อุตสาหกรรมเพชรบนหนทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

Jul 3, 2020
1973 views
0 share

              นับตั้งแต่ทั่วโลกทยอยใช้มาตรการ Lockdown ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 อุตสาหกรรมเพชรเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่เหมือง  ผู้ตัดและเจียระไนเพชร ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค

              ขณะที่แหล่งผลิตอัญมณีเพชรที่สำคัญของโลกอย่างเช่น เลโซโท แองโกลา แอฟริกาใต้ ต่างลดกำลังการผลิตลงอย่างมากนับตั้งแต่ก่อนช่วงโควิด-19 เนื่องด้วยภาวะเพชรล้นตลาดจากปีก่อน มีการคาดการณ์จาก Mr. Zimnisky นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเพชรว่า ปี 2020 ปริมาณกำลังผลิตเพชรทั่วโลกจะลดลงต่ำกว่า 110 ล้านกะรัต จากกำลังการผลิตมากกว่า 140 ล้านกะรัต เมื่อปีก่อน ซึ่งถือเป็นปริมาณเพชรที่ผลิตได้ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปลายยุค 90 เป็นต้นมา



ข้อมูลจาก https://www.bain.com

             สถานการณ์ล่าสุดในเดือนมิถุนายน De Beers บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเพชรอัญมณีแทบไม่สามารถขายเพชรได้เลย และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามียอดขายเพียง 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อนหน้าที่มียอดขายถึง 416 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของบริษัทที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 130 ปี อย่าง De Beers

              Gemdax บริษัทชั้นนำด้านที่ปรึกษาและวิเคราะห์อุตสาหกรรมเพชร
อัญมณีได้เปิดเผยว่า ผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ 5 อันดับแรก มีเพชรก้อนคงเหลือรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสิ้นปี 2020 อาจมีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าถึง 1 ใน 3 ของเพชรก้อนที่ผลิตได้ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณเพชรล้นตลาดสะสมมาจากปีก่อนและสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การระบายเพชรคงเหลือเป็นไปได้ยาก แม้ว่าเหมืองเพชรรายใหญ่จะลดกำลังผลิตก็ตาม แต่ทั้งนี้ De Beers และ ALROSA สองบริษัทผู้นำตลาดต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ควรรักษาเพชรค้างสต็อกไว้มากกว่าระบายออกด้วยการแข่งกันลดราคา เห็นได้จากเดือนมีนาคมและเมษายนราคาเพชรร่วงลงถึง 40% แต่ราคาก็ดีดกลับขึ้นมาได้ในเดือนพฤษภาคมเกือบทั้งหมด

              แม้ว่าสถานการณ์ทั่วไปยังไม่ดีนัก แต่ก็เริ่มมีสัญญาณการบริโภคกลับมา Chow Tai Fook บริษัทค้าปลีกเครื่องประดับรายใหญ่ของโลกได้ให้ข้อมูลว่า ประชาชนเริ่มกลับมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นโดยเฉพาะในจีนแผ่นดินใหญ่ที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลายจากโควิด-19 เห็นได้จาก ยอดขายในปีนี้ช่วงเมษายนถึงพฤษภาคมนั้นดีขึ้นกว่าช่วงมกราคมถึงมีนาคม โดยโฆษกของ Chow Tai Fook กล่าวว่า ในระยะสั้นนั้นสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง แต่สถานการณ์จะดีขึ้นในช่วงระยะกลางถึงระยะยาวสำหรับตลาดเครื่องประดับในจีน
 
ร้านค้าปลีกเครื่องประดับเพชรในไทย

              ท่ามกลางความไม่แน่นอนรอบด้าน มีตัวอย่างแบรนด์ชื่อดังในไทยในการปรับตัวให้เข้ากับวิกฤตที่เกิดขึ้น แม้ว่าการขายหน้าร้านจะไม่สามารถทำได้ โดยแบรนด์ชั้นนำของไทยอย่างบิวตี้เจมส์ (Beauty Gems) เลือกใช้วิธีการรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ โดยการส่งอาหารและเครื่องดื่มให้ลูกค้าเพื่อแทนความห่วงใยและสร้างความรู้สึกที่ดีร่วมกัน ขณะที่ Jubilee Diamond ซึ่งมีการขายเพชรออนไลน์ควบคู่ไปกับการขายหน้าร้าน ก็หันมาทำตลาดออนไลน์เต็มตัว มีการทำโปรโมชั่นอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดสูงสุดถึง 65% ผ่อนบัตรเครดิต 0% ได้นาน 10 เดือน หรือคืนเงินผ่านบัตรเครดิต และมีบริการส่งเพชรตรงถึงบ้านของลูกค้าด้วย และอีกหนึ่งแบรนด์ดังอย่าง เพชรจัสมิน (JASMIN) ใช้การขายเพชรผ่านไลน์ออฟฟิเชียล (Line OA) รวมทั้งมีบริการนำเพชรไปให้ลูกค้าเลือกถึงที่บ้าน โดยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้ามั่นใจว่าพนักงานของแบรนด์ปลอดภัยจากโควิด-19

              ไม่ว่าสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะกระทบอุตสาหกรรมเพชร รวมถึง
อัญมณีและเครื่องประดับอย่างไร ในวิกฤตย่อมมีโอกาส หากเรารู้จักปรับตัว เพราะถึงอย่างไรธรรมชาติของมนุษย์นั้นย่อมมีสังคม การพบปะสังสรรค์ระหว่างกัน การทำกิจกรรมนอกบ้าน รวมทั้งการซื้อของขวัญให้คนที่รัก เพชรก็ยังเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ความเลอค่าอมตะอยู่นั่นเอง  
 

ข้อมูลอ้างอิง


1. Diamond industry faces a rocky patch due to oversupply. Retrieved June 19, 2020, from https://www.thenational.ae/business/economy
2. The Global Diamond Industry 2019. Retrieved June 19, 2020, from https://www.bain.com
3. ในวันที่ไม่ได้ขายเพชร! 3 เจ้าของหันมานั่งขัดเพชรขัดพลอยกันหรือเปล่า!?. Retrieved June 19, 2020, from https://mgronline.com

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


อุตสาหกรรมเพชรบนหนทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

Jul 3, 2020
1973 views
0 share

              นับตั้งแต่ทั่วโลกทยอยใช้มาตรการ Lockdown ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 อุตสาหกรรมเพชรเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่เหมือง  ผู้ตัดและเจียระไนเพชร ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค

              ขณะที่แหล่งผลิตอัญมณีเพชรที่สำคัญของโลกอย่างเช่น เลโซโท แองโกลา แอฟริกาใต้ ต่างลดกำลังการผลิตลงอย่างมากนับตั้งแต่ก่อนช่วงโควิด-19 เนื่องด้วยภาวะเพชรล้นตลาดจากปีก่อน มีการคาดการณ์จาก Mr. Zimnisky นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเพชรว่า ปี 2020 ปริมาณกำลังผลิตเพชรทั่วโลกจะลดลงต่ำกว่า 110 ล้านกะรัต จากกำลังการผลิตมากกว่า 140 ล้านกะรัต เมื่อปีก่อน ซึ่งถือเป็นปริมาณเพชรที่ผลิตได้ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปลายยุค 90 เป็นต้นมา



ข้อมูลจาก https://www.bain.com

             สถานการณ์ล่าสุดในเดือนมิถุนายน De Beers บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเพชรอัญมณีแทบไม่สามารถขายเพชรได้เลย และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามียอดขายเพียง 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อนหน้าที่มียอดขายถึง 416 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของบริษัทที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 130 ปี อย่าง De Beers

              Gemdax บริษัทชั้นนำด้านที่ปรึกษาและวิเคราะห์อุตสาหกรรมเพชร
อัญมณีได้เปิดเผยว่า ผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ 5 อันดับแรก มีเพชรก้อนคงเหลือรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสิ้นปี 2020 อาจมีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าถึง 1 ใน 3 ของเพชรก้อนที่ผลิตได้ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณเพชรล้นตลาดสะสมมาจากปีก่อนและสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การระบายเพชรคงเหลือเป็นไปได้ยาก แม้ว่าเหมืองเพชรรายใหญ่จะลดกำลังผลิตก็ตาม แต่ทั้งนี้ De Beers และ ALROSA สองบริษัทผู้นำตลาดต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ควรรักษาเพชรค้างสต็อกไว้มากกว่าระบายออกด้วยการแข่งกันลดราคา เห็นได้จากเดือนมีนาคมและเมษายนราคาเพชรร่วงลงถึง 40% แต่ราคาก็ดีดกลับขึ้นมาได้ในเดือนพฤษภาคมเกือบทั้งหมด

              แม้ว่าสถานการณ์ทั่วไปยังไม่ดีนัก แต่ก็เริ่มมีสัญญาณการบริโภคกลับมา Chow Tai Fook บริษัทค้าปลีกเครื่องประดับรายใหญ่ของโลกได้ให้ข้อมูลว่า ประชาชนเริ่มกลับมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นโดยเฉพาะในจีนแผ่นดินใหญ่ที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลายจากโควิด-19 เห็นได้จาก ยอดขายในปีนี้ช่วงเมษายนถึงพฤษภาคมนั้นดีขึ้นกว่าช่วงมกราคมถึงมีนาคม โดยโฆษกของ Chow Tai Fook กล่าวว่า ในระยะสั้นนั้นสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง แต่สถานการณ์จะดีขึ้นในช่วงระยะกลางถึงระยะยาวสำหรับตลาดเครื่องประดับในจีน
 
ร้านค้าปลีกเครื่องประดับเพชรในไทย

              ท่ามกลางความไม่แน่นอนรอบด้าน มีตัวอย่างแบรนด์ชื่อดังในไทยในการปรับตัวให้เข้ากับวิกฤตที่เกิดขึ้น แม้ว่าการขายหน้าร้านจะไม่สามารถทำได้ โดยแบรนด์ชั้นนำของไทยอย่างบิวตี้เจมส์ (Beauty Gems) เลือกใช้วิธีการรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ โดยการส่งอาหารและเครื่องดื่มให้ลูกค้าเพื่อแทนความห่วงใยและสร้างความรู้สึกที่ดีร่วมกัน ขณะที่ Jubilee Diamond ซึ่งมีการขายเพชรออนไลน์ควบคู่ไปกับการขายหน้าร้าน ก็หันมาทำตลาดออนไลน์เต็มตัว มีการทำโปรโมชั่นอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดสูงสุดถึง 65% ผ่อนบัตรเครดิต 0% ได้นาน 10 เดือน หรือคืนเงินผ่านบัตรเครดิต และมีบริการส่งเพชรตรงถึงบ้านของลูกค้าด้วย และอีกหนึ่งแบรนด์ดังอย่าง เพชรจัสมิน (JASMIN) ใช้การขายเพชรผ่านไลน์ออฟฟิเชียล (Line OA) รวมทั้งมีบริการนำเพชรไปให้ลูกค้าเลือกถึงที่บ้าน โดยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้ามั่นใจว่าพนักงานของแบรนด์ปลอดภัยจากโควิด-19

              ไม่ว่าสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะกระทบอุตสาหกรรมเพชร รวมถึง
อัญมณีและเครื่องประดับอย่างไร ในวิกฤตย่อมมีโอกาส หากเรารู้จักปรับตัว เพราะถึงอย่างไรธรรมชาติของมนุษย์นั้นย่อมมีสังคม การพบปะสังสรรค์ระหว่างกัน การทำกิจกรรมนอกบ้าน รวมทั้งการซื้อของขวัญให้คนที่รัก เพชรก็ยังเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ความเลอค่าอมตะอยู่นั่นเอง  
 

ข้อมูลอ้างอิง


1. Diamond industry faces a rocky patch due to oversupply. Retrieved June 19, 2020, from https://www.thenational.ae/business/economy
2. The Global Diamond Industry 2019. Retrieved June 19, 2020, from https://www.bain.com
3. ในวันที่ไม่ได้ขายเพชร! 3 เจ้าของหันมานั่งขัดเพชรขัดพลอยกันหรือเปล่า!?. Retrieved June 19, 2020, from https://mgronline.com

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970