ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เพชรประดับพระอุณาโลมแห่งพระแก้วมรกต

Apr 17, 2020
3753 views
7 shares

            “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระแก้วมรกต” พระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 48.3 เซนติเมตร สูง 66 เซนติเมตร องค์พระพุทธรูปแกะสลักจากหยก เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของกรุงรัตนโกสินทร์และชาวไทยนับตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

 
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรในเครื่องทรงฤดูร้อน
ภาพจาก: Pinterest
 
 ประวัติพระแก้วมรกต

            พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ตามประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้เคยประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองต่างๆ หลายเมืองด้วยกัน ทั้งเมืองเชียงราย เมืองลำปาง เมืองเชียงใหม่ เมืองหลวงพระบาง และเมืองเวียงจันทน์

            จนกระทั่งเมื่อปี 2321 ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมายังสยาม โดยได้ประดิษฐานไว้ ณ โรงพระแก้ว ในบริเวณพระราชวังเดิม

            เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช      ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี 2325 ได้ทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งพระนคร และทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ รวมถึงเจ้านายทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ทั้งทรงโปรดฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถเมื่อปี 2327 เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนับตั้งแต่นั้นสืบมา

เพชรพระอุณาโลมของพระแก้วมรกต

            กระทั่งปี 2397 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายนมัสการสรงน้ำ และเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงทอดพระเนตรเห็นพระอุณาโลม* ของพระแก้วมรกตเป็นเพชรขนาดเล็ก ไม่งดงามนัก จึงทรงมีพระราชศรัทธาบริจาคเพชรเม็ดใหญ่ขนาดเท่าเม็ดบัว ราคา 60 ชั่ง ประดับเป็นพระพุทธอุณาโลมแห่งองค์พระแก้วมรกตเสียใหม่ทดแทนเพชรเม็ดเดิม เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อความเป็นสิริมงคลแด่พุทธศาสนิกชนในแผ่นดินสยาม


 
เพชรพระอุณาโลม พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ภาพจาก: ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
 
            สำหรับเพชรพระราชทานซึ่งประดับบนพระอุณาโลมของพระแก้วมรกตนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซื้อมาด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซึ่งนอกเหนือจากเงินพระคลัง กล่าวกันว่าทรงมีรับสั่งให้ข้าราชการในพระองค์เดินทางไปเลือกซื้อเพชร ณ    เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย โดยคาดว่าเป็นการเดินทางครั้งเดียวกันกับที่ทรงมีรับสั่งให้พระราชสมบัติ (การเวก รัตนกุล) เดินทางไปเลือกซื้อเพชรเพื่อนำมาประดับที่บริเวณส่วนยอดของพระมหาพิชัยมงกุฎ



* จุดบริเวณกลางพระนลาฏ (หน้าผาก) หรือระหว่างคิ้วของพระพุทธรูป เปรียบเสมือนดวงตาที่ 3 อันเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเปรียบเสมือนดวงตาแห่งปัญญาและความรู้แจ้ง               
 

ข้อมูลอ้างอิง


1. ศิลปวัฒนธรรม. (23 กรกฎาคม 2559). เพชรพระอุณาโลม พระแก้วมรกต. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.facebook.com/SilpaWattanatham/posts/924558944340165
2. Assavarak Channel. (23 กรกฎาคม 2560). เปิดตำนานอัญมณี/สิ่งของก้องโลก No. 23 ตอน เพชรอุณาโลม เพชรเม็ดบัวกลางหน้าผากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.youtube.com/watch?v=wwxEGxPEW3s
3. BLT. (23 สิงหาคม 2561). การเดินทางของพระแก้วมรกต จากล้านนา สู่ล้านช้าง จากกรุงธนบุรี สู่กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.bltbangkok.com/article/info/23/790

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เพชรประดับพระอุณาโลมแห่งพระแก้วมรกต

Apr 17, 2020
3753 views
7 shares

            “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระแก้วมรกต” พระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 48.3 เซนติเมตร สูง 66 เซนติเมตร องค์พระพุทธรูปแกะสลักจากหยก เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของกรุงรัตนโกสินทร์และชาวไทยนับตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

 
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรในเครื่องทรงฤดูร้อน
ภาพจาก: Pinterest
 
 ประวัติพระแก้วมรกต

            พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ตามประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้เคยประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองต่างๆ หลายเมืองด้วยกัน ทั้งเมืองเชียงราย เมืองลำปาง เมืองเชียงใหม่ เมืองหลวงพระบาง และเมืองเวียงจันทน์

            จนกระทั่งเมื่อปี 2321 ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมายังสยาม โดยได้ประดิษฐานไว้ ณ โรงพระแก้ว ในบริเวณพระราชวังเดิม

            เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช      ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี 2325 ได้ทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งพระนคร และทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ รวมถึงเจ้านายทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ทั้งทรงโปรดฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถเมื่อปี 2327 เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนับตั้งแต่นั้นสืบมา

เพชรพระอุณาโลมของพระแก้วมรกต

            กระทั่งปี 2397 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายนมัสการสรงน้ำ และเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงทอดพระเนตรเห็นพระอุณาโลม* ของพระแก้วมรกตเป็นเพชรขนาดเล็ก ไม่งดงามนัก จึงทรงมีพระราชศรัทธาบริจาคเพชรเม็ดใหญ่ขนาดเท่าเม็ดบัว ราคา 60 ชั่ง ประดับเป็นพระพุทธอุณาโลมแห่งองค์พระแก้วมรกตเสียใหม่ทดแทนเพชรเม็ดเดิม เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อความเป็นสิริมงคลแด่พุทธศาสนิกชนในแผ่นดินสยาม


 
เพชรพระอุณาโลม พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ภาพจาก: ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
 
            สำหรับเพชรพระราชทานซึ่งประดับบนพระอุณาโลมของพระแก้วมรกตนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซื้อมาด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซึ่งนอกเหนือจากเงินพระคลัง กล่าวกันว่าทรงมีรับสั่งให้ข้าราชการในพระองค์เดินทางไปเลือกซื้อเพชร ณ    เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย โดยคาดว่าเป็นการเดินทางครั้งเดียวกันกับที่ทรงมีรับสั่งให้พระราชสมบัติ (การเวก รัตนกุล) เดินทางไปเลือกซื้อเพชรเพื่อนำมาประดับที่บริเวณส่วนยอดของพระมหาพิชัยมงกุฎ



* จุดบริเวณกลางพระนลาฏ (หน้าผาก) หรือระหว่างคิ้วของพระพุทธรูป เปรียบเสมือนดวงตาที่ 3 อันเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเปรียบเสมือนดวงตาแห่งปัญญาและความรู้แจ้ง               
 

ข้อมูลอ้างอิง


1. ศิลปวัฒนธรรม. (23 กรกฎาคม 2559). เพชรพระอุณาโลม พระแก้วมรกต. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.facebook.com/SilpaWattanatham/posts/924558944340165
2. Assavarak Channel. (23 กรกฎาคม 2560). เปิดตำนานอัญมณี/สิ่งของก้องโลก No. 23 ตอน เพชรอุณาโลม เพชรเม็ดบัวกลางหน้าผากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.youtube.com/watch?v=wwxEGxPEW3s
3. BLT. (23 สิงหาคม 2561). การเดินทางของพระแก้วมรกต จากล้านนา สู่ล้านช้าง จากกรุงธนบุรี สู่กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.bltbangkok.com/article/info/23/790

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site