จับประเด็นข่าวเด่น
เครื่องประดับทองอาจถูกตัดสิทธิ์จาก FTA ไทย-อินเดีย
วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ครบรอบ 11 ปีบริบูรณ์ ที่ความตกลงเขตการค้าเสรี หรือ FTA ไทย-อินเดีย มีผลบังคับใช้ อันเป็นผลให้ภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างไทยกับอินเดีย 82 รายการในหมวดสินค้าเร่งลดภาษีบางส่วนทันที (Early Harvest Scheme : EHS) ลดเหลือร้อยละศูนย์ โดยหนึ่งในสินค้าสำคัญที่ไทยใช้สิทธิ FTA ในการส่งออกไปอินเดียค่อนข้างมากก็คือ เครื่องประดับทอง
เศรษฐกิจจีนชะลอตัว กดค่าเงินในภูมิภาคให้อ่อนค่า
จากการรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีนที่สำคัญ ทั้งตัวเลขทางการค้า อัตราเงินเฟ้อ และการปล่อยสินเชื่อในรูปเงินหยวน ยังเป็นตัวเลขที่น่าผิดหวัง โดยเฉพาะการส่งออกที่นักวิเคราะห์ต่างออกมาคาดการณ์ว่าจะหดตัวต่อเนื่องอีก 6.5% เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมเมื่อปีที่แล้ว (ยิ่งเป็นสิ่งกดดันโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน และส่งผลให้ตะกร้าเงินสกุลเงินในเอเชียมีแนวโน้มอ่อนค่าเนื่องจากจีนเป็นคู่ค้าหลักของหลายประเทศในเอเชีย
เศรษฐกิจโลกผันผวน กระทบเป้าส่งออกไทยปี 2558
การส่งออกของไทยผ่านครึ่งปีแรกมาด้วยความเหนื่อยหอบไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ดังที่หลายฝ่ายคาดหวังไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจในหลายประเทศสำคัญยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัวไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป เป็นต้น มีเพียงสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวที่เศรษฐกิจส่งสัญญาณเติบโตอย่างสดใส
จีนลดค่าเงินหยวนปลุกเศรษฐกิจ: นัยยะต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของจีน ได้ประกาศลดค่าเงินหยวนส่งผลให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลง 1.9% และในวันต่อมาก็ประกาศลดค่าเงินอีก ทำให้เงินหยวนอ่อนค่าลงไปอีก 1.6% ก่อนจะปรับลดลงอีก 1.1% ในวันที่ 13 สิงหาคม นับเป็นการอ่อนค่าลงของเงินหยวนครั้งใหญ่ในรอบ 10 ปี ซึ่งการลดค่าเงินดังกล่าวจะช่วยปลุกภาคการส่งออกของแดนมังกรอีกครั้ง
ยุคบูมของสินค้าฟุ่มเฟือย
"ชนชั้นกลาง" หมายถึงคนกลุ่มไหนขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้หยิบเอานิยามมาจากที่ใด เนื่องจากแต่ละหน่วยงานนั้นก็ให้คำนิยามของชนชั้นกลางแตกต่างกันไป เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ให้นิยามว่าชนชั้นกลางคือคนที่ใช้จ่าย 2-20 เหรียญสหรัฐต่อวัน และ EUROMONITOR ให้นิยามว่าคนที่มีรายได้ระหว่าง 5,000-15,000 เหรียญสหรัฐต่อปี เป็นต้น
ราคาทองคำมีแนวโน้มขาลง ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐเป็นหลัก
จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปีนี้โดยเฉพาะวิกฤติหนี้กรีซได้ส่งผลให้ทิศทางราคาทองคำในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาลงนับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2558
2558 ปีทองของ “ทับทิม”
Bonhams บริษัทจัดประมูลรายหนึ่งในประเทศอังกฤษยกให้ปี 2558 เป็นปีแห่งอัญมณีโดยเฉพาะทับทิม เห็นได้จากราคาประมูลที่สูงขึ้น และทับทิมถือเป็นพลอยที่มีระดับราคาต่อกะรัตสูงที่สุดในบรรดาพลอยสีทั้งหมด โดยในปี 2557 เข็มกลัดที่ประดับด้วยทับทิมและเพชรแบรนด์ Cartier ก็ถูกประมูลไปถึง 717,600 เหรียญสหรัฐ ขณะที่แหวนแบรนด์ Van Cleef & Arpels ขนาด 13.34 กะรัต ที่ประดับด้วยทับทิมพม่าก็ถูกประมูลไปโดยชาวฮ่องกงด้วยมูลค่าถึง 521,400 เหรียญสหรัฐ
ลุยโรดโชว์ขายอัญมณีและเครื่องประดับให้กับเศรษฐี 4 ประเทศ
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับว่า ทางกรมฯ ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อจัดทำแผนการส่งเสริมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ โดยจัดคณะผู้แทนไปโรดโชว์ ซึ่งเน้นกลุ่มลูกค้ามหาเศรษฐีในประเทศ ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ จีน (เซี่ยงไฮ้) และบาห์เรน เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นตลาดศักยภาพโดย เพราะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในระดับสูง และมีประชากรจำนวนมาก
จับตาอินเดียมุ่งสู่ศูนย์กลางการค้าเพชร
ด้วยความพยายามของสภาส่งเสริมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอินเดีย ในการเรียกร้องให้รัฐบาลเห็นชอบในการดำเนินโครงการเขตส่งเสริมพิเศษ หรือ SNZ โดยมีธุรกิจอุตสาหกรรมเพชรร่วงเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น ล่าสุด GJEPC ได้ออกประกาศถึงความคืบหน้าล่าสุดที่รัฐอนุญาตให้ธุรกิจ/กิจการต่างชาติในภาคอุตสาหกรรมเหมืองเพชร-เพชรร่วง รวม 21 รายสามารถจำหน่ายเพชรร่วงในเขตส่งเสริมพิเศษนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้
โอกาสเครื่องประดับไทยในตลาดเกาหลีใต้
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ทางกรมฯ จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อจัดทำแผนในการขับเคลื่อนการส่งออกซึ่งเป็นแผน การเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ 4 ด้านรวมถึงเจาะตลาดเกาหลีใต้
โครงการธนาคารโลกหนุนตลาดอัญมณีและเครื่องประดับเมียนมาร์โต
ตลาดที่มาแรงแนวโน้มสดใสในช่วงเวลานี้คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคือตลาดอาเซียนโดยเฉพาะเมียนมาร์ที่ยังคงรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ดีที่อัตรามากกว่าร้อยละ 8 ตามข้อมูลจากธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี (Asian Development Bank : ADB) ด้วยความมุ่งมั่นในการปฏิรูปของรัฐบาล
โอกาสของผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทย ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่น
ในปี 2557 มูลค่าการส่งออกสินค้าแฟชั่นของไทยได้สร้างรายได้ให้ประเทศเกือบ 7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 3.23 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 3.16 แสนล้านบาท และกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า 5.76 หมื่นล้านบาท ก่อให้เกิดการสร้างงานกว่า 2.2 ล้านคน