ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

แนวทางปรับตัวของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับยุค Next Normal

Apr 1, 2022
4464 views
3 shares

            สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้หลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และเริ่มเปิดให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้ ซึ่งช่วยให้หลายภาคธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินกิจการเป็นปกติอีกครั้ง โดยในช่วงการระบาดที่ผ่านมาผู้ประกอบการต่างเร่งปรับตัวมองหาช่องทางการค้าใหม่ๆ และเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สอดรับกับโอกาสที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมและการใช้ชีวิตของผู้คนที่ต่างมีมุมมองและรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤติโควิด-19 โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยีบริการดิจิทัลใหม่ๆ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบาย มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และการลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นำไปสู่เทรนด์การใช้ชีวิตแบบ Next Normal ที่จะเริ่มขยายตัวในวงกว้าง พร้อมทั้งมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและระบบเศรษฐกิจในอนาคต

จาก New Normal สู่เทรนด์ Next Normal

            “Next Normal” วิถีชีวิตใหม่ของสังคมที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่การแพร่ระบาดคลี่คลายลง โดยคาดการณ์ว่าจะเกิดการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงในแทบทุกธุรกิจ ทั้งนี้ กระแสหลักที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับมีดังนี้

            Stay-at-Home Economy

            สถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนักของโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น ทำงานและประชุม รวมถึงสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้สามารถใช้งานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย เทรนด์ดังกล่าวก่อให้เกิดรูปแบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า Stay-at-Home Economy เช่น การพบปะสังสรรค์ผ่านแอปพลิเคชัน ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และเทคโนโลยีการชอปปิงผ่านประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) ส่งผลให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างมากตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งข้อมูลจากทาง Statista เผยว่า ปี 2020 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 4.28 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 28 จากปีก่อนหน้า ส่วนประเทศไทย ข้อมูลจาก KKP Research พบว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซมีมูลค่าประมาณ 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโตสูงถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับปี 2019

            Touchless Society

            การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกคนมองว่าการสัมผัสอาจเพิ่มโอกาสติดเชื้อได้ การดำเนินชีวิตในโลกยุค Next Normal จะมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยเป็นสำคัญ เทคโนโลยีจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดการสัมผัส ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจค้าปลีกได้เกิดรูปแบบธุรกิจที่ลดการสัมผัสโดยตรง (Touchless Retailing) โดยผู้ซื้อไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ขาย เกิดการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด แล้วหันมาใช้การจ่ายเงินแบบ e-payment ระบบการจัดส่งสินค้าแบบ Non-Contact Delivery โดยจะวางพัสดุลงในภาชนะหรือสถานที่ที่ลูกค้ากำหนดไว้ล่วงหน้า หรือแนวคิดการออกแบบพื้นที่ธุรกิจที่สามารถให้บริการลูกค้าแบบปราศจากการสัมผัสใดๆ แต่จะใช้เทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง (Voice Recognition) หรือจำลองโลกเสมือนจริง (Augmented Reality: AR) แทน ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งานแล้ว ยังเพิ่มความสบายใจในด้านความปลอดภัยจากการเสี่ยงติดเชื้ออีกด้วย 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

            สร้างยอดขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ

            มาตรการล็อกดาวน์ การเว้นระยะห่างทางสังคม ตลอดจนแนวทางการป้องกันทางสาธารณสุข ได้เร่งให้ธุรกิจเครื่องประดับต้องย้ายเข้ามาสู่โลกดิจิทัลเมื่อผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าทางออนไลน์กันมากขึ้น ทั้งนี้ McKinsey & Co. ประเมินว่าอุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ทั่วโลกจะเติบโตที่อัตราร้อยละ 3 - 4 ต่อปีนับจากปี 2021 จนถึงปี 2025 หรือคิดเป็นมูลค่าค้าปลีกราว 340,000-360,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยความต้องการที่เพิ่มขึ้นมาจากกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ รวมถึงตลาดภายในประเทศเนื่องจากยังคงมีข้อจำกัดในการเดินทาง อีกทั้งคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 มูลค่าการค้าเครื่องประดับออนไลน์จะมีสัดส่วนร้อยละ 21 ของมูลค่าการค้าเครื่องประดับทั่วโลก ขณะที่งานวิจัยของ Research and Markets ระบุว่า ตลาดการค้าเครื่องประดับออนไลน์ทั่วโลกมีมูลค่าถึง 21,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2020 และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 58,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2027 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยปี 2020-2027 ราวร้อยละ 15.5 ต่อปี

            นอกจากนี้ ผลสำรวจการซื้อเครื่องประดับของผู้บริโภคในยุโรประหว่างช่วงการระบาดของโควิด-19 โดย McKinsey & Co. ในไตรมาสแรกของปี 2021 พบว่า ผู้รับการสำรวจร้อยละ 48 ในสหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี สเปน และฝรั่งเศส ซื้อเครื่องประดับทางออนไลน์นับตั้งแต่เกิดการระบาด และร้อยละ 17 ระบุว่าจะทำเช่นนี้ต่อไปหลังจากวิกฤติโควิด-19 ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งผู้ซื้อส่วนใหญ่ตั้งใจจะคงพฤติกรรมการใช้งานทางดิจิทัลต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้นหรือการใช้เครื่องมือที่ผสานเทคโนโลยีต่างๆ ในการซื้อสินค้าเครื่องประดับ

            ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์จำลองโลกเสมือนจริง หรือ AR ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถออกแบบเครื่องประดับได้เอง โดยเลือกอัญมณี ตัวเรือนโลหะ รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ ที่ต้องการ และเปลี่ยนงานออกแบบให้เป็นภาพสามมิติได้ด้วยการทำภาพจำลองเสมือนจริง จากนั้นก็ส่งภาพสามมิตินี้ไปยังเครื่องพิมพ์สามมิติตามร้านค้าเครื่องประดับ เพื่อสร้างแบบจำลองชิ้นงานจากขี้ผึ้งได้ทันที หรือส่งไปยังโรงงานของบริษัทเพื่อผลิตออกมาเป็นเครื่องประดับที่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่ง Statista คาดว่าจะมีผู้ใช้เทคโนโลยี AR ผ่านมือถือถึง 2,400 ล้านคนภายในปี 2023 ฉะนั้น เครื่องประดับที่ลูกค้าสามารถออกแบบได้ด้วยตัวเอง ตลอดจนช่องทางดิจิทัลสำหรับติดต่อกับลูกค้าได้ลดช่องว่างระหว่างแพลตฟอร์มการขายทางออนไลน์กับร้านค้าแบบดั้งเดิม อีกทั้งการชำระเงินแบบออนไลน์มีส่วนแบ่งในตลาดสูงขึ้นระหว่างการระบาดและน่าจะคงความสำคัญต่อไปในวิถีชีวิตแบบใหม่ เมื่อผู้คนไว้วางใจและเชื่อมั่นในระบบ e-wallet รวมถึงการซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น 


การใช้เทคโนโลยี AR ในธุรกิจเครื่องประดับ

ที่มา: https://jewellerynet.com


            อย่างไรก็ตาม ร้านค้าแบบดั้งเดิมจะยังคงมีความสำคัญอยู่ แม้ว่ายอดขายทางออนไลน์เพิ่มขึ้นและผู้คนนิยมศึกษาข้อมูลทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงนิยมซื้อเครื่องประดับในร้านค้าแบบดั้งเดิม เพราะเล็งเห็นความสำคัญของการได้เห็นและสัมผัสจับต้องเครื่องประดับด้วยตัวเอง และได้รับประโยชน์จากการให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัว รวมถึงบริการส่วนบุคคลอื่นๆ ในขณะที่การให้ใบรับรองคุณภาพสินค้า การรับประกัน การนำเสนอรีวิว การอำนวยความสะดวกผ่านบริการจัดส่งและคืนสินค้าฟรี หรือบริการลองก่อนชำระเงิน ตลอดจนให้ส่วนลดหรือข้อเสนอเพิ่มเติมสามารถเพิ่มยอดขายปลีกออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการได้ดี

            การให้คุณค่ากับสิ่งใหม่ๆ

            ความภักดีต่อแบรนด์ของผู้บริโภคหลังการระบาดของโควิด-19 ก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน จากรายงานของ McKinsey& Co. ระบุว่าทางเลือกมหาศาลบนโลกออนไลน์ส่งเสริมให้ผู้ซื้อได้พิจารณาแบรนด์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แม้ว่าคุณภาพและคุณค่ายังคงเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจซื้อ แต่ลูกค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในกลุ่ม Gen Z และมิลเลนเนียล ได้หันมาให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยเน้นแบรนด์ที่ยึดถือค่านิยมตรงกับตนเอง ซึ่งมักจะเป็นในแง่ความยั่งยืน ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล

            ตามผลสำรวจของ Bain & Co. ชี้ว่าผู้บริโภคหนุ่มสาวร้อยละ 60 - 70 ในจีน อินเดีย และสหรัฐจะพิจารณาถึงความยั่งยืนเมื่อตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเพชร ซึ่งผลกระทบทางสังคมเป็นประเด็นด้านความยั่งยืนที่ผู้บริโภคสหรัฐคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ส่วนในจีนและอินเดียนั้น ผู้บริโภคจะเน้นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ห่วงโซ่อุปทานที่ไม่ส่งเสริมความขัดแย้ง และคาร์บอนฟุตพรินต์เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องประดับ

            สไตล์เครื่องประดับที่เปลี่ยนไป

            วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อแนวโน้มการออกแบบเครื่องประดับด้วยเช่นกัน การสื่อสารทางดิจิทัลได้กระตุ้นความต้องการเครื่องประดับที่สวมใส่ได้เหมาะกับการประชุมผ่านระบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นต่างหูเม็ดเดี่ยว ต่างหูห่วง และต่างหูระย้าแบบสั้น ไปจนถึงเข็มกลัด โชคเกอร์ และจี้


เครื่องประดับแพลทินัม

ที่มา: https://jewellerynet.com


            นอกจากนี้ เครื่องประดับยังได้พัฒนาไปเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดบุคลิกเมื่อผู้ซื้อหลายรายค้นหาเครื่องประดับที่บ่งบอกถึงตัวตนและสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของตัวเอง รูปทรง ดีไซน์ และวัสดุที่แปลกใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทในคอลเลคชันเครื่องประดับ รูปแบบการเจียระไนอัญมณีที่ไม่สมมาตร อัญมณีที่มีตำหนิ และอัญมณีเนื้อขุ่นที่มีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งสะท้อนตัวตนของผู้ซื้อ รวมถึงเครื่องประดับที่เน้นการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ล้วนมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นจากผู้หญิงที่ซื้อเครื่องประดับให้ตนเอง โดยไม่ต้องรอให้ถึงโอกาสพิเศษหรือเทศกาลต่างๆ 

การปรับตัวของธุรกิจไทยในยุค Next Normal

            การระบาดของโควิด-19 ช่วยเปิดมุมมองให้ภาคธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทยหันมาพิจารณากระบวนการดำเนินงานของตนเองใหม่ โดยได้มีการพัฒนาและปรับตัวเข้าสู่ช่องทางดิจิทัลอย่างชัดเจนมากขึ้นทั้งในด้านอีคอมเมิร์ซและโซเชียลมีเดีย จนทำให้เกิดโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ที่สอดรับกับเทรนด์ Next Normal การซื้อขายเครื่องประดับทางออนไลน์กำลังเติบโตผ่านกลยุทธ์การทำตลาดที่เน้นให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าจากหลากหลายช่องทาง (Omni Channel) ผู้ประกอบการไทยไม่ว่าจะรายใหญ่หรือรายย่อยต่างผันมาทำการตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ อีกทั้งกระแสความนิยมของไลฟ์สตรีม (Livestreaming) ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สร้างยอดขายเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้น ด้วยการนำเสนอสินค้าและโปรโมชั่นราคาพิเศษเพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะคนรุ่นมิลเลนเนียล และ Gen Z 

            ธุรกิจเครื่องประดับ

            บริษัท Ten Fingers Factory & Design บริษัทผู้ผลิตเครื่องประดับมากว่า 40 ปี ที่นอกจากจะรับจ้างผลิตเครื่องประดับให้กับแบรนด์ต่างๆ แล้ว ทายาทธุรกิจรุ่นลูก คุณขจี ว่องพาณิช ยังสานต่อกิจการต่อยอดสร้างแบรนด์เครื่องประดับ Mirror Mirror ซึ่งปรับธุรกิจหันมาใช้กลยุทธ์การตลาดออนไลน์มากขึ้น พร้อมทั้งได้สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่หลากหลายแบรนด์เข้ามาร่วมมือกันทำตลาดด้วยการไลฟ์สดผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับธุรกิจมุ่งสู่กระแสความยั่งยืนตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่ตามเทรนด์ที่ผู้คนหันมาใส่ใจโลกกันมากขึ้น โดยรังสรรค์เครื่องประดับที่มาจากการ Upcycling เพิ่มมูลค่าของวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้ว จนนำมาสู่ผลงานเครื่องประดับในกระแส Sustainable Jewelry ซึ่งได้รับรางวัล Design Excellence Award (DEmark) 2021 ที่จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งยังหาช่องทางรุกเข้าสู่ตลาดจีนขยายโอกาสการขายเครื่องประดับโดยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและงานแฟชั่นโชว์ต่างๆ อาทิ ล่าสุดได้เข้าร่วมงาน Shanghai Fashion Week 2022 ในเดือนตุลาคม 2021 พร้อมทั้งหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อวางขายสินค้าผ่านทางโชว์รูมแสดงสินค้าในเซี่ยงไฮ้ด้วย

            ธุรกิจพลอยสีและเครื่องประดับพลอย

            ส่วนภาคธุรกิจพลอยสี จากการสัมภาษณ์คุณอดิศักดิ์ ถาวรวิริยะนันท์ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี ให้ข้อมูลว่า ภาพรวมธุรกิจค้าพลอยสีในช่วงที่ผ่านมายังคงมีการค้าขายได้เรื่อยๆ แม้ผู้ซื้อชาวต่างชาติจะไม่สามารถเดินทางมายังไทยได้ แต่ผู้ซื้อชาวจีนและอินเดียมีความต้องการซื้อทับทิมและแซปไฟร์คุณภาพสูงค่อนข้างมาก ผู้ประกอบการจึงใช้วีธีส่งภาพสินค้าให้ทางผู้ซื้อชาวจีนพิจารณาอย่างละเอียดแทน เมื่อได้รับคำสั่งซื้อสินค้าก็จะส่งสินค้าออกไปยังฮ่องกงเพื่อส่งต่อไปยังจีน หรือส่งออกไปยังจีนโดยตรง แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาวัตถุดิบพลอยก้อนที่นำเข้ามายังประเทศไทยลดน้อยลง โดยเฉพาะทับทิมและแซปไฟร์ (ถึงแม้จะมีการซื้อทับทิมผ่านงานประมูลพลอย) ทำให้ไม่สามารถคัดสรรสินค้าคุณภาพสูงให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า อาทิ ไม่ได้เป็นทับทิมสีเลือดนกพิราบ เป็นต้น จึงทำให้ผู้ค้าพลอยไทยจำเป็นต้องขายพลอยในราคาที่ไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รัฐบาลได้เปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามายังประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ก็มีลูกค้าชาวต่างชาตินัดหมายเข้ามาซื้อพลอยที่จันทบุรีหลายราย ซึ่งคาดว่าเมื่อสถานการณ์การระบาดคลี่คลายลงยอดค้าพลอยสีและเครื่องประดับพลอยสีน่าจะขยายตัวได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปี 2020-2021 

            ธุรกิจทองคำและเครื่องประดับทอง

            ธุรกิจค้าทองคำและเครื่องประดับทองได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามายกระดับช่องทางบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความคล่องตัว และคำนึงถึงความปลอดภัยในการซื้อขายมากยิ่งขึ้น ดังเช่น แบรนด์แม่ทองสุก คุณณัฐพงศ์ หิรัณยศิริ ประธานฝ่ายบริหารกลุ่มบริษัท MTS Gold ให้สัมภาษณ์ถึงการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านการซื้อขายทองคำทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณ โดยล่าสุดมีการนำนวัตกรรม Gold Blockchain เชื่อมต่อแอปพลิเคชันเป๋าตังของธนาคารกรุงไทยที่เรียกว่า Krungthai Gold Wallet เพื่อเพิ่มศักยภาพและช่องทางสำหรับผู้ที่สนใจซื้อขายทองคำ 99.99% อิงตามราคาทองคำในตลาดโลกด้วยสกุลเงินเหรียญสหรัฐต่อออนซ์ผ่านช่องทางออนไลน์แบบเรียลไทม์ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนกว่าหมื่นรายในช่วง 1 เดือนหลังเปิดให้บริการ อีกทั้งระบบออมทองที่รู้จักกันในนาม “แม่ทองสุกออมทอง” ก็มีการใช้นวัตกรรม Gold Blockchain ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเช่นกัน 

            ทั้งนี้ การก้าวผ่านจาก New Normal มาสู่ Next Normal นั้นเป็นการนำเทคโนโลยีรวมถึงนวัตกรรมดิจิทัลใหม่ๆ และความตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าสู่การใช้ชีวิตของทุกคนมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการควรปรับตัวเพิ่มทักษะทางดิจิทัล ทำความเข้าใจถึง Digital Transformation เรียนรู้ด้านการตลาดออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการขายให้ทันพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค สื่อสารกับลูกค้า เพื่อให้เกิดการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ข้อมูลอ้างอิง


1. McKinsey & Company. 2021. State of Fashion: Watches and Jewellery. [Online]. Available at: https://www.mckinsey.com/industries/retail/our-insights/state-of-fashion-watches-and-jewellery. (Retrieved October 14, 2021).
2. CIBJO. 2021. Crisis and Opportunity: An Industry Transformed. [Online]. Available at: https://www.cibjo.org/congress2021/.
3. Retail Insider. 2020. How COVID-19 Has Impacted the Jewelry Industry. [Online]. Available at: https://retail-insider.com/articles/2020/10/how-covid-19-has-impacted-the-jewelry-industry/.
4. International Gem Society. 2021. State of Digital Transformation Survey Report: How the Impact of COVID-19 is Changing the Retail Jewelry Landscape. [Online]. Available at: https://www.gemsociety.org/
article/how-covid-is-changing-the-retail-jewelry-landscape-survey/.
5. JNA. 2021. Jewellery retail in the time of Covid-19. [Online]. Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24253.
6. Research and Markets. 2021. Global Online Jewelry Market to Reach $58.9 Billion by 2027. [Online]. Available at: https://www.researchandmarkets.com/reports/5140217/online-jewelry-global-market-trajectory-and?utm_source=CI&utm_medium=PressRelease&utm_code=98n9st&utm_campaign=1472633+-+%2421.5+Billion+Worldwide+Online+Jewelry+Industry+to+2027+-+Impact+of+COVID-19+on+the+Market&utm_exec=jamu273prd.
7. ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2021. The Next Normal ส่องเทรนด์ "ความปกติถัดไป" หลังโควิด 19. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256306GlobalTrend.aspx.
8. Missiontothemoon. 2021. ก้าวผ่านจาก New Normal สู่ “Next Normal” ด้วย 4 เทรนด์หลักหลังยุคโควิด-19. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://missiontothemoon.co/softskill-new-normal-to-next-normal/.
9. DEPA. 2021. Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal-next-normal.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

แนวทางปรับตัวของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับยุค Next Normal

Apr 1, 2022
4464 views
3 shares

            สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้หลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และเริ่มเปิดให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้ ซึ่งช่วยให้หลายภาคธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินกิจการเป็นปกติอีกครั้ง โดยในช่วงการระบาดที่ผ่านมาผู้ประกอบการต่างเร่งปรับตัวมองหาช่องทางการค้าใหม่ๆ และเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สอดรับกับโอกาสที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมและการใช้ชีวิตของผู้คนที่ต่างมีมุมมองและรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤติโควิด-19 โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยีบริการดิจิทัลใหม่ๆ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบาย มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และการลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นำไปสู่เทรนด์การใช้ชีวิตแบบ Next Normal ที่จะเริ่มขยายตัวในวงกว้าง พร้อมทั้งมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและระบบเศรษฐกิจในอนาคต

จาก New Normal สู่เทรนด์ Next Normal

            “Next Normal” วิถีชีวิตใหม่ของสังคมที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่การแพร่ระบาดคลี่คลายลง โดยคาดการณ์ว่าจะเกิดการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงในแทบทุกธุรกิจ ทั้งนี้ กระแสหลักที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับมีดังนี้

            Stay-at-Home Economy

            สถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนักของโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น ทำงานและประชุม รวมถึงสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้สามารถใช้งานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย เทรนด์ดังกล่าวก่อให้เกิดรูปแบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า Stay-at-Home Economy เช่น การพบปะสังสรรค์ผ่านแอปพลิเคชัน ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และเทคโนโลยีการชอปปิงผ่านประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) ส่งผลให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างมากตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งข้อมูลจากทาง Statista เผยว่า ปี 2020 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 4.28 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 28 จากปีก่อนหน้า ส่วนประเทศไทย ข้อมูลจาก KKP Research พบว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซมีมูลค่าประมาณ 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโตสูงถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับปี 2019

            Touchless Society

            การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกคนมองว่าการสัมผัสอาจเพิ่มโอกาสติดเชื้อได้ การดำเนินชีวิตในโลกยุค Next Normal จะมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยเป็นสำคัญ เทคโนโลยีจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดการสัมผัส ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจค้าปลีกได้เกิดรูปแบบธุรกิจที่ลดการสัมผัสโดยตรง (Touchless Retailing) โดยผู้ซื้อไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ขาย เกิดการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด แล้วหันมาใช้การจ่ายเงินแบบ e-payment ระบบการจัดส่งสินค้าแบบ Non-Contact Delivery โดยจะวางพัสดุลงในภาชนะหรือสถานที่ที่ลูกค้ากำหนดไว้ล่วงหน้า หรือแนวคิดการออกแบบพื้นที่ธุรกิจที่สามารถให้บริการลูกค้าแบบปราศจากการสัมผัสใดๆ แต่จะใช้เทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง (Voice Recognition) หรือจำลองโลกเสมือนจริง (Augmented Reality: AR) แทน ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งานแล้ว ยังเพิ่มความสบายใจในด้านความปลอดภัยจากการเสี่ยงติดเชื้ออีกด้วย 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

            สร้างยอดขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ

            มาตรการล็อกดาวน์ การเว้นระยะห่างทางสังคม ตลอดจนแนวทางการป้องกันทางสาธารณสุข ได้เร่งให้ธุรกิจเครื่องประดับต้องย้ายเข้ามาสู่โลกดิจิทัลเมื่อผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าทางออนไลน์กันมากขึ้น ทั้งนี้ McKinsey & Co. ประเมินว่าอุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ทั่วโลกจะเติบโตที่อัตราร้อยละ 3 - 4 ต่อปีนับจากปี 2021 จนถึงปี 2025 หรือคิดเป็นมูลค่าค้าปลีกราว 340,000-360,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยความต้องการที่เพิ่มขึ้นมาจากกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ รวมถึงตลาดภายในประเทศเนื่องจากยังคงมีข้อจำกัดในการเดินทาง อีกทั้งคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 มูลค่าการค้าเครื่องประดับออนไลน์จะมีสัดส่วนร้อยละ 21 ของมูลค่าการค้าเครื่องประดับทั่วโลก ขณะที่งานวิจัยของ Research and Markets ระบุว่า ตลาดการค้าเครื่องประดับออนไลน์ทั่วโลกมีมูลค่าถึง 21,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2020 และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 58,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2027 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยปี 2020-2027 ราวร้อยละ 15.5 ต่อปี

            นอกจากนี้ ผลสำรวจการซื้อเครื่องประดับของผู้บริโภคในยุโรประหว่างช่วงการระบาดของโควิด-19 โดย McKinsey & Co. ในไตรมาสแรกของปี 2021 พบว่า ผู้รับการสำรวจร้อยละ 48 ในสหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี สเปน และฝรั่งเศส ซื้อเครื่องประดับทางออนไลน์นับตั้งแต่เกิดการระบาด และร้อยละ 17 ระบุว่าจะทำเช่นนี้ต่อไปหลังจากวิกฤติโควิด-19 ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งผู้ซื้อส่วนใหญ่ตั้งใจจะคงพฤติกรรมการใช้งานทางดิจิทัลต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้นหรือการใช้เครื่องมือที่ผสานเทคโนโลยีต่างๆ ในการซื้อสินค้าเครื่องประดับ

            ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์จำลองโลกเสมือนจริง หรือ AR ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถออกแบบเครื่องประดับได้เอง โดยเลือกอัญมณี ตัวเรือนโลหะ รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ ที่ต้องการ และเปลี่ยนงานออกแบบให้เป็นภาพสามมิติได้ด้วยการทำภาพจำลองเสมือนจริง จากนั้นก็ส่งภาพสามมิตินี้ไปยังเครื่องพิมพ์สามมิติตามร้านค้าเครื่องประดับ เพื่อสร้างแบบจำลองชิ้นงานจากขี้ผึ้งได้ทันที หรือส่งไปยังโรงงานของบริษัทเพื่อผลิตออกมาเป็นเครื่องประดับที่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่ง Statista คาดว่าจะมีผู้ใช้เทคโนโลยี AR ผ่านมือถือถึง 2,400 ล้านคนภายในปี 2023 ฉะนั้น เครื่องประดับที่ลูกค้าสามารถออกแบบได้ด้วยตัวเอง ตลอดจนช่องทางดิจิทัลสำหรับติดต่อกับลูกค้าได้ลดช่องว่างระหว่างแพลตฟอร์มการขายทางออนไลน์กับร้านค้าแบบดั้งเดิม อีกทั้งการชำระเงินแบบออนไลน์มีส่วนแบ่งในตลาดสูงขึ้นระหว่างการระบาดและน่าจะคงความสำคัญต่อไปในวิถีชีวิตแบบใหม่ เมื่อผู้คนไว้วางใจและเชื่อมั่นในระบบ e-wallet รวมถึงการซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น 


การใช้เทคโนโลยี AR ในธุรกิจเครื่องประดับ

ที่มา: https://jewellerynet.com


            อย่างไรก็ตาม ร้านค้าแบบดั้งเดิมจะยังคงมีความสำคัญอยู่ แม้ว่ายอดขายทางออนไลน์เพิ่มขึ้นและผู้คนนิยมศึกษาข้อมูลทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงนิยมซื้อเครื่องประดับในร้านค้าแบบดั้งเดิม เพราะเล็งเห็นความสำคัญของการได้เห็นและสัมผัสจับต้องเครื่องประดับด้วยตัวเอง และได้รับประโยชน์จากการให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัว รวมถึงบริการส่วนบุคคลอื่นๆ ในขณะที่การให้ใบรับรองคุณภาพสินค้า การรับประกัน การนำเสนอรีวิว การอำนวยความสะดวกผ่านบริการจัดส่งและคืนสินค้าฟรี หรือบริการลองก่อนชำระเงิน ตลอดจนให้ส่วนลดหรือข้อเสนอเพิ่มเติมสามารถเพิ่มยอดขายปลีกออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการได้ดี

            การให้คุณค่ากับสิ่งใหม่ๆ

            ความภักดีต่อแบรนด์ของผู้บริโภคหลังการระบาดของโควิด-19 ก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน จากรายงานของ McKinsey& Co. ระบุว่าทางเลือกมหาศาลบนโลกออนไลน์ส่งเสริมให้ผู้ซื้อได้พิจารณาแบรนด์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แม้ว่าคุณภาพและคุณค่ายังคงเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจซื้อ แต่ลูกค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในกลุ่ม Gen Z และมิลเลนเนียล ได้หันมาให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยเน้นแบรนด์ที่ยึดถือค่านิยมตรงกับตนเอง ซึ่งมักจะเป็นในแง่ความยั่งยืน ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล

            ตามผลสำรวจของ Bain & Co. ชี้ว่าผู้บริโภคหนุ่มสาวร้อยละ 60 - 70 ในจีน อินเดีย และสหรัฐจะพิจารณาถึงความยั่งยืนเมื่อตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเพชร ซึ่งผลกระทบทางสังคมเป็นประเด็นด้านความยั่งยืนที่ผู้บริโภคสหรัฐคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ส่วนในจีนและอินเดียนั้น ผู้บริโภคจะเน้นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ห่วงโซ่อุปทานที่ไม่ส่งเสริมความขัดแย้ง และคาร์บอนฟุตพรินต์เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องประดับ

            สไตล์เครื่องประดับที่เปลี่ยนไป

            วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อแนวโน้มการออกแบบเครื่องประดับด้วยเช่นกัน การสื่อสารทางดิจิทัลได้กระตุ้นความต้องการเครื่องประดับที่สวมใส่ได้เหมาะกับการประชุมผ่านระบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นต่างหูเม็ดเดี่ยว ต่างหูห่วง และต่างหูระย้าแบบสั้น ไปจนถึงเข็มกลัด โชคเกอร์ และจี้


เครื่องประดับแพลทินัม

ที่มา: https://jewellerynet.com


            นอกจากนี้ เครื่องประดับยังได้พัฒนาไปเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดบุคลิกเมื่อผู้ซื้อหลายรายค้นหาเครื่องประดับที่บ่งบอกถึงตัวตนและสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของตัวเอง รูปทรง ดีไซน์ และวัสดุที่แปลกใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทในคอลเลคชันเครื่องประดับ รูปแบบการเจียระไนอัญมณีที่ไม่สมมาตร อัญมณีที่มีตำหนิ และอัญมณีเนื้อขุ่นที่มีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งสะท้อนตัวตนของผู้ซื้อ รวมถึงเครื่องประดับที่เน้นการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ล้วนมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นจากผู้หญิงที่ซื้อเครื่องประดับให้ตนเอง โดยไม่ต้องรอให้ถึงโอกาสพิเศษหรือเทศกาลต่างๆ 

การปรับตัวของธุรกิจไทยในยุค Next Normal

            การระบาดของโควิด-19 ช่วยเปิดมุมมองให้ภาคธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทยหันมาพิจารณากระบวนการดำเนินงานของตนเองใหม่ โดยได้มีการพัฒนาและปรับตัวเข้าสู่ช่องทางดิจิทัลอย่างชัดเจนมากขึ้นทั้งในด้านอีคอมเมิร์ซและโซเชียลมีเดีย จนทำให้เกิดโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ที่สอดรับกับเทรนด์ Next Normal การซื้อขายเครื่องประดับทางออนไลน์กำลังเติบโตผ่านกลยุทธ์การทำตลาดที่เน้นให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าจากหลากหลายช่องทาง (Omni Channel) ผู้ประกอบการไทยไม่ว่าจะรายใหญ่หรือรายย่อยต่างผันมาทำการตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ อีกทั้งกระแสความนิยมของไลฟ์สตรีม (Livestreaming) ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สร้างยอดขายเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้น ด้วยการนำเสนอสินค้าและโปรโมชั่นราคาพิเศษเพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะคนรุ่นมิลเลนเนียล และ Gen Z 

            ธุรกิจเครื่องประดับ

            บริษัท Ten Fingers Factory & Design บริษัทผู้ผลิตเครื่องประดับมากว่า 40 ปี ที่นอกจากจะรับจ้างผลิตเครื่องประดับให้กับแบรนด์ต่างๆ แล้ว ทายาทธุรกิจรุ่นลูก คุณขจี ว่องพาณิช ยังสานต่อกิจการต่อยอดสร้างแบรนด์เครื่องประดับ Mirror Mirror ซึ่งปรับธุรกิจหันมาใช้กลยุทธ์การตลาดออนไลน์มากขึ้น พร้อมทั้งได้สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่หลากหลายแบรนด์เข้ามาร่วมมือกันทำตลาดด้วยการไลฟ์สดผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับธุรกิจมุ่งสู่กระแสความยั่งยืนตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่ตามเทรนด์ที่ผู้คนหันมาใส่ใจโลกกันมากขึ้น โดยรังสรรค์เครื่องประดับที่มาจากการ Upcycling เพิ่มมูลค่าของวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้ว จนนำมาสู่ผลงานเครื่องประดับในกระแส Sustainable Jewelry ซึ่งได้รับรางวัล Design Excellence Award (DEmark) 2021 ที่จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งยังหาช่องทางรุกเข้าสู่ตลาดจีนขยายโอกาสการขายเครื่องประดับโดยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและงานแฟชั่นโชว์ต่างๆ อาทิ ล่าสุดได้เข้าร่วมงาน Shanghai Fashion Week 2022 ในเดือนตุลาคม 2021 พร้อมทั้งหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อวางขายสินค้าผ่านทางโชว์รูมแสดงสินค้าในเซี่ยงไฮ้ด้วย

            ธุรกิจพลอยสีและเครื่องประดับพลอย

            ส่วนภาคธุรกิจพลอยสี จากการสัมภาษณ์คุณอดิศักดิ์ ถาวรวิริยะนันท์ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี ให้ข้อมูลว่า ภาพรวมธุรกิจค้าพลอยสีในช่วงที่ผ่านมายังคงมีการค้าขายได้เรื่อยๆ แม้ผู้ซื้อชาวต่างชาติจะไม่สามารถเดินทางมายังไทยได้ แต่ผู้ซื้อชาวจีนและอินเดียมีความต้องการซื้อทับทิมและแซปไฟร์คุณภาพสูงค่อนข้างมาก ผู้ประกอบการจึงใช้วีธีส่งภาพสินค้าให้ทางผู้ซื้อชาวจีนพิจารณาอย่างละเอียดแทน เมื่อได้รับคำสั่งซื้อสินค้าก็จะส่งสินค้าออกไปยังฮ่องกงเพื่อส่งต่อไปยังจีน หรือส่งออกไปยังจีนโดยตรง แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาวัตถุดิบพลอยก้อนที่นำเข้ามายังประเทศไทยลดน้อยลง โดยเฉพาะทับทิมและแซปไฟร์ (ถึงแม้จะมีการซื้อทับทิมผ่านงานประมูลพลอย) ทำให้ไม่สามารถคัดสรรสินค้าคุณภาพสูงให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า อาทิ ไม่ได้เป็นทับทิมสีเลือดนกพิราบ เป็นต้น จึงทำให้ผู้ค้าพลอยไทยจำเป็นต้องขายพลอยในราคาที่ไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รัฐบาลได้เปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามายังประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ก็มีลูกค้าชาวต่างชาตินัดหมายเข้ามาซื้อพลอยที่จันทบุรีหลายราย ซึ่งคาดว่าเมื่อสถานการณ์การระบาดคลี่คลายลงยอดค้าพลอยสีและเครื่องประดับพลอยสีน่าจะขยายตัวได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปี 2020-2021 

            ธุรกิจทองคำและเครื่องประดับทอง

            ธุรกิจค้าทองคำและเครื่องประดับทองได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามายกระดับช่องทางบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความคล่องตัว และคำนึงถึงความปลอดภัยในการซื้อขายมากยิ่งขึ้น ดังเช่น แบรนด์แม่ทองสุก คุณณัฐพงศ์ หิรัณยศิริ ประธานฝ่ายบริหารกลุ่มบริษัท MTS Gold ให้สัมภาษณ์ถึงการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านการซื้อขายทองคำทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณ โดยล่าสุดมีการนำนวัตกรรม Gold Blockchain เชื่อมต่อแอปพลิเคชันเป๋าตังของธนาคารกรุงไทยที่เรียกว่า Krungthai Gold Wallet เพื่อเพิ่มศักยภาพและช่องทางสำหรับผู้ที่สนใจซื้อขายทองคำ 99.99% อิงตามราคาทองคำในตลาดโลกด้วยสกุลเงินเหรียญสหรัฐต่อออนซ์ผ่านช่องทางออนไลน์แบบเรียลไทม์ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนกว่าหมื่นรายในช่วง 1 เดือนหลังเปิดให้บริการ อีกทั้งระบบออมทองที่รู้จักกันในนาม “แม่ทองสุกออมทอง” ก็มีการใช้นวัตกรรม Gold Blockchain ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเช่นกัน 

            ทั้งนี้ การก้าวผ่านจาก New Normal มาสู่ Next Normal นั้นเป็นการนำเทคโนโลยีรวมถึงนวัตกรรมดิจิทัลใหม่ๆ และความตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าสู่การใช้ชีวิตของทุกคนมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการควรปรับตัวเพิ่มทักษะทางดิจิทัล ทำความเข้าใจถึง Digital Transformation เรียนรู้ด้านการตลาดออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการขายให้ทันพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค สื่อสารกับลูกค้า เพื่อให้เกิดการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ข้อมูลอ้างอิง


1. McKinsey & Company. 2021. State of Fashion: Watches and Jewellery. [Online]. Available at: https://www.mckinsey.com/industries/retail/our-insights/state-of-fashion-watches-and-jewellery. (Retrieved October 14, 2021).
2. CIBJO. 2021. Crisis and Opportunity: An Industry Transformed. [Online]. Available at: https://www.cibjo.org/congress2021/.
3. Retail Insider. 2020. How COVID-19 Has Impacted the Jewelry Industry. [Online]. Available at: https://retail-insider.com/articles/2020/10/how-covid-19-has-impacted-the-jewelry-industry/.
4. International Gem Society. 2021. State of Digital Transformation Survey Report: How the Impact of COVID-19 is Changing the Retail Jewelry Landscape. [Online]. Available at: https://www.gemsociety.org/
article/how-covid-is-changing-the-retail-jewelry-landscape-survey/.
5. JNA. 2021. Jewellery retail in the time of Covid-19. [Online]. Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24253.
6. Research and Markets. 2021. Global Online Jewelry Market to Reach $58.9 Billion by 2027. [Online]. Available at: https://www.researchandmarkets.com/reports/5140217/online-jewelry-global-market-trajectory-and?utm_source=CI&utm_medium=PressRelease&utm_code=98n9st&utm_campaign=1472633+-+%2421.5+Billion+Worldwide+Online+Jewelry+Industry+to+2027+-+Impact+of+COVID-19+on+the+Market&utm_exec=jamu273prd.
7. ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2021. The Next Normal ส่องเทรนด์ "ความปกติถัดไป" หลังโควิด 19. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256306GlobalTrend.aspx.
8. Missiontothemoon. 2021. ก้าวผ่านจาก New Normal สู่ “Next Normal” ด้วย 4 เทรนด์หลักหลังยุคโควิด-19. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://missiontothemoon.co/softskill-new-normal-to-next-normal/.
9. DEPA. 2021. Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal-next-normal.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site