ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

แนวทางการใช้คำศัพท์อัญมณีเกี่ยวกับเพชร

Jan 15, 2020
2078 views
9 shares

บทนำและแหล่งอ้างอิง

          องค์กรชั้นนำเก้าแห่งในอุตสาหกรรมอัญมณีเพชร (ได้แก่ AWDC, CIBJO, DPA, GJEPC, IDI, IDMA, USJC, WDC และ WFDB) ได้พัฒนาแนวทางนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร และผู้ค้าทุกรายในภาคอุตสาหกรรม
อัญมณีได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและเข้าถึงได้ง่ายว่าด้วยคำศัพท์อัญมณีเกี่ยวกับเพชร เพชรสังเคราะห์ และเพชรเลียนแบบ เพื่อการใช้งานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสูด

            แนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับเพชร เป็นเอกสารที่ช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจเพชรและเครื่องประดับ
อัญมณีสามารถใช้อ้างอิงเมื่อต้องการกล่าวถึงเพชรและเพชรสังเคราะห์ ทั้งนี้โดยเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสองแหล่งด้วยกันคือ ISO 18323 Standard (“เครื่องประดับ – ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมเพชร”) และ CIBJO Diamond Blue Book
 

 
คำนิยาม


* เพชร เป็นแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ คำว่า “เพชร” หมายถึงเพชรธรรมชาติเสมอ
* เพชรสังเคราะห์ (synthetic diamond) คือ สิ่งที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นให้มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับเพชร
* เพชรเลียนแบบ (imitation diamond/diamond simulant) เป็นสิ่งที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบรูปลักษณ์ภายนอกของเพชร แต่ไม่ได้มีองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ หรือโครงสร้างเช่นเดียวกับเพชร
* อัญมณีเป็นแร่ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติและเรานำมาใช้ในเครื่องประดับด้วยเหตุผลด้านความสวยงาม ความหายาก และมูลค่าในตัวของมันเอง
 
คำศัพท์


*เมื่อกล่าวถึงเพชรสังเคราะห์

        -   เมื่อกล่าวถึงเพชรสังเคราะห์ ให้ใช้คำขยายที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ “สังเคราะห์” (synthetic) “ผลิตโดยห้องปฏิบัติการ” (laboratory-grown) หรือ “สร้างโดยห้องปฏิบัติการ” (laboratory-created)
        -   อย่าใช้คำย่อ เช่น “ผลิตโดยแล็บ” (lab-grown) และ “สร้างโดยแล็บ” (lab-created)
        -   อย่าใช้คำดังต่อไปนี้ “เพชรเลี้ยง” (cultured diamonds) และ “เพชรเพาะ” (cultivated diamonds) เนื่องจาก “เลี้ยง” และ “เพาะ” ใช้สำหรับกล่าวถึงสินค้า
อัญมณีอินทรีย์เท่านั้น
        -   อย่าใช้คำดังต่อไปนี้ “จริง” (real) “แท้” (genuine) “มีค่า” (precious) “ขนานแท้” (authentic) และ “ธรรมชาติ” (natural) เพราะคำดังกล่าวใช้สำหรับแร่และ
อัญมณีจากธรรมชาติเท่านั้น
 
ข้อแนะนำ


* คำว่า “เพชร” มีความหมายว่าเป็นวัสดุจากธรรมชาติตามนิยามของคำอยู่แล้ว ดังนั้น จึงควรใช้คำว่า “เพชร” โดยไม่ต้องมีคำขยาย แต่ถ้าต้องการแยกให้แตกต่างจากเพชรสังเคราะห์ ให้ใช้คำว่า “เพชรธรรมชาติ” (natural diamond) ซึ่งให้ความหมายเทียบเท่ากัน

* ไม่ใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความสับสน อย่าง คำว่า ธรรมชาติ กับเพชรที่ปรับปรุงคุณภาพ อาทิ “เพชรปรับปรุงคุณภาพจากธรรมชาติ” (natural treated diamonds) และ “เพชรธรรมชาติปรับปรุงคุณภาพ” (treated natural diamond) ให้ใช้แค่ “เพชรปรับปรุงคุณภาพ” (treated diamond) เท่านั้น

ควรปฏิบัติตามแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับเพชรในโอกาสใดบ้าง

* ผู้บริหารของ AWDC, CIBJO, DPA, GJEPC, IDI, IDMA, USJC, WDC และ WFDB แนะนำให้ผู้ค้า หน่วยงาน และองค์กรทุกแห่งในภาคอุตสาหกรรม ปฏิบัติตามแนวทางนี้ในเอกสาร เว็บไซต์ และช่องทางการสื่อสารทั้งหมดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการซื้อ ขาย และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเพชร เพชรสังเคราะห์ อัญมณี รายงานจากห้องปฏิบัติการอัญมณี เครื่องประดับเพชร และเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์
 
หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับแนวทางนี้ โปรดติดต่อ Lisa Levinson ที่ lisa@diamondproducers.com



ข้อมูลอ้างอิง


Diamond Terminology Guideline. Antwerp World Diamond Centre. Retrieved December 18, 2019 from https://www.awdc.be/en/guideline.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

แนวทางการใช้คำศัพท์อัญมณีเกี่ยวกับเพชร

Jan 15, 2020
2078 views
9 shares

บทนำและแหล่งอ้างอิง

          องค์กรชั้นนำเก้าแห่งในอุตสาหกรรมอัญมณีเพชร (ได้แก่ AWDC, CIBJO, DPA, GJEPC, IDI, IDMA, USJC, WDC และ WFDB) ได้พัฒนาแนวทางนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร และผู้ค้าทุกรายในภาคอุตสาหกรรม
อัญมณีได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและเข้าถึงได้ง่ายว่าด้วยคำศัพท์อัญมณีเกี่ยวกับเพชร เพชรสังเคราะห์ และเพชรเลียนแบบ เพื่อการใช้งานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสูด

            แนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับเพชร เป็นเอกสารที่ช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจเพชรและเครื่องประดับ
อัญมณีสามารถใช้อ้างอิงเมื่อต้องการกล่าวถึงเพชรและเพชรสังเคราะห์ ทั้งนี้โดยเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสองแหล่งด้วยกันคือ ISO 18323 Standard (“เครื่องประดับ – ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมเพชร”) และ CIBJO Diamond Blue Book
 

 
คำนิยาม


* เพชร เป็นแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ คำว่า “เพชร” หมายถึงเพชรธรรมชาติเสมอ
* เพชรสังเคราะห์ (synthetic diamond) คือ สิ่งที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นให้มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับเพชร
* เพชรเลียนแบบ (imitation diamond/diamond simulant) เป็นสิ่งที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบรูปลักษณ์ภายนอกของเพชร แต่ไม่ได้มีองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ หรือโครงสร้างเช่นเดียวกับเพชร
* อัญมณีเป็นแร่ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติและเรานำมาใช้ในเครื่องประดับด้วยเหตุผลด้านความสวยงาม ความหายาก และมูลค่าในตัวของมันเอง
 
คำศัพท์


*เมื่อกล่าวถึงเพชรสังเคราะห์

        -   เมื่อกล่าวถึงเพชรสังเคราะห์ ให้ใช้คำขยายที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ “สังเคราะห์” (synthetic) “ผลิตโดยห้องปฏิบัติการ” (laboratory-grown) หรือ “สร้างโดยห้องปฏิบัติการ” (laboratory-created)
        -   อย่าใช้คำย่อ เช่น “ผลิตโดยแล็บ” (lab-grown) และ “สร้างโดยแล็บ” (lab-created)
        -   อย่าใช้คำดังต่อไปนี้ “เพชรเลี้ยง” (cultured diamonds) และ “เพชรเพาะ” (cultivated diamonds) เนื่องจาก “เลี้ยง” และ “เพาะ” ใช้สำหรับกล่าวถึงสินค้า
อัญมณีอินทรีย์เท่านั้น
        -   อย่าใช้คำดังต่อไปนี้ “จริง” (real) “แท้” (genuine) “มีค่า” (precious) “ขนานแท้” (authentic) และ “ธรรมชาติ” (natural) เพราะคำดังกล่าวใช้สำหรับแร่และ
อัญมณีจากธรรมชาติเท่านั้น
 
ข้อแนะนำ


* คำว่า “เพชร” มีความหมายว่าเป็นวัสดุจากธรรมชาติตามนิยามของคำอยู่แล้ว ดังนั้น จึงควรใช้คำว่า “เพชร” โดยไม่ต้องมีคำขยาย แต่ถ้าต้องการแยกให้แตกต่างจากเพชรสังเคราะห์ ให้ใช้คำว่า “เพชรธรรมชาติ” (natural diamond) ซึ่งให้ความหมายเทียบเท่ากัน

* ไม่ใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความสับสน อย่าง คำว่า ธรรมชาติ กับเพชรที่ปรับปรุงคุณภาพ อาทิ “เพชรปรับปรุงคุณภาพจากธรรมชาติ” (natural treated diamonds) และ “เพชรธรรมชาติปรับปรุงคุณภาพ” (treated natural diamond) ให้ใช้แค่ “เพชรปรับปรุงคุณภาพ” (treated diamond) เท่านั้น

ควรปฏิบัติตามแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับเพชรในโอกาสใดบ้าง

* ผู้บริหารของ AWDC, CIBJO, DPA, GJEPC, IDI, IDMA, USJC, WDC และ WFDB แนะนำให้ผู้ค้า หน่วยงาน และองค์กรทุกแห่งในภาคอุตสาหกรรม ปฏิบัติตามแนวทางนี้ในเอกสาร เว็บไซต์ และช่องทางการสื่อสารทั้งหมดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการซื้อ ขาย และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเพชร เพชรสังเคราะห์ อัญมณี รายงานจากห้องปฏิบัติการอัญมณี เครื่องประดับเพชร และเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์
 
หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับแนวทางนี้ โปรดติดต่อ Lisa Levinson ที่ lisa@diamondproducers.com



ข้อมูลอ้างอิง


Diamond Terminology Guideline. Antwerp World Diamond Centre. Retrieved December 18, 2019 from https://www.awdc.be/en/guideline.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ยูเครน
14 views
0 share
เซอร์เบีย
5 views
0 share
อิตาลี
22 views
0 share

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site