ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

มาตรฐานสีคอรันดัม

Aug 8, 2023
2990 views
1 share

        คอรันดัมเป็นแร่ชนิดหนึ่งที่นำมาใช้เป็นอัญมณี มีความสำคัญและได้รับความนิยมสูงในตลาดพลอย เนี่องจากมีสีสันที่หลากหลาย แร่คอรันดัมมีชื่อเรียกตามสีต่างๆ เช่น สีแดงเรียกว่า “ทับทิม” สีน้ำเงินเรียกว่า “ไพลิน” สีเหลืองเรียกว่า “บุษราคัม” สีชมพูแกมส้ม หรือส้มแกมชมพู เรียกว่า “พัดพารัดชา” ในการซื้อขายอัญมณีดังกล่าวจะพิจารณาคุณภาพตามหลัก 4Cs ประกอบด้วย สี (Color) ความสะอาด (Clarity) การเจียระไน (Cut) และน้ำหนัก (Carat Weight) โดยในการพิจารณาคุณภาพอัญมณีนั้น สีเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด การเปลี่ยนแปลงของสีเพียงเล็กน้อยจะมีผลต่อราคาอย่างมีนัยสำคัญ ในการประเมินคุณภาพสีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมปัจจัยต่างๆ เช่น ชุดมาตรฐานสี อุณหภูมิสีของแสงจากหลอดไฟ สภาพพื้นหลังที่ใช้ในการประเมิน เป็นต้น

        เป็นเวลากว่า 20 ปี สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อจัดทำมาตรฐานสีต่างๆ ของคอรันดัมสำหรับใช้ในการออกใบรับรอง เช่น มาตรฐานทับทิมสีเลือดนกพิราบ มาตรฐานไพลินสีรอยัลบลู และสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู มาตรฐานพัดพารัดชา และนอกเหนือจากมาตรฐานสีที่กล่าวมา สถาบันได้จัดทำมาตรฐานสีทับทิมสีใหม่คือ สีแดงตากระต่าย เป็นช่วงสีแดงที่สวยงามแต่อยู่นอกขอบเขตสีแดงเลือดนกพิราบ โดยได้ทำการเปิดตัวเมื่อปี 2564 ในโอกาสเฉลิมฉลองจังหวัดจันทบุรีในฐานะที่เป็นเมืองหลวงแห่งการค้าขายทับทิมของโลก และกระต่ายเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดจันทบุรีอีกเช่นกัน

ทับทิมสีเลือดนกพิราบ (Pigeon’s Blood Ruby)

        ทับทิมที่ได้รับการยอมรับในตลาดว่าสวยที่สุด คุณภาพดีที่สุด และมีระดับราคาสูงที่สุด คือ ทับทิมสีแดงสดที่เรียกว่า สีแดงเลือดนกพิราบ (Pigeon Blood) ถือเป็นสีที่มีความหายาก และเป็นที่นิยมมาอย่างยาวนาน โดยทับทิมที่จะถูกจัดระดับว่าเป็นสีแดงเลือดนกพิราบนั้น จะต้องเป็นทับทิมธรรมชาติหรือทับทิมที่ผ่านกระบวนการเผาแบบปกติ  เจียระไนแบบเหลี่ยม มีน้ำหนักตั้งแต่ 0.20 กะรัตขึ้นไป และจะต้องมีสีแดงสด ลักษณะสีสม่ำเสมอทั่วหน้าพลอย  

ตัวอย่างทับทิมสีแดงเลิอดนกพิราบ


ไพลินสีรอยัลบลู (Royal Blue Sapphire)

        ไพลินที่ได้รับการยอมรับในตลาดว่าสวยที่สุด คุณภาพดีที่สุด คือ ไพลินสีน้ำเงินสดถึงน้ำเงินเข้มที่เรียกว่า สีรอยัลบลู (Royal Blue) โดยไพลินที่จะถูกจัดระดับว่าเป็นสีรอยัลบลูจะต้องผ่านกฏเกณฑ์เดียวกับทับทิมสีเลือดนกพิราบ ไพลินสีรอยัลบลูมีสีน้ำเงินสดถึงน้ำเงินเข้ม เมื่อมองทางด้านหน้าพลอยจะไม่พบสีน้ำเงินแกมม่วง หรือน้ำเงินแกมเขียวปน

ตัวอย่างไพลินสีรอยัลบลู


ไพลินสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู (Cornflower Blue Sapphire)

        ไพลินที่ดั้งเดิมมาจากแคว้นแคชเมียร์จัดเป็นไพลินที่มีสีสวย คุณภาพดี คือ ไพลินสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู (Cornflower Blue Sapphire) มีสีน้ำเงินสด สามารถที่จะมีสีแกมม่วงได้เล็กน้อย นอกจากนี้ ลักษณะเด่นคือ มีลักษณะคล้ายกำมะหยี่ที่เกิดจากการกระจายตัวของแสงเมื่อกระทบกับมลทินคล้ายฝุ่นภายในพลอย โดยไพลินที่จะถูกจัดระดับว่าเป็นสีคอร์นฟลาวเวอร์บลูจะต้องผ่านกฏเกณฑ์เดียวกันกับไพลินสีรอยัลบลู ไพลินจากแหล่งอื่นที่มีสีดังกล่าวสามารถจัดเป็นสีคอร์นฟาวเวอร์บลูได้เช่นกัน

ตัวอย่างไพลินสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู


ทับทิมสีตากระต่าย (Rabbit’s Eye Ruby)

        ทับทิมที่เป็นที่รู้จักในตลาดมาอย่างยาวนาน จัดว่าสวย คุณภาพดี คือ ทับทิมช่วงสีแดงอมชมพู ที่เรียกว่า สีตากระต่าย (Rabbit’s Eye) มีช่วงสีที่แตกต่างจากสีแดงเลือดนกพิราบ สถาบันได้จัดทำมาตรฐานสีแดงตากระต่ายซึ่งเป็นที่นิยมในตลาด หากแต่ยังไม่มีชื่อทางการค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มาตรฐานสีดังกล่าวมีที่มาจากความต้องการที่จะเฉลิมฉลองจังหวัดจันทบุรีในฐานะ “นครอัญมณี” และเป็นศูนย์กลางการค้าทับทิมของโลก อีกทั้งจันทบุรีเป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่า “เมืองกระต่าย” เนื่องจากมีตราสัญญลักษณ์ประจำจังหวัดเป็นรูปกระต่าย ทั้งนี้ ทับทิมที่จะถูกจัดระดับว่าเป็นสีแดงตากระต่าย จะต้องผ่านกฏเกณฑ์เดียวกับทับทิมสีแดงเลือดนกพิราบ แต่จะมีช่วงสีที่แตกต่างกัน โดยมีช่วงสีแดงถึงแดงแกมชมพู และมีความสดอยู่ในช่วงปานกลาง

ตัวอย่างทับทิมสีตากระต่าย


พัดพารัดชา (Padparadscha)

        พัดพารัดชาเป็นหนึ่งในพลอยหายากที่นักสะสมพลอยมีความต้องการเก็บไว้เป็นตัวอย่าง พลอยพัดพารัดชามีช่วงสีชมพูแกมส้ม ส้ม-ชมพู ส้มแกมชมพู ถือเป็นช่วงสีที่หายากมากในธรรมชาติ คำว่า “พัดพารัดชา” มีที่มาจากคำว่า “Padmaraga” เป็นคำในภาษาสิงหล หมายถึง สีของดอกบัว ทั้งนี้ อ้างอิงจากงานวิจัยของสถาบัน พลอยที่จะเรียกว่าพัดพารัดชา จะต้องมีสีอยู่ในช่วงที่กำหนด เป็นพลอยที่มีสีตามธรรมชาติ หรือเป็นพลอยที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนแบบปกติเท่านั้น และจะต้องไม่มีการเติมธาตุเบริลเลียม สีมีความสม่ำเสมอเมื่อมองด้านหน้าพลอย รวมทั้งสีไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อผ่านการตรวจสอบความคงทนของสี

ตัวอย่างพัดพารัดชา


ฝ่ายตรวจสอบอัญมณี

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

มาตรฐานสีคอรันดัม

Aug 8, 2023
2990 views
1 share

        คอรันดัมเป็นแร่ชนิดหนึ่งที่นำมาใช้เป็นอัญมณี มีความสำคัญและได้รับความนิยมสูงในตลาดพลอย เนี่องจากมีสีสันที่หลากหลาย แร่คอรันดัมมีชื่อเรียกตามสีต่างๆ เช่น สีแดงเรียกว่า “ทับทิม” สีน้ำเงินเรียกว่า “ไพลิน” สีเหลืองเรียกว่า “บุษราคัม” สีชมพูแกมส้ม หรือส้มแกมชมพู เรียกว่า “พัดพารัดชา” ในการซื้อขายอัญมณีดังกล่าวจะพิจารณาคุณภาพตามหลัก 4Cs ประกอบด้วย สี (Color) ความสะอาด (Clarity) การเจียระไน (Cut) และน้ำหนัก (Carat Weight) โดยในการพิจารณาคุณภาพอัญมณีนั้น สีเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด การเปลี่ยนแปลงของสีเพียงเล็กน้อยจะมีผลต่อราคาอย่างมีนัยสำคัญ ในการประเมินคุณภาพสีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมปัจจัยต่างๆ เช่น ชุดมาตรฐานสี อุณหภูมิสีของแสงจากหลอดไฟ สภาพพื้นหลังที่ใช้ในการประเมิน เป็นต้น

        เป็นเวลากว่า 20 ปี สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อจัดทำมาตรฐานสีต่างๆ ของคอรันดัมสำหรับใช้ในการออกใบรับรอง เช่น มาตรฐานทับทิมสีเลือดนกพิราบ มาตรฐานไพลินสีรอยัลบลู และสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู มาตรฐานพัดพารัดชา และนอกเหนือจากมาตรฐานสีที่กล่าวมา สถาบันได้จัดทำมาตรฐานสีทับทิมสีใหม่คือ สีแดงตากระต่าย เป็นช่วงสีแดงที่สวยงามแต่อยู่นอกขอบเขตสีแดงเลือดนกพิราบ โดยได้ทำการเปิดตัวเมื่อปี 2564 ในโอกาสเฉลิมฉลองจังหวัดจันทบุรีในฐานะที่เป็นเมืองหลวงแห่งการค้าขายทับทิมของโลก และกระต่ายเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดจันทบุรีอีกเช่นกัน

ทับทิมสีเลือดนกพิราบ (Pigeon’s Blood Ruby)

        ทับทิมที่ได้รับการยอมรับในตลาดว่าสวยที่สุด คุณภาพดีที่สุด และมีระดับราคาสูงที่สุด คือ ทับทิมสีแดงสดที่เรียกว่า สีแดงเลือดนกพิราบ (Pigeon Blood) ถือเป็นสีที่มีความหายาก และเป็นที่นิยมมาอย่างยาวนาน โดยทับทิมที่จะถูกจัดระดับว่าเป็นสีแดงเลือดนกพิราบนั้น จะต้องเป็นทับทิมธรรมชาติหรือทับทิมที่ผ่านกระบวนการเผาแบบปกติ  เจียระไนแบบเหลี่ยม มีน้ำหนักตั้งแต่ 0.20 กะรัตขึ้นไป และจะต้องมีสีแดงสด ลักษณะสีสม่ำเสมอทั่วหน้าพลอย  

ตัวอย่างทับทิมสีแดงเลิอดนกพิราบ


ไพลินสีรอยัลบลู (Royal Blue Sapphire)

        ไพลินที่ได้รับการยอมรับในตลาดว่าสวยที่สุด คุณภาพดีที่สุด คือ ไพลินสีน้ำเงินสดถึงน้ำเงินเข้มที่เรียกว่า สีรอยัลบลู (Royal Blue) โดยไพลินที่จะถูกจัดระดับว่าเป็นสีรอยัลบลูจะต้องผ่านกฏเกณฑ์เดียวกับทับทิมสีเลือดนกพิราบ ไพลินสีรอยัลบลูมีสีน้ำเงินสดถึงน้ำเงินเข้ม เมื่อมองทางด้านหน้าพลอยจะไม่พบสีน้ำเงินแกมม่วง หรือน้ำเงินแกมเขียวปน

ตัวอย่างไพลินสีรอยัลบลู


ไพลินสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู (Cornflower Blue Sapphire)

        ไพลินที่ดั้งเดิมมาจากแคว้นแคชเมียร์จัดเป็นไพลินที่มีสีสวย คุณภาพดี คือ ไพลินสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู (Cornflower Blue Sapphire) มีสีน้ำเงินสด สามารถที่จะมีสีแกมม่วงได้เล็กน้อย นอกจากนี้ ลักษณะเด่นคือ มีลักษณะคล้ายกำมะหยี่ที่เกิดจากการกระจายตัวของแสงเมื่อกระทบกับมลทินคล้ายฝุ่นภายในพลอย โดยไพลินที่จะถูกจัดระดับว่าเป็นสีคอร์นฟลาวเวอร์บลูจะต้องผ่านกฏเกณฑ์เดียวกันกับไพลินสีรอยัลบลู ไพลินจากแหล่งอื่นที่มีสีดังกล่าวสามารถจัดเป็นสีคอร์นฟาวเวอร์บลูได้เช่นกัน

ตัวอย่างไพลินสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู


ทับทิมสีตากระต่าย (Rabbit’s Eye Ruby)

        ทับทิมที่เป็นที่รู้จักในตลาดมาอย่างยาวนาน จัดว่าสวย คุณภาพดี คือ ทับทิมช่วงสีแดงอมชมพู ที่เรียกว่า สีตากระต่าย (Rabbit’s Eye) มีช่วงสีที่แตกต่างจากสีแดงเลือดนกพิราบ สถาบันได้จัดทำมาตรฐานสีแดงตากระต่ายซึ่งเป็นที่นิยมในตลาด หากแต่ยังไม่มีชื่อทางการค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มาตรฐานสีดังกล่าวมีที่มาจากความต้องการที่จะเฉลิมฉลองจังหวัดจันทบุรีในฐานะ “นครอัญมณี” และเป็นศูนย์กลางการค้าทับทิมของโลก อีกทั้งจันทบุรีเป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่า “เมืองกระต่าย” เนื่องจากมีตราสัญญลักษณ์ประจำจังหวัดเป็นรูปกระต่าย ทั้งนี้ ทับทิมที่จะถูกจัดระดับว่าเป็นสีแดงตากระต่าย จะต้องผ่านกฏเกณฑ์เดียวกับทับทิมสีแดงเลือดนกพิราบ แต่จะมีช่วงสีที่แตกต่างกัน โดยมีช่วงสีแดงถึงแดงแกมชมพู และมีความสดอยู่ในช่วงปานกลาง

ตัวอย่างทับทิมสีตากระต่าย


พัดพารัดชา (Padparadscha)

        พัดพารัดชาเป็นหนึ่งในพลอยหายากที่นักสะสมพลอยมีความต้องการเก็บไว้เป็นตัวอย่าง พลอยพัดพารัดชามีช่วงสีชมพูแกมส้ม ส้ม-ชมพู ส้มแกมชมพู ถือเป็นช่วงสีที่หายากมากในธรรมชาติ คำว่า “พัดพารัดชา” มีที่มาจากคำว่า “Padmaraga” เป็นคำในภาษาสิงหล หมายถึง สีของดอกบัว ทั้งนี้ อ้างอิงจากงานวิจัยของสถาบัน พลอยที่จะเรียกว่าพัดพารัดชา จะต้องมีสีอยู่ในช่วงที่กำหนด เป็นพลอยที่มีสีตามธรรมชาติ หรือเป็นพลอยที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนแบบปกติเท่านั้น และจะต้องไม่มีการเติมธาตุเบริลเลียม สีมีความสม่ำเสมอเมื่อมองด้านหน้าพลอย รวมทั้งสีไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อผ่านการตรวจสอบความคงทนของสี

ตัวอย่างพัดพารัดชา


ฝ่ายตรวจสอบอัญมณี

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site