ข่าวธุรกิจรายวัน
ราคาทองคำช่วงที่เหลือปี 62 พื้นที่สดใสร่วงลงต่อ?
ทองคำ เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในระหว่างที่สถานการณ์ต่างๆ ทั่วโลกไม่น่าไว้ใจ สะท้อนจากภาพตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบัน ราคาทองคำปรับตัวขึ้นโดยในส่วนของราคาทองในประเทศ ขึ้นมาอยู่ใกล้ๆ ระดับ 2 หมื่นบาท ปัจจัยสนับสนุนมาจากประเด็นที่ค้างคาตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั้งเรื่องของดอกเบี้ย การถอนมาตรการอัดฉีดเงินของธนาคารกลางต่างๆ การเมือง สงครามการค้า มาจนถึงเรื่อง Brexit
สรุปทองคำเดือน ก.พ. และคาดการณ์เดือน มี.ค.
ในเดือน ก.พ. ราคา Gold Spot ปรับตัวลง $4.39 (-0.33%) ปิด $1,313 กรอบการเคลื่อนไหว $1,306.10 - $1,340 ปัจจัยกระทบตลาด
ระหว่าง"เงิน"(ดอลลาร์)กับ"ทอง"
ไม่ได้ว่ากันถึงเรื่องเงินๆ-ทองๆ มานานพอสมควร...ปิดฉากสัปดาห์นี้ เลยลองไปว่ากันถึงเรื่องทำนองนี้กันดูสักหน่อย โดยเฉพาะเมื่อเหลือบไปเห็นข้อเขียน บทความของเพื่อนเก่า เพื่อนแก่ ระดับ 'ซี้แหงย่ำปึ้ก' อย่างคุณพี่ 'สุนันท์ ศรีจันทรา' ที่ดูจะออกไปทางบ่นกระปอดกระแปดพอๆ กับ 'หมีกินผึ้ง' (อันที่จริงกินน้ำตาล) ประมาณว่า...เมื่อ 'ประยุทธ์มา' การหาเงิน-หาทองในแบบซื้อหุ้น-ขายหุ้น น่าจะ 'ลำบาก' ไปอีกตลอดทั้งปี...
ความไม่แน่นอนของ Brexit ส่อแววหนุนราคาทองคำ
ราคาทองคำในไตรมาส 1 ยังคงได้รับปัจจัยหนุนอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแรงเทขายออกมาบ้างอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีแรงซื้อเข้ามาจากการส่งสัญญาณของเฟดในการ ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ จากเดิมที่คาดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง และจะยุติการปรับลดขนาดงบดุลในเดือน ก.ย. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ภายหลังจากที่มีการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ( PMI) ของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและสหรัฐอ่อนแอ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เตือนเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นของสหรัฐสูงกว่าระยะยาว ซึ่งส่งสัญญาณภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และความ ไม่แน่นอนของประเด็น Brexit
เหตุใด FED ชะลอขึ้นดอกเบี้ยแต่ทองคำกลับปรับตัวลง
แม้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติเป็นเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 2.25-2.50% ในการประชุมวันที่ 19-20 มีนาคมที่ผ่านมา พร้อมส่งสัญญาณว่าจะ 'ไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ จากเดิมที่ระบุในการประชุมเดือนธันวาคมปีที่แล้วว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้' พร้อมกับยุติการปรับลดขนาดงบดุลในเดือนกันยายนซึ่งถือว่าการประชุมครั้งนี้เฟดส่งสัญญาณในเชิงผ่อนคลาย (Dovish) มากกว่าที่ตลาดคาดไว้ อย่างไรก็ดี ดอลลาร์สหรัฐฯ กลับแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องหลังการประชุมเฟดเสร็จสิ้น โดยในปัจจุบัน (01-04-19) ดัชนีดอลลาร์ยังคงซื้อขายใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์จึงเป็นเหตุปัจจัยกดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้งจนทำให้นักลงทุนทองคำเกิดคำถามว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น และวันนี้ YLG มีคำตอบ