ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่่องประดับ

พลอยสี กับโอกาสที่เปล่งประกายในตลาดจีน

Apr 27, 2022
3400 views
13 shares

        ชาวจีนเริ่มหันมาสนใจพลอยสีหลังจากเป็นตลาดผู้บริโภคทองคำ หยก และไข่มุกมาเนิ่นนาน นอกจากพลอยสีระดับ “บิ๊กทรี” อย่างทับทิม แซปไฟร์ และมรกต พลอยสีประเภทอื่นที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวจีนก็คือ สปิเนล และพาราอิบาทัวร์มาลีน 

        ความชื่นชอบที่ตลาดจีนมีต่อหยกและไข่มุกวางรากฐานอยู่บนประวัติศาสตร์อันยาวนาน หนังสือโบราณของจีนที่มีชื่อว่า Shang Shu (บันทึกประวัติศาสตร์) นับเป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรอันเก่าแก่ที่สุดที่ได้กล่าวถึงไข่มุกธรรมชาติไว้ในปี 2206 ก่อนคริสตกาล ขณะที่ความชื่นชอบที่ชาวจีนมีต่อหยกนั้นย้อนกลับไปได้ถึงยุคหินใหม่เมื่อราว 7,000 ปีก่อน หยกเจไดต์ (jadeite) จากเมียนมาเดินทางไปถึงราชสำนักของราชวงศ์ชิงช่วงปลายศตวรรษ 1700 ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 ช่างแกะสลักชาวจีนได้สร้างผลงานหยกชิ้นเอกที่ยากจะหาใครเทียบจนถึงปัจจุบันทั้งในแง่แนวคิด การออกแบบ และเทคนิค

 

สปิเนล และพาราอิบาทัวร์มาลีน

        พลอยสีค่อนข้างถือเป็นสินค้าใหม่ในตลาดจีน แต่ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พลอยสีที่มีลักษณะโปร่งใสและเจียระไนให้เป็นเหลี่ยมมุมได้ เช่น ทับทิม แซปไฟร์ มรกต สปิเนล และพาราอิบาทัวร์มาลีนสามารถชนะใจผู้สนใจอัญมณี นักสะสม และคนรักเครื่องประดับในตลาดจีนซึ่งแต่เดิมถูกยึดครองด้วยอัญมณีโปร่งแสงและทึบแสง Lin Xifeng ประธานของ Guangdong Colored Gemstone & Jewelry Chamber of Commerce ระบุว่า ทับทิม แซปไฟร์ และมรกตเพิ่งมาเริ่มได้รับความนิยมในปี 2013 และ 2014 จากนั้นกระแสยิ่งมาแรงขึ้นในปี 2015 และ 2016 เมื่อผู้ขายเครื่องประดับและผู้บริโภคเริ่มเกิดการรับรู้มากขึ้น ความต้องการเติบโตอย่างต่อเนื่องและความสนใจพุ่งสูงขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์โดยเหล่าคนดัง ช่องทางการขายที่เพิ่มขึ้น และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับพลอยสีแก่ผู้บริโภคอย่างเต็มที่

        ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกทองคำ โลหะเงิน และเครื่องประดับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.8 ในปี 2021 คิดเป็นมูลค่า 304.1 พันล้านหยวน (ราว 47.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามข้อมูลจาก National Bureau of Statistics of China ขณะที่ตามข้อมูลจาก Gems and Jewelry Trade Association of China ยอดขายปลีกเครื่องประดับโดยรวมในปี 2020 แตะระดับที่ 88,440 ล้านเหรียญสหรัฐ เครื่องประดับทองล้วนทำยอดขายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.7 สินค้ายอดนิยมตามปกติในตลาดจีน อันได้แก่ หยกเจไดต์ หยกเนไฟรต์ และไข่มุก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.2 ของยอดขายปลีกเครื่องประดับทั้งหมด ขณะที่พลอยสีอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.9 ส่วนเครื่องประดับเพชรนั้นทำยอดขายเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.1 ของมูลค่ายอดขายปลีกเครื่องประดับทั้งหมด


รสนิยมของผู้บริโภคจีนที่เปลี่ยนแปลง

        นักออกแบบเครื่องประดับ Paloma Sanchez ได้สังเกตการยอมรับพลอยสีที่ค่อยๆ เกิดขึ้นในตลาดจีน นักอัญมณีวิทยาผู้จบการศึกษาจาก GIA รายนี้อาศัยอยู่ในปักกิ่งมาตั้งแต่ปี 2006 เธอระบุว่าแม้ผู้บริโภคชาวจีนมักสนใจอัญมณีและพลังที่เปล่งออกมาจากอัญมณี แต่รสนิยมด้านเครื่องประดับก็ยังโน้มเอียงไปทางตัวเลือกตามแบบแผนดั้งเดิม เช่น หยก

        เมื่อแบรนด์ตะวันตกและฮ่องกงเข้ามาบุกตลาดจีนแผ่นดินใหญ่จึงได้มีการนำเสนอเครื่องประดับเพชรให้แก่ผู้บริโภคชาวจีนและเข้ามาครองส่วนแบ่งตลาดอัญมณีในจีนมากขึ้น Sanchez ระบุว่าความสนใจต่อพลอยสีกระเตื้องขึ้นในระยะหลังมานี้ จึงนับเป็นสัญญาณดีสำหรับแบรนด์เครื่องประดับซึ่งนำเสนอพลอยสีและอัญมณีหายากที่มีเอกลักษณ์

        Wu Qiong ประธานของ Besure Jewellery กล่าวว่าตลาดจีนแผ่นดินใหญ่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นในระยะหลัง “ชาวจีนชอบสีแดงซึ่งเป็นสีที่สื่อถึงความเบิกบานและความเจริญรุ่งเรือง รวมถึงสีเขียวซึ่งเป็นสีของหยก ไม่กี่ปีมานี้ความต้องการพลอยสีเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มทับทิม 1 กะรัต แซปไฟร์ 2 กะรัต รวมถึงมรกต 3 และ 4 กะรัต” เธอเผย

        ตามข้อมูลจาก Wu อัญมณีที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนได้รับความนิยมสูงกว่าอัญมณีที่ผ่านความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทับทิม อย่างไรก็ดีตลาดจีนเริ่มยอมรับอัญมณีที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพมากขึ้น เช่น แซปไฟร์สีน้ำเงินที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน เป็นต้น ประสบการณ์ด้านการค้าและการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคส่งผลตอบแทนเป็นอย่างดีในกรณีของการขายมรกต ปัจจุบันลูกค้ามักสนใจซื้อมรกตที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมอัญมณีที่ผ่านการใส่น้ำมันเพียงเล็กน้อยมากกว่า กระนั้นมรกตที่ไม่ผ่านการใส่น้ำมันเลยก็ยังเป็นที่ต้องการมากที่สุดและมีราคาสูงกว่ามรกตชนิดอื่นอยู่มาก


แหวนประดับมรกตโคลอมเบียในงานประมูลของ Yongle Auction

        Wu กล่าวว่าสปิเนลก็กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษก็คือสปิเนลจากแอฟริกา โดยเฉพาะสปิเนลสีแดงและสีชมพูขนาด 2 กะรัตขึ้นไป และสปิเนลจากเมียนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 กะรัต

        Lok Chen รองประธานของ Cai Bao Cheng ยืนยันว่าสปิเนลคุณภาพสูงและสปิเนลเจได (Jedi spinel) กำลังทำผลงานได้ดีในตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ อัญมณีอื่นๆ ที่ทำผลงานได้ดีเช่นกัน ได้แก่ ทับทิม มรกต และแซปไฟร์ ซึ่งครองตลาดระดับสูง ในขณะเดียวกัน ทัวร์มาลีน อะความารีน และมอร์แกไนต์ก็มีผู้ติดตามอย่างเหนียวแน่นในตลาดระดับกลาง 

        Sanchez เห็นด้วยว่ามีพลอยสีหลายชนิดมากยิ่งขึ้นที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคชาวจีน “ทัวร์มาลีนถือกันว่าเป็นอัญมณีนำโชคที่ช่วยเรื่องสุขภาพและความเจริญรุ่งเรือง แซปไฟร์ แทนซาไนต์ และทับทิมต่างก็เจาะเข้าสู่ตลาดจีนแล้ว โดยอาจมีทั้งช่วงที่ทำผลงานได้ดีและไม่ดีแต่ก็มีแนวโน้มที่จะอยู่ได้ยาวนานในตลาดนี้ อัญมณีที่โดดเด่น เช่น คริโซเบริลตาแมว แซปไฟร์สาแหรกและทับทิมสาแหรก มูนสโตน และโอปอก็เริ่มเจาะตลาดได้แล้วเช่นกัน” 


สร้อยทองขาวประดับแทนซาไนต์และเพชร ของดีไซเนอร์ Paloma Sanchez


แหล่งที่มาของพลอยสีระดับพรีเมียม

        แหล่งที่มามีบทบาทสำคัญในการกำหนดความต้องการและราคาของอัญมณีในจีนเช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ ของโลก พลอยสีจากแหล่งที่มาที่ได้รับความนิยมจะตั้งราคาได้สูงกว่า โดยทับทิม แซปไฟร์ และสปิเนลจากเมียนมาถือว่าเป็นอัญมณีคุณภาพระดับสูง ขณะที่มรกตจากโคลอมเบียก็ได้รับความนิยมเช่นกัน

        อัญมณีจากแหล่งที่มาใหม่ๆ ซึ่งตลาดจีนไม่คุ้นเคยก็สร้างกระแสได้เช่นกัน Lin จาก Guangdong Colored Gemstone & Jewelry Chamber of Commerce ระบุว่ามรกตจากหุบเขาสวัต (Swat Valley) ในปากีสถานมีแนวโน้มในทางที่ดีเนื่องจากมีสีสันสดใสและราคาที่แข่งขันได้


เข็มกลัดแพลทินัมประดับมรกตจากหุบเขาสวัต และเพชร แบรนด์ Winza Jewelry

        Aqeel Chaudhry ผู้ก่อตั้ง Winza Jewelry เป็นชาวปากีสถานผู้ทำกิจการด้านเหมืองแร่และเครื่องประดับโดยใช้ชีวิตอยู่ในจีนมากว่าสิบปี เขายืนยันว่ามรกตจากสวัตได้รับการยกย่องเพราะมีความโปร่งใสเป็นพิเศษ สีสันที่สดใส และผลึกที่ก่อตัวเป็นรูปหกเหลี่ยมตามธรรมชาติ บริษัทของเขาเริ่มนำเสนอมรกตจากหุบเขาสวัตในตลาดจีนเมื่อปี 2014 และได้เข้าร่วมในงานแสดงเครื่องประดับตามเมืองระดับ 1 และระดับ 2 ของจีนมากกว่า 100 งาน พร้อมทั้งสั่งสมข้อมูลและประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับกลุ่มผู้บริโภคและรสนิยมความชอบ

        “เมื่อพูดถึงมรกต สิ่งแรกที่คนนึกถึงคือมรกตโคลอมเบีย มรกตจากหุบเขาสวัตในปากีสถานนั้นมีมานานราว 2,500 ปีแล้ว มันอาจเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวโรมันโบราณ แต่ยังเป็นของใหม่สำหรับแวดวงเครื่องประดับจีน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มรกตจากสวัตได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” Chaudhry กล่าว


การประเมินคุณภาพและปริมาณสินค้า

        เนื่องจากพลอยสีค่อนข้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับตลาดจีน ผู้จัดซื้อและผู้บริโภคปลายทางจึงประเมินพลอยสีโดยอาศัยศัพท์ทางการค้าและรายงานการจัดระดับคุณภาพอัญมณีเป็นหลัก

        ศัพท์ทางการค้าที่นิยมใช้กับพลอยสีทำหน้าที่เป็นชื่อแบรนด์ไปด้วยในตัวและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในตลาดจีน โดยร้านค้าปลีก ร้านอีคอมเมิร์ซ และงานประมูลล้วนนิยมใช้รายงานการจัดระดับคุณภาพอัญมณีซึ่งระบุศัพท์ทางการค้าเหล่านี้ด้วย

        Lin กล่าวว่า ตลาดจีนยังคงพึ่งรายงานการจัดระดับคุณภาพอัญมณีเพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพของอัญมณีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่รหัสสีและระดับการปรับปรุงคุณภาพ

        Chen จาก Cai Bao Cheng เสริมว่าในการประเมินราคา ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจศัพท์ทางการค้าของพลอยสีจากรายงานการจัดระดับคุณภาพอัญมณีมากกว่ารูปลักษณ์ของตัวอัญมณี

        อย่างไรก็ดี ปริมาณพลอยสีในตลาดค่อนข้างขาดแคลนในช่วงสองปีที่ผ่านมาเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อตารางงานประมูลและกิจกรรมอื่นๆ ด้วย Lin กล่าวว่าสินค้าคงคลังของผู้ค้าในจีนมีปริมาณลดต่ำลงมาก ข้อจำกัดในการเดินทางทำให้ผู้จัดซื้อไม่สามารถเดินทางไปยังตลาดซื้อขายและงานแสดงสินค้าในต่างประเทศได้ จึงต้องพึ่งสินค้าคงคลังจากผู้ค้าภายในประเทศ สายสัมพันธ์ทางการค้าที่มั่นคงก็มีส่วนช่วยในการจัดหาสินค้า โดยผู้จัดซื้อชาวจีนอาจทำธุรกรรมกับคู่ค้าต่างชาติที่ไว้วางใจกันโดยอาศัยการดูภาพดิจิทัลของสินค้าที่ตนต้องการซื้อ

        การขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Wu จาก Besure Jewellery เผยว่าราคาทับทิมและมรกตคุณภาพดีเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50 ต่อปีในช่วงสองปีที่ผ่านมาเนื่องจากปริมาณสินค้าที่ป้อนเข้าสู่ตลาดนั้นไม่แน่นอน ขณะที่ความต้องการซื้อคงตัว


แหวนประดับโอปอและเพชร ของดีไซเนอร์ Paloma Sanchez

        Sanchez ระบุว่าจีนกลายเป็นตลาดที่มีความรู้และข้อมูลมากยิ่งขึ้น โดยผู้บริโภคในตลาดนี้ประกอบด้วยผู้หญิงที่มีอิสระทางการเงิน รวมถึงผู้บริโภคหนุ่มสาวที่ต้องการนำเสนอสไตล์ของตัวเอง “ผู้บริโภคจีนส่วนใหญ่มีความมั่นใจในตัวเองและมีรสนิยมแตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ คนกลุ่มนี้ไม่ได้รับแรงขับเคลื่อนจากมูลค่าการลงทุนของสินค้าที่ซื้อ และไม่ได้ต้องการจะพิสูจน์ว่าตนเองซื้อสินค้าหรูหราได้ แต่เป็นคนที่เสาะหาความเป็นเอกลักษณ์และต้องการเป็นเจ้าของสินค้าที่นำเสนอความเป็นตัวเอง เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เช่นเดียวกับที่มนุษย์แต่ละคนมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้เครื่องประดับพลอยสีจึงดูมีเสน่ห์ดึงดูดมากยิ่งขึ้น” 

        นอกจากนี้ พลอยสียังได้นำเสนอประกายแห่งความหวังและความเบิกบานในโลกที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดจากโรคระบาด “เวลานี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับเครื่องประดับพลอยสี จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ความอดทนและการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคคือกุญแจสำคัญที่สุด” Sanchez สรุป


ข้อมูลอ้างอิง


1) JNA. (March/April 2022). Spectrum of China’s coloured gem market. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/news/24489.
2) JNA. (March/April 2022). China’s jewellery market recaptures sparkle. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24632.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่่องประดับ

พลอยสี กับโอกาสที่เปล่งประกายในตลาดจีน

Apr 27, 2022
3400 views
13 shares

        ชาวจีนเริ่มหันมาสนใจพลอยสีหลังจากเป็นตลาดผู้บริโภคทองคำ หยก และไข่มุกมาเนิ่นนาน นอกจากพลอยสีระดับ “บิ๊กทรี” อย่างทับทิม แซปไฟร์ และมรกต พลอยสีประเภทอื่นที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวจีนก็คือ สปิเนล และพาราอิบาทัวร์มาลีน 

        ความชื่นชอบที่ตลาดจีนมีต่อหยกและไข่มุกวางรากฐานอยู่บนประวัติศาสตร์อันยาวนาน หนังสือโบราณของจีนที่มีชื่อว่า Shang Shu (บันทึกประวัติศาสตร์) นับเป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรอันเก่าแก่ที่สุดที่ได้กล่าวถึงไข่มุกธรรมชาติไว้ในปี 2206 ก่อนคริสตกาล ขณะที่ความชื่นชอบที่ชาวจีนมีต่อหยกนั้นย้อนกลับไปได้ถึงยุคหินใหม่เมื่อราว 7,000 ปีก่อน หยกเจไดต์ (jadeite) จากเมียนมาเดินทางไปถึงราชสำนักของราชวงศ์ชิงช่วงปลายศตวรรษ 1700 ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 ช่างแกะสลักชาวจีนได้สร้างผลงานหยกชิ้นเอกที่ยากจะหาใครเทียบจนถึงปัจจุบันทั้งในแง่แนวคิด การออกแบบ และเทคนิค

 

สปิเนล และพาราอิบาทัวร์มาลีน

        พลอยสีค่อนข้างถือเป็นสินค้าใหม่ในตลาดจีน แต่ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พลอยสีที่มีลักษณะโปร่งใสและเจียระไนให้เป็นเหลี่ยมมุมได้ เช่น ทับทิม แซปไฟร์ มรกต สปิเนล และพาราอิบาทัวร์มาลีนสามารถชนะใจผู้สนใจอัญมณี นักสะสม และคนรักเครื่องประดับในตลาดจีนซึ่งแต่เดิมถูกยึดครองด้วยอัญมณีโปร่งแสงและทึบแสง Lin Xifeng ประธานของ Guangdong Colored Gemstone & Jewelry Chamber of Commerce ระบุว่า ทับทิม แซปไฟร์ และมรกตเพิ่งมาเริ่มได้รับความนิยมในปี 2013 และ 2014 จากนั้นกระแสยิ่งมาแรงขึ้นในปี 2015 และ 2016 เมื่อผู้ขายเครื่องประดับและผู้บริโภคเริ่มเกิดการรับรู้มากขึ้น ความต้องการเติบโตอย่างต่อเนื่องและความสนใจพุ่งสูงขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์โดยเหล่าคนดัง ช่องทางการขายที่เพิ่มขึ้น และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับพลอยสีแก่ผู้บริโภคอย่างเต็มที่

        ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกทองคำ โลหะเงิน และเครื่องประดับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.8 ในปี 2021 คิดเป็นมูลค่า 304.1 พันล้านหยวน (ราว 47.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามข้อมูลจาก National Bureau of Statistics of China ขณะที่ตามข้อมูลจาก Gems and Jewelry Trade Association of China ยอดขายปลีกเครื่องประดับโดยรวมในปี 2020 แตะระดับที่ 88,440 ล้านเหรียญสหรัฐ เครื่องประดับทองล้วนทำยอดขายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.7 สินค้ายอดนิยมตามปกติในตลาดจีน อันได้แก่ หยกเจไดต์ หยกเนไฟรต์ และไข่มุก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.2 ของยอดขายปลีกเครื่องประดับทั้งหมด ขณะที่พลอยสีอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.9 ส่วนเครื่องประดับเพชรนั้นทำยอดขายเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.1 ของมูลค่ายอดขายปลีกเครื่องประดับทั้งหมด


รสนิยมของผู้บริโภคจีนที่เปลี่ยนแปลง

        นักออกแบบเครื่องประดับ Paloma Sanchez ได้สังเกตการยอมรับพลอยสีที่ค่อยๆ เกิดขึ้นในตลาดจีน นักอัญมณีวิทยาผู้จบการศึกษาจาก GIA รายนี้อาศัยอยู่ในปักกิ่งมาตั้งแต่ปี 2006 เธอระบุว่าแม้ผู้บริโภคชาวจีนมักสนใจอัญมณีและพลังที่เปล่งออกมาจากอัญมณี แต่รสนิยมด้านเครื่องประดับก็ยังโน้มเอียงไปทางตัวเลือกตามแบบแผนดั้งเดิม เช่น หยก

        เมื่อแบรนด์ตะวันตกและฮ่องกงเข้ามาบุกตลาดจีนแผ่นดินใหญ่จึงได้มีการนำเสนอเครื่องประดับเพชรให้แก่ผู้บริโภคชาวจีนและเข้ามาครองส่วนแบ่งตลาดอัญมณีในจีนมากขึ้น Sanchez ระบุว่าความสนใจต่อพลอยสีกระเตื้องขึ้นในระยะหลังมานี้ จึงนับเป็นสัญญาณดีสำหรับแบรนด์เครื่องประดับซึ่งนำเสนอพลอยสีและอัญมณีหายากที่มีเอกลักษณ์

        Wu Qiong ประธานของ Besure Jewellery กล่าวว่าตลาดจีนแผ่นดินใหญ่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นในระยะหลัง “ชาวจีนชอบสีแดงซึ่งเป็นสีที่สื่อถึงความเบิกบานและความเจริญรุ่งเรือง รวมถึงสีเขียวซึ่งเป็นสีของหยก ไม่กี่ปีมานี้ความต้องการพลอยสีเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มทับทิม 1 กะรัต แซปไฟร์ 2 กะรัต รวมถึงมรกต 3 และ 4 กะรัต” เธอเผย

        ตามข้อมูลจาก Wu อัญมณีที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนได้รับความนิยมสูงกว่าอัญมณีที่ผ่านความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทับทิม อย่างไรก็ดีตลาดจีนเริ่มยอมรับอัญมณีที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพมากขึ้น เช่น แซปไฟร์สีน้ำเงินที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน เป็นต้น ประสบการณ์ด้านการค้าและการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคส่งผลตอบแทนเป็นอย่างดีในกรณีของการขายมรกต ปัจจุบันลูกค้ามักสนใจซื้อมรกตที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมอัญมณีที่ผ่านการใส่น้ำมันเพียงเล็กน้อยมากกว่า กระนั้นมรกตที่ไม่ผ่านการใส่น้ำมันเลยก็ยังเป็นที่ต้องการมากที่สุดและมีราคาสูงกว่ามรกตชนิดอื่นอยู่มาก


แหวนประดับมรกตโคลอมเบียในงานประมูลของ Yongle Auction

        Wu กล่าวว่าสปิเนลก็กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษก็คือสปิเนลจากแอฟริกา โดยเฉพาะสปิเนลสีแดงและสีชมพูขนาด 2 กะรัตขึ้นไป และสปิเนลจากเมียนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 กะรัต

        Lok Chen รองประธานของ Cai Bao Cheng ยืนยันว่าสปิเนลคุณภาพสูงและสปิเนลเจได (Jedi spinel) กำลังทำผลงานได้ดีในตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ อัญมณีอื่นๆ ที่ทำผลงานได้ดีเช่นกัน ได้แก่ ทับทิม มรกต และแซปไฟร์ ซึ่งครองตลาดระดับสูง ในขณะเดียวกัน ทัวร์มาลีน อะความารีน และมอร์แกไนต์ก็มีผู้ติดตามอย่างเหนียวแน่นในตลาดระดับกลาง 

        Sanchez เห็นด้วยว่ามีพลอยสีหลายชนิดมากยิ่งขึ้นที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคชาวจีน “ทัวร์มาลีนถือกันว่าเป็นอัญมณีนำโชคที่ช่วยเรื่องสุขภาพและความเจริญรุ่งเรือง แซปไฟร์ แทนซาไนต์ และทับทิมต่างก็เจาะเข้าสู่ตลาดจีนแล้ว โดยอาจมีทั้งช่วงที่ทำผลงานได้ดีและไม่ดีแต่ก็มีแนวโน้มที่จะอยู่ได้ยาวนานในตลาดนี้ อัญมณีที่โดดเด่น เช่น คริโซเบริลตาแมว แซปไฟร์สาแหรกและทับทิมสาแหรก มูนสโตน และโอปอก็เริ่มเจาะตลาดได้แล้วเช่นกัน” 


สร้อยทองขาวประดับแทนซาไนต์และเพชร ของดีไซเนอร์ Paloma Sanchez


แหล่งที่มาของพลอยสีระดับพรีเมียม

        แหล่งที่มามีบทบาทสำคัญในการกำหนดความต้องการและราคาของอัญมณีในจีนเช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ ของโลก พลอยสีจากแหล่งที่มาที่ได้รับความนิยมจะตั้งราคาได้สูงกว่า โดยทับทิม แซปไฟร์ และสปิเนลจากเมียนมาถือว่าเป็นอัญมณีคุณภาพระดับสูง ขณะที่มรกตจากโคลอมเบียก็ได้รับความนิยมเช่นกัน

        อัญมณีจากแหล่งที่มาใหม่ๆ ซึ่งตลาดจีนไม่คุ้นเคยก็สร้างกระแสได้เช่นกัน Lin จาก Guangdong Colored Gemstone & Jewelry Chamber of Commerce ระบุว่ามรกตจากหุบเขาสวัต (Swat Valley) ในปากีสถานมีแนวโน้มในทางที่ดีเนื่องจากมีสีสันสดใสและราคาที่แข่งขันได้


เข็มกลัดแพลทินัมประดับมรกตจากหุบเขาสวัต และเพชร แบรนด์ Winza Jewelry

        Aqeel Chaudhry ผู้ก่อตั้ง Winza Jewelry เป็นชาวปากีสถานผู้ทำกิจการด้านเหมืองแร่และเครื่องประดับโดยใช้ชีวิตอยู่ในจีนมากว่าสิบปี เขายืนยันว่ามรกตจากสวัตได้รับการยกย่องเพราะมีความโปร่งใสเป็นพิเศษ สีสันที่สดใส และผลึกที่ก่อตัวเป็นรูปหกเหลี่ยมตามธรรมชาติ บริษัทของเขาเริ่มนำเสนอมรกตจากหุบเขาสวัตในตลาดจีนเมื่อปี 2014 และได้เข้าร่วมในงานแสดงเครื่องประดับตามเมืองระดับ 1 และระดับ 2 ของจีนมากกว่า 100 งาน พร้อมทั้งสั่งสมข้อมูลและประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับกลุ่มผู้บริโภคและรสนิยมความชอบ

        “เมื่อพูดถึงมรกต สิ่งแรกที่คนนึกถึงคือมรกตโคลอมเบีย มรกตจากหุบเขาสวัตในปากีสถานนั้นมีมานานราว 2,500 ปีแล้ว มันอาจเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวโรมันโบราณ แต่ยังเป็นของใหม่สำหรับแวดวงเครื่องประดับจีน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มรกตจากสวัตได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” Chaudhry กล่าว


การประเมินคุณภาพและปริมาณสินค้า

        เนื่องจากพลอยสีค่อนข้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับตลาดจีน ผู้จัดซื้อและผู้บริโภคปลายทางจึงประเมินพลอยสีโดยอาศัยศัพท์ทางการค้าและรายงานการจัดระดับคุณภาพอัญมณีเป็นหลัก

        ศัพท์ทางการค้าที่นิยมใช้กับพลอยสีทำหน้าที่เป็นชื่อแบรนด์ไปด้วยในตัวและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในตลาดจีน โดยร้านค้าปลีก ร้านอีคอมเมิร์ซ และงานประมูลล้วนนิยมใช้รายงานการจัดระดับคุณภาพอัญมณีซึ่งระบุศัพท์ทางการค้าเหล่านี้ด้วย

        Lin กล่าวว่า ตลาดจีนยังคงพึ่งรายงานการจัดระดับคุณภาพอัญมณีเพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพของอัญมณีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่รหัสสีและระดับการปรับปรุงคุณภาพ

        Chen จาก Cai Bao Cheng เสริมว่าในการประเมินราคา ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจศัพท์ทางการค้าของพลอยสีจากรายงานการจัดระดับคุณภาพอัญมณีมากกว่ารูปลักษณ์ของตัวอัญมณี

        อย่างไรก็ดี ปริมาณพลอยสีในตลาดค่อนข้างขาดแคลนในช่วงสองปีที่ผ่านมาเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อตารางงานประมูลและกิจกรรมอื่นๆ ด้วย Lin กล่าวว่าสินค้าคงคลังของผู้ค้าในจีนมีปริมาณลดต่ำลงมาก ข้อจำกัดในการเดินทางทำให้ผู้จัดซื้อไม่สามารถเดินทางไปยังตลาดซื้อขายและงานแสดงสินค้าในต่างประเทศได้ จึงต้องพึ่งสินค้าคงคลังจากผู้ค้าภายในประเทศ สายสัมพันธ์ทางการค้าที่มั่นคงก็มีส่วนช่วยในการจัดหาสินค้า โดยผู้จัดซื้อชาวจีนอาจทำธุรกรรมกับคู่ค้าต่างชาติที่ไว้วางใจกันโดยอาศัยการดูภาพดิจิทัลของสินค้าที่ตนต้องการซื้อ

        การขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Wu จาก Besure Jewellery เผยว่าราคาทับทิมและมรกตคุณภาพดีเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50 ต่อปีในช่วงสองปีที่ผ่านมาเนื่องจากปริมาณสินค้าที่ป้อนเข้าสู่ตลาดนั้นไม่แน่นอน ขณะที่ความต้องการซื้อคงตัว


แหวนประดับโอปอและเพชร ของดีไซเนอร์ Paloma Sanchez

        Sanchez ระบุว่าจีนกลายเป็นตลาดที่มีความรู้และข้อมูลมากยิ่งขึ้น โดยผู้บริโภคในตลาดนี้ประกอบด้วยผู้หญิงที่มีอิสระทางการเงิน รวมถึงผู้บริโภคหนุ่มสาวที่ต้องการนำเสนอสไตล์ของตัวเอง “ผู้บริโภคจีนส่วนใหญ่มีความมั่นใจในตัวเองและมีรสนิยมแตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ คนกลุ่มนี้ไม่ได้รับแรงขับเคลื่อนจากมูลค่าการลงทุนของสินค้าที่ซื้อ และไม่ได้ต้องการจะพิสูจน์ว่าตนเองซื้อสินค้าหรูหราได้ แต่เป็นคนที่เสาะหาความเป็นเอกลักษณ์และต้องการเป็นเจ้าของสินค้าที่นำเสนอความเป็นตัวเอง เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เช่นเดียวกับที่มนุษย์แต่ละคนมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้เครื่องประดับพลอยสีจึงดูมีเสน่ห์ดึงดูดมากยิ่งขึ้น” 

        นอกจากนี้ พลอยสียังได้นำเสนอประกายแห่งความหวังและความเบิกบานในโลกที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดจากโรคระบาด “เวลานี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับเครื่องประดับพลอยสี จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ความอดทนและการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคคือกุญแจสำคัญที่สุด” Sanchez สรุป


ข้อมูลอ้างอิง


1) JNA. (March/April 2022). Spectrum of China’s coloured gem market. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/news/24489.
2) JNA. (March/April 2022). China’s jewellery market recaptures sparkle. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24632.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970