลาแค่ 12 เดือน เพื่อที่ผู้ขายเครื่องประดับ
อัญมณีทุกรายจะได้สามารถระบายสินค้าเครื่องประดับที่ไม่ได้รับการประทับตราออกไปให้หมดก่อน และคงต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปี กว่าจะจัดหาเครื่องประดับอัญมณีที่ประทับตรามาทดแทนสินค้าคงคลังเดิม เนื่องจากขณะนี้ยังมีจำนวนศูนย์ตรวจรับรองและประทับตราทองคำไม่มากเพียงพอ อีกทั้งนอกจากการประทับตราทองคำ 14, 18 และ 22 กะรัตแล้ว ภาครัฐควรบังคับให้มีการประทับตราทองคำ 20, 23 และ 24 กะรัตด้วย

            ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกเครื่องประดับทอง
อัญมณีเพื่อจัดจำหน่ายในตลาดอินเดียคงต้องศึกษามาตรฐานการประทับตราเครื่องประดับทอง เพื่อปรับมาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำหรือส่วนผสมในเครื่องประดับทองอัญมณี รวมถึงรูปแบบการประทับตราให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับดังกล่าวที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2021 เป็นต้นไป

ข้อมูลอ้างอิง


1) “Hallmarking of gold jewellery mandatory now. Here's what you need to know.” Retrieved February 26, 2020 from https://economictimes.indiatimes.com/wealth/spend/hallmarking-of-gold-jewellery-mandatory-from-today-heres-what-you-need-to-know/articleshow/73267695.cms?utm_source=contentofinterest&utm_medium=text&utm_campaign=cppst.

2) “Industry nods to compulsory hallmarking; expects more time to sell old stock.” INDIAN JEWELLER. (December 2019 – January 2020: p.70)

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970