ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

โคโรนาไวรัสกระทบอุตสาหกรรมเพชรทั่วโลก

Jun 8, 2020
1417 views
1 share

            โคโรนาไวรัสส่งผลให้การทำงานทุกขั้นตอนในวงจรอุตสาหกรรมอัญมณีเพชรต้องหยุดลง ตั้งแต่เหมืองเพชรไปจนถึงตลาดแลกเปลี่ยน ศูนย์เจียระไนในเมืองสุรัตของอินเดีย และผู้ค้าปลีก กระนั้น การระบาดครั้งนี้อาจนำเสนอโอกาสที่ไม่น่าเป็นไปได้ในการปรับสมดุลของห่วงโซ่อุปทาน


ที่มา: https://russiabusinesstoday.com/

            ความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากการระบาดของ COVID-19 ได้เพิ่มภาระให้แก่อุตสาหกรรมอัญมณีเพชรทั่วโลกซึ่งเปราะบางอยู่แล้ว โดยได้ส่งแรงสั่นสะเทือนไปสู่อุปสงค์และอุปทานในเวลาเดียวกัน

           “เราไม่เคยพบสถานการณ์ที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ตลอดทั้งวงจร หรือแม้กระทั่งตลอดทั้งภาคอุตสาหกรรมสินค้าหรูหรา ต้องมาหยุดชะงักลงด้วยกันทั้งหมด” David Prager รองประธานบริหารฝ่ายกิจการองค์กรของ De Beers กล่าว

            ที่สำคัญที่สุด ไวรัสได้ทำลายภาคธุรกิจค้าปลีกสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดเครื่องประดับ
อัญมณีเพชรรายใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นศูนย์กลางการระบาดมาตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องมาจากข้อจำกัดในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ตลอดจนภาวะการว่างงานเป็นวงกว้าง การขาดความมั่นคงทางการเงิน และความเชื่อมั่นที่ถดถอยลงของผู้บริโภค

            สหรัฐรายงานว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงร้อยละ 7.5 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นับว่าเป็นอัตราการลดลงต่อเดือนที่สูงที่สุด ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ประชากร 30 ล้านคนได้สมัครขอเข้ารับสวัสดิการสำหรับคนว่างงาน

            เมื่อสำรวจธุรกิจค้าปลีกตามหมวดหมู่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดย New York Times เมื่อไม่นานมานี้จากการเก็บข้อมูลโดยบริษัทวิจัยทางการตลาด Earnest Data ซึ่งติดตามข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตและบัตรเครดิตของชาวอเมริกัน 6 ล้านคน พบว่า การใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องประดับนั้นลดลงร้อยละ 75 ในช่วงหนึ่งสัปดาห์จนมาถึงวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019 ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายเครื่องประดับของสหรัฐในเดือนมีนาคม 2020 ที่ลดลงร้อยละ 24.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เหลือมูลค่าเพียง 3.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากการปิดร้านค้าปลีกเครื่องประดับ
อัญมณี


ที่มา: https://en.israelidiamond.co.il


             แม้ว่าบางรัฐได้ผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองบ้างแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมระบุว่าการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีจะยังไม่เกิดขึ้นในทันที เนื่องจากสถานการณ์การระบาดยังคงไม่คลี่คลาย

            Stephen Lussier รองประธานบริหารฝ่ายผู้บริโภคและแบรนด์สินค้าของ De Beers กล่าวถึงความท้าทายนี้ใน Rapaport Podcast เมื่อไม่นานมานี้ว่า “เราอยู่ในโลกคู่ขนานสองโลก โลกหนึ่งนั้นมีการปิดเมืองค่อนข้างเต็มรูปแบบ คุณจะเห็นได้จากตลาดใหญ่ๆ อย่างสหรัฐ อินเดีย หรือยุโรป ซึ่งพันธมิตรผู้ค้าปลีกของเราหลายพันรายในตลาดเหล่านี้ต้องปิดทำการตามมาตรการปิดเมือง”

            ขณะที่ Lussier ยืนยันว่า แม้ตลาดจีนได้ “กลับมาเปิดใหม่” ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ก็ไม่ได้ปลอดภัยจากผลกระทบของไวรัส

            Chow Tai Fook บริษัทเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดของจีนต้องปิดร้านสาขาลงร้อยละ 90 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 แม้ว่าร้านสาขาส่วนใหญ่ได้กลับมาเปิดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรรมการผู้จัดการ Kent Wong ก็คาดการณ์ว่าคงต้องใช้เวลา 3-4 เดือนกว่าบริษัทจะกลับเข้าสู่ “ภาวะปกติ”

            ในขณะเดียวกันผู้ขายเครื่องประดับ
อัญมณีรายใหญ่ Luk Fook ซึ่งเปิดร้านทั่วจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊า ก็ได้รายงานว่ายอดขายจากสาขาเดิมลดลงร้อยละ 57 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน

            นอกจากภาคธุรกิจค้าปลีกแล้ว กิจการช่วงกลางน้ำในอุตสาหกรรมเพชรก็ได้รับผลกระทบเช่นกันทั้งในเบลเยียมและอินเดีย ในแอนต์เวิร์พ ประเทศเบลเยียม การนำเข้าเพชรเจียระไนแล้วลดลงร้อยละ 71 และการส่งออกลดลงร้อยละ 51 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา



ที่มา: https://en.israelidiamond.co.il


            ในอินเดียซึ่งเป็นแหล่งตัดแต่งและเจียระไนเพชรราวร้อยละ 90 ของเพชรทั่วโลก อุตสาหกรรมการผลิตเพชรได้รับแรงกดดันอยู่แล้วก่อนเกิดการระบาด และได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นเมื่อโคโรน่าไวรัสแพร่ระบาด

            Dinesh Navadiya ประธานประจำภูมิภาคคุชราตของ Gem & Jewellery Export Promotion Council (GJEPC) เพิ่งกล่าวว่า “อุตสาหกรรมนี้มีการส่งออกลดลง 846 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และวิกฤตินี้ก็ยิ่งเลวร้ายลง จนอาจทำให้สถานการณ์แย่กว่าช่วงเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2008”

            รายงานของ GJEPC ซึ่งครอบคลุมช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2020 ระบุว่าการส่งออกเพชรที่ตัดแต่งและเจียระไนแล้วลดลงร้อยละ 19.38 มาอยู่ที่ 17,600 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019

            รายงานนี้ระบุว่าสาเหตุมาจาก “แนวโน้มการถดถอยของเศรษฐกิจทั่วโลก การที่ผู้จัดหาหลายรายลดจำนวนเพชรที่เป็นสินค้าคงคลังเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง การขาดสภาพคล่องในหมู่ผู้ค้า และภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วโลก”

            โดยปกติเพชรที่เจียระไนในอินเดียราวร้อยละ 39 จะส่งออกไปยังสหรัฐ และร้อยละ 41 ส่งออกไปยังฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ แต่เนื่องจากความต้องการจากตลาดเหล่านี้ชะลอตัวลง ผู้ผลิตอินเดียจึงมีสินค้าคงคลังส่วนเกินเป็นจำนวนมาก จนถึงจุดที่องค์กรการค้าต่างๆ ได้ขอให้สมาชิกหยุดนำเข้าเพชรก้อนเป็นเวลาหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตามรายงานจาก Rapaport News

            นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเพชร Chaim Even-Zohar ได้แนะนำให้รัฐบาลอินเดียพิจารณาการออกประกาศให้หยุดพักการนำเข้าเพชรเป็นเวลาสามหรือสี่เดือน เขามองว่าการดำเนินมาตรการดังกล่าวจะช่วยปรับสมดุลให้ปริมาณอุปทาน ระบายวัตถุดิบส่วนเกินในกิจการขั้นกลางน้ำ และหลีกเลี่ยงภาวะราคาตกต่ำดังเช่นที่เกิดขึ้นกับวิกฤติน้ำมันในขณะนี้

            ที่จริงแล้วอุตสาหกรรมเพชรได้ชิมลางวิกฤติลักษณะนี้มาแล้วเมื่อมีการเผยแพร่รายการราคาของ Rapaport ออกมาในวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยราคาที่ระบุในแพลตฟอร์มการซื้อขาย RapNet ลดลงร้อยละ 5-9 ในเพชรเกือบทุกหมวดหมู่ ซึ่งส่งผลให้สินค้าคงคลังของสมาชิก RapNet กว่า 7,000 รายมีมูลค่าลดต่ำลงอย่างมาก และราคาเพชรเจียระไนยังลดลงต่อเนื่องในเดือนเมษายนที่ผ่านมา





ที่มา: https://en.israelidiamond.co.il


            ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้บรรดาสมาชิกพากันแห่ออกจากระบบ โดยสมาชิกเหล่านี้ได้วิจารณ์ระเบียบวิธีในการคำนวณราคา และอ้างว่าปริมาณการซื้อขายที่ต่ำทำให้ตัวเลขนี้บิดเบือนไป

            ตลาดแลกเปลี่ยนเพชรตั้งแต่แอนต์เวิร์พไปจนถึงมุมไบและรามัตกันล้วนปิดชั่วคราวตลอดเดือนมีนาคมและเมษายนที่ผ่านมา ตามการปิดเมืองของรัฐบาลและคำสั่งทางสาธารณสุข

             เพื่อตอบสนองต่อข้อกังวลว่าจะมีข้อมูลการขายไม่มากเพียงพอต่อการวิเคราะห์ รายการราคาของ Rapaport จึงเปลี่ยนมาเผยแพร่เป็นรายเดือนแทนที่จะเป็นรายสัปดาห์

            เช่นเดียวกัน Fancy Color Research Foundation (FCRF) ก็ได้ระงับการเผยแพร่ดัชนีราคารายปักษ์เนื่องจากมีปริมาณการขายต่ำ ดัชนีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานจากข้อมูลการซื้อขายเพชรสีชมพู สีเหลือง และสีน้ำเงินซึ่งมีขนาดและความเข้มแตกต่างกัน โดยเก็บจากศูนย์กลางการค้าเพชรสีที่สำคัญๆ ในนิวยอร์ก ฮ่องกง และอิสราเอล
 
อุปสรรคของอุตสาหกรรมเหมืองแร่

            เมื่อผู้ผลิตเพชรไม่สามารถดำเนินกิจการได้เนื่องจากการปิดเมืองเพราะไวรัส อีกทั้งยังไม่สามารถหรือไม่ต้องการเพิ่มสินค้าคงคลังเพราะความต้องการในภาคธุรกิจค้าปลีกหยุดชะงักลง บริษัทผู้ทำเหมืองจึงถูกบังคับให้ต้องมอบเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นแก่ตัวแทนจำหน่ายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

            เงื่อนไขเหล่านี้มีตั้งแต่การผ่อนผันการชำระเงินร้อยละ 60-100 การยกเว้นข้อบังคับในการซื้อ ไปจนถึงการรับซื้อสินค้าคงคลังกลับคืนมาร้อยละ 30

            Sergey Ivanov ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Alrosa เครือบริษัทเหมืองแร่จากรัสเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ที่สุดเมื่อคิดตามปริมาณ ระบุว่า สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว “ในภาวะแปรปรวนนี้ สถานการณ์ในตอนต้นและตอนท้ายของการทำธุรกรรมการค้าช่วงเดือนมีนาคม 2020 นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องปรับเปลี่ยนและนำเสนอเงื่อนไขการขายที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในระหว่างนั้น”

             สถานการณ์ที่ไม่มั่นคงในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานำมาซึ่งข้อกำหนดที่เข้มงวดไปจนถึงการระงับการค้าอันเป็นผลจากการปิดพรมแดนและมาตรการกักกันโรคทั่วโลก “แทบไม่ต้องพูดเลยว่าทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงตลอดวงจรของอุตสาหกรรมเพชร” เขาเสริม

            ยอดขายเพชรในไตรมาสแรกปีนี้ของ Alrosa ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019 โดยส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของยอดขาย “ในตลาดสำคัญทุกแห่ง” ถึงร้อยละ 56 ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่ในเดือนเมษายน 2020 นั้น ยอดขายเพชรก้อนของบริษัทลดลงถึงร้อยละ 96 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา

            De Beers รายงานตัวเลขทางการเงินของบริษัทตามรอบประจำปีซึ่งมีอยู่ 10 รอบด้วยกัน รายได้จาก ‘รอบที่สอง’ ของปี 2020 ซึ่งประกอบด้วยการซื้อขายเพชรช่วงวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2020 นั้น ลดลงร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019

            การซื้อขายเพชรครั้งที่สามซึ่งมีกำหนดว่าจะเริ่มในวันที่ 30 มีนาคม 2020 นั้นถูกยกเลิกไปเนื่องจากข้อกำหนดห้ามการเดินทางระหว่างประเทศและการปิดเมืองในบอตสวานาซึ่งเป็นสถานที่จัดงานซื้อขายของ
De Beers

            เพื่อป้องกันการระบาด เหมืองหลายแห่งในแอฟริกาใต้ นามิเบีย และบอตสวานา ไปจนถึงในแคนาดาและไซบีเรีย ได้เข้าสู่ ‘ช่วงดูแลและซ่อมบำรุง’ ซึ่งหมายความว่าเหมืองได้หยุดการผลิตและแรงงานส่วนใหญ่ต้องหยุดทำงานชั่วคราว

            ด้วยเหตุนี้เป้าหมายการผลิตจึงถูกปรับลดลงด้วย De Beers ได้ลดประมาณการผลผลิตในปี 2020 ลงร้อยละ 20 ไปอยู่ที่ระหว่าง 25 ถึง 27 ล้านกะรัต ขณะที่ Alrosa ระบุว่าบริษัทจะลดปริมาณการผลิตลงร้อยละ 11 เหลือ 34.3 ล้านกะรัต

            อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตบางรายยังคงมองว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2020

            Lucara ซึ่งยังคงเปิดทำการเหมือง Karowe ในบอตสวานาต่อไประหว่างช่วงวิกฤติ ได้ระบุในแถลงการณ์เมื่อไม่นานมานี้ว่า “แม้แนวโน้มราคาเพชรในระยะสั้นยังคงไม่แน่นอน แต่เนื่องจากปริมาณการผลิตเพชรก้อนลดลงทั่วโลก ตลอดจนมีสัญญาณบ่งชี้เริ่มต้นว่าความต้องการเพชรเจียระไนแล้วเริ่มฟื้นตัวกลับมาในเอเชีย เราจึงหวังว่าความต้องการจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง”

            บริษัทรายงานว่ารายได้ลดลงร้อยละ 30 ในช่วงไตรมาสแรกจนมาถึงวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Eira Thomas ระบุว่าความต้องการสินค้าของบริษัทลดต่ำลง และบริษัทจำเป็นต้องเน้นหนักเรื่อง “การจัดการต้นทุนและมีวินัยด้านเงินทุน”
 
มุมมองโดยสรุป

             การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเพชรอันเนื่องมาจากโคโรนาไวรัสได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อแวดวงธุรกิจเพชรทั่วโลกอย่างไม่ต้องสงสัย

            ในจดหมายเปิดผนึกซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา Bruce Cleaver ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ De Beers ระบุว่า “ในบริเวณรอบเหมืองของเรา ในศูนย์กลางการเจียระไนเพชรที่สำคัญของโลก และในชุมชนที่พนักงานของเราอาศัยอยู่นั้น การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของบริษัทนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อพนักงานของเรา เศรษฐกิจท้องถิ่น และประเทศทั้งประเทศ

            “เงินเดือนที่เราจ่ายและบริการที่เราจัดหาและจัดซื้อนั้นได้ช่วยให้หลายครอบครัวมีอยู่มีกินและดูแลสุขภาพของตนได้ ในหลายกรณีอย่างการจัดหาน้ำ อาหาร พลังงาน บริการด้านสุขภาพ และระบบขนส่งนั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของเรา”

             การปกป้องสวัสดิภาพของลูกจ้างในห่วงโซ่อุปทานเพชร นับตั้งแต่ผู้ทำเหมืองจนถึงผู้ค้าและผู้ขายปลีกเครื่องประดับ ให้ไม่ต้องรับผลกระทบจากความท้าทายในภาวะโรคระบาดซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนั้นจำเป็นต้องอาศัยการร่วมมือกันอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

            “กุญแจสำคัญในเรื่องนี้คือการพยายามให้ทุกฝ่ายในภาคอุตสาหกรรมกลับมาร่วมมือกันและทำงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อสร้างขีดความสามารถทั้งในแง่อุปสงค์และอุทาน” Prager กล่าว

             นอกจากต้องรับมือกับการปิดเมืองเพราะโคโรนาไวรัสแล้ว อุตสาหกรรมเพชรยังต้องรักษาระดับราคาด้วยการจัดการกับภาวะชะงักงันทั้งในภาคอุปสงค์และอุปทานซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            Evern-Zohar ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่บริษัทผู้ทำเหมืองเพชรจะต้องช่วยเหลือกิจการช่วงกลางน้ำด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งระงับการนำเข้าของอินเดียหากมีการออกคำสั่งดังกล่าว และอาจต้องมอบสินเชื่อเพื่อช่วย “แบ่งเบาภาระทางการเงินของลูกค้า”

            “ผู้ทำเหมืองเพชรจำเป็นต้องอาศัยผู้เจียระไนของอินเดีย ยังไม่มีตัวเลือกอื่นที่จะมาแทนอินเดียได้ ช่วงหลายปีมานี้อุตสาหกรรมอินเดียได้สร้างความมั่งคั่งมหาศาลให้ผู้ทำเหมือง... คราวนี้ถึงเวลาที่จะต้องสลับบทบาทกันแล้ว” เขากล่าว

            ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเพชร Paul Zimnisky ระบุว่า “เมื่อห่วงโซ่อุปทานเพชรเริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง ซึ่งต้องอาศัยทั้งการเปิดพรมแดน เปิดร้านค้า รวมถึงเปิดศูนย์กลางการผลิตและการค้าทั่วโลก เมื่อนั้นปริมาณการค้าก็จะค่อยๆ กลับมาเป็นปกติและราคาก็น่าจะกลับมาสู่ระดับที่มีเสถียรภาพและไว้วางใจได้”

            แม้ว่าจะสร้างความท้าทายอย่างมากในระยะสั้น แต่การระบาดของโคโรนาไวรัสก็อาจแก้ปัญหาที่เรื้อรังมานานว่าด้วยความไม่สมดุลของห่วงโซ่อุปทานเพชร และสุดท้ายอาจช่วยให้เกิดเสถียรภาพทางราคาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อทุกฝ่ายในวงจรอุตสาหกรรมเพชรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ



 
 

ข้อมูลอ้างอิง


1) “Coronavirus roughs up diamond industry.” by Arabella Roden. JEWELLER. (May 2020: pp. 40-44).
2) “Polished Diamond Prices Down in April; Industry Future Cautiously Optimistic.” Retrieved 1 June 2020 from https://en.israelidiamond.co.il/diamond-articles/world/polished-diamond-prices-april.
3) “Analysis: The Power of Love in a Post-Coronavirus World.” Retrieved 1 June 2020 from https://en.israelidiamond.co.il/diamond-articles/world/q1-golan-diamond-market/.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

โคโรนาไวรัสกระทบอุตสาหกรรมเพชรทั่วโลก

Jun 8, 2020
1417 views
1 share

            โคโรนาไวรัสส่งผลให้การทำงานทุกขั้นตอนในวงจรอุตสาหกรรมอัญมณีเพชรต้องหยุดลง ตั้งแต่เหมืองเพชรไปจนถึงตลาดแลกเปลี่ยน ศูนย์เจียระไนในเมืองสุรัตของอินเดีย และผู้ค้าปลีก กระนั้น การระบาดครั้งนี้อาจนำเสนอโอกาสที่ไม่น่าเป็นไปได้ในการปรับสมดุลของห่วงโซ่อุปทาน


ที่มา: https://russiabusinesstoday.com/

            ความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากการระบาดของ COVID-19 ได้เพิ่มภาระให้แก่อุตสาหกรรมอัญมณีเพชรทั่วโลกซึ่งเปราะบางอยู่แล้ว โดยได้ส่งแรงสั่นสะเทือนไปสู่อุปสงค์และอุปทานในเวลาเดียวกัน

           “เราไม่เคยพบสถานการณ์ที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ตลอดทั้งวงจร หรือแม้กระทั่งตลอดทั้งภาคอุตสาหกรรมสินค้าหรูหรา ต้องมาหยุดชะงักลงด้วยกันทั้งหมด” David Prager รองประธานบริหารฝ่ายกิจการองค์กรของ De Beers กล่าว

            ที่สำคัญที่สุด ไวรัสได้ทำลายภาคธุรกิจค้าปลีกสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดเครื่องประดับ
อัญมณีเพชรรายใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นศูนย์กลางการระบาดมาตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องมาจากข้อจำกัดในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ตลอดจนภาวะการว่างงานเป็นวงกว้าง การขาดความมั่นคงทางการเงิน และความเชื่อมั่นที่ถดถอยลงของผู้บริโภค

            สหรัฐรายงานว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงร้อยละ 7.5 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นับว่าเป็นอัตราการลดลงต่อเดือนที่สูงที่สุด ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ประชากร 30 ล้านคนได้สมัครขอเข้ารับสวัสดิการสำหรับคนว่างงาน

            เมื่อสำรวจธุรกิจค้าปลีกตามหมวดหมู่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดย New York Times เมื่อไม่นานมานี้จากการเก็บข้อมูลโดยบริษัทวิจัยทางการตลาด Earnest Data ซึ่งติดตามข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตและบัตรเครดิตของชาวอเมริกัน 6 ล้านคน พบว่า การใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องประดับนั้นลดลงร้อยละ 75 ในช่วงหนึ่งสัปดาห์จนมาถึงวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019 ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายเครื่องประดับของสหรัฐในเดือนมีนาคม 2020 ที่ลดลงร้อยละ 24.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เหลือมูลค่าเพียง 3.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากการปิดร้านค้าปลีกเครื่องประดับ
อัญมณี


ที่มา: https://en.israelidiamond.co.il


             แม้ว่าบางรัฐได้ผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองบ้างแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมระบุว่าการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีจะยังไม่เกิดขึ้นในทันที เนื่องจากสถานการณ์การระบาดยังคงไม่คลี่คลาย

            Stephen Lussier รองประธานบริหารฝ่ายผู้บริโภคและแบรนด์สินค้าของ De Beers กล่าวถึงความท้าทายนี้ใน Rapaport Podcast เมื่อไม่นานมานี้ว่า “เราอยู่ในโลกคู่ขนานสองโลก โลกหนึ่งนั้นมีการปิดเมืองค่อนข้างเต็มรูปแบบ คุณจะเห็นได้จากตลาดใหญ่ๆ อย่างสหรัฐ อินเดีย หรือยุโรป ซึ่งพันธมิตรผู้ค้าปลีกของเราหลายพันรายในตลาดเหล่านี้ต้องปิดทำการตามมาตรการปิดเมือง”

            ขณะที่ Lussier ยืนยันว่า แม้ตลาดจีนได้ “กลับมาเปิดใหม่” ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ก็ไม่ได้ปลอดภัยจากผลกระทบของไวรัส

            Chow Tai Fook บริษัทเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดของจีนต้องปิดร้านสาขาลงร้อยละ 90 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 แม้ว่าร้านสาขาส่วนใหญ่ได้กลับมาเปิดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรรมการผู้จัดการ Kent Wong ก็คาดการณ์ว่าคงต้องใช้เวลา 3-4 เดือนกว่าบริษัทจะกลับเข้าสู่ “ภาวะปกติ”

            ในขณะเดียวกันผู้ขายเครื่องประดับ
อัญมณีรายใหญ่ Luk Fook ซึ่งเปิดร้านทั่วจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊า ก็ได้รายงานว่ายอดขายจากสาขาเดิมลดลงร้อยละ 57 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน

            นอกจากภาคธุรกิจค้าปลีกแล้ว กิจการช่วงกลางน้ำในอุตสาหกรรมเพชรก็ได้รับผลกระทบเช่นกันทั้งในเบลเยียมและอินเดีย ในแอนต์เวิร์พ ประเทศเบลเยียม การนำเข้าเพชรเจียระไนแล้วลดลงร้อยละ 71 และการส่งออกลดลงร้อยละ 51 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา



ที่มา: https://en.israelidiamond.co.il


            ในอินเดียซึ่งเป็นแหล่งตัดแต่งและเจียระไนเพชรราวร้อยละ 90 ของเพชรทั่วโลก อุตสาหกรรมการผลิตเพชรได้รับแรงกดดันอยู่แล้วก่อนเกิดการระบาด และได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นเมื่อโคโรน่าไวรัสแพร่ระบาด

            Dinesh Navadiya ประธานประจำภูมิภาคคุชราตของ Gem & Jewellery Export Promotion Council (GJEPC) เพิ่งกล่าวว่า “อุตสาหกรรมนี้มีการส่งออกลดลง 846 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และวิกฤตินี้ก็ยิ่งเลวร้ายลง จนอาจทำให้สถานการณ์แย่กว่าช่วงเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2008”

            รายงานของ GJEPC ซึ่งครอบคลุมช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2020 ระบุว่าการส่งออกเพชรที่ตัดแต่งและเจียระไนแล้วลดลงร้อยละ 19.38 มาอยู่ที่ 17,600 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019

            รายงานนี้ระบุว่าสาเหตุมาจาก “แนวโน้มการถดถอยของเศรษฐกิจทั่วโลก การที่ผู้จัดหาหลายรายลดจำนวนเพชรที่เป็นสินค้าคงคลังเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง การขาดสภาพคล่องในหมู่ผู้ค้า และภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วโลก”

            โดยปกติเพชรที่เจียระไนในอินเดียราวร้อยละ 39 จะส่งออกไปยังสหรัฐ และร้อยละ 41 ส่งออกไปยังฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ แต่เนื่องจากความต้องการจากตลาดเหล่านี้ชะลอตัวลง ผู้ผลิตอินเดียจึงมีสินค้าคงคลังส่วนเกินเป็นจำนวนมาก จนถึงจุดที่องค์กรการค้าต่างๆ ได้ขอให้สมาชิกหยุดนำเข้าเพชรก้อนเป็นเวลาหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตามรายงานจาก Rapaport News

            นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเพชร Chaim Even-Zohar ได้แนะนำให้รัฐบาลอินเดียพิจารณาการออกประกาศให้หยุดพักการนำเข้าเพชรเป็นเวลาสามหรือสี่เดือน เขามองว่าการดำเนินมาตรการดังกล่าวจะช่วยปรับสมดุลให้ปริมาณอุปทาน ระบายวัตถุดิบส่วนเกินในกิจการขั้นกลางน้ำ และหลีกเลี่ยงภาวะราคาตกต่ำดังเช่นที่เกิดขึ้นกับวิกฤติน้ำมันในขณะนี้

            ที่จริงแล้วอุตสาหกรรมเพชรได้ชิมลางวิกฤติลักษณะนี้มาแล้วเมื่อมีการเผยแพร่รายการราคาของ Rapaport ออกมาในวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยราคาที่ระบุในแพลตฟอร์มการซื้อขาย RapNet ลดลงร้อยละ 5-9 ในเพชรเกือบทุกหมวดหมู่ ซึ่งส่งผลให้สินค้าคงคลังของสมาชิก RapNet กว่า 7,000 รายมีมูลค่าลดต่ำลงอย่างมาก และราคาเพชรเจียระไนยังลดลงต่อเนื่องในเดือนเมษายนที่ผ่านมา





ที่มา: https://en.israelidiamond.co.il


            ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้บรรดาสมาชิกพากันแห่ออกจากระบบ โดยสมาชิกเหล่านี้ได้วิจารณ์ระเบียบวิธีในการคำนวณราคา และอ้างว่าปริมาณการซื้อขายที่ต่ำทำให้ตัวเลขนี้บิดเบือนไป

            ตลาดแลกเปลี่ยนเพชรตั้งแต่แอนต์เวิร์พไปจนถึงมุมไบและรามัตกันล้วนปิดชั่วคราวตลอดเดือนมีนาคมและเมษายนที่ผ่านมา ตามการปิดเมืองของรัฐบาลและคำสั่งทางสาธารณสุข

             เพื่อตอบสนองต่อข้อกังวลว่าจะมีข้อมูลการขายไม่มากเพียงพอต่อการวิเคราะห์ รายการราคาของ Rapaport จึงเปลี่ยนมาเผยแพร่เป็นรายเดือนแทนที่จะเป็นรายสัปดาห์

            เช่นเดียวกัน Fancy Color Research Foundation (FCRF) ก็ได้ระงับการเผยแพร่ดัชนีราคารายปักษ์เนื่องจากมีปริมาณการขายต่ำ ดัชนีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานจากข้อมูลการซื้อขายเพชรสีชมพู สีเหลือง และสีน้ำเงินซึ่งมีขนาดและความเข้มแตกต่างกัน โดยเก็บจากศูนย์กลางการค้าเพชรสีที่สำคัญๆ ในนิวยอร์ก ฮ่องกง และอิสราเอล
 
อุปสรรคของอุตสาหกรรมเหมืองแร่

            เมื่อผู้ผลิตเพชรไม่สามารถดำเนินกิจการได้เนื่องจากการปิดเมืองเพราะไวรัส อีกทั้งยังไม่สามารถหรือไม่ต้องการเพิ่มสินค้าคงคลังเพราะความต้องการในภาคธุรกิจค้าปลีกหยุดชะงักลง บริษัทผู้ทำเหมืองจึงถูกบังคับให้ต้องมอบเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นแก่ตัวแทนจำหน่ายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

            เงื่อนไขเหล่านี้มีตั้งแต่การผ่อนผันการชำระเงินร้อยละ 60-100 การยกเว้นข้อบังคับในการซื้อ ไปจนถึงการรับซื้อสินค้าคงคลังกลับคืนมาร้อยละ 30

            Sergey Ivanov ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Alrosa เครือบริษัทเหมืองแร่จากรัสเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ที่สุดเมื่อคิดตามปริมาณ ระบุว่า สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว “ในภาวะแปรปรวนนี้ สถานการณ์ในตอนต้นและตอนท้ายของการทำธุรกรรมการค้าช่วงเดือนมีนาคม 2020 นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องปรับเปลี่ยนและนำเสนอเงื่อนไขการขายที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในระหว่างนั้น”

             สถานการณ์ที่ไม่มั่นคงในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานำมาซึ่งข้อกำหนดที่เข้มงวดไปจนถึงการระงับการค้าอันเป็นผลจากการปิดพรมแดนและมาตรการกักกันโรคทั่วโลก “แทบไม่ต้องพูดเลยว่าทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงตลอดวงจรของอุตสาหกรรมเพชร” เขาเสริม

            ยอดขายเพชรในไตรมาสแรกปีนี้ของ Alrosa ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019 โดยส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของยอดขาย “ในตลาดสำคัญทุกแห่ง” ถึงร้อยละ 56 ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่ในเดือนเมษายน 2020 นั้น ยอดขายเพชรก้อนของบริษัทลดลงถึงร้อยละ 96 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา

            De Beers รายงานตัวเลขทางการเงินของบริษัทตามรอบประจำปีซึ่งมีอยู่ 10 รอบด้วยกัน รายได้จาก ‘รอบที่สอง’ ของปี 2020 ซึ่งประกอบด้วยการซื้อขายเพชรช่วงวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2020 นั้น ลดลงร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019

            การซื้อขายเพชรครั้งที่สามซึ่งมีกำหนดว่าจะเริ่มในวันที่ 30 มีนาคม 2020 นั้นถูกยกเลิกไปเนื่องจากข้อกำหนดห้ามการเดินทางระหว่างประเทศและการปิดเมืองในบอตสวานาซึ่งเป็นสถานที่จัดงานซื้อขายของ
De Beers

            เพื่อป้องกันการระบาด เหมืองหลายแห่งในแอฟริกาใต้ นามิเบีย และบอตสวานา ไปจนถึงในแคนาดาและไซบีเรีย ได้เข้าสู่ ‘ช่วงดูแลและซ่อมบำรุง’ ซึ่งหมายความว่าเหมืองได้หยุดการผลิตและแรงงานส่วนใหญ่ต้องหยุดทำงานชั่วคราว

            ด้วยเหตุนี้เป้าหมายการผลิตจึงถูกปรับลดลงด้วย De Beers ได้ลดประมาณการผลผลิตในปี 2020 ลงร้อยละ 20 ไปอยู่ที่ระหว่าง 25 ถึง 27 ล้านกะรัต ขณะที่ Alrosa ระบุว่าบริษัทจะลดปริมาณการผลิตลงร้อยละ 11 เหลือ 34.3 ล้านกะรัต

            อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตบางรายยังคงมองว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2020

            Lucara ซึ่งยังคงเปิดทำการเหมือง Karowe ในบอตสวานาต่อไประหว่างช่วงวิกฤติ ได้ระบุในแถลงการณ์เมื่อไม่นานมานี้ว่า “แม้แนวโน้มราคาเพชรในระยะสั้นยังคงไม่แน่นอน แต่เนื่องจากปริมาณการผลิตเพชรก้อนลดลงทั่วโลก ตลอดจนมีสัญญาณบ่งชี้เริ่มต้นว่าความต้องการเพชรเจียระไนแล้วเริ่มฟื้นตัวกลับมาในเอเชีย เราจึงหวังว่าความต้องการจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง”

            บริษัทรายงานว่ารายได้ลดลงร้อยละ 30 ในช่วงไตรมาสแรกจนมาถึงวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Eira Thomas ระบุว่าความต้องการสินค้าของบริษัทลดต่ำลง และบริษัทจำเป็นต้องเน้นหนักเรื่อง “การจัดการต้นทุนและมีวินัยด้านเงินทุน”
 
มุมมองโดยสรุป

             การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเพชรอันเนื่องมาจากโคโรนาไวรัสได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อแวดวงธุรกิจเพชรทั่วโลกอย่างไม่ต้องสงสัย

            ในจดหมายเปิดผนึกซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา Bruce Cleaver ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ De Beers ระบุว่า “ในบริเวณรอบเหมืองของเรา ในศูนย์กลางการเจียระไนเพชรที่สำคัญของโลก และในชุมชนที่พนักงานของเราอาศัยอยู่นั้น การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของบริษัทนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อพนักงานของเรา เศรษฐกิจท้องถิ่น และประเทศทั้งประเทศ

            “เงินเดือนที่เราจ่ายและบริการที่เราจัดหาและจัดซื้อนั้นได้ช่วยให้หลายครอบครัวมีอยู่มีกินและดูแลสุขภาพของตนได้ ในหลายกรณีอย่างการจัดหาน้ำ อาหาร พลังงาน บริการด้านสุขภาพ และระบบขนส่งนั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของเรา”

             การปกป้องสวัสดิภาพของลูกจ้างในห่วงโซ่อุปทานเพชร นับตั้งแต่ผู้ทำเหมืองจนถึงผู้ค้าและผู้ขายปลีกเครื่องประดับ ให้ไม่ต้องรับผลกระทบจากความท้าทายในภาวะโรคระบาดซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนั้นจำเป็นต้องอาศัยการร่วมมือกันอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

            “กุญแจสำคัญในเรื่องนี้คือการพยายามให้ทุกฝ่ายในภาคอุตสาหกรรมกลับมาร่วมมือกันและทำงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อสร้างขีดความสามารถทั้งในแง่อุปสงค์และอุทาน” Prager กล่าว

             นอกจากต้องรับมือกับการปิดเมืองเพราะโคโรนาไวรัสแล้ว อุตสาหกรรมเพชรยังต้องรักษาระดับราคาด้วยการจัดการกับภาวะชะงักงันทั้งในภาคอุปสงค์และอุปทานซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            Evern-Zohar ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่บริษัทผู้ทำเหมืองเพชรจะต้องช่วยเหลือกิจการช่วงกลางน้ำด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งระงับการนำเข้าของอินเดียหากมีการออกคำสั่งดังกล่าว และอาจต้องมอบสินเชื่อเพื่อช่วย “แบ่งเบาภาระทางการเงินของลูกค้า”

            “ผู้ทำเหมืองเพชรจำเป็นต้องอาศัยผู้เจียระไนของอินเดีย ยังไม่มีตัวเลือกอื่นที่จะมาแทนอินเดียได้ ช่วงหลายปีมานี้อุตสาหกรรมอินเดียได้สร้างความมั่งคั่งมหาศาลให้ผู้ทำเหมือง... คราวนี้ถึงเวลาที่จะต้องสลับบทบาทกันแล้ว” เขากล่าว

            ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเพชร Paul Zimnisky ระบุว่า “เมื่อห่วงโซ่อุปทานเพชรเริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง ซึ่งต้องอาศัยทั้งการเปิดพรมแดน เปิดร้านค้า รวมถึงเปิดศูนย์กลางการผลิตและการค้าทั่วโลก เมื่อนั้นปริมาณการค้าก็จะค่อยๆ กลับมาเป็นปกติและราคาก็น่าจะกลับมาสู่ระดับที่มีเสถียรภาพและไว้วางใจได้”

            แม้ว่าจะสร้างความท้าทายอย่างมากในระยะสั้น แต่การระบาดของโคโรนาไวรัสก็อาจแก้ปัญหาที่เรื้อรังมานานว่าด้วยความไม่สมดุลของห่วงโซ่อุปทานเพชร และสุดท้ายอาจช่วยให้เกิดเสถียรภาพทางราคาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อทุกฝ่ายในวงจรอุตสาหกรรมเพชรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ



 
 

ข้อมูลอ้างอิง


1) “Coronavirus roughs up diamond industry.” by Arabella Roden. JEWELLER. (May 2020: pp. 40-44).
2) “Polished Diamond Prices Down in April; Industry Future Cautiously Optimistic.” Retrieved 1 June 2020 from https://en.israelidiamond.co.il/diamond-articles/world/polished-diamond-prices-april.
3) “Analysis: The Power of Love in a Post-Coronavirus World.” Retrieved 1 June 2020 from https://en.israelidiamond.co.il/diamond-articles/world/q1-golan-diamond-market/.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site