ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เครื่องประดับยุโรปเติบโตด้วยคุณภาพงานฝีมือ

Nov 11, 2022
2444 views
2 shares


แบรนด์ Mathon

            แบรนด์อิตาลีและฝรั่งเศสมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีในภาคธุรกิจเครื่องประดับเมื่อเครื่องประดับคุณภาพสูงที่ผลิตในยุโรปเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง

            ธุรกิจเครื่องประดับปรับตัวตามวิถีใหม่ท่ามกลางข้อจำกัดจากโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วด้วยความยืดหยุ่นที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ยุโรปเป็นที่ตั้งของแบรนด์หรูอันทรงอิทธิพลอันดับต้นๆ ของโลก และผู้ผลิตเครื่องประดับก็หล่อเลี้ยงธุรกิจโดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านงานศิลป์ที่มีอยู่แต่เดิมบวกกับความมุ่งมั่นในการรักษาระดับคุณภาพสินค้า ซึ่งบริษัทเครื่องประดับหลายแห่งในฝรั่งเศสและอิตาลีให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนที่ได้รับจากการเกิดโรคระบาดและโอกาสในอนาคตของธุรกิจเครื่องประดับดังนี้

ทิศทางใหม่ของธุรกิจเครื่องประดับ

            Massimiliano Brustia ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของตลาดซื้อขายเครื่องประดับออนไลน์ Doralia กล่าวว่าความท้าทายจากโควิด-19 ได้ส่งผลให้แวดวงเครื่องประดับเปลี่ยนแปลงไปในหลายแง่มุม รวมถึงการวางตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค

            “การซื้อสินค้าหรูหราทางออนไลน์ไม่ใช่เรื่องของอนาคต แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน” Brustia ระบุ พร้อมเสริมว่าแม้กระทั่งผู้ผลิตเครื่องประดับตามแบบแผนเดิมๆ ก็ยังต้องปรับตัวตามแนวทางการทำธุรกิจที่พลิกโฉมใหม่นี้ Doralia ได้ประโยชน์จากโครงการดิจิทัลต่างๆ เช่น แคมเปญบนโซเชียลมีเดียของเครื่องประดับแพลทินัมสำหรับผู้ชาย แหวนหมั้น และเครื่องประดับตามธีมต่างๆ

            แบรนด์และผู้ผลิตเครื่องประดับต้องเผชิญความท้าทายมากมายในช่วงที่เรียกกันว่าการปฏิวัติทางดิจิทัล บริษัทบางแห่งยังไม่อยากโพสต์หรือแชร์งานออกแบบของตนทางออนไลน์ อีกทั้งยังลังเลที่จะเปลี่ยนมาใช้วิธีการขายรูปแบบใหม่ ขณะที่ผู้บริโภคบางรายก็ยังไม่เปิดรับการซื้อเครื่องประดับหรูทางออนไลน์มากนัก

            Massimo Gismondi ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเครื่องประดับจากอิตาลี Gismondi 1754 เน้นย้ำความสำคัญของการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า รวมทั้งสำรวจประสบการณ์และความต้องการของลูกค้าผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์ ซึ่งช่วยให้เครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์ทำยอดขายได้สูงขึ้นและความสัมพันธ์กับลูกค้าก็แนบแน่นขึ้นด้วย

แบรนด์ Gismondi 1754

            ความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงจุดสูงสุดของการระบาด Piero Marangon ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเครื่องประดับจากอิตาลี Nanis กล่าวว่าโลกกำลังพ้นจากภาวะการระบาดซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างยิ่ง พร้อมกันนั้นผู้คนก็เริ่มตระหนักถึงแนวคิดเรื่องความเป็นชุมชน โดยมักมองหาแง่มุมที่เน้นความเป็นมนุษย์มากขึ้นในการตัดสินใจหรือการดำเนินธุรกิจ

แบรนด์ Akillis

            “หลังเกิดวิกฤติ เราไม่เพียงซื้อเครื่องประดับตามความต้องการอีกต่อไป เครื่องประดับกลายเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นสัญลักษณ์แทนประสบการณ์หรือความทรงจำ” Marangon ระบุ “เครื่องประดับใช้สื่อความหมายนี้มาตลอด แต่บทบาทการเป็นสัญลักษณ์นี้ยิ่งปรากฏชัดในช่วงที่เกิดการระบาด”

            Caroline Gaspard ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเครื่องประดับฝรั่งเศส Akillis ยืนยันเช่นกันว่าธุรกิจเครื่องประดับมีความสามารถในการปรับตัวได้ดี และเป็นภาคธุรกิจสินค้าหรูหราที่มีแรงขับเคลื่อนสูงเป็นลำดับต้นๆ “ธุรกิจเครื่องประดับเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล โดยตลาดหันเหความสนใจจากเครื่องประดับที่ไม่มีแบรนด์ไปหาเครื่องประดับมีแบรนด์ ตลาดนี้มีความต้องการสูงและมีโอกาสให้แบรนด์อย่าง Akillis เติบโตเพิ่มขึ้นได้อีก” Gaspard ให้ความเห็น

แนวโน้มในตลาดโลก

            Brustia จาก Doralia กล่าวว่าธุรกิจเครื่องประดับระดับสากลยังคงมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีท่ามกลางความท้าทายอย่างต่อเนื่องในเชิงเศรษฐกิจมหภาคและการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานระหว่างรัสเซียกับยูเครนและอัตราเงินเฟ้อสูง

            สหรัฐซึ่งเป็นตลาดเครื่องประดับอันดับต้นๆ ของโลก มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจนทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปี อยู่ที่ร้อยละ 8.6 ในเดือนพฤษภาคม 2022 ซึ่งในการสัมภาษณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐ Janet Yellen กล่าวว่า ระดับราคาที่สูงเกินยอมรับได้ น่าจะอยู่กับผู้บริโภคไปตลอดปี 2022 และเศรษฐกิจสหรัฐก็มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง ทั้งนี้ ล่าสุดมีการประกาศอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับปี 2021 

            แต่แนวโน้มกลับดูสดใสสำหรับบริษัทเครื่องประดับจากอิตาลี Brustia เผยว่าในงาน JCK Las Vegas 2022 นี้ ผู้ซื้อจากประเทศต่างๆ แสดงความสนใจต่อเครื่องประดับที่ผลิตในอิตาลีด้วยเหตุผลด้านคุณภาพและการออกแบบที่แปลกใหม่


แบรนด์ Picchiotti

            อิตาลีส่งออกเครื่องประดับที่ผลิตในประเทศร้อยละ 87.6 ไปยังตลาดสำคัญทั่วโลก Brustia คาดว่าตลาดสหรัฐจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตให้ธุรกิจการผลิตเครื่องประดับของอิตาลี หากการผลิตเครื่องประดับแนวทางใหม่มีความยั่งยืน มีประสิทธิภาพ และดำเนินการด้วยระบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

            Marangon จาก Nanis เล็งเห็นว่าผู้ผลิตเครื่องประดับจากอิตาลีน่าจะประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แบรนด์ใหญ่ๆ มีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “กระแสการสร้างแบรนด์” (Brandisation) ซึ่งเป็นการเบิกทางให้เครื่องประดับแฮนด์เมดของอิตาลีได้รับความสนใจในตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

            การสร้างแบรนด์ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้บริษัทเครื่องประดับในฐานะผู้จัดหาสินค้าและบริการคุณภาพสูง Aude Mathon ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเครื่องประดับฝรั่งเศส Mathon กล่าวว่า การสร้างชื่อกำกับเพื่อการรับรอง เช่น “Joaillerie de France” ร่วมกับการใช้ตราประทับจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้บริษัทตามเวลาที่ผ่านไป

            ข้อความนี้ทำหน้าที่เหมือนตรารับรองคุณภาพที่ช่วยรับประกันว่าชิ้นงานเครื่องประดับที่ออกแบบมาอย่างละเอียดลออและผลิตขึ้นอย่างประณีตจะนำไปใช้งานได้หลายชั่วอายุคน เธอระบุว่า “ผู้บริโภคทุกวันนี้ยังคงชอบแนวคิดเรื่องการส่งต่อเครื่องประดับชิ้นโปรดไปยังคนรุ่นหลัง แต่รสนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปโดยมักหันมาสนใจผลิตภัณฑ์งานฝีมือที่ทำด้วยความใส่ใจมากยิ่งขึ้น”

            เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ซื้อยุคใหม่ Aude กล่าวว่าเธอวางแผนที่จะลงทุนด้านนวัตกรรม ตลอดจนการให้ความรู้และฝึกอบรมคนรุ่นใหม่ในแง่เทคนิคการผลิตเครื่องประดับ เช่น การเคลือบผิว การดัด การเจียระไน และการสลัก เป็นต้น การใช้ระบบดิจิทัลก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

            “Gerard Riveron คู่ค้าของเราในอเมริกา มีแนวคิดในการดำเนินงานแบบ ‘Phygital’ (ผสมผสานระหว่างระบบเชิงกายภาพและเชิงดิจิทัล) มาตั้งแต่ห้าปีที่แล้ว บูติกออนไลน์ของเขานำเสนอเฉพาะแบรนด์ขนาดเล็กจากฝรั่งเศส และมีฟังก์ชันการทำงานที่ให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ดูสินค้าและสัมผัสประสบการณ์จากเครื่องประดับ จนสุดท้ายก็สามารถสร้างยอดขายทางออนไลน์ได้ ประสบการณ์อันยาวนานจากการจัดงานนำเสนอสินค้าช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้เขาลองใช้แนวทางนี้” Aude กล่าว

โอกาสในตลาดเอเชีย

            ผู้ผลิตเครื่องประดับจากยุโรปบางรายคาดหวังว่าตลาดเอเชียจะช่วยกระตุ้นการเติบโตในธุรกิจเครื่องประดับ Maria Carola Picchiotti ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัทเครื่องประดับจากอิตาลี Picchiotti ระบุว่า แวดวงเครื่องประดับหวังว่าตลาดเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากโควิดจะกลับมาฟื้นตัวภายในปลายปี 2022 นี้

            Marangon จาก Nanis กล่าวว่าผู้ผลิตเครื่องประดับจากยุโรปอาจต้องพบความท้าทายในการเข้าสู่ตลาดจีน ตั้งแต่การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจีนไปจนถึงการเป็นที่รู้จักและได้รับความเชื่อถือในฐานะแบรนด์ขนาดเล็กสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่ม ในขณะเดียวกัน Nanis ก็มีความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับตลาดญี่ปุ่นมานานหลายสิบปี


แบรนด์ Picchiotti

            Aude จาก Mathon เผยว่าตลาดเอเชียเผชิญความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดีย อินฟลูเอนเซอร์ ตลอดจนการตลาดดิจิทัล “เรากำลังพัฒนาบูติกออนไลน์ซึ่งทำงานร่วมกับเว็บไซต์ของเราและจะเปิดตัวภายในปลายปีนี้ การปรับแต่งผลิตภัณฑ์ การบริการเฉพาะบุคคล และประสบการณ์ในการช็อปปิงแบบเฉพาะตัวจะช่วยให้ตลาดเอเชียและตลาดอื่นๆ ได้รับประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบจาก Mathon” Aude ระบุ

            Gaspard จาก Akillis เผยว่าทางบริษัทก็กำลังจับตาแนวโน้มการเติบโตในเอเชีย และมุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และสหรัฐ

            Brustia จาก Doralia ยืนยันว่าชื่อเสียงและคุณภาพของผลิตภัณฑ์กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคเอเชียมักนำมาพิจารณา ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตเครื่องประดับจากยุโรปซึ่งมีชื่อเสียงในแง่ทักษะฝีมือและความคิดสร้างสรรค์จึงมีโอกาสมากมายรออยู่ในตลาดเอเชีย


ข้อมูลอ้างอิง


JNA. 2022. European jewellers bank on proven artistry for growth. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24771.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เครื่องประดับยุโรปเติบโตด้วยคุณภาพงานฝีมือ

Nov 11, 2022
2444 views
2 shares


แบรนด์ Mathon

            แบรนด์อิตาลีและฝรั่งเศสมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีในภาคธุรกิจเครื่องประดับเมื่อเครื่องประดับคุณภาพสูงที่ผลิตในยุโรปเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง

            ธุรกิจเครื่องประดับปรับตัวตามวิถีใหม่ท่ามกลางข้อจำกัดจากโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วด้วยความยืดหยุ่นที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ยุโรปเป็นที่ตั้งของแบรนด์หรูอันทรงอิทธิพลอันดับต้นๆ ของโลก และผู้ผลิตเครื่องประดับก็หล่อเลี้ยงธุรกิจโดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านงานศิลป์ที่มีอยู่แต่เดิมบวกกับความมุ่งมั่นในการรักษาระดับคุณภาพสินค้า ซึ่งบริษัทเครื่องประดับหลายแห่งในฝรั่งเศสและอิตาลีให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนที่ได้รับจากการเกิดโรคระบาดและโอกาสในอนาคตของธุรกิจเครื่องประดับดังนี้

ทิศทางใหม่ของธุรกิจเครื่องประดับ

            Massimiliano Brustia ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของตลาดซื้อขายเครื่องประดับออนไลน์ Doralia กล่าวว่าความท้าทายจากโควิด-19 ได้ส่งผลให้แวดวงเครื่องประดับเปลี่ยนแปลงไปในหลายแง่มุม รวมถึงการวางตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค

            “การซื้อสินค้าหรูหราทางออนไลน์ไม่ใช่เรื่องของอนาคต แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน” Brustia ระบุ พร้อมเสริมว่าแม้กระทั่งผู้ผลิตเครื่องประดับตามแบบแผนเดิมๆ ก็ยังต้องปรับตัวตามแนวทางการทำธุรกิจที่พลิกโฉมใหม่นี้ Doralia ได้ประโยชน์จากโครงการดิจิทัลต่างๆ เช่น แคมเปญบนโซเชียลมีเดียของเครื่องประดับแพลทินัมสำหรับผู้ชาย แหวนหมั้น และเครื่องประดับตามธีมต่างๆ

            แบรนด์และผู้ผลิตเครื่องประดับต้องเผชิญความท้าทายมากมายในช่วงที่เรียกกันว่าการปฏิวัติทางดิจิทัล บริษัทบางแห่งยังไม่อยากโพสต์หรือแชร์งานออกแบบของตนทางออนไลน์ อีกทั้งยังลังเลที่จะเปลี่ยนมาใช้วิธีการขายรูปแบบใหม่ ขณะที่ผู้บริโภคบางรายก็ยังไม่เปิดรับการซื้อเครื่องประดับหรูทางออนไลน์มากนัก

            Massimo Gismondi ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเครื่องประดับจากอิตาลี Gismondi 1754 เน้นย้ำความสำคัญของการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า รวมทั้งสำรวจประสบการณ์และความต้องการของลูกค้าผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์ ซึ่งช่วยให้เครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์ทำยอดขายได้สูงขึ้นและความสัมพันธ์กับลูกค้าก็แนบแน่นขึ้นด้วย

แบรนด์ Gismondi 1754

            ความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงจุดสูงสุดของการระบาด Piero Marangon ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเครื่องประดับจากอิตาลี Nanis กล่าวว่าโลกกำลังพ้นจากภาวะการระบาดซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างยิ่ง พร้อมกันนั้นผู้คนก็เริ่มตระหนักถึงแนวคิดเรื่องความเป็นชุมชน โดยมักมองหาแง่มุมที่เน้นความเป็นมนุษย์มากขึ้นในการตัดสินใจหรือการดำเนินธุรกิจ

แบรนด์ Akillis

            “หลังเกิดวิกฤติ เราไม่เพียงซื้อเครื่องประดับตามความต้องการอีกต่อไป เครื่องประดับกลายเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นสัญลักษณ์แทนประสบการณ์หรือความทรงจำ” Marangon ระบุ “เครื่องประดับใช้สื่อความหมายนี้มาตลอด แต่บทบาทการเป็นสัญลักษณ์นี้ยิ่งปรากฏชัดในช่วงที่เกิดการระบาด”

            Caroline Gaspard ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเครื่องประดับฝรั่งเศส Akillis ยืนยันเช่นกันว่าธุรกิจเครื่องประดับมีความสามารถในการปรับตัวได้ดี และเป็นภาคธุรกิจสินค้าหรูหราที่มีแรงขับเคลื่อนสูงเป็นลำดับต้นๆ “ธุรกิจเครื่องประดับเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล โดยตลาดหันเหความสนใจจากเครื่องประดับที่ไม่มีแบรนด์ไปหาเครื่องประดับมีแบรนด์ ตลาดนี้มีความต้องการสูงและมีโอกาสให้แบรนด์อย่าง Akillis เติบโตเพิ่มขึ้นได้อีก” Gaspard ให้ความเห็น

แนวโน้มในตลาดโลก

            Brustia จาก Doralia กล่าวว่าธุรกิจเครื่องประดับระดับสากลยังคงมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีท่ามกลางความท้าทายอย่างต่อเนื่องในเชิงเศรษฐกิจมหภาคและการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานระหว่างรัสเซียกับยูเครนและอัตราเงินเฟ้อสูง

            สหรัฐซึ่งเป็นตลาดเครื่องประดับอันดับต้นๆ ของโลก มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจนทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปี อยู่ที่ร้อยละ 8.6 ในเดือนพฤษภาคม 2022 ซึ่งในการสัมภาษณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐ Janet Yellen กล่าวว่า ระดับราคาที่สูงเกินยอมรับได้ น่าจะอยู่กับผู้บริโภคไปตลอดปี 2022 และเศรษฐกิจสหรัฐก็มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง ทั้งนี้ ล่าสุดมีการประกาศอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับปี 2021 

            แต่แนวโน้มกลับดูสดใสสำหรับบริษัทเครื่องประดับจากอิตาลี Brustia เผยว่าในงาน JCK Las Vegas 2022 นี้ ผู้ซื้อจากประเทศต่างๆ แสดงความสนใจต่อเครื่องประดับที่ผลิตในอิตาลีด้วยเหตุผลด้านคุณภาพและการออกแบบที่แปลกใหม่


แบรนด์ Picchiotti

            อิตาลีส่งออกเครื่องประดับที่ผลิตในประเทศร้อยละ 87.6 ไปยังตลาดสำคัญทั่วโลก Brustia คาดว่าตลาดสหรัฐจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตให้ธุรกิจการผลิตเครื่องประดับของอิตาลี หากการผลิตเครื่องประดับแนวทางใหม่มีความยั่งยืน มีประสิทธิภาพ และดำเนินการด้วยระบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

            Marangon จาก Nanis เล็งเห็นว่าผู้ผลิตเครื่องประดับจากอิตาลีน่าจะประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แบรนด์ใหญ่ๆ มีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “กระแสการสร้างแบรนด์” (Brandisation) ซึ่งเป็นการเบิกทางให้เครื่องประดับแฮนด์เมดของอิตาลีได้รับความสนใจในตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

            การสร้างแบรนด์ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้บริษัทเครื่องประดับในฐานะผู้จัดหาสินค้าและบริการคุณภาพสูง Aude Mathon ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเครื่องประดับฝรั่งเศส Mathon กล่าวว่า การสร้างชื่อกำกับเพื่อการรับรอง เช่น “Joaillerie de France” ร่วมกับการใช้ตราประทับจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้บริษัทตามเวลาที่ผ่านไป

            ข้อความนี้ทำหน้าที่เหมือนตรารับรองคุณภาพที่ช่วยรับประกันว่าชิ้นงานเครื่องประดับที่ออกแบบมาอย่างละเอียดลออและผลิตขึ้นอย่างประณีตจะนำไปใช้งานได้หลายชั่วอายุคน เธอระบุว่า “ผู้บริโภคทุกวันนี้ยังคงชอบแนวคิดเรื่องการส่งต่อเครื่องประดับชิ้นโปรดไปยังคนรุ่นหลัง แต่รสนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปโดยมักหันมาสนใจผลิตภัณฑ์งานฝีมือที่ทำด้วยความใส่ใจมากยิ่งขึ้น”

            เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ซื้อยุคใหม่ Aude กล่าวว่าเธอวางแผนที่จะลงทุนด้านนวัตกรรม ตลอดจนการให้ความรู้และฝึกอบรมคนรุ่นใหม่ในแง่เทคนิคการผลิตเครื่องประดับ เช่น การเคลือบผิว การดัด การเจียระไน และการสลัก เป็นต้น การใช้ระบบดิจิทัลก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

            “Gerard Riveron คู่ค้าของเราในอเมริกา มีแนวคิดในการดำเนินงานแบบ ‘Phygital’ (ผสมผสานระหว่างระบบเชิงกายภาพและเชิงดิจิทัล) มาตั้งแต่ห้าปีที่แล้ว บูติกออนไลน์ของเขานำเสนอเฉพาะแบรนด์ขนาดเล็กจากฝรั่งเศส และมีฟังก์ชันการทำงานที่ให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ดูสินค้าและสัมผัสประสบการณ์จากเครื่องประดับ จนสุดท้ายก็สามารถสร้างยอดขายทางออนไลน์ได้ ประสบการณ์อันยาวนานจากการจัดงานนำเสนอสินค้าช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้เขาลองใช้แนวทางนี้” Aude กล่าว

โอกาสในตลาดเอเชีย

            ผู้ผลิตเครื่องประดับจากยุโรปบางรายคาดหวังว่าตลาดเอเชียจะช่วยกระตุ้นการเติบโตในธุรกิจเครื่องประดับ Maria Carola Picchiotti ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัทเครื่องประดับจากอิตาลี Picchiotti ระบุว่า แวดวงเครื่องประดับหวังว่าตลาดเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากโควิดจะกลับมาฟื้นตัวภายในปลายปี 2022 นี้

            Marangon จาก Nanis กล่าวว่าผู้ผลิตเครื่องประดับจากยุโรปอาจต้องพบความท้าทายในการเข้าสู่ตลาดจีน ตั้งแต่การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจีนไปจนถึงการเป็นที่รู้จักและได้รับความเชื่อถือในฐานะแบรนด์ขนาดเล็กสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่ม ในขณะเดียวกัน Nanis ก็มีความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับตลาดญี่ปุ่นมานานหลายสิบปี


แบรนด์ Picchiotti

            Aude จาก Mathon เผยว่าตลาดเอเชียเผชิญความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดีย อินฟลูเอนเซอร์ ตลอดจนการตลาดดิจิทัล “เรากำลังพัฒนาบูติกออนไลน์ซึ่งทำงานร่วมกับเว็บไซต์ของเราและจะเปิดตัวภายในปลายปีนี้ การปรับแต่งผลิตภัณฑ์ การบริการเฉพาะบุคคล และประสบการณ์ในการช็อปปิงแบบเฉพาะตัวจะช่วยให้ตลาดเอเชียและตลาดอื่นๆ ได้รับประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบจาก Mathon” Aude ระบุ

            Gaspard จาก Akillis เผยว่าทางบริษัทก็กำลังจับตาแนวโน้มการเติบโตในเอเชีย และมุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และสหรัฐ

            Brustia จาก Doralia ยืนยันว่าชื่อเสียงและคุณภาพของผลิตภัณฑ์กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคเอเชียมักนำมาพิจารณา ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตเครื่องประดับจากยุโรปซึ่งมีชื่อเสียงในแง่ทักษะฝีมือและความคิดสร้างสรรค์จึงมีโอกาสมากมายรออยู่ในตลาดเอเชีย


ข้อมูลอ้างอิง


JNA. 2022. European jewellers bank on proven artistry for growth. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24771.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site