ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เครื่องประดับจากเครื่องราง การเดินทางครั้งใหม่ของ “ตะกรุด”

Dec 4, 2020
5083 views
1 share

        เมื่อเอ่ยถึง “ตะกรุด” แน่นอนว่าผู้อ่านหลายท่านคงต้องนึกถึงเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง แต่หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าปัจจุบันเครื่องรางของขลังที่ว่านี้ได้ก้าวเข้าสู่วงการเครื่องประดับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรื่องราวจะเป็นอย่างไร วันนี้ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ จะขอนำมาเล่าสู่กันฟัง


ตะกรุดยุคใหม่

ภาพจาก: Leila Amulet

        ตะกรุด คือเครื่องรางของขลังหนึ่งซึ่งอยู่คู่กับประวัติศาสตร์ ความเชื่อและศรัทธาของคนไทยมาแต่ครั้งโบราณ มักสร้างโดยเหล่าครูบาอาจารย์และพระเกจิชื่อดัง ทำจากวัสดุต่างๆ แล้วแต่ตำราของครูบาอาจารย์แต่ละท่าน โดยทั่วไปทำจากทองคำ เงิน นาก ตะกั่ว นำมารีดเป็นแผ่นบาง ลงอักขระเลขยันต์หรือคาถา ก่อนนำมาม้วนเป็นแท่งทรงกระบอกแกนกลางกลวง แล้วจึงทำพิธีปลุกเสกให้เกิดพุทธคุณต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีตะกรุดรูปแบบอื่นซึ่งอาจมาจากการหล่อ หรือทำจากหนังสัตว์ (เช่น หนังเสือ หนังงู หนังวัว เป็นต้น) กระดูกและเขาสัตว์ (อาทิ กระดูกช้าง เขาวัวเผือก) หรือไม้มงคล รวมถึงอาจถักจากเชือกหรือด้ายมงคลอีกด้วย  

        เชื่อกันว่าตะกรุดมีอิทธิฤทธิ์หรือพุทธคุณแห่งการปกป้องคุ้มครองผู้เป็นเจ้าของให้แคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆ อยู่ยงคงกระพัน ฟันแทงไม่เข้า จึงไม่น่าแปลกใจที่ทหารหรือนักรบไทยเมื่อในอดีตต่างมีตะกรุดร้อยด้วยเชือกหรือผ้ายันต์ผูกติดตามลำตัวหรือต้นแขนยามที่ต้องออกรบทัพจับศึก ซึ่งนอกจากศรัทธาในเรื่องแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพันแล้ว ยังช่วยให้เกิดความกล้าหาญ ฮึกเหิม อยากมีชัยเหนืออริศัตรูอีกด้วย นอกจากความเชื่อในเรื่องแคล้วคลาดแล้ว ยังมีพุทธคุณในทางเมตตามหานิยม รวมถึงเสริมโชคลาภและบารมีอีกด้วย 


สร้อยข้อมือหินสีประดับด้วยตะกรุด

เครื่องประดับจาก: Leila Amulet (บน) และ Pinterest (ล่าง)

        ปัจจุบันตะกรุดยังคงได้รับความนิยมและเป็นที่หลงใหลในหมู่เซียนพระอย่างไม่เสื่อมคลาย อีกทั้งยังขยายขอบเขตเข้าครอบครองพื้นที่ในวงการเครื่องประดับตกแต่งด้วยอัญมณีได้อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อเครื่องรางของขลังชนิดนี้ถูกนำมาปรับโฉมภาพลักษณ์เสียใหม่ให้กลายเป็นเครื่องประดับสุดเก๋จนกลายเป็นแก็ตเจ็ตหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่ศิลปินดาราผู้มีชื่อเสียงและบรรดาวัยรุ่น ซึ่งนอกจากวัตถุประสงค์ในเรื่องความสวยงามรวมถึงพุทธคุณและมงคลต่างๆ ตามความเชื่อแล้ว เครื่องประดับจากเครื่องรางชนิดนี้ยังสะท้อนความเป็นตัวตน และช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เป็นเจ้าของได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


ภาพจาก: Pinterest

อย่างไรก็ตาม การจะหวังพึ่งพาแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เครื่องรางของขลังเพียงอย่างเดียวนั้นดูจะไม่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก หากเรานั้นควรคิดดีประพฤติดี และมีสติ ตั้งมั่นอยู่บนความไม่ประมาทเป็นสำคัญ ดังที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีปัจฉิมโอวาทไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง ย่อมมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงตั้งอยู่บนความไม่ประมาทเถิด”


ข้อมูลอ้างอิง


1. ไทยรัฐออนไลน์. (10 กรกฎาคม 2563). ตำนานพันปี เครื่องราง “ตะกรุด” เปิดกรุหายาก ศรัทธาความเชื่อไทยยากสลาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 จาก https://www.thairath.co.th/scoop/1883863
2. Sanook. (22 เมษายน 2562). “ตะกรุด” เครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับความเชื่อของคนไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 จาก https://www.sanook.com/horoscope/159013/

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เครื่องประดับจากเครื่องราง การเดินทางครั้งใหม่ของ “ตะกรุด”

Dec 4, 2020
5083 views
1 share

        เมื่อเอ่ยถึง “ตะกรุด” แน่นอนว่าผู้อ่านหลายท่านคงต้องนึกถึงเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง แต่หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าปัจจุบันเครื่องรางของขลังที่ว่านี้ได้ก้าวเข้าสู่วงการเครื่องประดับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรื่องราวจะเป็นอย่างไร วันนี้ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ จะขอนำมาเล่าสู่กันฟัง


ตะกรุดยุคใหม่

ภาพจาก: Leila Amulet

        ตะกรุด คือเครื่องรางของขลังหนึ่งซึ่งอยู่คู่กับประวัติศาสตร์ ความเชื่อและศรัทธาของคนไทยมาแต่ครั้งโบราณ มักสร้างโดยเหล่าครูบาอาจารย์และพระเกจิชื่อดัง ทำจากวัสดุต่างๆ แล้วแต่ตำราของครูบาอาจารย์แต่ละท่าน โดยทั่วไปทำจากทองคำ เงิน นาก ตะกั่ว นำมารีดเป็นแผ่นบาง ลงอักขระเลขยันต์หรือคาถา ก่อนนำมาม้วนเป็นแท่งทรงกระบอกแกนกลางกลวง แล้วจึงทำพิธีปลุกเสกให้เกิดพุทธคุณต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีตะกรุดรูปแบบอื่นซึ่งอาจมาจากการหล่อ หรือทำจากหนังสัตว์ (เช่น หนังเสือ หนังงู หนังวัว เป็นต้น) กระดูกและเขาสัตว์ (อาทิ กระดูกช้าง เขาวัวเผือก) หรือไม้มงคล รวมถึงอาจถักจากเชือกหรือด้ายมงคลอีกด้วย  

        เชื่อกันว่าตะกรุดมีอิทธิฤทธิ์หรือพุทธคุณแห่งการปกป้องคุ้มครองผู้เป็นเจ้าของให้แคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆ อยู่ยงคงกระพัน ฟันแทงไม่เข้า จึงไม่น่าแปลกใจที่ทหารหรือนักรบไทยเมื่อในอดีตต่างมีตะกรุดร้อยด้วยเชือกหรือผ้ายันต์ผูกติดตามลำตัวหรือต้นแขนยามที่ต้องออกรบทัพจับศึก ซึ่งนอกจากศรัทธาในเรื่องแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพันแล้ว ยังช่วยให้เกิดความกล้าหาญ ฮึกเหิม อยากมีชัยเหนืออริศัตรูอีกด้วย นอกจากความเชื่อในเรื่องแคล้วคลาดแล้ว ยังมีพุทธคุณในทางเมตตามหานิยม รวมถึงเสริมโชคลาภและบารมีอีกด้วย 


สร้อยข้อมือหินสีประดับด้วยตะกรุด

เครื่องประดับจาก: Leila Amulet (บน) และ Pinterest (ล่าง)

        ปัจจุบันตะกรุดยังคงได้รับความนิยมและเป็นที่หลงใหลในหมู่เซียนพระอย่างไม่เสื่อมคลาย อีกทั้งยังขยายขอบเขตเข้าครอบครองพื้นที่ในวงการเครื่องประดับตกแต่งด้วยอัญมณีได้อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อเครื่องรางของขลังชนิดนี้ถูกนำมาปรับโฉมภาพลักษณ์เสียใหม่ให้กลายเป็นเครื่องประดับสุดเก๋จนกลายเป็นแก็ตเจ็ตหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่ศิลปินดาราผู้มีชื่อเสียงและบรรดาวัยรุ่น ซึ่งนอกจากวัตถุประสงค์ในเรื่องความสวยงามรวมถึงพุทธคุณและมงคลต่างๆ ตามความเชื่อแล้ว เครื่องประดับจากเครื่องรางชนิดนี้ยังสะท้อนความเป็นตัวตน และช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เป็นเจ้าของได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


ภาพจาก: Pinterest

อย่างไรก็ตาม การจะหวังพึ่งพาแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เครื่องรางของขลังเพียงอย่างเดียวนั้นดูจะไม่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก หากเรานั้นควรคิดดีประพฤติดี และมีสติ ตั้งมั่นอยู่บนความไม่ประมาทเป็นสำคัญ ดังที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีปัจฉิมโอวาทไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง ย่อมมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงตั้งอยู่บนความไม่ประมาทเถิด”