ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

กระจอน วัฒนธรรมความงามตามแบบอีสานใต้

Sep 9, 2020
3940 views
18 shares

            ผู้หญิงกับความสวยงามเป็นของคู่กันแม้บางครั้งจะต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวด การเจาะรูที่ปลายใบหูเพื่อสวมใส่ต่างหูเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัด สาวๆ หลายคนยอมเจ็บตัวเพื่อจะได้ประดับต่างหูสำหรับเพิ่มความงาม และเสริมความมั่นใจให้กับตัวเอง

            จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า หลายพันปีมาแล้วที่มนุษย์นำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้ทำเป็นต่างหู ในระยะเริ่มแรกต่างหูไม่ได้ถูกจำกัดการใช้งานอยู่ที่เพศหญิงเท่านั้น ด้วยมีผู้ชายจำนวนมากเลือกที่จะสวมใส่ต่างหูอันสืบเนื่องมาจากความหมายในเชิงสัญลักษณ์ รวมไปถึงความเกี่ยวข้องกับเรื่องของศรัทธา ศาสนา และความเชื่อ 

            ในบางวัฒนธรรม ต่างหูถูกนำไปเชื่อมโยงกับขนบธรรมเนียมไว้อย่างแนบแน่น อาทิ การสวมใส่ต่างหูของสตรีชาวจีนในสมัยโบราณ เพื่อเตือนสติให้สาวๆ ระมัดระวังกริยาและความประพฤติ รวมถึงการวางตัวให้เหมาะสม ขณะที่ในบางวัฒนธรรมต่างหูคือ การแสดงออกถึงอัตลักษณ์ประจำพื้นถิ่นอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของบรรพบุรุษที่ตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ตัวอย่างเช่น กระจอน ซึ่งพบได้ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย 

กระจอน อัตลักษณ์ความงามตามแบบอีสานใต้

           ‘กระจอน’ หรือ ‘กระจ้อน’ หรือ ‘ขะจอน’ เป็นเครื่องประดับซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในหมู่สตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทย-เขมร ไทลื้อ ไทย-ลาว และภูไท ฯลฯ ซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่ทางแถบอีสานใต้ของไทย มันคือต่างหูโบราณที่ส่วนหัวมีลักษณะเป็นแป้นวงกลมเชื่อมติดเข้ากับส่วนก้านที่โค้งงอเหมือนตะขอ หากมีการตกแต่งด้วยตุ้งติ้งห้อยระย้าย้อยลงมา จะเรียกว่า กระจอนยอย เมื่อสวมแล้วส่วนก้านจะห้อยลงมาจากด้านหลังใบหู โดยก้านของกระจอนนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าก้านของต่างหูทั่วไป ดังนั้น แม่หญิงที่จะสวมกระจอนได้จะต้องเจาะรูที่ปลายใบหูให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ

 

กระจอนทองคำ 

ภาพจาก: เก็ดถะหวา


กระจอนเงิน

ภาพจาก: Kaidee

 

กระจอนยอยทำจากเงิน

ภาพจาก: ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


            ลวดลายของกระจอนนั้นมีความละเอียดซับซ้อนละเมียดละไม โดยเกิดจากการขึ้นรูปด้วยมือผ่านฝีมือช่างชั้นสูงที่มีความประณีตชำนาญ และพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิต ซึ่งแรงบันดาลใจในการออกแบบกระจอนมาจากดอกไม้ อาทิ ดอกแก้ว และดอกพิกุล ส่วนใหญ่ทำมาจากโลหะมีค่า ทั้งทองคำและเงิน หากแต่สามารถพบกระจอนที่ทำจากทองเหลืองได้เช่นกัน ซึ่งความละเอียดซับซ้อนของรูปแบบ รวมถึงวัสดุที่ใช้สามารถเป็นเครื่องบ่งชี้ฐานะ และสถานภาพทางสังคมของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย

            แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คลื่นวัฒนธรรมสมัยใหม่ถาโถมเข้ามาและพัดพาเอาวัฒนธรรมแบบเดิมให้สูญหายไป การสวมต่างหูจึงไม่เหลือความเชื่อมโยงกับขนบธรรมเนียม และความเชื่อ หากถูกแทนที่ด้วยกระแสวัฒนธรรมแบบใหม่ที่เน้นเรื่องของความสวยงามและแฟชั่น

แม่เฒ่าขณะสวมใส่กระจอน
ภาพจาก: ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            แม้ว่าปัจจุบันยังสามารถพบเห็นผู้เฒ่าผู้แก่สวมกระจอนในโอกาสงานบุญต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเก่าเก็บ หากแต่วัฒนธรรมการสวมกระจอนดูจะลดน้อยถอยลงและกำลังจะเลือนหายไปจากสังคมของชาวอีสานใต้ อันเนื่องมาจากสิ่งที่เคยเป็นความภาคภูมิใจและเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นถูกมองว่าล้าสมัยในสายตาคนยุคใหม่ กอปรกับช่างฝีมือชั้นครูต่างก็ล้มหายตายจากไปมาก ที่หลงเหลืออยู่ก็มีจำนวนไม่มากนัก ยิ่งทำให้นับวันเครื่องประดับอันทรงคุณค่าอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม และความเป็นเอกลักษณ์ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนกำลังจะสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย

            เราจะทนดูดายให้เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์อันทรงคุณค่าเหล่านี้จบลงแต่เพียงเท่านี้ได้หรือ?

ข้อมูลอ้างอิง


1. More Move. (13 มีนาคม 2561). รู้จักไหม? ‘กระจ้อน’ เครื่องประดับโบราณของชนเขมรและอีสานใต้. สืบค้น 15 มกราคม 2563 จาก https://www.facebook.com/moremovemag/posts/1861607093851593
2. ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2 มิถุนายน 2552). เครื่องประดับของชาวอีสาน. สืบค้น 15 มกราคม 2563 จาก http://www.isan.clubs.chula.ac.th/simboard/post_view.php?room_no=20&id_main=864&star=0&pg=1
3. The Pioneer. (19 June 2018). 6 Surprising Facts about Earrings That You Didn’t Know. Retrieved 15 January 2020 from https://www.dailypioneer.com/2018/vivacity/6-surprising-facts-about-earrings-that-you-didnt-know.html

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

กระจอน วัฒนธรรมความงามตามแบบอีสานใต้

Sep 9, 2020
3940 views
18 shares

            ผู้หญิงกับความสวยงามเป็นของคู่กันแม้บางครั้งจะต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวด การเจาะรูที่ปลายใบหูเพื่อสวมใส่ต่างหูเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัด สาวๆ หลายคนยอมเจ็บตัวเพื่อจะได้ประดับต่างหูสำหรับเพิ่มความงาม และเสริมความมั่นใจให้กับตัวเอง

            จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า หลายพันปีมาแล้วที่มนุษย์นำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้ทำเป็นต่างหู ในระยะเริ่มแรกต่างหูไม่ได้ถูกจำกัดการใช้งานอยู่ที่เพศหญิงเท่านั้น ด้วยมีผู้ชายจำนวนมากเลือกที่จะสวมใส่ต่างหูอันสืบเนื่องมาจากความหมายในเชิงสัญลักษณ์ รวมไปถึงความเกี่ยวข้องกับเรื่องของศรัทธา ศาสนา และความเชื่อ 

            ในบางวัฒนธรรม ต่างหูถูกนำไปเชื่อมโยงกับขนบธรรมเนียมไว้อย่างแนบแน่น อาทิ การสวมใส่ต่างหูของสตรีชาวจีนในสมัยโบราณ เพื่อเตือนสติให้สาวๆ ระมัดระวังกริยาและความประพฤติ รวมถึงการวางตัวให้เหมาะสม ขณะที่ในบางวัฒนธรรมต่างหูคือ การแสดงออกถึงอัตลักษณ์ประจำพื้นถิ่นอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของบรรพบุรุษที่ตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ตัวอย่างเช่น กระจอน ซึ่งพบได้ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย 

กระจอน อัตลักษณ์ความงามตามแบบอีสานใต้

           ‘กระจอน’ หรือ ‘กระจ้อน’ หรือ ‘ขะจอน’ เป็นเครื่องประดับซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในหมู่สตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทย-เขมร ไทลื้อ ไทย-ลาว และภูไท ฯลฯ ซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่ทางแถบอีสานใต้ของไทย มันคือต่างหูโบราณที่ส่วนหัวมีลักษณะเป็นแป้นวงกลมเชื่อมติดเข้ากับส่วนก้านที่โค้งงอเหมือนตะขอ หากมีการตกแต่งด้วยตุ้งติ้งห้อยระย้าย้อยลงมา จะเรียกว่า กระจอนยอย เมื่อสวมแล้วส่วนก้านจะห้อยลงมาจากด้านหลังใบหู โดยก้านของกระจอนนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าก้านของต่างหูทั่วไป ดังนั้น แม่หญิงที่จะสวมกระจอนได้จะต้องเจาะรูที่ปลายใบหูให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ

 

กระจอนทองคำ 

ภาพจาก: เก็ดถะหวา


กระจอนเงิน

ภาพจาก: Kaidee

 

กระจอนยอยทำจากเงิน

ภาพจาก: ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


            ลวดลายของกระจอนนั้นมีความละเอียดซับซ้อนละเมียดละไม โดยเกิดจากการขึ้นรูปด้วยมือผ่านฝีมือช่างชั้นสูงที่มีความประณีตชำนาญ และพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิต ซึ่งแรงบันดาลใจในการออกแบบกระจอนมาจากดอกไม้ อาทิ ดอกแก้ว และดอกพิกุล ส่วนใหญ่ทำมาจากโลหะมีค่า ทั้งทองคำและเงิน หากแต่สามารถพบกระจอนที่ทำจากทองเหลืองได้เช่นกัน ซึ่งความละเอียดซับซ้อนของรูปแบบ รวมถึงวัสดุที่ใช้สามารถเป็นเครื่องบ่งชี้ฐานะ และสถานภาพทางสังคมของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย

            แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คลื่นวัฒนธรรมสมัยใหม่ถาโถมเข้ามาและพัดพาเอาวัฒนธรรมแบบเดิมให้สูญหายไป การสวมต่างหูจึงไม่เหลือความเชื่อมโยงกับขนบธรรมเนียม และความเชื่อ หากถูกแทนที่ด้วยกระแสวัฒนธรรมแบบใหม่ที่เน้นเรื่องของความสวยงามและแฟชั่น