ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ผลกระทบของตลาดเพชรโลก ในยุคทรัมป์ 2.0

Jun 4, 2025
1555 views
0 share

        เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอัตราภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal tariff) กับทุกประเทศ โดยเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้า 10% จาก 185 ประเทศทั่วโลก มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2568 และกำหนดอัตราที่สูงกว่า สำหรับประเทศที่สหรัฐฯ มีการขาดดุลการค้าสูง โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 เมษายน 2568 แต่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศชะลอการปรับขึ้นภาษีตอบโต้กับประเทศที่เกินดุลการค้าออกไป 90 วัน (แต่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าพื้นฐานเพิ่มขึ้น 10% ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2568) เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เจรจาลดภาษี ซึ่งการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อตลาดเพชรของโลกอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้

สถานการณ์ตลาดเพชรในปัจจุบัน

เพชรธรรมชาติ: Fortune Business ได้ประมาณการขนาดตลาดเพชรโลกในปี 2024 อยู่ที่ 97,570 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตจาก 102,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 เป็น 138,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2032 ด้วยอัตรา เติบโตเฉลี่ยปีละ 4.5% โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็นประมาณ 50% ของความต้องการทั่วโลก สำหรับประเทศผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ที่มีปริมาณการผลิตเกินหนึ่งล้านกะรัตต่อปี และส่งเข้าไปยังสหรัฐฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านประเทศผู้เจียระไนเพชร มีดังนี้


เพชรสังเคราะห์: Precedence Research คาดการณ์ว่าในปี 2025 ขนาดตลาดเพชรสังเคราะห์ทั่วโลกมีมูลค่า 29,730 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าไปถึงราว 97,850 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2034 มีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 14.15% ระหว่างปี 2025 ถึงปี 2034 โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดเพชรสังเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และการตระหนักรู้เรื่องเพชรสังเคราะห์ ความต้องการบริโภคสินค้าที่มีความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้น ยังเป็นแรงผลักดันตลาดเพชรสังเคราะห์ในยุโรปให้เติบโตมากขึ้นด้วย สำหรับผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์รายใหญ่และส่งออกไปยังสหรัฐฯ คือ จีน ผลิตเพชรสังเคราะห์มากที่สุดในโลกราว 80% รองลงมาคือ อินเดีย ผลิตเพชรสังเคราะห์ราว 15% ของโลก ส่วนสหรัฐฯ ผลิตเพชรสังเคราะห์ได้ราว 5% ของการผลิตเพชรสังเคราะห์ทั้งหมดของโลก


ภาพจาก: https://nationaljeweler.com/

ปัจจุบันมีการใช้เพชรสังเคราะห์ในการทำเครื่องประดับเพิ่มขึ้นอย่างมาก บริษัทหลายแห่งนำเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์มาใช้เป็นทางเลือกแทนเครื่องประดับเพชรธรรมชาติ เช่น Pandora ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของเพชรสังเคราะห์พุ่งสูงขึ้น อีกทั้ง ยังมีการใช้นวัตกรรมที่สามารถปรับแต่ง ออกแบบได้ตามความต้องการของผู้บริโภค สร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงการนำเพชรสังเคราะห์มาใช้ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องประดับมากขึ้น ส่งผลให้เพชรสังเคราะห์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเพชร

แม้มาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จะมีเป้าหมายเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศและส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรวม แต่อาจไม่ได้ส่งผลตามที่คาดหวังนัก เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเพชร ยังคงพึ่งพาวัตถุดิบและการผลิตบางขั้นตอนจากต่างประเทศ การเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจึงอาจสร้างภาระต่อผู้ผลิตภายในประเทศมากกว่าจะเป็นประโยชน์ ขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกวัตถุดิบและผู้ค้าปลีกเพชรทั่วโลก ทั้งเพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์ ก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยสรุปผลกระทบจากการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ต่ออุตสาหกรรมเพชรของโลก สามารถแบ่งได้ดังนี้:

1) เพชรธรรมชาติ

• ด้วยข้อจำกัดที่สหรัฐฯ ไม่มีแหล่งเหมืองเพชรภายในประเทศ จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าเพชรดิบและเพชรเจียระไนจากต่างประเทศทั้งหมด และแม้ว่าสหรัฐฯ จะสามารถผลิตและออกแบบเครื่องประดับเพชรภายในประเทศได้ แต่ภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาขายปลีกให้สูงขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มทำให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง และส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออกเพชรทั่วโลก ที่ต้องพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคเพชรรายใหญ่ที่สุดของโลก

• ความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ กำลังส่งผลกระทบโดยตรงต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเพชรโลก โดยเฉพาะการส่งออกเพชรเจียระไนจาก แอนต์เวิร์ป (เบลเยียม) และ ดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรระดับโลก ได้ลดลงจากระดับปกติกว่า 15% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2025

ทั้งนี้ แอนต์เวิร์ปและดูไบ ต่างเผชิญกับคำสั่งซื้อที่ลดลงจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดปลายทางหลักของเพชรเจียระไนจากทั่วโลก ความไม่แน่นอนด้านภาษี โดยเฉพาะการพิจารณาปรับขึ้นภาษีนำเข้าเพชร ทำให้ผู้ค้าสหรัฐฯ ระวังการสั่งซื้อและชะลอการทำธุรกรรม


ภาพจาก: https://www.aol.com/

• สถานการณ์นี้อาจนำไปสู่การสะสมสต็อกในระดับสูง การชะลอการประมูลเพชร และแรงกดดันต่อราคาตลาดโลกในระยะสั้น ประเทศผู้ผลิตเพชรอย่างบอตสวานา ซึ่งพึ่งพารายได้จากภาษีและค่าภาคหลวงของเหมืองเพชรเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ กำลังเผชิญกับแรงกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านภาษีนำเข้าในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของเพชรดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท De Beers ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการเหมือง Jwaneng เหมืองเพชรที่ถือว่ามีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก กำลังพิจารณาทบทวนแผนการลงทุนขยายเหมืองมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การตัดสินใจของ De Beers มีแนวโน้มเชื่อมโยงกับความไม่แน่นอนของตลาดโลก โดยเฉพาะแรงกดดันจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ และราคาตลาดที่ตกต่ำลงต่อเนื่อง

        นอกจากนี้ รัฐบาลบอตสวานา ซึ่งถือหุ้น 15% ใน De Beers และรับรายได้จากเหมืองผ่านการจัดเก็บภาษีและเงินปันผล กำลังเร่งเจรจาเพื่อรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เนื่องจากอุตสาหกรรมเพชรคิดเป็นมากกว่า 30% ของ GDP และกว่า 70% ของรายได้ส่งออกของประเทศ

2) เพชรสังเคราะห์

• สหรัฐฯ สามารถผลิตเพชรสังเคราะห์ได้ แต่การผลิตยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ วัสดุ และเครื่องจักรจากต่างประเทศ อีกทั้งช่างเจียระไนในประเทศมีจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องส่งเพชรไปเจียระไนที่อินเดีย ก่อนนำกลับเข้ามาขายภายในประเทศ ซึ่งต้องเสียภาษีนำเข้าอีกครั้ง ส่งผลให้ต้นทุนรวมสูงขึ้น กระทบต่อความต้องการซื้อเพชรสังเคราะห์ในตลาดสหรัฐฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

• การผลิตเพชรสังเคราะห์ภายในประเทศ มีต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับสูง เนื่องจากค่าแรง ค่าไฟฟ้า และค่าบำรุงรักษาโรงงานมีราคาสูงกว่าหลายประเทศ จึงทำให้เพชรสังเคราะห์ที่ผลิตในสหรัฐฯ มีราคาสูงกว่าสินค้านำเข้าจากจีนหรืออินเดีย ซึ่งยังคงเป็นแหล่งผลิตหลักที่สามารถแข่งขันด้านราคาที่ต่ำกว่าได้ แต่หากเก็บภาษีนำเข้าจากทั้งจีนและอินเดียในระดับสูง ก็อาจจะทำให้ราคาสินค้านำเข้าสูงกว่าผลิตในประเทศ ส่งผลต่อความต้องการนำเข้าให้ลดลง

• แม้ว่านโยบายภาษีนำเข้าอาจผลักดันให้เกิดการลงทุนในการวิจัยและขยายกำลังการผลิตเพชรสังเคราะห์ภายในประเทศมากขึ้น แต่กระบวนการนี้ต้องใช้เวลา เงินทุน และการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ในระยะสั้น

• ความต้องการเพชรสังเคราะห์ในสหรัฐฯ อาจลดลงหากมีการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อจีนและอินเดีย สองผู้ผลิตรายใหญ่ที่พึ่งพาตลาดอเมริกันเป็นหลัก เนื่องจากผู้นำเข้าอาจต้องลดปริมาณการนำเข้าเพชรสังเคราะห์และวัตถุดิบตามความต้องการของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง

ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคต้องรับภาระราคาเพิ่มขึ้น

        ภาษีนำเข้าส่งผลให้ราคาขายปลีกของทั้งเพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์ปรับตัวสูงขึ้น ผู้บริโภคในสหรัฐฯ จึงอาจชะลอการซื้อ ทำให้ปริมาณการนำเข้าลดลง และกระทบต่อผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตต้นทางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

        หากภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 สหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อยกเลิกหรือปรับลดภาษีที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025 ตลาดเพชรธรรมชาติในสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะหยุดชะงัก และแรงกระเพื่อมย่อมส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปยังตลาดโลกได้ อีกทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันเริ่มแสดงออกถึงการลดความสนใจในเพชรธรรมชาติอย่างชัดเจน จะยิ่งถูกเร่งเร้าให้ลดลงอย่างรวดเร็ว หากราคาขายปลีกได้รับผลกระทบจากภาษีจนปรับตัวสูงขึ้นกว่า 30% หรือมากกว่านั้น ซึ่งเป็นระดับราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ "ไม่สามารถแบกรับได้" 

 

ภาพจาก: https://www.laurenbjewelry.com/

โอกาสของเพชรสังเคราะห์ท่ามกลางแรงกดดัน

แม้ว่าเพชรสังเคราะห์ที่นำเข้าสู่สหรัฐฯ จะต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกับเพชรธรรมชาติ แต่ด้วยราคาที่ต่ำกว่าประมาณ 2–3 เท่า ทำให้ราคาขายหลังรวมภาษีแล้วของเพชรสังเคราะห์ยังคงอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า ส่งผลให้แรงต้านของผู้ซื้อมีน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับเพชรธรรมชาติ และอาจเป็นทางเลือกที่เติบโตได้ในอนาคต ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าวอาจเร่งการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคให้หันไปเลือกซื้อเพชรสังเคราะห์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภาวะที่ราคาของเพชรธรรมชาติกำลังเผชิญแรงกดดันจากต้นทุนภาษีที่สูงขึ้น

ภาพจาก: https://www.brilliantearth.com/

        การปรับขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลทรัมป์กำลังส่งแรงสั่นสะเทือนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเพชร ไม่ว่าจะเป็นเพชรธรรมชาติหรือเพชรสังเคราะห์ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง ทำให้ความต้องการบริโภคเพชรในตลาดสหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และลากให้ความต้องการของตลาดโลกชะลอตัวตามไปด้วย

        ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทั้งด้านราคา การตลาด และแหล่งจัดซื้อให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น รวมถึงการหันมาให้ความสำคัญกับตลาดเกิดใหม่และพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้คุณค่ากับความโปร่งใส ความยั่งยืน และทางเลือกที่เข้าถึงได้มากขึ้น เพราะในวิกฤตเช่นนี้ โอกาสจะตกเป็นของผู้ที่กล้าปรับตัวก่อนเสมอ ท้ายที่สุดแล้ว อนาคตของอุตสาหกรรมเพชรจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายภาษีเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวอย่างชาญฉลาดของทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทานด้วยเช่นกัน


จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

มิถุนายน 2568



ข้อมูลอ้างอิง


1) Trump's tariff policy and the possible triumph of LGDs, available at https://www.rough-polished.com/article/trumps-tariff-policy-and-the-possible-triumph-of-lgds. (Retrieved May 16, 2025).
2) Five Possible Ways Tariffs Will Affect the Industry, available at https://www.jckonline.com/editorial-article/ways-tariffs-affect-industry/. (Retrieved May 16, 2025).
3) Thoughts on the Potential Impact of Trump’s Tariffs on the Diamond Market, available at https://www.paulzimnisky.com/Thoughts-on-the-Potential-Impact-of-Trumps-Tariffs-on-the-Diamond-Market. (Retrieved May 16, 2025).
4) Diamond Market Size, Share & Industry Analysis, available at https://www.fortunebusinessinsights.com/diamond-market-102887. (Retrieved May 16, 2025).
5) Lab-Grown Diamonds Market Size, Share and Trends 2025 to 2034, available at https://www.precedenceresearch.com/lab-grown-diamonds-market. (Retrieved May 16, 2025).
6) From Tariffs to Turntables: How Trump’s Diamond War Spells the End of Natural Diamonds — and Why That’s Good for America, available at https://www.greatlakerecords.com/blog?p=from-tariffs-to-turntables-how-trumps-diamond-war-spells-the-end-of-natural-diamonds-and-why-thats-good-for-america&srsltid=AfmBOooc2vFQYuuKwT77seDk1X_HgBwM-YbfnIG4l8AwDFfkABcAfAF6. (Retrieved May 16, 2025).
7) Diamonds and Duties: How US Tariffs Are Reshaping the Global Diamond Industry, available at https://www.linkedin.com/pulse/diamonds-duties-how-us-tariffs-reshaping-global-damarupurshad-jesbf. (Retrieved May 16, 2025).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ผลกระทบของตลาดเพชรโลก ในยุคทรัมป์ 2.0

Jun 4, 2025
1555 views
0 share

        เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอัตราภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal tariff) กับทุกประเทศ โดยเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้า 10% จาก 185 ประเทศทั่วโลก มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2568 และกำหนดอัตราที่สูงกว่า สำหรับประเทศที่สหรัฐฯ มีการขาดดุลการค้าสูง โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 เมษายน 2568 แต่เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศชะลอการปรับขึ้นภาษีตอบโต้กับประเทศที่เกินดุลการค้าออกไป 90 วัน (แต่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าพื้นฐานเพิ่มขึ้น 10% ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2568) เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เจรจาลดภาษี ซึ่งการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อตลาดเพชรของโลกอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้

สถานการณ์ตลาดเพชรในปัจจุบัน

เพชรธรรมชาติ: Fortune Business ได้ประมาณการขนาดตลาดเพชรโลกในปี 2024 อยู่ที่ 97,570 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตจาก 102,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 เป็น 138,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2032 ด้วยอัตรา เติบโตเฉลี่ยปีละ 4.5% โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็นประมาณ 50% ของความต้องการทั่วโลก สำหรับประเทศผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ที่มีปริมาณการผลิตเกินหนึ่งล้านกะรัตต่อปี และส่งเข้าไปยังสหรัฐฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านประเทศผู้เจียระไนเพชร มีดังนี้


เพชรสังเคราะห์: Precedence Research คาดการณ์ว่าในปี 2025 ขนาดตลาดเพชรสังเคราะห์ทั่วโลกมีมูลค่า 29,730 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าไปถึงราว 97,850 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2034 มีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 14.15% ระหว่างปี 2025 ถึงปี 2034 โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดเพชรสังเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และการตระหนักรู้เรื่องเพชรสังเคราะห์ ความต้องการบริโภคสินค้าที่มีความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้น ยังเป็นแรงผลักดันตลาดเพชรสังเคราะห์ในยุโรปให้เติบโตมากขึ้นด้วย สำหรับผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์รายใหญ่และส่งออกไปยังสหรัฐฯ คือ จีน ผลิตเพชรสังเคราะห์มากที่สุดในโลกราว 80% รองลงมาคือ อินเดีย ผลิตเพชรสังเคราะห์ราว 15% ของโลก ส่วนสหรัฐฯ ผลิตเพชรสังเคราะห์ได้ราว 5% ของการผลิตเพชรสังเคราะห์ทั้งหมดของโลก


ภาพจาก: https://nationaljeweler.com/

ปัจจุบันมีการใช้เพชรสังเคราะห์ในการทำเครื่องประดับเพิ่มขึ้นอย่างมาก บริษัทหลายแห่งนำเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์มาใช้เป็นทางเลือกแทนเครื่องประดับเพชรธรรมชาติ เช่น Pandora ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของเพชรสังเคราะห์พุ่งสูงขึ้น อีกทั้ง ยังมีการใช้นวัตกรรมที่สามารถปรับแต่ง ออกแบบได้ตามความต้องการของผู้บริโภค สร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงการนำเพชรสังเคราะห์มาใช้ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องประดับมากขึ้น ส่งผลให้เพชรสังเคราะห์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเพชร

แม้มาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จะมีเป้าหมายเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศและส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรวม แต่อาจไม่ได้ส่งผลตามที่คาดหวังนัก เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเพชร ยังคงพึ่งพาวัตถุดิบและการผลิตบางขั้นตอนจากต่างประเทศ การเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจึงอาจสร้างภาระต่อผู้ผลิตภายในประเทศมากกว่าจะเป็นประโยชน์ ขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกวัตถุดิบและผู้ค้าปลีกเพชรทั่วโลก ทั้งเพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์ ก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยสรุปผลกระทบจากการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ต่ออุตสาหกรรมเพชรของโลก สามารถแบ่งได้ดังนี้:

1) เพชรธรรมชาติ

• ด้วยข้อจำกัดที่สหรัฐฯ ไม่มีแหล่งเหมืองเพชรภายในประเทศ จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าเพชรดิบและเพชรเจียระไนจากต่างประเทศทั้งหมด และแม้ว่าสหรัฐฯ จะสามารถผลิตและออกแบบเครื่องประดับเพชรภายในประเทศได้ แต่ภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาขายปลีกให้สูงขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มทำให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง และส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออกเพชรทั่วโลก ที่ต้องพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคเพชรรายใหญ่ที่สุดของโลก

• ความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ กำลังส่งผลกระทบโดยตรงต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเพชรโลก โดยเฉพาะการส่งออกเพชรเจียระไนจาก แอนต์เวิร์ป (เบลเยียม) และ ดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรระดับโลก ได้ลดลงจากระดับปกติกว่า 15% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2025

ทั้งนี้ แอนต์เวิร์ปและดูไบ ต่างเผชิญกับคำสั่งซื้อที่ลดลงจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดปลายทางหลักของเพชรเจียระไนจากทั่วโลก ความไม่แน่นอนด้านภาษี โดยเฉพาะการพิจารณาปรับขึ้นภาษีนำเข้าเพชร ทำให้ผู้ค้าสหรัฐฯ ระวังการสั่งซื้อและชะลอการทำธุรกรรม


ภาพจาก: https://www.aol.com/

• สถานการณ์นี้อาจนำไปสู่การสะสมสต็อกในระดับสูง การชะลอการประมูลเพชร และแรงกดดันต่อราคาตลาดโลกในระยะสั้น ประเทศผู้ผลิตเพชรอย่างบอตสวานา ซึ่งพึ่งพารายได้จากภาษีและค่าภาคหลวงของเหมืองเพชรเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ กำลังเผชิญกับแรงกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านภาษีนำเข้าในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของเพชรดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท De Beers ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการเหมือง Jwaneng เหมืองเพชรที่ถือว่ามีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก กำลังพิจารณาทบทวนแผนการลงทุนขยายเหมืองมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การตัดสินใจของ De Beers มีแนวโน้มเชื่อมโยงกับความไม่แน่นอนของตลาดโลก โดยเฉพาะแรงกดดันจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ และราคาตลาดที่ตกต่ำลงต่อเนื่อง

        นอกจากนี้ รัฐบาลบอตสวานา ซึ่งถือหุ้น 15% ใน De Beers และรับรายได้จากเหมืองผ่านการจัดเก็บภาษีและเงินปันผล กำลังเร่งเจรจาเพื่อรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เนื่องจากอุตสาหกรรมเพชรคิดเป็นมากกว่า 30% ของ GDP และกว่า 70% ของรายได้ส่งออกของประเทศ

2) เพชรสังเคราะห์

• สหรัฐฯ สามารถผลิตเพชรสังเคราะห์ได้ แต่การผลิตยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ วัสดุ และเครื่องจักรจากต่างประเทศ อีกทั้งช่างเจียระไนในประเทศมีจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องส่งเพชรไปเจียระไนที่อินเดีย ก่อนนำกลับเข้ามาขายภายในประเทศ ซึ่งต้องเสียภาษีนำเข้าอีกครั้ง ส่งผลให้ต้นทุนรวมสูงขึ้น กระทบต่อความต้องการซื้อเพชรสังเคราะห์ในตลาดสหรัฐฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

• การผลิตเพชรสังเคราะห์ภายในประเทศ มีต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับสูง เนื่องจากค่าแรง ค่าไฟฟ้า และค่าบำรุงรักษาโรงงานมีราคาสูงกว่าหลายประเทศ จึงทำให้เพชรสังเคราะห์ที่ผลิตในสหรัฐฯ มีราคาสูงกว่าสินค้านำเข้าจากจีนหรืออินเดีย ซึ่งยังคงเป็นแหล่งผลิตหลักที่สามารถแข่งขันด้านราคาที่ต่ำกว่าได้ แต่หากเก็บภาษีนำเข้าจากทั้งจีนและอินเดียในระดับสูง ก็อาจจะทำให้ราคาสินค้านำเข้าสูงกว่าผลิตในประเทศ ส่งผลต่อความต้องการนำเข้าให้ลดลง

• แม้ว่านโยบายภาษีนำเข้าอาจผลักดันให้เกิดการลงทุนในการวิจัยและขยายกำลังการผลิตเพชรสังเคราะห์ภายในประเทศมากขึ้น แต่กระบวนการนี้ต้องใช้เวลา เงินทุน และการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ในระยะสั้น

• ความต้องการเพชรสังเคราะห์ในสหรัฐฯ อาจลดลงหากมีการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อจีนและอินเดีย สองผู้ผลิตรายใหญ่ที่พึ่งพาตลาดอเมริกันเป็นหลัก เนื่องจากผู้นำเข้าอาจต้องลดปริมาณการนำเข้าเพชรสังเคราะห์และวัตถุดิบตามความต้องการของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง

ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคต้องรับภาระราคาเพิ่มขึ้น

        ภาษีนำเข้าส่งผลให้ราคาขายปลีกของทั้งเพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์ปรับตัวสูงขึ้น ผู้บริโภคในสหรัฐฯ จึงอาจชะลอการซื้อ ทำให้ปริมาณการนำเข้าลดลง และกระทบต่อผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตต้นทางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

        หากภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 สหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อยกเลิกหรือปรับลดภาษีที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025 ตลาดเพชรธรรมชาติในสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะหยุดชะงัก และแรงกระเพื่อมย่อมส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปยังตลาดโลกได้ อีกทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันเริ่มแสดงออกถึงการลดความสนใจในเพชรธรรมชาติอย่างชัดเจน จะยิ่งถูกเร่งเร้าให้ลดลงอย่างรวดเร็ว หากราคาขายปลีกได้รับผลกระทบจากภาษีจนปรับตัวสูงขึ้นกว่า 30% หรือมากกว่านั้น ซึ่งเป็นระดับราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ "ไม่สามารถแบกรับได้" 

 

ภาพจาก: https://www.laurenbjewelry.com/

โอกาสของเพชรสังเคราะห์ท่ามกลางแรงกดดัน

แม้ว่าเพชรสังเคราะห์ที่นำเข้าสู่สหรัฐฯ จะต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกับเพชรธรรมชาติ แต่ด้วยราคาที่ต่ำกว่าประมาณ 2–3 เท่า ทำให้ราคาขายหลังรวมภาษีแล้วของเพชรสังเคราะห์ยังคงอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า ส่งผลให้แรงต้านของผู้ซื้อมีน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับเพชรธรรมชาติ และอาจเป็นทางเลือกที่เติบโตได้ในอนาคต ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าวอาจเร่งการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคให้หันไปเลือกซื้อเพชรสังเคราะห์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภาวะที่ราคาของเพชรธรรมชาติกำลังเผชิญแรงกดดันจากต้นทุนภาษีที่สูงขึ้น

ภาพจาก: https://www.brilliantearth.com/

        การปรับขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลทรัมป์กำลังส่งแรงสั่นสะเทือนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเพชร ไม่ว่าจะเป็นเพชรธรรมชาติหรือเพชรสังเคราะห์ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง ทำให้ความต้องการบริโภคเพชรในตลาดสหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และลากให้ความต้องการของตลาดโลกชะลอตัวตามไปด้วย

        ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทั้งด้านราคา การตลาด และแหล่งจัดซื้อให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น รวมถึงการหันมาให้ความสำคัญกับตลาดเกิดใหม่และพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้คุณค่ากับความโปร่งใส ความยั่งยืน และทางเลือกที่เข้าถึงได้มากขึ้น เพราะในวิกฤตเช่นนี้ โอกาสจะตกเป็นของผู้ที่กล้าปรับตัวก่อนเสมอ ท้ายที่สุดแล้ว อนาคตของอุตสาหกรรมเพชรจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายภาษีเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวอย่างชาญฉลาดของทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทานด้วยเช่นกัน


จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

มิถุนายน 2568



ข้อมูลอ้างอิง


1) Trump's tariff policy and the possible triumph of LGDs, available at https://www.rough-polished.com/article/trumps-tariff-policy-and-the-possible-triumph-of-lgds. (Retrieved May 16, 2025).
2) Five Possible Ways Tariffs Will Affect the Industry, available at https://www.jckonline.com/editorial-article/ways-tariffs-affect-industry/. (Retrieved May 16, 2025).
3) Thoughts on the Potential Impact of Trump’s Tariffs on the Diamond Market, available at https://www.paulzimnisky.com/Thoughts-on-the-Potential-Impact-of-Trumps-Tariffs-on-the-Diamond-Market. (Retrieved May 16, 2025).
4) Diamond Market Size, Share & Industry Analysis, available at https://www.fortunebusinessinsights.com/diamond-market-102887. (Retrieved May 16, 2025).
5) Lab-Grown Diamonds Market Size, Share and Trends 2025 to 2034, available at https://www.precedenceresearch.com/lab-grown-diamonds-market. (Retrieved May 16, 2025).
6) From Tariffs to Turntables: How Trump’s Diamond War Spells the End of Natural Diamonds — and Why That’s Good for America, available at https://www.greatlakerecords.com/blog?p=from-tariffs-to-turntables-how-trumps-diamond-war-spells-the-end-of-natural-diamonds-and-why-thats-good-for-america&srsltid=AfmBOooc2vFQYuuKwT77seDk1X_HgBwM-YbfnIG4l8AwDFfkABcAfAF6. (Retrieved May 16, 2025).
7) Diamonds and Duties: How US Tariffs Are Reshaping the Global Diamond Industry, available at https://www.linkedin.com/pulse/diamonds-duties-how-us-tariffs-reshaping-global-damarupurshad-jesbf. (Retrieved May 16, 2025).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site