ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สีสันกับชีวิต

Jun 30, 2022
3849 views
2 shares

            โลกของเราประกอบด้วยสีสันมากมายหลายร้อยพัน ที่ต่างก็มีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์ทั่วทุกมุมโลก ทั้งในแง่ของขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ความเชื่อ รวมไปถึงอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งในแต่ละวัฒนธรรมต่างก็หยิบยกให้สีเป็นสัญลักษณ์หรือสื่อความถึงสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกันออกไป เช่น ในสังคมตะวันตก สีแดง คือสีแห่งความรักและความปรารถนา หากแต่เป็นสีแห่งความโชคดีในวัฒนธรรมจีน ขณะที่ สีฟ้า ซึ่งชาวตะวันตกยกให้เป็นสีแห่งความสงบ มั่นคง แต่ในขณะเดียวกันหากใช้เปรียบกับอารมณ์ความรู้สึก จะหมายถึงความรู้สึกหดหู่เศร้าหมอง เป็นต้น



ภาพจาก: Pinterest

            สำหรับในสังคมไทยนั้น ‘สี’ มีความผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในทุกกิจกรรมมาตั้งแต่ในอดีต ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ การแทนค่าวันแต่ละวันของสัปดาห์ด้วยสี 7 สี ซึ่งสีประจำวันของไทยนั้นมีรากมาจากความเชื่อในศาสนาฮินดูเรื่องสีกายของเทวดาประจำวัน เมื่อมีสีประจำวันเกิดขึ้น จึงนำมาซึ่งความเชื่อเรื่องสีมงคล และได้กลายมาเป็นการกำหนดสีของเครื่องนุ่งห่มประจำวันซึ่งเป็นแบบแผนและธรรมเนียมปฏิบัติอันเคร่งครัดของสตรีชาววังในยุคก่อนรัชกาลที่ 6 โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                วันอาทิตย์ นุ่งเขียว ห่มแดง หรือนุ่งแดงเลือดหมู ห่มโศก

                                วันจันทร์ นุ่งเหลืองอ่อน ห่มน้ำเงินอ่อน หรือห่มบานเย็น

                                วันอังคาร นุ่งม่วงเม็ดมะปราง ห่มโศก หรือนุ่งเขียวอ่อน ห่มม่วงอ่อน

                                วันพุธ นุ่งเขียว ห่มสีจำปา

                                วันพฤหัส นุ่งแสด ห่มเขียวอ่อน หรือนุ่งเขียว ห่มแดงเลือดนก

                                วันศุกร์ นุ่งน้ำเงิน ห่มเหลือง

                                วันเสาร์ นุ่งม่วงเม็ดมะปราง ห่มโศก 

            เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องการนุ่งห่มสีประจำวันได้เสื่อมถอยลงและหมดไปในที่สุด หากแต่ความเชื่อเรื่องสีมงคลนั้นยังคงอยู่ ซึ่งตามคตินิยมของไทยนั้นสีที่มีความหมายในทางมงคลมักจะเป็นโทนสีสดใส มองแล้วสบายตาสบายใจ ดังนั้น การแต่งกายด้วยสีมืดทึมอย่างสีดำและสีเทาจึงไม่เป็นที่นิยมในการร่วมงานมงคล หรือแม้กระทั่งการเยี่ยมไข้ผู้ป่วย 

            นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเรื่องสีมงคลประจำวันเกิดซึ่งมีตำราอยู่หลายสำนัก โดยเชื่อกันว่านอกจากสีประจำวันเกิดของตนเองแล้วยังมีสีมงคลอื่นๆ ที่จะช่วยเสริมให้เกิดความสุขสวัสดิ์ โชคลาภ สุขภาพ เงินทอง รวมไปถึงความรัก สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งพึงปรารถนาของใครต่อใคร อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสีมงคลก็ย่อมมีสีต้องห้ามซึ่งไม่เป็นมงคล หรือที่เรียกว่าเป็นกาลกิณี ตามความเชื่อดังกล่าวนี้อีกด้วย 

            ความเชื่อเรื่องสีมงคลและสีถูกโฉลกนั้นไม่เพียงแต่จะกลายมาเป็นปัจจัยสำหรับการตัดสินใจเลือกเฟ้นสีของเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ในแต่ละวันเท่านั้น หากแต่ยังขยายขอบเขตครอบคลุมไปถึงเครื่องแต่งกาย และของประดับอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า รองเท้า หรือแม้แต่อัญมณีและเครื่องประดับ

 

ภาพจาก: Pinterest

 

แหวนพลอยสีต่างๆ ตกแต่งเพชร บนตัวเรือนทองชมพู เครื่องประดับโดย: Le Vian


            และถึงแม้ว่าสีมงคลจะเป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคลซึ่งไม่มีข้อพิสูจน์ แต่อย่างน้อยความเชื่อนี้ก็ช่วยเสริมกำลังใจของผู้ที่มีความเชื่อให้แข็งแกร่งและมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย  

            จะเป็นอย่างไร หากโลกนี้ไร้ซึ่งสีสัน?


ข้อมูลอ้างอิง


1. Shutterstock. (3 April 2015). Symbolism of Colors and Color Meanings Around The World. Retrieved 28 February 2020 from https://www.shutterstock.com/blog/color-symbolism-and-meanings-around-the-world.
2. Changing Minds. The Meaning of Colors. Retrieved 28 February 2020 from http://changingminds.org/disciplines/communication/color_effect.htm.
3. ไทยรัฐ ออนไลน์. (5 ธันวาคม 2560). โชคดี เฮง รวย! รวมสีมงคลประจำวันเกิด และสีกาลกินี. เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.thairath.co.th/horoscope/belief/1136650.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สีสันกับชีวิต

Jun 30, 2022
3849 views
2 shares

            โลกของเราประกอบด้วยสีสันมากมายหลายร้อยพัน ที่ต่างก็มีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์ทั่วทุกมุมโลก ทั้งในแง่ของขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ความเชื่อ รวมไปถึงอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งในแต่ละวัฒนธรรมต่างก็หยิบยกให้สีเป็นสัญลักษณ์หรือสื่อความถึงสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกันออกไป เช่น ในสังคมตะวันตก สีแดง คือสีแห่งความรักและความปรารถนา หากแต่เป็นสีแห่งความโชคดีในวัฒนธรรมจีน ขณะที่ สีฟ้า ซึ่งชาวตะวันตกยกให้เป็นสีแห่งความสงบ มั่นคง แต่ในขณะเดียวกันหากใช้เปรียบกับอารมณ์ความรู้สึก จะหมายถึงความรู้สึกหดหู่เศร้าหมอง เป็นต้น



ภาพจาก: Pinterest

            สำหรับในสังคมไทยนั้น ‘สี’ มีความผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในทุกกิจกรรมมาตั้งแต่ในอดีต ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ การแทนค่าวันแต่ละวันของสัปดาห์ด้วยสี 7 สี ซึ่งสีประจำวันของไทยนั้นมีรากมาจากความเชื่อในศาสนาฮินดูเรื่องสีกายของเทวดาประจำวัน เมื่อมีสีประจำวันเกิดขึ้น จึงนำมาซึ่งความเชื่อเรื่องสีมงคล และได้กลายมาเป็นการกำหนดสีของเครื่องนุ่งห่มประจำวันซึ่งเป็นแบบแผนและธรรมเนียมปฏิบัติอันเคร่งครัดของสตรีชาววังในยุคก่อนรัชกาลที่ 6 โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                วันอาทิตย์ นุ่งเขียว ห่มแดง หรือนุ่งแดงเลือดหมู ห่มโศก

                                วันจันทร์ นุ่งเหลืองอ่อน ห่มน้ำเงินอ่อน หรือห่มบานเย็น

                                วันอังคาร นุ่งม่วงเม็ดมะปราง ห่มโศก หรือนุ่งเขียวอ่อน ห่มม่วงอ่อน

                                วันพุธ นุ่งเขียว ห่มสีจำปา

                                วันพฤหัส นุ่งแสด ห่มเขียวอ่อน หรือนุ่งเขียว ห่มแดงเลือดนก

                                วันศุกร์ นุ่งน้ำเงิน ห่มเหลือง

                                วันเสาร์ นุ่งม่วงเม็ดมะปราง ห่มโศก 

            เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องการนุ่งห่มสีประจำวันได้เสื่อมถอยลงและหมดไปในที่สุด หากแต่ความเชื่อเรื่องสีมงคลนั้นยังคงอยู่ ซึ่งตามคตินิยมของไทยนั้นสีที่มีความหมายในทางมงคลมักจะเป็นโทนสีสดใส มองแล้วสบายตาสบายใจ ดังนั้น การแต่งกายด้วยสีมืดทึมอย่างสีดำและสีเทาจึงไม่เป็นที่นิยมในการร่วมงานมงคล หรือแม้กระทั่งการเยี่ยมไข้ผู้ป่วย 

            นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเรื่องสีมงคลประจำวันเกิดซึ่งมีตำราอยู่หลายสำนัก โดยเชื่อกันว่านอกจากสีประจำวันเกิดของตนเองแล้วยังมีสีมงคลอื่นๆ ที่จะช่วยเสริมให้เกิดความสุขสวัสดิ์ โชคลาภ สุขภาพ เงินทอง รวมไปถึงความรัก สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งพึงปรารถนาของใครต่อใคร อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสีมงคลก็ย่อมมีสีต้องห้ามซึ่งไม่เป็นมงคล หรือที่เรียกว่าเป็นกาลกิณี ตามความเชื่อดังกล่าวนี้อีกด้วย 

            ความเชื่อเรื่องสีมงคลและสีถูกโฉลกนั้นไม่เพียงแต่จะกลายมาเป็นปัจจัยสำหรับการตัดสินใจเลือกเฟ้นสีของเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ในแต่ละวันเท่านั้น หากแต่ยังขยายขอบเขตครอบคลุมไปถึงเครื่องแต่งกาย และของประดับอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า รองเท้า หรือแม้แต่อัญมณีและเครื่องประดับ

 

ภาพจาก: Pinterest

 

แหวนพลอยสีต่างๆ ตกแต่งเพชร บนตัวเรือนทองชมพู เครื่องประดับโดย: Le Vian


            และถึงแม้ว่าสีมงคลจะเป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคลซึ่งไม่มีข้อพิสูจน์ แต่อย่างน้อยความเชื่อนี้ก็ช่วยเสริมกำลังใจของผู้ที่มีความเชื่อให้แข็งแกร่งและมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย  

            จะเป็นอย่างไร หากโลกนี้ไร้ซึ่งสีสัน?


ข้อมูลอ้างอิง


1. Shutterstock. (3 April 2015). Symbolism of Colors and Color Meanings Around The World. Retrieved 28 February 2020 from https://www.shutterstock.com/blog/color-symbolism-and-meanings-around-the-world.
2. Changing Minds. The Meaning of Colors. Retrieved 28 February 2020 from http://changingminds.org/disciplines/communication/color_effect.htm.
3. ไทยรัฐ ออนไลน์. (5 ธันวาคม 2560). โชคดี เฮง รวย! รวมสีมงคลประจำวันเกิด และสีกาลกินี. เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.thairath.co.th/horoscope/belief/1136650.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site