เจาะลึก 4 ทัศนคติการบริโภคเครื่องประดับของชาวสหรัฐฯ หลังโควิด-19
Jul 10, 2020
2073
views
1
share
ในช่วงการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้สหรัฐฯ ดำเนินมาตรการล็อกดาวน์ประเทศในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะกระทบต่อธุรกิจต่างๆ ให้ต้องปิดกิจการลงชั่วคราวแล้ว ยังส่งผลต่อพฤติกรรมและทัศนคติการบริโภคของชาวสหรัฐฯ ให้เปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน ซึ่งทัศนคติต่อการซื้อเครื่องประดับอัญมณีหลังโควิด-19 จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร De Beers ได้ทำการศึกษาไว้เพื่อเป็นแนวทางการปรับตัวให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
* ผู้บริโภคต้องการความรู้สึกที่เชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยชาวสหรัฐฯ มีความรู้สึกที่ดีในช่วงกักตัวอยู่กับบ้าน เพราะทำให้ได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นและใช้เวลาเดินทางน้อยลง ทำให้ความรู้สึกนี้เชื่อมโยงและขยายไปสู่เครื่องประดับอัญมณีด้วย จากการสำรวจผู้มีเครื่องประดับเพชรในครอบครองพบว่า ส่วนใหญ่จะใส่เครื่องประดับอัญมณีเพชรแม้ว่าจะอยู่ในบ้านก็ตาม เพราะทำให้รู้สึกเชื่อมต่อกับใครบางคน
TIFFANY&CO.
* ผู้บริโภคจะหาของขวัญที่มีความหมายสำหรับช่วงเทศกาลวันหยุดสำคัญต่างๆ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถาม 56% ระบุว่า ของขวัญที่ซื้อในช่วงเทศกาลวันหยุดข้างหน้านี้จะต้องมีความหมายเหนือสิ่งอื่นใด และ 90% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า การเลือกของขวัญที่คงมูลค่าหรือเพิ่มมูลค่าจะเป็นสิ่งสำคัญในการซื้อของขวัญในช่วงเทศกาลวันหยุด และเมื่อพูดถึงของขวัญในลักษณะนี้ เครื่องประดับอัญมณีเพชรก็จะกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ เหนือของขวัญชนิดอื่น อาทิ เสื้อผ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
* ผู้บริโภคจะซื้อน้อยแต่จ่ายมากสำหรับสินค้าที่ต้องการซื้อ โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 2 ใน 3 กล่าวว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิดและมองในแง่ดีเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของพวกเขาในอีก 3 ปีข้างหน้า และผลการสำรวจที่น่าสนใจคือ 45% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า จะซื้อสินค้าน้อยชิ้นแต่ลงทุนในสิ่งที่ซื้อมากขึ้น (ซื้อน้อยแต่จ่ายแพงกับสิ่งที่เพิ่มมูลค่าในอนาคต) เหมือนกับสโลแกน “น้อยกว่า แต่เป็นสิ่งที่ดีกว่า” ซึ่งเป็นแคมเปญการตลาดของ De Beers ในปี 2551
* ผู้บริโภคจะกลับไปซื้อสินค้าจากร้านค้าเครื่องประดับอัญมณีแบบอิสระ เพราะผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าร้านค้าปลีกอิสระของท้องถิ่นเป็นแหล่งที่ดีที่สุดสำหรับการหาความรู้และคุณภาพของสินค้าที่จับต้องได้ อีกทั้งร้านค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีท้องถิ่นแบบดั้งเดิมยังเป็นทางเลือกของการซื้อเครื่องประดับราคาแพงที่ปลอดภัยที่สุด
วิกฤติโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกต้องประเมินมุมมองที่สำคัญของชีวิตอีกครั้งและเสริมคุณค่าของความสัมพันธ์ส่วนตัวให้มากขึ้น ในขณะที่ความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในสหรัฐฯ ซึ่งจากงานวิจัยของ De Beers ระบุว่าเพชรจะมีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของผู้คนในโลกหลังโควิด-19 เพราะผู้คนจะเริ่มกลับมาเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ที่มีความหมายมากที่สุด แม้ว่าตลาดเพชรจะต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวระยะหนึ่ง แต่จากผลการศึกษาครั้งนี้ก็น่าจะทำให้ผู้ค้าเครื่องประดับเข้าใจมุมมองของผู้บริโภคอันนำไปสู่การปรับตัวเพื่อให้ก้าวข้ามวิกฤติครั้งนี้ไปได้
PANDORA
เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ โดยเป็นแหล่งนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับในอันดับ 5 ของโลกและของไทย แต่จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้การค้า การลงทุน และการบริโภคในสหรัฐฯ หดตัวลงมากจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ จึงทำให้สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากทั่วโลกลดลง จากข้อมูลสถิติของ Global Trade Atlast พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2563 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับลดลงเกือบ 60% และจากสถิติกรมศุลกากรไทยพบว่า สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากไทยลดลงถึงเกือบ 30% โดยนำเข้าสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการลดลง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง อัญมณีพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเพชรเจียระไน อย่างไรก็ดี ทางการสหรัฐฯ ได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ หลายธุรกิจได้เริ่มเปิดดำเนินกิจการ อีกทั้งสหรัฐฯ ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงโอกาสจากการที่ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และยังคงนิยมซื้อของขวัญมอบให้แก่คนพิเศษในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ จะเป็นปัจจัยช่วยหนุนความต้องการสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้านี้ได้
* ผู้บริโภคต้องการความรู้สึกที่เชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยชาวสหรัฐฯ มีความรู้สึกที่ดีในช่วงกักตัวอยู่กับบ้าน เพราะทำให้ได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นและใช้เวลาเดินทางน้อยลง ทำให้ความรู้สึกนี้เชื่อมโยงและขยายไปสู่เครื่องประดับอัญมณีด้วย จากการสำรวจผู้มีเครื่องประดับเพชรในครอบครองพบว่า ส่วนใหญ่จะใส่เครื่องประดับอัญมณีเพชรแม้ว่าจะอยู่ในบ้านก็ตาม เพราะทำให้รู้สึกเชื่อมต่อกับใครบางคน
TIFFANY&CO.
* ผู้บริโภคจะซื้อน้อยแต่จ่ายมากสำหรับสินค้าที่ต้องการซื้อ โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 2 ใน 3 กล่าวว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิดและมองในแง่ดีเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของพวกเขาในอีก 3 ปีข้างหน้า และผลการสำรวจที่น่าสนใจคือ 45% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า จะซื้อสินค้าน้อยชิ้นแต่ลงทุนในสิ่งที่ซื้อมากขึ้น (ซื้อน้อยแต่จ่ายแพงกับสิ่งที่เพิ่มมูลค่าในอนาคต) เหมือนกับสโลแกน “น้อยกว่า แต่เป็นสิ่งที่ดีกว่า” ซึ่งเป็นแคมเปญการตลาดของ De Beers ในปี 2551
* ผู้บริโภคจะกลับไปซื้อสินค้าจากร้านค้าเครื่องประดับอัญมณีแบบอิสระ เพราะผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าร้านค้าปลีกอิสระของท้องถิ่นเป็นแหล่งที่ดีที่สุดสำหรับการหาความรู้และคุณภาพของสินค้าที่จับต้องได้ อีกทั้งร้านค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีท้องถิ่นแบบดั้งเดิมยังเป็นทางเลือกของการซื้อเครื่องประดับราคาแพงที่ปลอดภัยที่สุด
วิกฤติโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกต้องประเมินมุมมองที่สำคัญของชีวิตอีกครั้งและเสริมคุณค่าของความสัมพันธ์ส่วนตัวให้มากขึ้น ในขณะที่ความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในสหรัฐฯ ซึ่งจากงานวิจัยของ De Beers ระบุว่าเพชรจะมีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของผู้คนในโลกหลังโควิด-19 เพราะผู้คนจะเริ่มกลับมาเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ที่มีความหมายมากที่สุด แม้ว่าตลาดเพชรจะต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวระยะหนึ่ง แต่จากผลการศึกษาครั้งนี้ก็น่าจะทำให้ผู้ค้าเครื่องประดับเข้าใจมุมมองของผู้บริโภคอันนำไปสู่การปรับตัวเพื่อให้ก้าวข้ามวิกฤติครั้งนี้ไปได้
PANDORA
เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ โดยเป็นแหล่งนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับในอันดับ 5 ของโลกและของไทย แต่จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้การค้า การลงทุน และการบริโภคในสหรัฐฯ หดตัวลงมากจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ จึงทำให้สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากทั่วโลกลดลง จากข้อมูลสถิติของ Global Trade Atlast พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2563 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับลดลงเกือบ 60% และจากสถิติกรมศุลกากรไทยพบว่า สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากไทยลดลงถึงเกือบ 30% โดยนำเข้าสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการลดลง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง อัญมณีพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเพชรเจียระไน อย่างไรก็ดี ทางการสหรัฐฯ ได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ หลายธุรกิจได้เริ่มเปิดดำเนินกิจการ อีกทั้งสหรัฐฯ ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงโอกาสจากการที่ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และยังคงนิยมซื้อของขวัญมอบให้แก่คนพิเศษในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ จะเป็นปัจจัยช่วยหนุนความต้องการสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้านี้ได้
ข้อมูลอ้างอิง
“4 Insights from De Beers on Current Consumer Attitudes.” Retrieved July 1, 2020 from https://www. nationaljeweler.com/independents/retail-surveys/8898-4-insights-from-de-beers-on-current-consumer-attitudes.